ข้ามไปเนื้อหา

โธมัสอัครทูต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอมัสอัครสาวก
อัครทูต
เสียชีวิตราว ค.ศ. 72
ใกล้เมืองเช็นนัย ในประเทศอินเดีย
นิกายโรมันคาทอลิก

ออร์ทอดอกซ์
แองกลิคัน
นิกายลูเธอรัน

คอปติกออร์โธด็อกซ์
วันฉลอง3 กรกฎาคม (โรมันคาทอลิก)

26 Pashons (คอปติกออร์โธด็อกซ์) วันอาทิตย์ทอมัส (วันอาทิตย์แรก Pascha)

6 ตุลาคม และ 30 มิถุนายน (ออร์ทอดอกซ์)
สัญลักษณ์แฝด, นิ้วจิ้มแผลพระเยซู, หอก และฉาก
องค์อุปถัมภ์สถาปนิก

โธมัสอัครทูต[1] (กรีก: Απόστολος Θωμάς อะโปสโตโลส ธอมัส) เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 72 ใกล้เมืองเชนไนในประเทศอินเดีย นักบุญโธมัสเป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ผู้เป็นที่รู้จักว่าเป็นผู้ที่ไม่เชื่อว่าพระเยซูคืนชีพหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนจริงเมื่อได้รับข่าว แต่เมื่อพระเยซูมาทรงปรากฏตัวโธมัสก็อุทานว่า “My Lord and my God” นักบุญทอมัสเป็นผู้เดียวในบรรดาอัครทูตที่ได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนานอกจักรวรรดิโรมัน รวมทั้งราชอาณาจักรเปอร์เชีย รัฐเกรละ (ในอินเดียปัจจุบัน) และประเทศจีน

นักบุญโธมัสในพระวรสารนักบุญยอห์น

[แก้]

นักบุญโธมัสปรากฏสองสามครั้งในพระวรสารนักบุญยอห์น11:16

หลังจากนักบุญลาซารัสเพิ่งเสียชีวิต สาวกหลายคนของพระเยซูไม่เห็นด้วยกับการที่จะทรงเดินทางกลับไปยูเดียซึ่งเป็นที่ที่โดนชนยิวโจมตีโดยการปาก้อนหิน แต่พระองค์ยังทรงต้องการเสด็จไป นักบุญโธมัสจึงกล่าวด้วยความกล้าหาญว่า “เราไปด้วยกันเถอะ และเราอาจจะตายกับพระองค์”[2]

นอกจากนั้นนักบุญโธมัสยังพูดในโอกาส พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย ยอห์น 14:5

เมื่อพระเยซูทรงย้ำว่าทรงทราบว่าจะเสด็จไปไหนแต่นักบุญโธมัสประท้วงว่าไม่มีใครทราบจุดหมาย พระเยซูทรงตอบนักบุญโธมัสและนักบุญฟีลิปอัครทูตที่ถามถึงความสัมพันธ์ของพระเยซูและพระเจ้าผู้เป็นพระบิดา
รูปปั้นโดยอันเดรีย เดล เวอร์โรชชิโอแสดงความสงสัยของนักบุญโธมัส

แต่ฉากที่สำคัญที่สุดของนักบุญโธมัสเป็นฉากในพันธสัญญาใหม่ ยอห์น 20:24–29

ที่นักบุญโธมัสมีความสงสัยในการคืนพระชนม์ของพระเยซูและขอพิสูจน์โดยการสัมผัสรอยแผลของพระองค์ก่อนที่จะยอมเชื่อที่เห็นได้จากภาพวาด “ความสงสัยของนักบุญโธมัส” โดย คาราวัจโจ เรื่องนี้เป็นที่มาของวลี  “ทอมัสขี้สงสัย” (Doubting Thomas) หลังจากที่เห็นว่าพระเยซูฟื้นขึ้นมาจริง (พระคัมภีร์ไบเบิลมิได้ระบุว่านักบุญทอมัสแตะแผลพระเยซู) นักบุญโธมัสก็อุทานว่า “My Lord and my God” และถูกเรียกว่า “โธมัสผู้มีความเชื่อ”[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "มัทธิว 10:3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.
  2. พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับนานาชาติ (New International Version)
  3. “ความศรัทธาและลักษณะของนักบุญโธมัส” (Faith and Character of Apostle Thomas) โดย ด็อกเตอร์แม็ทธิว เวลลานิคาล และบทความอื่นๆ ใน “St. Thomas Christian Encyclopaedia”

ดูเพิ่ม

[แก้]