ข้ามไปเนื้อหา

กลองยาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
กลองยาว

กลองยาว[1]: 240  เป็นเครื่องดนตรี สำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง

ประวัติกลองยาว

เชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า[2]: 52 [3]: 280  ซึ่งนักโบราณคดีของรัฐบาลพม่ากล่าวกับกรมศิลปากร เมื่อ เดือนเมษายน พ.ศ. 2509 ในระหว่างการแสดงของคณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรเพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีของรัฐบาลไทย-พม่า ณ กรุงย่างกุ้งและมัณฑเลย์ว่าพม่าได้แบบอย่างกลองยาวมาจากไทใหญ่[3]: 280  อีกทอดหนึ่ง ในสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกัน เวลาพักรบ ทหารพม่าก็เล่น "กลองยาว" กันสนุกสนาน พวกชาวไทยได้เห็นก็จำแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางท่านก็เล่าว่า กลองยาวของพม่าแบบนี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาเล่นในงานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน เป็นต้น และนิยมเล่นกันเป็นที่รื่นเริง สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ และเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง วงหนึ่งๆ จะใช้กลองยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม มี ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า "เถิดเทิง" หรือ "เทิงกลองยาว" ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่า เรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Morton D., and Chenduriyang (Piti Vadyakara), Phra. (1976). The Traditional Music of Thailand. CA, United States: University of California Press. 258 pp.
  2. นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (2515). สาส์นสมเด็จ เล่ม ๙. ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
  3. 3.0 3.1 ธนิต อยู่โพธิ์. (2516) "ตำนานเถิดเทิง หรือ การละเล่นเทิงบ้องกลองยาว", ศิลปละคอนรำ หรือคู่มือนาฏศิลปไทย. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรโปรดให้พิมพ์ในงานฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 362 หน้า.
  • พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542