กรมส่งเสริมการเรียนรู้
Department of Learning Encouragement | |
เครื่องหมายราชการ | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 |
กรมก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 319 วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
บุคลากร | 19,839 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 11,310,688,600 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงศึกษาธิการ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (อังกฤษ: Department of Learning Encouragement, DOLE) หรือย่อว่า สกร. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่หน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในประเทศไทย ยกฐานะมาจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เดิมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2483 เป็นกองการศึกษาผู้ใหญ่ และจัดตั้งเป็นกรมครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 ในชื่อ "กรมการศึกษานอกโรงเรียน" หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า "กศน."[3]
ประวัติ
[แก้]ยุคที่1 กองการศึกษาผู้ใหญ่
[แก้]การศึกษาผู้ใหญ่ เริ่มมีอย่างเป็นทางการในปี 2483 โดยรัฐบาลในขณะนั้น ได้ให้มีการจัดตั้ง "กองการศึกษาผู้ใหญ่" สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรับผิดชอบงานการศึกษาผู้ใหญ่โดยตรง และได้ริเริ่มโครงการรณรงค์การรู้หนังสือทั่วประเทศ พร้อมกับประกาศใช้กฎหมายบังคับให้ประชาชนผู้ไม่รู้หนังสือที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 45 ปี เสียค่าเล่าเรียนเป็นรายปี จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้รู้หนังสือแล้ว ซึ่งโครงการรณรงค์ดังกล่าวประสบความสำเร็จพอสมควร แต่ต้องหยุดชะงักไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2
ยุคที่2 กรมการศึกษานอกโรงเรียน
[แก้]ต่อมา ได้มีการขยายโอกาสการศึกษาผู้ใหญ่อย่างกว้างขวางในช่วงปี 2513-2523 รัฐบาลจึงได้ยกฐานะกองการศึกษาผู้ใหญ่ ขึ้นเป็น "กรมการศึกษานอกโรงเรียน" ขึ้น เพื่อจัดการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับประชาชนในวันที่ 24 มีนาคม 2522[4]
ยุคที่3 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
[แก้]จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ และมีการยุบรวมกรมต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการจากเดิม 14 กรม เหลือเพียง 5 สำนักงาน ทำให้ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ถูกยุบรวมเป็นสำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 สำนักฯ จึงปรับภารกิจเป็น "สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย" (อังกฤษ: Office of the Non-Formal and Informal Education : NFE)
ยุคปัจจุบัน กรมส่งเสริมการเรียนรู้
[แก้]กระทั่งวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 โดยมีสาระสำคัญคือการยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 และยกฐานะ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็น "กรมส่งเสริมการเรียนรู้" โดยให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นไป 60 วันหรือตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[5][6]
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]กรมส่งเสริมการเรียนรู้ แบ่งส่วนราชการในกรม ดังนี้
- กลุ่มเลขานุการกรม
- กลุ่มการคลังและสินทรัพย์
- กลุ่มบริหารบุคคลและนิติการ
- กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
- กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย
- กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน
- กลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ
- กลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาระบบริหาร
- ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
- สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง เอกมัย)
- สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด/กรุงเทพมหานคร (77 แห่ง)
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอ/เขต (928 แห่ง)
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบล/แขวง (7,435 แห่ง)
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" (792 แห่ง)
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยมอแกน
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอ/เขต (928 แห่ง)
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายพิเศษ
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง)
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
- สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
- สถาบันการศึกษาทางไกล
- สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร
- สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาค 5 ภาค (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, กลาง, ตะวันออก, ใต้)
- ศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์
- ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ศูนย์ฝึกวิชาชีพจังหวัดกาญจนบุรี "สามสงฆ์ทรงพระคุณ"
- ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน (ศฝช.) (จังหวัดชุมพร เชียงราย ปัตตานี มุกดาหาร สระแก้ว สุรินทร์ อุตรดิตถ์)
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (16 จังหวัด) (กาญจนบุรี ขอนแก่น ตรัง พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ลำปาง สระแก้ว สมุทรสาคร ยะลา อุบลราชธานี)
- ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด
- อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมส่งเสริมการเรียนรู้, บุคลากร - กรมส่งเสริมการเรียนรู้, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ เปลี่ยนผ่าน ‘กศน.’ สู่ ‘กรมส่งเสริมการเรียนรู้' มีหน้าที่อะไรบ้าง
- ↑ ประวัติความเป็นมากรมการศึกษานอกโรงเรียน nfe.go.th ผ่านทาง web.archive.org สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2563
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ยกระดับ กศน.เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้
- ↑ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ๒๕๖๖