ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพปลดปล่อยประชาชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กองทัพจีน)
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
中国人民解放军
จงกั๋วเหรินหมินเจี่ยฟ่างจฺวิน
ตราสัญลักษณ์ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ธงกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ตัวอักษรบนธง "八一" อ้างอิงถึงวันที่ 1 สิงหาคม
คำขวัญ为人民服务
("รับใช้ประชาชน")
ก่อตั้ง1 สิงหาคม 1927; 97 ปีก่อน (1927-08-01)
รูปแบบปัจจุบัน10 ตุลาคม 1947; 77 ปีก่อน (1947-10-10)[1][2][3]
เหล่าเหล่า

เหล่าเสริม

กองบัญชาการอาคาร 1 สิงหาคม, ถนนฟู่ซิง, เขตไห่เตี้ยน, กรุงปักกิ่ง
เว็บไซต์eng.chinamil.com.cn แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
ผู้บังคับบัญชา
หน่วยงานบริหารสูงสุด คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง
คณะผู้บริหารคณะกรรมการฯประธาน:
สี จิ้นผิง
รองประธาน:

พลเอก จาง โย่วเสีย

พลเอก เหอ เว่ย์ตง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเรือเอก ต่ง จฺวิน
เจ้ากรมงานการมมือง พลเรือเอก เหมียว หฺวา
เจ้ากรมเสนาธิการร่วม พลเอก หลิว เจิ้นลี่
เลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง พลเอก จาง เชิงหมิน
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุ18
การเกณฑ์มี (ระบบผสมระหว่างการเกณฑ์และสมัคร)[4]
ยอดประจำการ2,035,000 (2022)[5] (อันดับที่ 1)
ยอดสำรอง510,000 (2022)[5]
รายจ่าย
งบประมาณUS$296 พันล้าน (2023)[6]
(อันดับที่ 2)
ร้อยละต่อจีดีพี1.7% (2023)[6]
อุตสาหกรรม
แหล่งผลิตในประเทศ
แหล่งผลิตนอกประเทศ อดีต:
มูลค่านำเข้าต่อปี$14,858 พันล้าน
(2010–2021)[8]
มูลค่าส่งออกต่อปี$18.121 พันล้าน
(2010–2021)[8]
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติ
ยศ
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
อักษรจีนตัวย่อ中国人民解放军
อักษรจีนตัวเต็ม中國人民解放軍
ความหมายตามตัวอักษร"กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน"

กองทัพปลดปล่อยประชาชน (จีน: 中国人民解放军; พินอิน: Zhōngguó Rénmín Jiěfàngjūn) เป็นกำลังทหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วยสี่เหล่าทัพหลัก ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองทัพจรวด และสี่เหล่าทัพเสริม ได้แก่ กองทัพอวกาศ กองกำลังไซเบอร์สเปซ กองกำลังสนับสนุนสารสนเทศ และกองกำลังสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ร่วม บังคับบัญชาภายใต้คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง โดยมีประธานคณะกรรมการฯ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด

กองทัพปลดปล่อยประชาชนสามารถสืบย้อนต้นกำเนิดไปยังยุคสาธารณรัฐ โดยมีต้นกำเนิดมาจากหน่วยทหารฝ่ายซ้ายในกองทัพปฏิวัติแห่งชาติของพรรคก๊กมินตั๋งใน ค.ศ. 1927 ต่อมาหน่วยเหล่านี้ได้แยกตัวออกและก่อการกำเริบต่อต้านรัฐบาลชาตินิยม ก่อตั้งเป็นกองทัพแดงจีน ก่อนจะถูกผนวกกลับเข้าไปในกองทัพปฏิวัติแห่งชาติในฐานะกองทัพใหม่ที่สี่และกองทัพลู่ที่แปดในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หน่วยทหารคอมมิวนิสต์ทั้งสองหน่วยภายใต้กองทัพปฏิวัติแห่งชาติได้รับการปรับโครงสร้างใหม่เป็นกองทัพปลดปล่อยประชาชนใน ค.ศ. 1947[9]

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1949 กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้ใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารที่แตกต่างกันถึงเก้าประการ ซึ่งเรียกว่า "แนวทางยุทธศาสตร์" โดยแนวทางที่สำคัญที่สุดนั้นเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1956, 1980 และ 1993[10] ในทางการเมือง กองทัพปลดปล่อยประชาชน และกองกำลังตำรวจติดอาวุธประชาชนมีคณะผู้แทนมากที่สุดในสภาประชาชนแห่งชาติ คณะผู้แทนร่วมปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 281 คน คิดเป็นมากกว่าร้อยละ 9 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน

กองทัพปลดปล่อยประชาชนไม่ใช่กองทัพของรัฐชาติแบบดั้งเดิม หากแต่เป็นส่วนหนึ่งและกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรค ไม่ใช่ของรัฐ พันธดกิจหลักของกองทัพปลดปล่อยประชาชนคือการปกป้องพรรคและผลประโยชน์ของพรรค กองทัพปลดปล่อยประชาชนเป็นผู้รับประกันการดำรงอยู่และอำนาจของพรรค และพรรคให้ความสำคัญอย่างสูงในการรักษาอำนาจควบคุมและความภักดีของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ตามกฎหมายของประเทศจีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีอำนาจเหนือกองทัพ และคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง (Central Military Commission: CMC) มีอำนาจบัญชาการทหารสูงสุด โดยคณะกรรมการฯ ของพรรคและของรัฐนั้นมีองค์ประกอบของสมาชิกที่แทบจะเหมือนกัน จึงถือได้ว่าเป็นหน่วยงานเดียวกันในทางปฏิบัติ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1989 เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางควบคู่กันไปด้วย ทำให้มีอำนาจทางการเมืองอย่างมากในฐานะสมาชิกคนเดียวในคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อกองทัพโดยตรง กระทรวงกลาโหมไม่มีอำนาจสั่งการโดยตรง แต่จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างกองทัพปลดปล่อยประชาชนกับรัฐบาลและองค์กรต่างประเทศ รวมถึงปกป้องกองทัพจากอิทธิพลภายนอก

