สหภาพโซเวียต
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต อักษรซีริลลิก: Союз Советских Социалистических Республик¹ อักษรโรมัน: Soyuz Sovetskikh Sotsialisticheskikh Respublik¹ โซยุซ โซเวตสคิฮ์ โซเซียลิสตีเชสคิฮ์ เรสปูบลิค | |
---|---|
พ.ศ. 2465–2534 | |
คำขวัญ: Пролетарии всех стран, соединяйтесь! (ถ่ายตัวอักษร: Proletarii vsekh stran, soedinyaytes!) (แปล: ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกจงรวมกันเข้า!) | |
เพลงชาติ: เพลงสรรเสริญกรรมกร (2460-2461) แลงแตร์นาซียอนาล (2461-2487) เพลงชาติสหภาพโซเวียต (2487-2534) | |
สถานะ | สหภาพ |
เมืองหลวง | มอสโก |
ภาษาทั่วไป | ภาษารัสเซีย (ภาษาราชการโดยพฤตินัย) และอีก 14 ภาษาราชการ |
การปกครอง | สาธารณรัฐสังคมนิยม |
ประธานาธิบดี | |
• 2465-2467 | วลาดิมีร์ เลนิน |
• 2467-2496 | โจเซฟ สตาลิน |
• 2496-2507 | นิกิตา ครุสชอฟ |
• 2507-2525 | เลโอนิด เบรสเนฟ |
• 2525-2526 | ยูริ อันโดรปอฟ |
• 2526-2528 | คอนสตันติน เชียร์เนนโค |
• 2528-2534 | มิคาอิล กอร์บาชอฟ |
ประวัติศาสตร์ | |
23 ต.ค. 2460 | |
• ก่อตั้ง | 30 ธ.ค. 2465 พ.ศ. 2465 |
9 พ.ค. 2488 | |
4 ต.ค. 2500 | |
19 ส.ค. 2534 | |
• ล่มสลาย | 25 ธันวาคม 2534 |
พื้นที่ | |
2534 | 22,402,200 ตารางกิโลเมตร (8,649,500 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 2534 | 293047571 |
สกุลเงิน | รูเบิลโซเวียต (SUR) |
เขตเวลา | UTC+2 to +13 |
รหัสโทรศัพท์ | 7 |
โดเมนบนสุด | .su |
¹ชื่อทางการของสหภาพโซเวียต |
สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; อังกฤษ: The Union of Soviet Socialist Republics - USSR) นิยมเรียกสั้นว่า สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: Soviet Union) เคยเป็นประเทศขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปยูเรเชีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) อยู่มาจนกระทั่งล่มสลายในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)
การก่อตัวของสหภาพโซเวียตเกิดขึ้นเมื่อการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ถึงจุดสูงสุด โค่นล้มการปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 สหภาพโซเวียตเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ประเทศแรกของโลก โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของกลุ่มบอลเชวิค (ต่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต) เมื่อปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) องค์กรทางการเมืองที่ปกครองประเทศมีพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายต่างประเทศ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพแดงได้ทำลายกองทัพนาซีจนย่อยยับ และยึดครองกรุงเบอร์ลินได้แล้ว สหภาพโซเวียตได้ทำการก่อตั้งรัฐสังคมนิยมในประเทศที่โซเวียตยึดครองจากฝ่ายนาซีในแนวรบด้านตะวันออก จนเกิดเป็นโลกตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งขั้วมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น
เขตแดนของสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงเสมอ ก่อนการล่มสลายมีเขตแดนอยู่ในแนวใกล้เคียงกับปลายยุคจักรวรรดิรัสเซีย ไม่รวมประเทศโปแลนด์ ฟินแลนด์ และรัฐอะแลสกา โดยมีอาณาเขตติดต่อกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย ตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ อีกทั้งยังมีพรมแดนทางทะเลใกล้กับรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกาด้วย
ประวัติศาสตร์
การปฏิวัติรัสเซีย และการก่อตั้งสหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ยุคสตาลิน (ค.ศ. 1922-1953)
นับตั้งแต่สตาลินได้ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1922 สตาลินได้ดำเนินนโยบายแบบรวมอำนาจ แข็งกร้าว และรุนแรง เขาได้ริเริ่มแผนปฏิรูป 5 ปี เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก นโยบายดังกล่าวได้ทำให้เกิดการก่อตั้งนารวม (Collective farm) ขึ้น ส่งผลให้ชาวนาผู้ถือครองที่ดินอยู่ก่อนเกิดความไม่พอใจ สตาลินจึงสร้างค่ายกักกัน (Gulak) ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ในการคุมขังผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตลอดการปกครองของสตาลินมีผู้คาดการณ์ว่ามีนักโทษเสียชีวิตในค่ายกักกันถึง 60 ล้านคน สตาลินได้ทำการกวาดล้างผู้ต่อต้านครั้งใหญ่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 ซึ่งบุคคลเหล่านั้นรวมถึงสมาชิกพรรคบอลเชวิคหลายๆคนซึ่งเคยร่วมกับเลนินในการทำการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ด้วย
ในปี ค.ศ. 1932 สหภาพโซเวียตได้มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อลดอาวุธ ณ กรุงเวียนนา ในปีถัดมาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ
