ข้ามไปเนื้อหา

แอสโตรเลบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Planispheric Astrolabe made of brass, cast, with fretwork rete and surface engraving
แอสโตรเลบแผนที่ฟ้าในแอฟริกาเหนือ คริสต์ศตวรรษที่ 9 จาก Khalili Collections
แอสโตรเลบสมัยใหม่ สร้างในเมืองแทบรีซ ประเทศอิหร่าน ในปี ค.ศ. 2013

แอสโตรเลบ (อังกฤษ: astrolabe; กรีก: ἀστρολάβος astrolábos; อาหรับ: ٱلأَسْطُرلاب al-Asṭurlāb; เปอร์เซีย: ستاره‌یاب Setāreyāb) เป็นอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ ทำหน้าที่เป็นแผนที่ดาวและแบบจำลองทางกายภาพของวัตถุท้องฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ แอสโตรเลบมีการใช้งานในฐานะเครื่องวัดมุมยก (inclinometer) อย่างละเอียดและเครื่องมือคำนวณแบบแอนะล็อกที่สามารถแก้ปัญหาปัญหาทางดาราศาสตร์ได้หลายหลายประเภท แอสโตรเลบรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุดเป็นแผ่นโลหะที่มีแบบรูปของเส้นลวด รอยตัด และรูพรุน ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถคำนวณตำแหน่งทางดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ แอสโตรเลบสามารถใช้วัดระดับความสูงเชิงมุมของวัตถุท้องฟ้าเหนือเส้นขอบฟ้าทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืน สามารถใช้ระบุดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ เพื่อกำหนดละติจูดในท้องถิ่นโดยให้เวลาท้องถิ่น (หรือในทางกลับกันคือกำหนดเวลาท้องถิ่นโดยให้ละติจูด) เพื่อสำรวจหรือเพื่อการสามเหลี่ยม (triangulation) แอสโตรเลบถูกใช้ในสมัยคลาสสิก, ยุคทองของอิสลาม, ยุคกลางของยุโรป และยุคแห่งการสำรวจด้วยความมุ่งหมายทั้งหมดนี้

แอสโตรเลบซึ่งเป็นต้นแบบของเครื่องวัดแดดหรือเซกซ์แทนต์[1] มีประสิทธิภาพในการกำหนดละติจูดบนพื้นดินหรือบนทะเลยามสงบ แม้ว่าจะมีความน่าเชื่อถือน้อยลงเมื่อใช้บนดาดฟ้าเรือในทะเลที่มีคลื่นลมแรง แต่ก็มีการพัฒนาแอสโตรเลบกะลาสี (mariner's astrolabe) เพื่อแก้ปัญหานี้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "HISTORIANS' HOME YIELDS RICH LODE; New York Society Searches Its Own Building for Items to Mark Anniversary; SHOW OPENS THURSDAY; Portrait of Stuyvesant and Champlain's Astrolabe Will Be on Display". The New York Times. May 18, 1964. สืบค้นเมื่อ February 4, 2024.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Evans, James (1998), The History and Practice of Ancient Astronomy, Oxford University Press, ISBN 0-19-509539-1
  • Stöffler, Johannes (2007) [First published 1513], Stoeffler's Elucidatio – The Construction and Use of the Astrolabe [Elucidatio Fabricae Ususque Astrolabii], แปลโดย Gunella, Alessandro; Lamprey, John, John Lamprey, ISBN 978-1-4243-3502-2
  • King, D. A. (1981), "The Origin of the Astrolabe According to the Medieval Islamic Sources", Journal for the History of Arabic Science, 5: 43–83
  • King, Henry (1978), Geared to the Stars: the Evolution of Planetariums, Orreries, and Astronomical Clocks, University of Toronto Press, ISBN 978-0-8020-2312-4
  • Krebs, Robert E.; Krebs, Carolyn A. (2003), Groundbreaking Scientific Experiments, Inventions, and Discoveries of the Ancient World, Greenwood Press, ISBN 978-0-313-31342-4
  • Laird, Edgar (1997), Carol Poster and Richard Utz (บ.ก.), "Astrolabes and the Construction of Time in the Late Middle Ages", Constructions of Time in the Late Middle Ages, Evanston, Illinois: Northwestern University Press: 51–69
  • Laird, Edgar; Fischer, Robert, บ.ก. (1995), "Critical edition of Pélerin de Prusse on the Astrolabe (translation of Practique de Astralabe)", Medieval & Renaissance Texts & Studies, Binghamton, New York, ISBN 0-86698-132-2
  • Lewis, M. J. T. (2001), Surveying Instruments of Greece and Rome, Cambridge University Press, ISBN 978-0-511-48303-5
  • Morrison, James E. (2007), The Astrolabe, Janus, ISBN 978-0-939320-30-1
  • Neugebauer, Otto E. (1975), A History of Ancient Mathematical Astronomy, Springer, ISBN 978-3-642-61912-0
  • North, John David (2005), God's Clockmaker: Richard of Wallingford and the Invention of Time, Continuum International Publishing Group, ISBN 978-1-85285-451-5

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]