ข้ามไปเนื้อหา

สงกรานต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงกรานต์
สงกรานต์ในไทย, พม่า, กัมพูชา และ ลาว
ชื่อทางการตามประเทศ
ได้แก่
จัดขึ้นโดยชาวพม่า, กัมพูชา, ได, ลาว, ไทย, บังกลาเทศ, ศรีลังกา, ไทดำ และอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน
ความสำคัญวันขึ้นปีใหม่
วันที่โดยทั่วไป 13–14 เมษายน
ความถี่รายปี
ส่วนเกี่ยวข้องเมษสังกรานติ

สงกรานต์ เป็นคำภาษาไทยมาจากภาษาสันสกฤต สํกฺรานฺติ (saṅkrānti) ใช้เรียกวันปีใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไท[1] ซึ่งเฉลิมฉลองในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, พม่า, บางส่วนของอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, เวียดนาม และสิบสองปันนาในประเทศจีน[2][3] สงกรานต์เริ่มต้นเมื่อดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ สัญลักษณ์ดาราศาสตร์แรกในจักรราศีตามดาราศาสตร์ดาวฤกษ์[4]

การเฉลิมฉลองปีใหม่ในวาระเดียวกับสงกรานต์ในประเทศต่าง ๆ จะเรียกแตกต่างกันได้แก่ โจลชนัมทเมยในกัมพูชา, ปีใหม่ในลาว, ปีใหม่สิงหลในศรีลังกา, สงกรานต์ในประเทศไทย, ตะจานในพม่า, สังเกนในรัฐอรุณาจัลประเทศและอัสสัมของอินเดีย, เทศกาลพรมน้ำในสิบสองปันนาและบางส่วนของเวียดนาม[5][6]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำ สงกรานต์ เป็นคำวิสามานยนาม[7] จัดเป็นคำภาษาไทย[8] (เอกสารพิพิธภัณฑ์สิ่งทอ มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ระบุว่าเป็นคำภาษาสยาม[9]) ซึ่งเป็นคำยืมจากภาษาอื่น[10] กร่อนมาจากคำว่า สังกรานต์[11] ซึ่งมีรากมาจากภาษาสันสกฤตว่า สํกฺรานฺติ[12] (Sankranti; สันสกฤต: सङ्क्रान्ति) หรือภาษาบาลีว่า สังขารา[13] (Saṅkhāra; บาลี: सङ्खार) แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป ในที่นี้หมายถึง พระอาทิตย์โคจรหรือเคลื่อนย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง ซึ่งกินเวลาประมาณ ๑ เดือน ศ.เกียรติคุณ มณี พยอมยงค์ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์) ได้ให้ความหมายคำว่า สังกรานติ แปลว่า วันเดือนปีที่ล่วงไป[11] (ดวงดาวเคลื่อนเปลี่ยนผ่านแบบไม่เจาะจงราศี) ส่วนคำเจาะจงเขียนว่า เมษสังกรานติ (meṣha saṅkrānti) หมายถึง การเปลี่ยนผ่านของดวงดาวในราศีเมษ (หากดวงดาวเปลี่ยนผ่านในราศีมังกรจะเรียกว่า มกรสังกรานติ หรือราศีกุมภ์เรียกว่า กุมภสังกรานติ เป็นต้น)

คำ สงกรานต์ ยังถูกบรรจุอยู่ในหนังสือ และพจนานุกรมภาษาต่างประเทศโดยยังคงความหมายเดิมว่าเป็นวันปีใหม่ของไทย อาทิ ฝรั่งเศส: La fête du Songkran,[14] ดัตช์: Sonkraen,[15] ญี่ปุ่น: ソンクラーン,[16] จีน: 宋干节[17] และ เกาหลี: 송끄란[18] ยกตัวอย่าง เช่น พจนานุกรม Oxford English Dictionary ให้ความหมายว่า "The festival of the Thai New Year, ..."[19]

แม้คำว่า สงกรานต์ จะเป็นคำยืมมาจากภาษาสันสกฤตแต่ประเทศอินเดียไม่มีประเพณีสงกรานต์[20]

ชาติพันธุ์

[แก้]

คำสงกรานต์มีชื่อเรียกตามกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา หรือตามถิ่นต่าง ๆ ดังนี้

  • สง์กรน์ (คำยืมจากภาษาสันสกฤต) หรือ สงฺกนฺตะ (คำยืมจากภาษาบาลี) (ประเทศพม่า)[31]
  • ว่านอะต๊ะ[35] หรือ ซังกราน (သၚ်ကြာန်)[36] (ชาวมอญ)

ประเทศกัมพูชา

[แก้]

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศกัมพูชาพบคำจารึกว่า ซ็องกรานตะ (Sankranta) ซึ่งมีรากคำมาจากภาษาสันสกฤต ปรากฏตามศิลาจารึก ดังนี้[37]

  • ศิลาจารึกยโศธราศรมสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (Preah Theat Preah Srei) (K.650) พ.ศ. 1421-1520 พบคำจารึกว่า "...raṅko {A8} śvetatandula liḥ vyar pratidina ○ saṅkrānta raṅko thlva{A9} ṅ...".
  • ศิลาจารึกปราสาทพิมานอากาศ (Phimeanakas) (K.291) พ.ศ. 1453 จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา พบคำจารึกว่า "...raṅko liḥ 4 pratidina saṅkrā[nta] {N32} pūjā neḥ nai...".
  • ศิลาจารึกเปรี๊ยะนัน Preah Nan (Edicule F) พ.ศ. 1546 จังหวัดกำปงจาม ประเทศกัมพูชา พบคำจารึกว่า "...jalāṅgeśvara saṅkrānta raṅko je 1 pratidina liḥ 1 thlvaṅ □ {5}..."
  • ศิลาจารึกปราสาทเสกตาตุย (Prasat Sek Ta Tuy) บนกรอบประตูของซุ้มประตู 2 พ.ศ. 1569 จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา พบคำจารึกว่า "...○ kalpanā caru li[ḥ] ------- pratidina ------------- {26} ḥ mimvāy saṅkrānta..."
  • ศิลาจารึกสำโรง (Samrong) (K.258) พ.ศ. 1650 จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา พบคำจารึกว่า "...liṅgapura raṅko je mvay {C14} pratidina saṅkrānta dau pūrvvadvāra je mvay..."

แอมอนีเยร์ (Étienne Aymonier) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาสำรวจศิลาจารึก ทำสำเนา และสำรวจภูมิประเทศดินแดนสยาม-ลาว-เขมรเพื่อสร้างแผนที่ก่อแนวเขต ได้เขียนบันทึกวันขึ้นปีใหม่ของประเทศกัมพูชาเรียกว่า มหาซ็องกราน[38] พบในเอกสารชื่อ Le groupe d'Angkor et L'histoire Vol. III : Le Cambodge ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) บันทึกของแอมอนีเยร์ ยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างวันสงกรานต์ของกัมพูชากับไทยว่า มหาซ็องกราน (Maha Sangkran) ของกัมพูชา หมายถึง วันขึ้นปีใหม่ที่ระบุในปฏิทินขนาดเล็กทางราชการเท่านั้น ส่วนของไทย (สยาม) หมายถึง การเคลื่อนย้ายของดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษซึ่งชาวสยามเรียกวันดังกล่าวว่า สงกรานต์ (Songkran)[38]

ส่วนบันทึกของเลอแคลร์ (Adhémard Leclère) ผู้ว่าการชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาพำนักในกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส เรียก มหาซ็องกรานต์ (Maha sankrant) [39] หรือ ซ็องกรานต์ (Sankrant)[39] พบในเอกสารชื่อ L’almanach Cambodgien Et Son Calendrier Pour 1907–1908 ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเทศไทย

[แก้]

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทยพบคำ สงกรานต์ ซึ่งมีคำจารึกเป็นอักษรขอมโบราณมีความหมายการโคจรของพระอาทิตย์แบบไม่เจาะเฉพาะแค่ราศีเมษ พบได้ดังนี้

  • ศิลาจารึกวัดพระธาตุเชิงชุม[40] (สน.2, K.369) พ.ศ. 1543 จังหวัดสกลนคร พบคำจารึกบรรทัดที่ 11 ตัวอักษรขอมโบราณว่า "จำมลกฺรานฺต นุ ชา ปี ทุกฺ นา องฺคุยฺ". แปลว่า "...แด่สงกรานต์ และไว้ประจำแก่..."[41] (ผู้แปล รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ)
  • ศิลาจารึกวัดสระกำแพงใหญ่[42] (ศก.1, K.374) พ.ศ. 1585 จังหวัดศรีสะเกษ พบคำจารึกว่า วิศุวสํกรานฺต (Vishuva Sankranti) หมายถึง วันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะคือเวลาเที่ยง มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน[43]: 9  (ผู้แปล อำไพ คำโท กรมศิลปากร) แต่คำสงกรานต์ในปราสาทสระกำแพงใหญ่ไม่มีหลักฐานขบวนแห่ในประเพณีวันสงกรานต์[44]
  • ศิลาจารึกปราสาทหินพิมาย 2[45] (นม.29, K.953) พ.ศ. 1589 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พบคำจารึกว่า (สงฺ)กรานฺต หมายถึง วันสงกรานต์ (คือในวันที่พระอาทิตย์โคจรจากราศีหนึ่งไปอีกราศีหนึ่ง)[43]: 9  (ผู้แปล ศ.ฉ่ำ ทองคำวรรณ)
  • ศิลาจารึกปราสาทหินพนมวัน 3[46] (นม.1, K.391) พ.ศ. 1625 จังหวัดนครราชสีมา มีคำว่าสงกรานต์ ปรากฏคำจารึกว่า "กฺฤติกาฤกษ สงฺกรานต ศุกรวาร" แปลว่าพระจันทร์เสวยฤกษ์กฤติกาวันศุกร์ และคำจารึกว่า "รงฺโก ถลวง มวยเนะต สงฺกรานต ต ปรวา ทิวสน" แปลว่าข้าวสารหนึ่งถลวง เวลาขึ้นปีใหม่และในเวลาเปลี่ยนปักษ์ (ผู้แปล อ.ทองสืบ ศุภะมารค)[47]: 5 
  • พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ มีคำว่า สงกรานต์ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในเหตุการณ์เสด็จยกทัพไปเมืองตองอู พ.ศ. 2142 ว่า "ศักราช ๙๖๑ กุญศก วัน ๑๑ ฯ  ๑๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๘ บาท เสด็จพยุหบาตราไปเมืองตองอู ฟันไม้ข่มนามตําบล หล่มพลีตั้งทัพไชย ตําบลวัดตาล แลในเดือน ๑๑ นั้น สงกรานต์พระเสาร์แต่ราศีกันย์ไปราศีตุลย์"[48]: 29 

นับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ความหมายของคำ สงกรานต์ เริ่มมีความหมายแบบเจาะจงถึงการโคจรของพระอาทิตย์จากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ (ปีใหม่สุริยคติฮินดู) ปรากฏตามหลักฐานดังนี้[43]

ส่วนคำ สงกรานต์ ในภาษาอังกฤษที่ใช้ในปัจจุบันเขียนว่า Songkran[49] หมายถึง เทศกาลสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่สยาม และการสาดน้ำซึ่งมีความหมายแตกต่างจากความหมายเดิมของคำว่า สังกรานติ ในภาษาสันสกฤต กล่าวได้ว่าคำ สงกรานต์ เป็นคำภาษาไทยที่มีวิวัฒนาการผ่านการขัดเกลาด้วยวัฒนธรรมไทยมายาวนานตั้งแต่อดีตจนกลายเป็นประเพณีวันสงกรานต์ของไทยจนถึงปัจจุบัน พบในบันทึกของชาวต่างชาติร่วมสมัยดังนี้

  • De Beschryving van Japan (The History of Japan) ของหมอแกมป์เฟอร์เขียนจดบันทึกเมื่อ พ.ศ. 2233 รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาสะกดว่า Sonkraen[50] และบรรยายถึงพิธีประจำปีของชาวไทยซึ่งทำเมื่อขึ้นปีใหม่เรียกว่า สงกรานต์ (Sonkraen)[51]
  • จินดามะณี ตำราไวยากรณ์ไทยฉบับพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์[52] (Grammatica Linguæ Thai Auctore D. J. Bapt. Pallegoix) (พ.ศ. 2393) แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สะกดว่า สงกรานต (ไม่มีการันต์) และ Songkran
  • สัพะ พะจะนะ พาสา ไท[53] (พ.ศ. 2397) ฉบับพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ บาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสซึ่งเข้ามาพำนักในสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นพจนานุกรมซึ่งแต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นหนังสือพจนานุกรม 4 ภาษา ประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน หนังสือระบุความหมายคำ สงกรานต์ สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า SONGKRAN ความหมายในภาษาละติน:- "Ad alium locum pergere; angelus qui praesidere anno." ความหมายในภาษาฝรั่งเศส:- "Aller dans un autre endroit; ange qui preside a l'anne." ความหมายในภาษาอังกฤษ:- "To go to another place; angel preside over the year."
  • Bangkok Calendar (พ.ศ. 2404) ของหมอบลัดเลโดยสมาคมมิชชันนารีอเมริกัน
  • Travels in Siam in the Year 1863[54] (ฉบับภาษาเยอรมัน) (พ.ศ. 2406) แต่งโดย Adolf Philipp Wilhelm Bastian นักพหูสูตชาวเยอรมันศตวรรษที่ 19
  • The Siam Repository (พ.ศ. 2414) ของหมอสมิธ
  • A Journey Round the World in the Years 1875-1876-1877 (พ.ศ. 2422) โดย John Henry Gray [en]

ส่วนหลักฐานร่วมสมัยของไทยพบใน

คำประพันธ์ (บางส่วน)

๏ ทีนี้จะกล่าวเรื่องเมืองสุพรรณ ยามสงกรานต์คนนั้นก็พร้อมหน้า
จะทำบุญให้ทานการศรัทธา ต่างมาที่วัดป่าเลไลย
หญิงชายน้อยใหญ่ไปแออัด ขนทรายเข้าวัดอยู่ขวักไขว่
ก่อพระเจดีย์ทรายเรี่ยรายไป จะเลี้ยงพระกะไว้ในพรุ่งนี้
นิมนต์สงฆ์สวดมนต์เวลาบ่าย ต่างฉลองพระทรายอยู่อึงมี่
แล้วกลับบ้านเตรียมการเลี้ยงเจ้าชี ปิ้งจี่สารพัดจัดแจงไว้
ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ตอนพลายแก้วบวชเณร[57]