ในปลายทศวรรษที่ 1930 สหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับนาซีเยอรมนีและในปีเดียวกันความล้มเหลวในการเจรจาให้ฟินแลนด์เลื่อนเขตแดนให้ห่างจากเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (เลนินกราดในสมัยนั้น) ออกไปอีก 25 กิโลเมตร ทำให้สหภาพโซเวียตได้ใช้กำลังบุกฟินแลนด์ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียต
แม้ว่าสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะได้ทำข้อตกลงไม่รุกราน แต่นาซีเยอรมนีได้ละเมิดข้อตกลงและรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แม้ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตจะมียุทโธปรณ์ที่ทันสมัยซึ่งเป็นผลมาจากแผนปฏิรูป 5 ปี แต่กองทัพแดง ขาดผู้นำทางการทหารซึ่งเป็นผลมาจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน ทำให้กองทัพแดงขาดบุคลากรไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงแรกของสงครามสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้มาโดยตลอด แต่เมื่อกำลังเสริมจากไซบีเรียมาถึงสงครามจึงเปลี่ยนไป ฝ่ายเยอรมนีประสบกับความพ่ายแพ้มาตลอดจนเสียกรุงเบอร์ลินให้แก่สหภาพโซเวียต และสิ้นสุดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตาม สงครามดังกล่าวส่งผลให้ชาวรัสเซียเสียชีวิตไปกว่า 10 ล้านคน บ้านเรือน ไร่ นาเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อสิ้นสุดสงครามสหภาพโซเวียตได้สถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นในรัฐต่างๆที่ถูกปลดแอกจากการยึดครองของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย เป็นต้น
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ซ่อมแซมบ้านเมืองที่เสียหายจากสงคราม ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแผ่ขยายอำนาจและก่อตั้งรัฐบริวารในยุโรบตะวันออก ต่อมาได้ก่อตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ (Comecon) ในปีค.ศ. 1949 และสถาปนาสนธิสัญญาวอร์ซอในปี ค.ศ. 1955 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับเป็นการเริ่มตันของสงครามเย็นอย่างแท้จริง ซึ่งเปลี่ยนประเทศพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ให้กลายเป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต
ยุคครุสชอฟ (ค.ศ. 1953-1964)
สตาลิน ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 โดยไม่มีการแต่งตั้งทายาททางการเมือง นิกิตา ครุสชอฟ ได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นเลขานุการคนที่ 1 ของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Communist Party of the Soviet Union) ซึ่งเปรียบเสมือนตำแหน่งผู้นำของประเทศ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1956 เขาก็ทำให้โลกตะลึงด้วยการด้วยการประณามความเลวร้ายของสตาลิน ผู้ทำการปฏิวัติระบบนารวม (Commune) ให้ทรัพย์สินของทุกคนเป็นของส่วนรวม และนำสหภาพโซเวียตทำ สงครามเย็น กับสหรัฐอเมริกา
ในช่วงปลายของ ค.ศ. 1950 เกิดการแตกแยกระหว่างจีนกับโซเวียต ในเรื่องของอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์ เนื่องจากจีน โดย เหมา เจ๋อตง ไม่เห็นด้วยกับการยอมรับระบบทุนของโซเวียต และเห็นว่าควรรักษาแนวคิดระบบนารวมเอาไว้ การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และ โซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต
ในช่วงเวลานี้ของสหภาพโซเวียตดำเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องในการหาประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเปิดตัวดาวเทียมเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1 ส่งสุนัขไลก้าขึ้นสู่อวกาศ มนุษย์คนแรกของโลกที่ขึ้นสู่อวกาศคือ ยูริ กาการิน ในปี ค.ศ. 1963 ส่งผู้หญิงคนแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศคือ วาเลนตีนา เตเรชโควา ในปี ค.ศ.1965 ส่ง อเล็กซี ลีโอนอฟ มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ รวมทั้งส่งโรเวอร์คันแรกไปยังดวงจันทร์ ได้แก่ Lunokhod 1 และ Lunokhod 2
แม้ครุสชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขายังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจในปี ค.ศ. 1964
ยุคเบรจเนฟ (ค.ศ. 1964-1982)
ในเดือน ตุลาคม ปี ค.ศ. 1964 คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ โคชิกิน ได้เข้าทำรัฐประหารยึดอำนาจจากครุสชอฟ โดยครุสชอฟถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง
เบรจเนฟ ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคและประธานาธิบดี โดยมีนายโคซิกิน เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเรียกยุคนี้ว่าสมัยผู้นำร่วม เบรจเนฟ-โคชิกิน การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีลักษณะผ่อนคลาย มีการดำเนินการเจรจาการจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (SALT I,SALT II) ในปี ค.ศ.1972และ ค.ศ.1979 ตามลำดับ มีการดำเนินการเจรจาเพื่อความร่วมมือกันในยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ในปี ค.ศ. 1975 มีการประกาศใช้ หลักการของเบรจเนฟ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1968 เพื่อยืนยันสิทธิและพันธะกิจของสหภาพโซเวียต ในการพิทักษ์ความปลอดภัยแก่ลัทธิสังคมนิยม
ในด้านการบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์ เบรจเนฟได้ตั้งกฎการเปลี่ยนตัวบุคคลจากภายในโปลิตบูโรขึ้นมาใหม่โดยการจัดให้มีการเปลี่ยนบุคคลต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านสมัชชา แต่ผ่านแค่คณะกรรมการกลางพรรคเท่านั้น ซึ่งตามธรรมนูญของพรรคแล้วถือว่าสมัชชาพรรคเป็นองค์กรสูงสุดของพรรค ที่สามารถดำเนินเป็นอิสระจากฝ่ายผู้นำได้ ที่ประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตประกอบด้วยสมาชิกถาวรทั้ง 14 คน กับสมาชิกสมทบทั้ง 10 คนของโปลิตบูโร
เบรจเนฟ ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ด้วยความสงบ โดยมี แอนโดรปอฟ ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ใน วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ยูริ วี แอนโดรปอฟ นั่งในตำแหน่งเลขาธิการพรรคได้ไม่นานก็ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 กอนสตันติน ยู เชอร์เนนโก (Constantine U. Chernenko) ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 และเพียงหนึ่งปีก็ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1985
การปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1985-1991)
เมื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) ที่ให้อิสระเสรีแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ. 1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย Law on Cooperatives Law on Cooperatives ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อลัทธิมาร์กซ์อย่างสิ้นเชิง
ต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 คือ บอริส เยลซิน ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3% (มีการเลือกตั้งในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา New Union Treaty ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 มีเนื้อหาแปลงสหภาพโซเวียตให้เป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้น ๆ
การปฏิรูปของกอร์บาชอฟส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ และเกิดเป็นความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริหารจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า การรัฐประหารเดือนสิงหาคม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่างๆของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์
ภูมิศาสตร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประเทศที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายเมื่อปี ค.ศ. 1991 ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ แบ่งแยกตั้งเป็นประเทศทั้งหมด 15 ประเทศ หลังจากการแยกตัวออกมาปกครองอย่างเอกเทศแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังมีการรวมกลุ่มกันเป็นเครือรัฐเอกราช Commonwealth of Independent States (CIS) ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย
- ประเทศเอสโตเนีย
- ประเทศลัตเวีย
- ประเทศลิทัวเนีย
- ประเทศเบลารุส
- ประเทศยูเครน
- ประเทศรัสเซีย
- ประเทศอาร์เมเนีย
- ประเทศอาเซอร์ไบจาน
- ประเทศคาซัคสถาน
- ประเทศคีร์กีซสถาน
- ประเทศมอลโดวา
- ประเทศทาจิกิสถาน
- ประเทศเติร์กเมนิสถาน
- ประเทศอุซเบกิสถาน
- ประเทศจอร์เจีย
การเมือง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
- ยุทธศาสตร์โซเวียต
- เป็นศิลปที่มุ่งที่จะแสวงหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดแก่โซเวียตเท่าที่ทำได้ในสภาวะจำกัด เพื่อรับใช้อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ จะแปรเปลี่ยนไปตามขั้นตอน อาจจะรุกไปข้างหน้าหรือถอยไปข้างหลังเพื่อรอจังหวะ โดยดำเนินการทั้งยุทธศาสตร์ทางตรง ได้แก่ การใช้กำลัง และยุทธศาสตร์ทางอ้อม เช่นทางจิตวิทยาหรือโฆษณาชวนเชื่อ
- ยุทธศาสตร์ของโซเวียตได้ยึดถือแนวความคิดของเลนิน-สตาลิน ในเรื่อง “ความสัมพันธ์กำลังรบ” เป็นแนวในการดำเนินการประกอบกับทางเลือกต่างๆ ในการปฏิบัติซึ่งเรียกว่า ”ยุทธวิธี” (Tactics) บางครั้งยุทธวิธีอาจสวนทางกับอุดมการณ์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าจะเลือกปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์ตอบแทนมากกว่า
หลักการในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
- อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เป็นองค์ประกอบตายตัวในนโยบายต่างประเทศ อาจมีการผ่อนปรนในบางครั้ง ถ้าเห็นว่าผลประโยชน์สำคัญของชาติ (Vital National Interest) นั้นมีความสำคัญกว่า บางครั้งอาจจะต้องชะลอเพื่อสร้างฐานที่แข็งแกร่งไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติโลก
- ยุทธศาสตร์โซเวียต
- ทิศทางปฏิบัติการ เป็นความพยายามเชื่อมต่อปฏิบัติการย่อยๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ยุทธวิธีมีความเป็นเอกภาพ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมากกว่ายุทธศาสตร์ เป้าหมายเพื่อการเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ และบรรลุอุดมการณ์คอมมิวนิสต์
นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ
- นโยบายต่างประเทศก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
- นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นับตั้งแต่ปี 1945 -1985 สามารถแบ่งได้ดังนี้
- นโยบายต่างประเทศของโซเวียตช่วงก่อนการล่มสลาย
กองทัพ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองทัพบก
กองทัพอากาศ
กองทัพเรือ
กองกำลังกึ่งทหาร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เศรษฐกิจ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การคมนาคม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ศาสนา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาษา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดนตรี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การท่องเที่ยว
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วันหยุด
วันที่ | ชื่อวัน | ชื่อประจำท้องถิ่น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 มกราคม | วันปีใหม่ | Новый Год | |
7 มกราคม | วันคริสต์มาส | Рождество | วันคริสต์มาสตามนิกายออเทอร์ดอกซ์ ไม่ใช่วันหยุดประจำชาติ ในสหภาพโซเวียต |
13 มกราคม | วันปีใหม่เดิมของรัสเซีย | Старый-Новый год Календарь (Old-Calendar New Year) | ชาวรัสเซียเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 13 ด้วย อันเนื่องมาจากยึดตามปฏิทินเก่า ไม่ใช่วันหยุดประจำชาติ ในสหภาพโซเวียต |
23 กุมภาพันธ์ | วันกองทหารแห่งโซเวียต | День Защитника Отечества (Den zashchitnika Otechestva) | เพื่อรำลึกการก่อตั้ง กองทัพแดง ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1918 ขณะนี้รัสเซียเรียกวันนี้ว่า "วันผู้รักษามาตุภูมิ" День Советской Армии и Военно-Морского Флота (yen' Sovyetskoy Armii i Voyenno-Morskogo flota) และ ในปี ค.ศ. 1923 ผู้ชายทุกคนในรัสเซียถูกเรียกให้รายงานตัวเข้าประจำการกองทัพแดง เพื่อเข้าร่วมสงครามต่อต้านทหารเยอรมัน |
8 มีนาคม | วันสตรีสากล | Международный Женский День | วันหยุดสากลให้แก่ความเท่าเทียมทางเพศแก่สตรี |
12 เมษายน | วันนักบินอวกาศ | День Космонавтики (Day of Cosmonautics) | День Космонавтики - คือวันที่ยูริ กาการินเป็นมนุษย์คนแรกได้ขึ้นไปในห้วงอวกาศ ในปีพ.ศ. 2504. ไม่ใช่วันหยุดประจำชาติในสหภาพโซเวียต. |
1 พฤษภาคม | วันแรงงานสากล (May Day) | Первое Мая - День Солидарности Трудящихся ("International Day of Worker's Solidarity") | มีการฉลองอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 2 พฤษภาคม. หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันแรงงานและเฉลิมฉลองเข้าสู่ฤดูใบไม้พลิ." |
9 พฤษภาคม | ชัยชนะเหนือเยอรมนี | День Победы (Victory Day) | วันสิ้นสุดของมหาสงครามของผู้รักชาติ ซึ่งกองทัพแดง,เอาชนะนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2, พ.ศ. 2488 |
7 ตุลาคม | วันรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต | День Конституции СССР | เป็นวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2520 - เดิมก่อนหน้าวันได้ใช้วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันรัฐธรรมนูญ |
4 พฤศจิกายน | วันเอกภาพแห่งมวลชน | День Народного единства (People’s Unity Day) | เป็นวันที่มีการรวมตัวกัน ของชาวมอสโกโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา และสถานะในสังคมเพื่อทำการต่อต้าน การรุกรานของโปแลนด์ที่เข้ามาในปี 1612 |
7 พฤศจิกายน | การปฏิวัติสังคมนิยมในสหภาพโซเวียต | Седьмое Ноября | การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ; ซึ่งเรียกวันนี้ว่า День Примирения и Согласия ("Day of Reconciliation and Agreement") และมีการฉลองอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน. |
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- ภาพของสหภาพโซเวียต - แหล่งรวบรวมภาพ แสดงภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในสหภาพโซเวียต
- Impressions of Soviet Russia (ความประทับใจในโซเวียต รัสเซีย) , โดย John Dewey
- แผนที่ของ Western USSR