ปัจจุบัน หน่วยทหารส่วนใหญ่ทั่วประเทศถูกจัดให้อยู่ภายใต้การบัญชาการของหนึ่งในห้ายุทธบริเวณตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ กองทัพปลดปล่อยประชาชนเป็นกำลังทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (หากไม่นับรวมกำลังกึ่งทหารหรือกำลังสำรอง) และมีงบประมาณด้านการป้องกันประเทศเป็นอันดับสองของโลก รายจ่ายด้านการทหารของจีนอยู่ที่ 296 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2023 คิดเป็นร้อยละ 12 ของรายจ่ายด้านการป้องกันประเทศของโลก นอกจากนี้ กองทัพปลดปล่อยประชาชนยังเป็นหนึ่งในกองทัพที่มีการพัฒนายุทโธปกรณ์และยุทธวิธีให้ทันสมัยเร็วที่สุดในโลก และได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาอำนาจทางการทหารที่มีศักยภาพ โดยมีขีดความสามารถในการป้องกันตนเองในระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่ง และกำลังเพิ่มขีดความสามารถในการแสดงอำนาจทางทหารในระดับโลกอย่างต่อเนื่อง[11][12]: 259 

นอกเหนือจากการจัดเตรียมกำลังพลและยุทโธปกรณ์สำหรับการสู้รบในยามสงครามแล้ว กองทัพปลดปล่อยประชาชนยังมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการในยามสงบร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ของกองทัพอีกด้วย สิ่งนี้ปรากฏให้เห็นชัดเจนเป็นพิเศษในกรณีพิพาทเขตแดนทางทะเล ซึ่งกองทัพเรือมีส่วนร่วมอย่างมากในการวางแผน ประสานงาน และปฏิบัติการของหน่วยยามฝั่งของตำรวจติดอาวุธประชาชน[13]

ภารกิจ

[แก้]

ภารกิจหลักของกองทัพปลดปล่อยประชาชนคือการรักษาความมั่นคงและปกป้องผลประโยชน์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[14] เป็นผู้รับประกันการดำรงอยู่และการปกครองของพรรค[14][15] และพรรคก็ให้ความสำคัญสูงสุดในการรักษาอำนาจควบคุมและความภักดีของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[15]

ใน ค.ศ. 2004 หู จิ่นเทา ผู้นำสูงสุดของจีน ได้ประกาศภารกิจของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ดังนี้[16]

  • รักษาความมั่นคงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  • ปกป้องอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความมั่นคงภายใน และการพัฒนาชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน
  • รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
  • รักษาและส่งเสริมสันติภาพโลก

จีนได้อธิบายถึงท่าทีทางทหารของตนว่าเป็นการป้องกันเชิงรุก ซึ่งมีการนิยามไว้ในสมุดปกขาวประจำปี ค.ศ. 2015 ว่า "เราจะไม่โจมตีเว้นแต่จะถูกโจมตี แต่เราจะโต้กลับอย่างแน่นอนหากถูกโจมตี"[17]: 41 

ประวัติ

[แก้]

ช่วงต้น

[แก้]

พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธของตนเองขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927 ระหว่างการก่อกำเริบหนานชาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองจีน ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เซี่ยงไฮ้ใน ค.ศ. 1927 กลุ่มคอมมิวนิสต์ของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติก็ได้ก่อการกบฏขึ้นภายใต้การนำของจู เต๋อ เฮ่อ หลง เย่ เจี้ยนอิง โจว เอินไหล และกลุ่มฝ่ายซ้ายอื่น ๆ ของพรรคก๊กมินตั๋ง[18] ในเวลานั้นพวกเขาเป็นที่รู้จักกันในนามกองทัพแดงของกรรมกรและชาวนาจีน หรือเรียกสั้น ๆ ว่ากองทัพแดง[19]

ใน ค.ศ. 1934 และ 1935 กองทัพแดงสามารถสามารถเอาชีวิตรอดจากการรณรงค์หลายครั้งที่นำโดยพรรคก๊กมินตั๋งของเจียง ไคเชก และเข้าร่วมในการเดินทัพทางไกล[20]

ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่าง ค.ศ. 1937 ถึง 1938 กองกำลังทหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ถูกผนวกรวมเข้ากับกองทัพปฏิวัติแห่งชาติของสาธารณรัฐจีนโดยก่อตั้งเป็นสองหน่วยหลัก คือ กองทัพลู่ที่แปด และกองทัพใหม่ที่สี่[9] ในช่วงเวลานี้ กลุ่มทัพทั้งสองใช้ยุทธวิธีกองโจรเป็นหลัก โดยหลีกเลี่ยงการสู้รบขนาดใหญ่กับญี่ปุ่น พร้อมกันนั้นก็ได้เสริมสร้างกำลังพลด้วยการเกณฑ์ทหารจากก๊กมินตั๋งและกำลังกึ่งทหารที่อยู่หลังแนวรบญี่ปุ่นเข้ามาร่วมกองกำลังของตน[21]