  • ประชุมพงศาวดาร เรื่อง ก่อพระทรายครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศตอนปลายกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ใช้คำว่า วันมหาสงกรานต์[58] เป็นธรรมเนียมโบราณราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาสืบมาแต่ก่อนทั้งพระราชประเพณีก่อพระทราย พระราชประเพณีถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ พระราชประเพณีขนทรายเข้าวัดและประโคมเครื่องดุริยางค์ดนตรี เป็นต้น
  • หนังสือพิมพ์รัตนโกษ (หนังสือพิมพ์มิวเซียม) ฉบับจุลศักราช ๑๒๓๙ (พ.ศ. 2420) รัชกาลที่ 5 มีคำสงกรานต์ปรากฏความว่า:- "อนึ่ง ข้าพเจ้าได้สัญญาไว้แก่ท่านทั้งหลายว่า หนังสือรวมเรื่องเล่มใหญ่นี้จะออกให้ทันในสงกรานต์หาทันไม่นั้นคือค้างช้าอยู่ ด้วยหนังสือปฏิทินต้องทำยากแลติดสงกรานต์ ผู้ที่ทำการพิมพ์ก็หยุดไปทำการสงกรานต์ตามธรรมเนียมอยู่บ้าง หนังสือจึงค้างช้าไปออกหาทันสงกรานต์ไม่"[47]: 34 

และยังปรากฏตัวสะกดอีกแบบว่า Songkrant[59] (ตัว 't' ไม่อ่านออกเสียง) ปรากฏในเอกสารของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เอกสาร The Siam Repository (พ.ศ. 2414) ของหมอสมิธ และเอกสารขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ส่วนวารสารชื่อ Kamarupa Anusandhan Samiti (Assam Research Society) ของสมาคมวิจัยรัฐอัสสัม สถาบันวิจัยเก่าแก่ที่สุดทางเหนือและตะวันออกของประเทศอินเดีย เขียนว่า Sangken หรือ Sangkran[60] ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่อาศัยอยู่ทางตะวันออก-เหนือของประเทศอินเดีย

รายชื่อสงกรานต์

[แก้]
ชื่อท้องถิ่น ที่ตั้ง เริ่ม สิ้นสุด
ปีใหม่ลาว ลาว 14 เม.ย. 16 เม.ย.
สงกรานต์ ไทย 13 เม.ย. 15 เม.ย.
สังเกน รัฐอรุณาจัลประเทศและรัฐอัสสัม (อินเดีย) 14 เม.ย. 16 เม.ย.
ตะจาน พม่า 13 เม.ย. 16 เม.ย.
โจลชนัมทเมย กัมพูชา 14 เม.ย. 16 เม.ย.
พัวสุ่ยเจี๋ย สิบสองปันนา, มณฑลยูนนาน (จีน) 13 เม.ย. 15 เม.ย.
อะรุดตา วะรุดตะดา ศรีลังกา 14 เม.ย. 14 เม.ย.
ปีใหม่เมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ ภาคเหนือของประเทศไทย 13 เม.ย. 16 เม.ย.

รูปภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. A Research School of Pacific Studies, Australian National University. (2001, Jan 1). Thai-Yunnan Project: The Tai World: A Digest of Articles from the Thai-Yunnan Project Newsletter, in Memory of Gehan Wijeyewardene, by Gehan Wijeyewardene, Andrew Walker and Nicholas Tapp, Dept. of Anthropology. Oakland, CALIFORNIA: Masalai Press. 272 pp. p. 78. "water-splashing at Songkran the symbol of Tai."
    • Brehm, W., Gita Steiner-Khamsi, Yuto Kitamura, Shigeru Aoyagi, and Thongchai Winichakul. (2022). Memory in the Mekong: Regional Identity, Schools, and Politics in Southeast Asia. New York: Teachers College Press, Columbia University. 200 pp. ISBN 978-080-7-76636-1. p. 88. "Thai and Tai people are alternately referred to, we can observe that another criterion for being Thai is “Thai culture and customs,” with an example of the celebration of Songkran Day."
  2. "制造传统 关于傣族泼水节及其相关新年话语的研究". Open Times. February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-14. สืบค้นเมื่อ 17 January 2017.
  3. "Donald K. Swearer The Buddhist World of Southeast Asia" (PDF). Ahandfulofleaves.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 7 January 2019.
  4. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-08. สืบค้นเมื่อ 2017-01-16.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. Planet, Lonely (21 March 2011). "The Dai water-splashing festival: where China meets Southeast Asia". Lonely Planet. สืบค้นเมื่อ 7 January 2019.
  6. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-09. สืบค้นเมื่อ 2016-06-05.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. จันทร์เพ็ญ งามพรม. (2560, กันยายน)."แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักภาษาไทย", การพัฒนาระบบคลังคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา) มหาวิทยาลัยบูรพา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 248 หน้า. หน้า 44.
  8. V. S. Bhaskar, Government of Assam, India. (2009). "Festivals: Songkran", Faith & Philosophy of Buddhism. New Delhi, India: Kalpaz Publications. 312 pp. pp. 261-262. ISBN 978-817-8-35722-5. "Songkran is a Thai word which means 'move'..."
    • Taipei City Government, Taiwan (ROC). (2008). Teipei: 2008 Yearbook. [臺北市年鑑2008-英文版 (In Chinese)]. Taipei: Taipei City Government Editorial Group. 386 pp. ISBN 978-986-0-14421-5. p. 269. "(Songkran) is in April, and Thai people celebrate their new year by splashing water at each other, hence the Thai name Songkran, i.e., "Water Splashing Festival."
    • Komlosy, A. (2002). Images Of The Dai : The Aesthetics Of Gender And Identity In Xishuangbanna. [Doctoral Dissertation, University of St. Andrews]. University of St. Andrews Research Repository. 'https://hdl.handle.net/10023/7293'. p. 334. "The term Songkran is a Thai word meaning to move, here it refers to the Sun which moves into the sign of Aries at this time of the year". pp. 334–335. "The Thai term Songkran is now used by many Southeast Asia specialists to refer to the New Year festival held in many countries, including Myanmar, Laos and China."
    • Rooney, Dawn F. (2008). Ancient Sukhothai: Thailand's Cultural Heritage. Bangkok: River Books Press. 247 pp. ISBN 978-974-9-86342-8. p. 36. "'Songkran' is a Thai name that derives from a Sanskrit word meaning 'to move to', a reference to the sun's movements.
    • Anouska Komlosy. "Procession and Water Splashing: Expressions of Locality and Nationality during Dai New Year in Xishuangbanna: Songkran", The Journal of the Royal Anthropological Institute, 10(2). (2004, June). London: Royal Anthropological Institute of Great Britain and Ireland. JSTOR #i370994. p. 357. "The term Songkran is a Thai word meaning ' to move ' , and it refers here to the Sun, which moves into the sign of Aries at this time of the year."
    • ประคอง นิมมานเหมินท์. "Myth and Ritual: A Study of the Songkran Festival", วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 29(1–2), (มกราคม-มีนาคม 2547). หน้า 345–350. "Songkran is a Thai word which means of movement."
    • Malaysia, Jabatan Perpaduan Negara Dan Integrasi Nasional (JPNIN). (1985). Festivals and religious occasions in Malaysia. (First series). Kuala Lumpur: The National Unity Department of Malaysia, Prime Minister's Dept. 36 pp. p. 26. "‘SONGKRAN’ is a Traditional New Year of the Thai people and this day normally fulls in the month of April. 'SONGKRAN' is a Thai word meaning change of exchange."
    • Sir. Philip John Newling Ward, Maj. Gen. (1974). "THE SONGKRAN FESTIVAL", Bangkok: Portrait of a City. Cambridge, United Kingdom: The Oleander Press. 136 pp. p. 111. ISBN 978-090-2-67544-5. "Thai word ' Songkran ' literally means a move or change".
  9. Mattiebelle Gittinger Obituary and Lefferts, Jr. H. Leedom. (1992, Jan 1). Textiles and the Tai Experience in Southeast Asia: Catalog of an exhibition held at the Textile Museum, Washington, D.C., Oct. 2, 1992–Jan. 3, 1993 and at other museums. Washington, D.C.: The George Washington University Museum and The Textile Museum (Washington, D.C.). 264 pp. p. 90 Ref. 23. ISBN 978-087-4-05031-8. "Songkran is the Siamese word for this period."
