ข้ามไปเนื้อหา

แอแนบอลิซึม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แอแนบอลิซึม(อังกฤษ: anabolism) หรือ วิถีแอแนบอลิซึม(อังกฤษ:anabolic pathway) เป็นกลุ่มวิถีเมแทบอลิซึมซึ่งสร้างโมเลกุลขึ้นจากหน่วยขนาดเล็ก ปฏิกิริยาเหล่านี้ต้องอาศัยพลังงาน ขบวนการเมแทบอลิซึม ทั้งในระดับเซลล์ อวัยวะและสิ่งมีชีวิต สามารถจำแนกได้เป็นแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึม ที่มีลักษณะตรงข้ามกัน แอแนบอลิซึมได้รับพลังงานจากแคแทบอลิซึม โดยโมเลกุลขนาดใหญ่ถูกสลายลงเป็นส่วนที่เล็กกว่า และจะถูกใช้ไปในการหายใจระดับเซลล์ต่อไป ขบวนการแอแนบอลิซึมจำนวนมากใช้พลังงานจากอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP)[1]

ขบวนการแอแนบอลิซึมโน้มเอียงต่อ "การเสริมสร้าง" อวัยวะและเนื้อเยื่อ ขบวนการเหล่านี้ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ตลอดจนการเพิ่มขนาดลำตัว ซึ่งเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โมเลกุลที่ซับซ้อน ตัวอย่างขบวนการแอแนบอลิซึม ได้แก่ การเจริญเติบโตและการสะสมแร่ธาตุ (mineralization) ของกระดูกและการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ นักวิทยาต่อมไร้ท่อเดิมจำแนกฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนแอแนบอลิกหรือแคแทบอลิก ขึ้นอยู่กับส่วนของเมแทบอลิซึมที่มันไปกระตุ้น ฮอร์โมนแอแนบอลิกแบบดั้งเดิมเป็นแอแนบอลิกสเตอรอยด์ ซึ่งกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนและการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ สมดุลระหว่างแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึมยังถูกควบคุมโดยจังหวะเซอร์คาเดียน ด้วยขบวนการอย่างเมแทบอลิซึมของกลูโคสที่ผันแปรให้เข้ากับคาบกิจกรรมตามปกติตลอดทั้งวันของสัตว์ [2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nicholls D.G. and Ferguson S.J. (2002) Bioenergetics Academic press 3rd edition ISBN 0-12-518121-3
  2. Ramsey KM, Marcheva B, Kohsaka A, Bass J (2007). "The clockwork of metabolism". Annu. Rev. Nutr. 27: 219–40. doi:10.1146/annurev.nutr.27.061406.093546. PMID 17430084.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)