หลังจากที่ญี่ปุ่นยอมจำนนใน ค.ศ. 1945 พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงใช้โครงสร้างหน่วยทหารของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติต่อไปจนกระทั่งมีการตัดสินใจในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 ที่จะรวมกองทัพลู่ที่แปดและกองทัพใหม่ที่สี่เข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อกองทัพใหม่ที่มีกำลังพล 1,000,000 นายนี้เป็นกองทัพปลดปล่อยประชาชน[9] การปรับโครงสร้างเสร็จสิ้นในช่วงปลาย ค.ศ. 1948 กองทัพปลดปล่อยประชาชนชนะสงครามกลางเมืองจีนในที่สุด และได้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นใน ค.ศ. 1949[22] ต่อมาก็ได้มีการปรับโครงสร้างกองทัพครั้งใหญ่ โดยมีการจัดตั้งโครงสร้างบริหารกองทัพอากาศขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1949 ตามด้วยโครงสร้างบริหารกองทัพเรือในเดือนเมษายนปีถัดมา[23][24]

ใน ค.ศ. 1950 ได้มีการจัดตั้งโครงสร้างบริหารกองกำลังปืนใหญ่ กองกำลังทหารราบยานเกราะ กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ กองกำลังรักษาความปลอดภัยมหาชน และกองกำลังอาสาสมัครกรรมกร–ทหาร ส่วนกองกำลังป้องกันสงครามเคมี กองกำลังรถไฟ กองกำลังสื่อสาร และกองกำลังยุทธศาสตร์ ตลอดจนกองกำลังเฉพาะอื่น ๆ (เช่น วิศวกรรมและก่อสร้าง โลจิสติกส์และการแพทย์) มีการจัดตั้งขึ้นในภายหลัง

ในช่วงเริ่มแรก กองทัพปลดปล่อยประชาชนประกอบด้วยชาวไร่ชาวนาเป็นส่วนใหญ่[25] การปฏิบัติต่อทหารและนายทหารนั้นเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน[25] และไม่ได้มีการกำหนดยศทหารอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง ค.ศ. 1955[26] เพราะการจัดองค์กรที่มุ่งเน้นความเท่าเทียมกันของกองทัพปลดปล่อยประชาชนในช่วงแรก จึงทำให้สามารถโค่นล้มระบบชนชั้นแบบดั้งเดิมที่เคยครอบงำชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาได้[25] ดังที่นักสังคมวิทยา อเลสซานโดร รุสโซ สรุปไว้ว่า องค์ประกอบของชาวนาในลำดับชั้นของกองทัพปลดปล่อยประชาชนนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ขัดกับบรรทัดฐานทางสังคมของจีน และได้ "ล้มล้างลำดับชั้นดั้งเดิมที่เข้มงวดให้กลายเป็นความเสมอภาคอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน"[25]

ในช่วงเริ่มแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน กองทัพปลดปล่อยประชาชนมีบทบาทอย่างมากในฐานะสถาบันกำหนดนโยบายการต่างประเทศของประเทศ[27]: 17 

การปฏิรูปกองทัพและความขัดแย้ง

[แก้]
กองกำลังของกองทัพปลดปล่อยประชาชนกำลังเข้าสู่กรุงปักกิ่งใน ค.ศ. 1949 ระหว่างสงครามกลางเมืองจีน
กองกำลังของจีนรวมตัวอยู่บนรถถังขนาดกลาง T-34/85 หรือ Type 58 ขณะเคลื่อนกำลังออกจากเกาหลีเหนือใน ค.ศ. 1958 5 ปีหลังจากสงครามเกาหลีสิ้นสุดลงด้วยการลงนามข้อตกลงหยุดยิงใน ค.ศ. 1953 ป้ายในพื้นหลังของภาพมีคำขวัญ (ภาษาจีน) ระบุว่า "มิตรภาพและความสามัคคีระหว่างประชาชนเกาหลีเหนือและจีนมั่นคงและแข็งแกร่งเสมอมา"
จอมพล หลิน เปียว กำลังตรวจพลสวนสนามในพิธีสวนครบรอบ 10 ปี ในค.ศ. 1959

ในคริสต์ทศวรรษ 1950 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตในการดำเนินการปฏิรูปกองทัพครั้งใหญ่เพื่อเปลี่ยนแปลงจากกองทัพชาวนาดั้งเดิมไปสู่กองทัพสมัยใหม่[28]

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จีนได้นำยุทธศาสตร์ทางทหารที่แตกต่างกันมาใช้ทั้งสิ้นเก้าประการ ซึ่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนเรียกว่า "แนวทางยุทธศาสตร์" โดยแนวทางที่สำคัญที่สุดนั้นปรากฏขึ้นใน ค.ศ. 1956, 1980 และ 1993[10] กระบวนการหนึ่งที่สำคัญในช่วงเวลานั้นคือการปฏิรูปโครงสร้างทางทหารที่นำไปสู่การจัดตั้งภูมิภาคทหาร (military regions) ขึ้นใหม่ 13 เขตใน ค.ศ. 1955[ต้องการอ้างอิง]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1950 หน่วยทหารบางส่วนของกองทัพปลดปล่อยประชาชนภายใต้ชื่อ กองทัพอาสาสมัครประชาชน (People's Volunteer Army) ได้เข้าแทรกแซงสงครามเกาหลี ขณะที่กองกำลังสหประชาชาติภายใต้การนำของพลเอกดักลาส แมกอาเธอร์ กำลังเคลื่อนทัพเข้าใกล้แม่น้ำยาลฺวี่[29] ด้วยแรงกดดันจากการรุกครั้งนี้ กองกำลังจีนสามารถผลักดันกองทัพของแมกอาเธอร์ออกจากเกาหลีเหนือและยึดกรุงโซลไว้ได้ แต่ต่อมาถูกผลักดันให้ถอยร่นกลับไปทางใต้ของเมืองเปียงยางบริเวณเหนือเส้นขนานที่ 38[29] สงครามนี้ยังเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการยกระดับและพัฒนากองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชนอย่างรวดเร็ว[30]