  10. วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2551). ภาษาไทยถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 281 หน้า. หน้า 23. ISBN 978-974-9-93471-5
  11. 11.0 11.1 มาลา คําจันทร์. (2549). องค์ความรู้ประเพณีปี๋ใหม่เมือง. เชียงใหม่: โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา. อ้างใน มณี พยอมยงค์. (2529). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. กรุงเทพฯ: ส. ทรัพย์การพิมพ์. หน้า 251-252. "ศัพท์ว่า สังกรานต์ มาจากภาษาสันสกฤตว่า สังกรานติ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มณี พยอมยงค์ ให้ความหมายของสังกรานติไว้ในหนังสือประเพณีสิบสองเดือนว่า สังกรานติ แปลว่า วันเดือนปีที่ล่วงไป"
  12. กรมศิลปากร, คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี. (2525). "สงกรานต์", ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม ๓ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์. จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 320 หน้า. หน้า 136. "สงกรานต์ มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า สํกฺรานฺติ แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป ในที่นี้หมายถึง พระอาทิตย์โคจรหรือเคลื่อนย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง ซึ่งกินเวลาประมาณ ๑ เดือน เมื่อผ่านไปครบจักราศีคือ ๑๒ ราศี ก็เป็นเวลา ๑ ปี โดยประมาณ"
    • ปรานี วงษ์เทศ. (2548). ประเพณี 12 เดือน ในประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอดของคน. กรุงเทพฯ: มติชน. 234 หน้า. ISBN 978-974-3-23624-2. หน้า 65. "สงกรานต์ มีรากจากภาษาสันสกฤตว่า สงฺกฺรานฺติ"
  13. Yavaprapas, S., Ministry of Culture (Thailand). (2004). Songkran Festival. (2rd Ed.). Bangkok: Ministry of Culture (Thailand). 95 pp. pp. 20-22. ISBN 978-974-7-10351-9. "Songkran is "to progress". Sanskrit in origin, the word can also be taken to mean that "to set up" The original word "Sankranti" in Sanskrit or "Sankhara" in Pali."
  14. DE FELS, JACQUELINE. (1993). Promotion de la littérature en Thaïlande vers les prix littéraires (1882-1982). Paris: INALCO. p. 620.
  15. Erdmann H. J. and Kaempfer E. (1977). Southeast Asia and the Germans. Tübingen, Basel: Erdmann. p. 21. ISBN 978-377-1-10287-6
  16. Aoyagi, Machiko. (2003). 「『文化交流学を拓く』 (Bunka Koryugaku o Hiraku)」. Kyoto-shi: Sekai Shisousha. p. 80. ISBN 978-479-0-70982-4
  17. He, Tian, Fang Ye, Zhou and Institute of Asia-Pacific and Global Strategy, Chinese Academy of Social Sciences. (2016). 「『第一章、 概 览』、 泰国 (Thailand)」. Beijing: Social Sciences Literature Press Liguozhi Publishing Center. p. 51. ISBN 978-750-9-78859-2
  18. Dodd S.J. and Techaikovskaya. (2015). 「세계의 가장 놀라운 축제들」 The World's Most Astonshing Festivals. (Translated by Kim Ji-eun). Paju, South Korea: Darakwon. p. 82. ISBN 978-892-7-75051-2
  19. "Songkran". (noun) in Oxford English Dictionary (Online). Retrieved on 17 April 2024.
  20. แสง จันทร์งาม. (2531). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. 329 หน้า. หน้า 242. ISBN 978-974-0-75657-6
  21. 21.0 21.1 มณี พยอมยงค์. (2529). "ประเพณีปีใหม่", วัฒนธรรมล้านนาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. 260 หน้า. น. 47. ISBN 978-974-0-75512-8
  22. Schein, L. (1993). Popular Culture and the Production of Difference the Miao and China. CA: University of California, Berkeley. 902 pp. p. 266.
    • Wanlong, G., and Weightman, F.. (2012). A Handbook of Chinese Cultural Terms. Bloomington, IN: Trafford Publishing. 312 pp. p. 148. ISBN 978-146-6-92005-7
  23. วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2520). ภาษาผู้ไท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 109 หน้า. น. 97.
  24. องค์ บรรจุน. "ข้างสำรับลาว: ความไม่ต้องแตกต่างระหว่างสำรับชาวบ้านกับชาววัง", ศิลปวัฒนธรรม, 42(1), (พฤศจิกายน 2563): 57.
  25. Tandart, S. (1910). Dictionnaire Français-Cambodgien Vol. I. Paris: Société des Missions-Etrangèrs de Paris. 2,242 pp. p. 63.
  26. Vicheara Houn. (2012). "PART III: Overthrow of Prince Sihanook: NEW YEAR'S DAY, APRIL 1975", Bamboo Promise: Prison without Walls. IN, United States: Abbott Press. 636 pp. p. 138. ISBN 978-1-4582-0223-9
  27. Darathtey Din. (2023). "Identity, Government, Patriotism, and Business", Youth Culture and the Music Industry in Contemporary Cambodia Questioning Tradition (eBook). n.p.: Taylor & Francis. 92 pp. p. 22. ISBN 978-100-0-98410-1
  28. วารสารเมืองโบราณ, 33(1)(2550): 112.
  29. "ตรุษสงกรานต์", วิทยาสาส์น, 28(2520): 58. "คำว่าสงกรานต์ไทยใหญ่เรียกว่า "สางจัน" มีวันสำคัญ 3 วันคือ วันสังขารลง ..."
  30. 30.0 30.1 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และธนภัทร พิริย์โยธินกุล. "สงกรานต์ ๔ ภาค สืบราก "เผ่าไท" สืบสาวความเป็นญาติของคนไทยในประเทศไทยกับคนไทในประเทศจีน ผ่านประเพณีสงกรานต์", ศิลปวัฒนธรรม, 41(6)(เมษายน 2563): 111.
  31. 31.0 31.1 31.2 วิรัช-อรนุช นิยมธรรม. (2551). เรียนรู้สังคมวัฒนธรรมพม่า. พิษณุโลก: ศูนย์พม่าศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 301 หน้า. หน้า 90. ISBN 978-974-9-93971-0
  32. พระครูปลัดทิน สุนฺทโร (วศสกุล). (2560). ศึกษาหลักธรรมและคติความเชื่อประเพณีซังกรานของชาวรามัญในเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย). 301 หน้า. หน้า ค., 3, 6-7, 23, 44.