ใน ค.ศ. 1962 กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้ต่อสู้กับอินเดียในสงครามจีน–อินเดีย[31][32] และในเหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดนหลายครั้งใน ค.ศ. 1967 กับกองทัพอินเดีย กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ประสบความสูญเสียทั้งในด้านกำลังพลและยุทธวิธีอย่างหนัก[33][34][35]

ก่อนการปฏิวัตทางวัฒนธรรม ผู้บัญชาการภูมิภาคทหารมักดำรงตำแหน่งอยู่ในหน่วยของตนเป็นเวลานาน ผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ได้แก่ สฺวี่ ชื่อโหย่ว ในภูมิภาคทหารหนานจิง (1954–74), หยาง เต๋อจื้อ ในภูมิภาคทหารจี่หนาน (1958–74), เฉิน ซีเหลียน ในภูมิภาคทหารเฉิ่นหยาง (1959–73) และหัน เซียนฉู่ ในภูมิภาคทหารฝูโจว (1960–74)[36]

ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ยกเลิกการใช้ยศทหารที่ใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1955[26]

การจัดตั้งกองทัพมืออาชีพที่ทันสมัยทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์และหลักการทางทหารนั้นเป็นเป้าหมายสุดท้ายในนโยบายสี่ทันสมัยที่โจว เอินไหลเป็นผู้ริเริ่ม และเติ้ง เสี่ยวผิงสนับสนุน[37][38] สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปของเติ้ง กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ลดกำลังพลจำนวนหลายล้านนายนับตั้งแต่ ค.ศ. 1978 และได้นำวิธีการสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การเกณฑ์ทหาร กำลังพล ยุทธศาสตร์ การศึกษาและการฝึกอบรม[39] ใน ค.ศ. 1979 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ปะทะบริเวณชายแดนกับเวียดนามในสงครามจีน–เวียดนาม ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างอ้างชัยชนะ[40] อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชาวตะวันตกต่างเห็นพ้องกันว่าเวียดนามทำผลงานได้ดีกว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนมาก[36]

ในช่วงความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศได้นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรงบริเวณชายแดน และการสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามซึ่งกันและกัน[41] จีนและอัฟกานิสถานมีความสัมพันธ์เป็นกลางต่อกันในช่วงเวลาที่กษัตริย์ปกครองประเทศ[42] เมื่อคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานที่สนับสนุนโซเวียตยึดอำนาจในอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 1978 ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานก็เสื่อมลงอย่างรวดเร็วกลายเป็นปฏิปักษ์[43] คอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานได้ให้การสนับสนุนศัตรูของจีนในเวียดนาม และกล่าวโทษจีนว่าให้การสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธต่อต้านคอมมิวนิสต์ในอัฟกานิสถาน[43] จีนตอบโต้การรุกรานของสหภาพโซเวียตในอัฟกานิสถานด้วยการให้การสนับสนุนกลุ่มมุญาฮิดีนอัฟกัน และเพิ่มกำลังทหารในเขตซินเจียงซึ่งมีพรมแดนติดกับอัฟกานิสถาน[43] จีนได้จัดหายุทโธปกรณ์จากสหรัฐเพื่อป้องกันตนเองจากการโจมตีของโซเวียต[44]

กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ฝึกอบรมและสนับสนุนกลุ่มมุญาฮิดีนอัฟกันในช่วงสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน โดยได้ย้ายค่ายฝึกอบรมสำหรับกลุ่มมุญาฮิดีนปากีสถานเข้ามาภายในประเทศจีน[45] จีนได้มอบอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กลุ่มมูญาฮิดีน มูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน เครื่องยิงจรวด และปืนกล[46] ที่ปรึกษาทางทหารและกำลังทหารของจีนได้เข้าร่วมการฝึกอบรมกับกลุ่มมูญาฮิดีนด้วย[44]

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980

[แก้]

ใน ค.ศ. 1981 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้จัดการซ้อมรบครั้งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของจีนนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ[10][47]

ในคริสต์ทศวรรษ 1980 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้รับอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น และได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมกิจกรรมเชิงพาณิชย์มากขึ้นเพื่อแลกกับการลดบทบาททางการเมืองและงบประมาณที่จำกัดลง[48] กองทัพจึงถูกปรับลดขนาดลงเพื่อนำทรัพยากรไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ[49] การขาดการตรวจสอบ การควบคุมตนเองที่ไม่มีประสิทธิภาพ และความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ไม่ใกล้ชิดระหว่างเจียง เจ๋อหมินและหู จิ่นเทา กับกองทัพปลดปล่อยประชาชน[48] นำไปสู่การทุจริตเชิงระบบซึ่งดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 2010[50] ความพยายามของเจียงในการปลดกองทัพปลดปล่อยประชาชนจากผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ประสบความสำเร็จเพียงบางส่วน เพราะผลประโยชน์จำนวนมากยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของบุคคลใกล้ชิดกับนายทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[48] การทุจริตส่งผลให้ความพร้อมและความชำนาญลดลง[51] เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปและการสร้างความเป็นมืออาชีพ[52] และทำลายการควบคุมของพรรค[15] การรณรงค์ต่อต้านการทุจริตในคริสต์ทศวรรษ 2010 และการปฏิรูปกองทัพภายใต้การนำของสี จิ้นผิงตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 2010 นั้นมีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้[53][54]

ภายหลังจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ปราบปรามการประท้วงและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989 แนวคิดความถูกต้องทางอุดมการณ์ก็กลับมาเป็นหัวข้อหลักในกิจการทหารของจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นเพียงชั่วคราว[55] การปฏิรูปและการพัฒนาให้ทันสมัยได้กลับมาเป็นวัตถุประสงค์หลักของกองทัพปลดปล่อยประชาชนในปัจจุบัน แม้ว่าความภักดีทางการเมืองของกองทัพที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะยังคงเป็นข้อกังวลหลักอยู่ก็ตาม[56][57]

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้พยายามปรับเปลี่ยนตนเองจากกองกำลังภาคพื้นดินที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กำลังพลจำนวนมากไปสู่กองกำลังที่มีขนาดเล็กลง แต่มีความคล่องตัวสูง และมีความทันสมัยทางเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อให้สามารถปฏิบัติการนอกพรมแดนได้[10] แรงจูงใจของการดำเนินการดังกล่าวคือการพิจารณาและประเมินสถานการณ์ใหม่ที่มองว่าภัยคุกคามจากการรุกรานทางบกครั้งใหญ่ของรัสเซียนั้นลดน้อยลงไปมาก และภัยคุกคามใหม่ที่จีนต้องเผชิญในปัจจุบันคือการประกาศอิสรภาพของไต้หวัน ซึ่งอาจได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ หรือการเผชิญหน้ากันเรื่องหมู่เกาะสแปรตลี[58]

ใน ค.ศ. 1985 ภายใต้การนำของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาจากการเตรียมความพร้อมเพื่อ "โจมตีอย่างรวดเร็ว รุนแรง และเตรียมพร้อมสำหรับสงครามนิวเคลียร์" มาเป็นการพัฒนากองทัพในยุคแห่งสันติภาพ[10] กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ปรับเปลี่ยนแนวทางเพื่อมุ่งสู่ความทันสมัย เพิ่มขีดความสามารถในการรบ และก้าวขึ้นเป็นกองกำลังระดับโลก ดังที่เติ้ง เสี่ยวผิงได้เน้นย้ำว่ากองทัพต้องเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ[58]

ใน ค.ศ. 1985 รัฐบาลจีนตัดสินใจลดกำลังพลจำนวนหนึ่งล้านนาย และสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นได้ภายใน ค.ศ. 1987 การจัดกำลังพลในระดับผู้นำกองทัพลดลงประมาณร้อยละ 50 ในระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (ค.ศ. 1996–2000) กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้มีการลดกำลังพลลงอีก 500,000 นาย คาดการณ์ว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนจะมีการลดกำลังพลลงอีก 200,000 นายภายใน ค.ศ. 2005 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มขีดความสามารถทางกลและทางสารสนเทศเพื่อสามารถทำสงครามที่มีความเข้มข้นสูง[58]

กองเกียรติยศ กองทัพปลดปล่อยประชาชน ในปักกิ่ง (ค.ศ. 2007)

ใน ค.ศ. 1990 เจียง เจ๋อหมิน ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ได้เรียกร้องให้กองทัพ "มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานทางการเมือง มีความสามารถทางทหาร มีรูปแบบการทำงานที่ดี ปฏิบัติตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด และให้การสนับสนุนด้านโลจิสติกส์อย่างจริงจัง" (จีน: 政治合格、军事过硬、作风优良、纪律严明、保障有力; พินอิน: zhèngzhì hégé, jūnshì guòyìng, zuòfēng yōuliáng, jìlǜ yánmíng, bǎozhàng yǒulì)[59] สงครามอ่าวใน ค.ศ. 1991 ได้เปิดเผยให้ผู้นำจีนตระหนักอย่างชัดเจนว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนนั้นมีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น และเกือบจะล้าสมัยแล้ว[60][61] การที่สหรัฐส่งกลุ่มเรือบรรทุกเครื่องบินสองกลุ่มมายังบริเวณใกล้ไต้หวันในช่วงวิกฤตการณ์ช่องแคบไต้หวันครั้งที่สาม ได้กระตุ้นให้เจียงสั่งการให้มีการปรับปรุงกองทัพปลดปล่อยประชาชนเป็นระยะเวลา 10 ปี[62]

ความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะมีกองทัพนั้นยังคงเป็นประเด็นที่ผู้นำจีนมีความกังวลอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1990[63] นอกจากนี้ ผู้นำกองทัพจีนยังได้ตอบสนองและเรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของกองทัพสหรัฐในช่วงสงครามคอซอวอ[64] the การรุกรานอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 2001[65] การบุกครองอิรักใน ค.ศ. 2003[66] และการก่อกบฏในอิรัก[66] บทเรียนเหล่านี้ทั้งหมดเป็นแรงบันดาลใจให้จีนเปลี่ยนกองทัพปลดปล่อยประชาชนจากกองทัพที่เน้นปริมาณมาเป็นกองทัพที่เน้นคุณภาพ ประธานเจียง เจ๋อหมินได้ประกาศให้ "การปฏิวัติกิจการทหาร" (Revolutionary Military Affairs หรือ RMA) เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางทหารแห่งชาติอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1993 เพื่อปรับปรุงกองทัพจีนให้ทันสมัย[67]

เป้าหมายหนึ่งของการปฏิวัติกิจการทหารคือการปรับเปลี่ยนกองทัพปลดปล่อยประชาชนให้เป็นกองกำลังที่มีความสามารถในการชนะสิ่งที่เรียกว่า "สงครามในพื้นที่ภายใต้สภาวะเทคโนโลยีขั้นสูง" มากกว่าการเน้นจำนวนกำลังพลเพื่อทำสงครามภาคพื้นดินแบบเดิม[67] นักวางแผนทางยุทธศาสตร์ของจีนเสนอแนะให้ดำเนินการทัพแบบจำกัดวงและมีระยะเวลาสั้น โดยมุ่งเน้นไปที่การบรรลุเป้าหมายเฉพาะเจาะจงทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในพื้นที่ที่กำหนด เมื่อเทียบกับในอดีต ปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการลาดตระเวน ความคล่องตัว และการโจมตีระยะไกลมากขึ้น วิสัยทัศน์ใหม่นี้ได้เปลี่ยนแปลงการจัดสรรทรัพยากรไปสู่กองทัพเรือและกองทัพอากาศ กองทัพปลดปล่อยประชาชนกำลังเตรียมพร้อมอย่างแข็งขันสำหรับสงครามอวกาศและสงครามไซเบอร์[68][69][70]