  33. งามพิศ สัตย์สงวน และคณะ. (2541). หอไทยนิทัศน์: แหล่งสืบสานวัฒนธรรมไทยยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. 131 หน้า. ISBN 978-974-7-10243-7
  34. ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์. (2556). "เทศกาลและวันสำคัญ", The ASEAN Way: เมียนมาร์. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. 56 หน้า. น. 23. ISBN 978-616-0-41641-7
  35. สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, พรทิพย์ อุศุภรัตน์, และประภาศรี ดำสอาด. (2520). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์มอญ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 32 หน้า. ISBN 978-974-8-34676-2. น. 22 "ประเพณีของชุมชน: ประเพณีสงกรานต์ (ว่านอะต๊ะ) ชาวมอญถือเอาวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่เช่นเดียวกับไทย".
  36. องค์ บรรจุน, บ.ก. (2014). ข้างสำรับมอญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. p. 96. ISBN 9789740212843.
  37. Corpus of Khmer Inscriptions
  38. 38.0 38.1 Aymonier, É. (De L'école Coloniale). (1904). Le groupe d'Angkor et L'histoire Vol. III : Le Cambodge. Paris: Ernest Leroux. p. 565.
  39. 39.0 39.1 Leclère, Adhémard. (1909). "L’ALMANACH CAMBODGIEN ET SON CALENDRIER POUR 1907-1908", Revue des études Ethnographiques et Sociologiques. p. 367, 370-371.
  40. จารึกวัดพระธาตุเชิงชุม. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 13 ก.พ. 2550. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567.
  41. The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (SAC). (2007). Inscriptions: Wat Phra That Choeng Chum, Epigraph Line 11. Bangkok: SAC. cited in Inscriptions in Thailand Database Project Staffs (2555 B.E.), SAC., and Khom Script, 15th-16th Buddhist century. Bangkok: The National Library of Thailand, NLT, 2529, pp. 284-286. "จำมลกฺรานฺต นุ ชา ปี ทุกฺ นา องฺคุยฺ". (Epigraph), "แด่สงกรานต์ และไว้ประจำแก่". (Translation).
  42. จารึกวัดสระกำแพงใหญ่. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 13 ก.พ. 2550. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567.
  43. 43.0 43.1 43.2 43.3 43.4 43.5 43.6 กระทรวงวัฒนธรรม, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2564). "ความหมายและที่มาของประเพณีสงกรานต์", ประเพณีสงกรานต์. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม. หน้า. 9-40. ISBN 978-616-543-698-4
  44. ทนงศักดิ์ หาญวงษ์. "หลักฐานวันสงกรานค์: ร่องรอยจากปราสาทหินพิมาย", ศิลปวัฒนธรรม, 45(6)(เมษายน 2567):21–22.
  45. จารึกปราสาทหินพิมาย 2. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 13 ก.พ. 2550. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567.
  46. จารึกปราสาทหินพนมวัน 3. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 13 กุมภาพันธ์ 2550. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567.
  47. 47.0 47.1 สมบัติ พลายน้อย. (2547). "ตำนาน", ตรุษสงกรานต์: ประมวลความเป็นมาของปีใหม่ไทยในสมัยต่างๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน. 159 หน้า. ISBN 978-974-3-23168-1
  48. พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2529. 78 หน้า. ISBN 978-974-9-94331-1
  49. Dan Beach Bradley et al, American Missionary Association. (1861). "PRINCIPAL HOLIDAYS OBSERVED BY SIAMESE AND OTHERS", Bangkok Calendar: For the year of Our Lord 1861, Coresponding to the Siamese Civil Era 1222-3 and Nearly so to the Chinese Cycle Era 4498, ... Compiled by D.B.B. (Dan Beach Bradley). Bangkok: American Missionary Association. p. 58. "Songkran—Occurs usually a week or two after Siamese New–Year, it being of 3 days continnanee, and much observed." pp. 113, 127, 136. "SONGKRAN—Will occur about April 12th."
    • Gray, John Henry. (1879). "Chapter V.: SIAM", A Journey Round the World in the Years 1875-1876-1877. LONDON: Harrison and Sons. 612 pp. p. 137. "This privilege is exercised by the people during the festivals, which are respectively termed the Chinese new year, the Siamese new year, and Songkran."
    • Jacob T. Child, Col. (1892). "SONGKRAN HOLIDAYS", The Pearl of Asia: Reminiscences of the Court of a Supreme Monarch; Or, Five Years in Siam. CHICAGO: Donohue, Henneberry & Co. 339 pp. pp. 263.
    • Ach Vidyagama (George Bradley McFarland), Phra. (1944). "สงกรานต์", Thai-English Dictionary. California: Stanford University Press. 1,058 pp. p. 802. ISBN 978-080-4-70383-3
  50. Engelbert Kaempfer, John Gaspar Scheuchzer and Sir Hans Sloane. (1729). De beschryving van Japan. Door ENGELBERT KÆMPFER, M.D. Geneesheer van bet Hollandſche Ge P. (Translated by John Gaspar Scheuchzer). Netherlands: Gosse en J. Neaulme. 550 pp. p. 29. "Behalven deze hebben zy fommige jaarlykſche plechtige Feeſtdagen, by voorbeeld een in ’t begin van 't jaar, genaamt Sonkraen, een ander Kitimbac genoemt, ook wel ..."
  51. กรมศิลปากร, กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (2545). "วันนักขัตฤกษ์", ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อาทิตย์ คอมมูนิเคชั่น. 99 หน้า. น. 97. ISBN 974-419-467-7