ใน ค.ศ. 2002 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้เริ่มดำเนินการซ้อมรบร่วมกับกองทัพของประเทศอื่น ๆ[71]: 242  ตั้งแต่ ค.ศ. 2018 ถึง 2023 การซ้อมรบมากกว่าครึ่งหนึ่งได้มุ่งเน้นไปที่การฝึกทางทหารนอกเหนือจากการเตรียมพร้อมสำหรับสงคราม โดยส่วนใหญ่เป็นการฝึกปฏิบัติการต่อต้านการปล้นสะดมและการต่อต้านการก่อการร้ายที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับกลุ่มบุคคลที่มิใช่รัฐ[71]: 242  ใน ค.ศ. 2009 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้จัดการซ้อมรบครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นการฝึกอบรมด้านมนุษยธรรมและการแพทย์ที่จัดขึ้นในประเทศกาบอง[71]: 242 

ตลอดระยะเวลา 10 ถึง 20 ปีที่ผ่านมา กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้จัดหาระบบอาวุธขั้นสูงจากรัสเซียหลายประเภท อาทิ เรือพิฆาตชั้นโซวเรเมนนี[72] เครื่องบินซุคฮอย ซู-27[73] และซุคฮอย ซู-30[74] และเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าเรือดำน้ำชั้นคิโล[75] และได้เริ่มดำเนินการผลิตเรือพิฆาตและเรือฟริเกตใหม่หลายชั้น โดยมีเรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถีชั้นไทป์ 052ดี เป็นหนึ่งในนั้น[76][77] นอกจากนี้ กองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชนยังได้ออกแบบและผลิตเครื่องบินขับไล่เฉิงตู เจ-10 และเครื่องบินขับไล่ล่องหนเฉิงตู เจ-20 รุ่นใหม่ของตนเองขึ้นมาอีกด้วย[78][79] กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ทำการปล่อยเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้นจินลำใหม่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2004 ซึ่งมีความสามารถในการยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์โจมตีเป้าหมายข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก[80] และมีเรือบรรทุกเครื่องบิน 3 ลำ โดยลำล่าสุดคือเรือบรรทุกเครื่องบินฝูเจี้ยน ซึ่งได้ทำการปล่อยลงน้ำเมื่อ ค.ศ. 2022[81][82][83]

ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 ถึง 2015 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ส่งบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 524 นายไปปฏิบัติหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อร่วมต่อสู้กับการระบาดของไวรัสอีโบลาในประเทศไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน กินี และกินีบิสเซา[71]: 245 ณ ค.ศ. 2023 ภารกิจให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ในประเทศอื่นครั้งนี้ถือเป็นภารกิจใหญ่ที่สุดที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนดำเนินการ[71]: 245 

ระหว่าง ค.ศ. 2015 ถึง 2016 จีนได้ดำเนินการปรับโครงสร้างกองทัพปลดปล่อยประชาชนครั้งใหญ่ โดยใน ค.ศ. 2015 ได้มีการจัดตั้งหน่วยทหารใหม่ ได้แก่ กองทัพจรวด และกองกำลังสนับสนุนทางยุทธศาสตร์[84] ใน ค.ศ. 2016 คณะกรรมการการทหารส่วนกลางได้ดำเนินการปรับโครงสร้างโดยการยกเลิกหน่วยงานทางทหารดั้งเดิมทั้งสี่แห่งและจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาแทนจำนวนหนึ่ง[85]: 288–289  จีนได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบัญชาการทหารจากเดิมที่แบ่งเป็น 7 ภูมิภาคทหารมาเป็นระบบใหม่ที่เรียกว่ายุทธบริเวณ (Theater Command) โดยมีทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคกลาง[85]: 289  ในระบบเดิม การปฏิบัติการถูกแบ่งแยกตามเหล่าทัพและภูมิภาค[85]: 289  ตรงกันข้าม แต่ละยุทธบริเวณมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติการเป็นหน่วยงานเดียวที่บูรณาการกำลังรบร่วมกันระหว่างเหล่าทัพต่าง ๆ[85]: 289 

กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ฉลองครบรอบ 90 ปีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2017[86] ก่อนการฉลองใหญ่ กองทัพได้จัดการสวนสนามใหญ่นอกกรุงปักกิ่งครั้งแรก ณ ฐานฝึกอบรมจูรื่อเหอ สังกัดยุทธบริเวณภาคเหนือ (ภายในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน)[87]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าเกิดการปฏิรูปครั้งใหญ่ในระดับผู้นำกองทัพ หลังจากมีการปลดนายพลระดับสูงออกจากการเป็นสมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ[88] ก่อนหน้านั้นใน ค.ศ. 2017 มีการสอบสวนและปลดนายพลไปแล้วมากกว่า 60 คน[89]

การส่งกำลังไปต่างแดนและปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

[แก้]

นอกเหนือจากฐานสนับสนุนในประเทศจิบูตีแล้ว กองทัพปลดปล่อยประชาชนยังมีฐานทัพในประเทศทาจิกิสถาน และสถานีรับสัญญาณในประเทศคิวบา[90][91] สถานีเอสปาซิโอเลฮาโน ในประเทศอาร์เจนตินา ดำเนินการโดยหน่วยงานหนึ่งของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[92][93] กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนยังได้ส่งเรือรบของตนไปหมุนเวียนประจำการที่ฐานทัพเรือเรียม ประเทศกัมพูชา[94][95]

สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ส่งกำลังทหารจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนไปยังพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อปฏิบัติภารกิจสันติภาพ ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทที่สำคัญของจีนในฐานะสมาชิกสำคัญขององค์การสหประชาชาติ[96] หน่วยเหล่านี้มักประกอบด้วยหน่วยวิศวกรรม หน่วยสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ และกำลังพลจากกองกำลังตำรวจประชาชน ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหาร และได้ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในประเทศเลบานอน[97][98] สาธารณรัฐคองโก[97] ประเทศซูดาน[99] ประเทศโกตดิวัวร์[100] ประเทศเฮติ[101][102] และเมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศมาลี และประเทศซูดานใต้[97][103]

การมีส่วนร่วม

[แก้]

ณ ต้นปี ค.ศ. 2024 เป็นอย่างน้อย จีนไม่เคยเข้าร่วมในสงครามใดเลยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เพียงแต่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งเล็กน้อยเท่านั้น[17]: 72 

โครงสร้าง

[แก้]
คณะกรรมการการทหารส่วนกลางมีที่ทำการอย่างเป็นทางการในบริเวณกระทรวงกลาโหม (อาคาร 1 สิงหาคม)

กองทัพปลดปล่อยประชาชนเป็นส่วนประกอบของกองทัพจีน (Armed Forces of China) ซึ่งรวมถึงกองกำลังตำรวจติดอาวุธประชาชน กองกำลังสำรอง และกองกำลังอาสาสมัครด้วย[127] กองทัพถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้หลักการที่ว่า "พรรคเป็นผู้สั่งปืน" (จีน: 党指挥枪; พินอิน: Dǎng zhǐhuī qiāng)[15] กองทัพปลดปล่อยประชาชนและกองกำลังตำรวจติดอาวุธประชาชนมีคณะผู้แทนจำนวนมากที่สุดในสภาประชาชนแห่งชาติ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งสมาชิกกองทัพของหน่วยงานทหารระดับสูง รวมถึงยุทธบริเวณและเหล่าทัพต่าง ๆ ของกองทัพ[128] ในสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 14 คณะผู้แทนร่วมมีสมาชิกจำนวน 281 คน คิดเป็นกว่าร้อยละ 9 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ซึ่งล้วนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน[129]

คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง

[แก้]

กองทัพปลดปล่อยประชาชนอยู่ภายใต้การบัญชาการของคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ในระบบ "หนึ่งองค์กร สองชื่อ" ซึ่งมีทั้งคณะกรรมการการทหารส่วนกลางแห่งรัฐ และคณะกรรมการการทหารส่วนกลางของพรรค ทั้งสองคณะกรรมการมีบุคลากร โครงสร้าง และหน้าที่เหมือนกัน และทำงานเป็นองค์กรเดียวกันโดยแท้จริง[130] ความแตกต่างเพียงประการเดียวในสมาชิกภาพระหว่างทั้งสองเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาไม่กี่เดือนทุก ๆ ห้าปี ในช่วงระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรค จะเป็นช่วงเวลาที่สมาชิกภาพของคณะกรรมการฯ ของพรรคมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติครั้งต่อไป จะเป็นช่วงเวลาที่สมาชิกภาพของคณะกรรมการฯ แห่งรัฐมีการเปลี่ยนแปลง[131]

คณะกรรมการการทหารส่วนกลางประกอบด้วยประธาน รองประธาน และกรรมการ ประธานคณะกรรมการฯ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชน โดยตำแหน่งนี้มักจะดำรงโดยผู้นำสูงสุดของประเทศ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 เป็นต้นมา ตำแหน่งนี้มักจะดำรงควบคู่ไปกับตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน[15][130][132] แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ กระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการไม่มีอำนาจบัญชาการโดยตรง แต่มีหน้าที่หลักในการเป็นตัวกลางทางการทูตของคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง และป้องกันกองทัพจากอิทธิพลภายนอก[133] อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรียังคงดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการมาโดยตลอด[130]

สมาชิกคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง
ประธาน
รองประธาน
สมาชิก

เดิมที กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนอยู่ภายใต้การบริหารโดยสี่กรมใหญ่ ได้แก่ กรมการเมือง กรมเสนาธิการ กรมโลจิสติกส์ และกรมยุทธภัณฑ์ หน่วยงานเหล่านี้ถูกยุบเลิกใน ค.ศ. 2016 ภายใต้การปฏิรูปกองทัพที่ดำเนินการโดยสี จิ้นผิง และแทนที่ด้วยหน่วยงานใหม่ 15 แห่งที่ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ได้แก่[134]

  1. สำนักงานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง
  2. กรมเสนาธิการร่วม
  3. กรมงานการเมือง
  4. กรมการสนับสนุนโลจิสติกส์
  5. กรมพัฒนายุทโธปกรณ์
  6. กรมฝึกอบรมและบริหารงาน
  7. กรมสรรพกำลังกลาโหม
  8. คณะกรรมการตรวจสอบวินัย
  9. คณะกรรมการการเมืองและกฎหมาย
  10. คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  11. สำนักวางแผนยุทธศาสตร์
  12. สำนักงานปฏิรูปและโครงสร้างองค์กร
  13. สำนักงานความร่วมมือทางการทหารระหว่างประเทศ
  14. สำนักงานตรวจสอบบัญชี
  15. สำนักบริหารงานสำนักงาน

ในจำนวนหน่วยงานทั้ง 15 หน่วยนั้นประกอบด้วยคณะกรรมการ 3 คณะ โดยคณะกรรมการตรวจสอบวินัยของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่ในการปราบปรามการทุจริต

ผู้นำทางการเมือง

[แก้]