    • "Songkran" (noun) in Oxford English Dictionary. Retrieved on 17 April 2024. cited in Engelbert Kaempfer. (1727). The history of Japan: giving an account of the ancient and present state and government of that empire (translated by John Gaspar Scheuchzer). "They [sc. the Siamites] have besides several yearly solemn festivals, as for instance, at the beginning of the year, call'd Sonkraen [Ger. Sonkraan]."
  52. Jean-Baptiste Pallegoix. (1850). "Utendum est ส in sequentibus", Grammatica Linguæ Thai. AUCTORE D. J. BAPT. PALLEGOIX EPISCOPO MALLENSI VICARIO APOSTOLICO SIAMENSI. Ex typographià collegii Assumptionis B. M. V. in civitate rcgià Krüng Thèph mahá nàkhon sí Ajùthâja, vulgó. BANGKOK: Anno Domini. p. 7 "สีห ปราช สงกรานต, Sí prãt sôngkran"
  53. Jean Baptiste Pallegoix (Bp. of Mallos). (1854). "ส—S", สัพะ พะจะนะ พาสา ไท DICTIONARIUM LINGUÆ THAĭ. SIVE SIAMENSIS, INTERPRETATIONE LATINA, GALLICA ET ANGLICA illustratum, MDCCCLIV. PARISIIS: Jussu Umperatoris Impressum. p. 751 "สงกรานต์. SONGKRAN. Ad alium locum pergere; angelus qui praesidere anno. Aller dans un autre endroit; ange qui preside a l'annee, To go to another place; angel preside over the year."
  54. Adolf Philipp Wilhelm Bastian. (1836). Reisen in Siam im Jahre 1863: nebst einer Karte Hinterindiens. German: Costenoble. 540 pp. p. 303. "Der Jahresanfang wird bei zwei Gelegenheiten gefeiert, indem die Siamesen auch für das Neujahr älteren Stiles, das sogenannte Krut, das später auf den Songkran verlegt wurde, einen Festtag beibchalten haben." (คำแปล) "The beginning of the year is celebrated on two occasions, with the Siamese also maintaining a day of celebration for the older style New Year, the so-called Krut, which was later moved to Songkran.
  55. Jacob T. Child, Col. (1892). "SONGKRAN HOLIDAYS", The Pearl of Asia: Reminiscences of the Court of a Supreme Monarch; Or, Five Years in Siam. CHICAGO: Donohue, Henneberry & Co. 339 pp. pp. 263.
  56. Graham, A.W., M.R.A.S. (1912) "Brahmanic Observances", Siam: A Handbook of Practical, Commercial, and Political Information with 99 Illustrations and a Map. LONDON: Alexander Moring, Ltd., The De La More Press. 637 pp. p. 522. "The Sôngkran festival marks the beginning of the new year"
  57. กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567.
  58. กรมศิลปากร. (2512). "เริ่มก่อพระทรายครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศตอนปลายกรุงศรีอยุธยาตามที่บันทึกไว้เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๒๖ ปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์". ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๔๓ (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๙-๗๐) เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่าตอนที่ ๑ เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ และเรื่องขุนบรมราชา. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. หน้า 3-6.
    • คณะกรรมการอํานวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี. (2542). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๕. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. หน้า 138-142.
    • ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๙ เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่า ตอนที่ ๑. เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยาพิริยะวิชัย (เพียบ สุวรรณิน) เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม. พระนคร: พระจันทร์. 118 หน้า. หน้า 2-5.
  59. H.H. Prince Bidyalabh Bridhyakon. (1969). Collected Articles By H.H. Prince Dhani Nivat Kromamun Bidayalabh Brdihyakorn, Honorary President The Siam Society: Reprinted From The Journal of The Siam Society on The Occasion of His Eighty-fourth Birthday. Bangkok: Siam Society. 194 pp. p. 25. "according to this the date of the entry of the sun into Aries (April the 13th) was popularly observed under the name of Songkrant (Sankranti)."
    • Samuel J. Smith. (1871). "Article 75 Summary of News (Weekending Feb. 23rd, 1871.): SIAMESE KRUT", The Siam Repository: A Summary of Asiatic Intelligence, Vol. 3, No. 4. by Samuel J. Smith for the Year of Our Lord 1871. Bangkok: S.J. Smith's Office. p. 225. "At the palace will be publicly announced the precise day of Songkrant, the Siamese astronomical new year day. It is said it will occur this year April 9th."
    • The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). "SONGKRANT FESTIVAL IN THAILAND", Unesco Features: A Fortnightly Press Service, 409(1963). p. 20. "Songkrant is very old and probably came to Thailand from Southern India, Songkrant (the accent is on the second syllable, the 't' is not pronounced) was a mythical character."
    • The Siam Society Under Royal Patronage. "No. IV. The "Toa Songkrant". ตัวสงกรานต์", The Journal of the Siam Society, Vol. 10., 1935. p. 63. "about the time of the Songkrant, that is March and April, for Songkrant in Siam falls on the 13th April."
  60. Kamarupa Anusandhana Samiti (Journal of the Assam Research Society), Vol. 38, 2007. p. 76. ISSN 2349-7459. "Tai New Year’s festival or Water spraying festival commence from the day of sangken or sangkran or sankranti. The day is open on the first full moon of April."

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สงกรานต์