พรรคคอมมิวนิสต์จีนรักษาอำนาจควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเหนือกองทัพปลดปล่อยประชาชน[135] โดยกำหนดให้กองทัพปลดปล่อยประชาชนต้องเข้ารับการศึกษาด้านการเมืองเพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรคให้แก่สมาชิก[136] นอกจากนี้ จีนยังคงรักษาระบบผู้ตรวจการทางการเมือง (political commissar) เอาไว้[137] หน่วยระดับกรมขึ้นไปจะมีคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และผู้ตรวจการทางการเมืองประจำหน่วย (จีน: 政治委员 หรือ 政委)[137][138] ส่วนหน่วยระดับกองพันและกองร้อยจะมีผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองและครูสอนการเมืองประจำหน่วยตามลำดับ[139] เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองมีสถานะเทียบเท่ากับผู้บัญชาการ[136] มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมาธิการพรรค การปลูกฝังและรักษาความประพฤติตามวินัยของพรรค การให้การศึกษาด้านการเมือง และการประสานงานกับส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบงานการเมือง[139]

โดยทั่วไปแล้ว เจ้าหน้าที่การเมืองจะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรค ส่วนผู้บัญชาการจะดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการฯ[139] การตัดสินใจที่สำคัญในกองทัพปลดปล่อยประชาชนมักเกิดขึ้นภายในคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่กระจายอยู่ทั่วทั้งกองทัพ[136] เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีอำนาจนำสูงสุด พรรคการเมือง กลุ่ม และองค์กรที่ไม่ใช่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนยกเว้นสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์จีนจะไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งองค์กรหรือมีสมาชิกในกองทัพปลดปล่อยประชาชน นอกจากนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการแต่งตั้งบุคลากรในกองทัพปลดปล่อยประชาชนทุกระดับชั้น[138]

ระดับชั้น

[แก้]

ระดับชั้น (grades) เป็นตัวกำหนดลำดับชั้นการบังคับบัญชาตั้งแต่ระดับคณะกรรมการการทหารส่วนกลางลงไปถึงระดับหมวด หน่วยต่าง ๆ มีหน้าที่สั่งการหน่วยที่มีระดับต่ำกว่า และประสานงานกับหน่วยที่มีระดับเดียวกัน[140] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 เป็นต้นมา องค์กร ตำแหน่ง และนายทหารทุกนายในกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้รับการจัดระดับชั้นอย่างเป็นระบบ[141]

ความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนกับทหารภายในระบบราชการของประเทศยังได้รับอิทธิพลจากระดับชั้นด้วย ระบบการจัดระดับชั้นที่กองทัพและหน่วยงานภาครัฐใช้นั้นมีความสอดคล้องกัน ทำให้หน่วยงานทหารสามารถระบุหน่วยงานพลเรือนที่ควรประสานงานได้ง่ายขึ้น[140]

อำนาจหน้าที่ สิทธิในการดำรงตำแหน่ง เงินเดือน และอายุเกษียณของนายทหารนั้นขึ้นอยู่กับระดับชั้น[142][140] ความก้าวหน้าในอาชีพคือการโอนย้ายภายในตำแหน่งที่มีระดับเดียวกัน แต่ไม่ถือเป็นการเลื่อนตำแหน่ง[143] เมื่อนายทหารย้ายเข้าสู่ระบบพลเรือน ระดับชั้นของนายทหารจะถูกปรับเทียบเป็นระดับชั้นของพลเรือน[140] ระดับชั้นดังกล่าวจะยังคงปรับเพิ่มขึ้นและได้รับสิทธิประโยชน์การเกษียณอายุจากระบบพลเรือนแทนที่จะเป็นระบบทหาร[144]

ในอดีต ระดับชั้นหรือตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ (จีน: 职务等级; พินอิน: zhiwu dengji[145]) มีความสำคัญมากกว่าชั้นยศ (จีน: 军衔; พินอิน: junxian[145])[140] ข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในระดับชั้นและระยะเวลาการดำรงยศ[146] รวมถึงการเลื่อนยศนั้นไม่ได้มีความสอดคล้องกัน[147] กล่าวคือ ในแต่ละระดับชั้นจะมีหลายยศที่แตกต่างกัน[148] โดยทั้งหมดมีอำนาจเท่าเทียมกัน[144] ชั้นยศนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ใช้ในการระบุตำแหน่งทางสังคมหรืออำนาจอย่างคร่าว ๆ เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรทั้งชาวจีนและต่างชาติ[140] มารยาทในกองทัพปลดปล่อยประชาชนนิยมเรียกขานบุคลากรตามตำแหน่งมากกว่ายศทหาร[149] การปฏิรูประบบให้เน้นชั้นยศมากขึ้นเริ่มต้นใน ค.ศ. 2021[145] ใน ค.ศ. 2023 ได้มีการปรับโครงสร้างระดับชั้นโดยกำหนดให้แต่ละระดับชั้นมีชั้นยศที่สอดคล้องกันเพียงหนึ่งชั้นยศ แต่ชั้นยศบางชั้นอาจครอบคลุมหลายระดับชั้น[150]

การควบคุมปฏิบัติการ

[แก้]
ยุทธบริเวณทั้งห้าของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[151]

อำนาจควบคุมปฏิบัติการของหน่วยรบถูกแบ่งออกระหว่างกองบัญชาการเหล่าทัพและยุทธบริเวณที่ตั้งอยู่ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ภายในประเทศ

ยุทธบริเวณ (theatre commands) เป็นองค์กรร่วมระหว่างเหล่าทัพที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการวางยุทธศาสตร์ แผนงาน ยุทธวิธี และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ในยามสงคราม ยุทธบริเวณจะมีอำนาจควบคุมหน่วยงานในสังกัดอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนยามสงบ หน่วยงานเหล่านั้นจะขึ้นตรงต่อกองบัญชาการของแต่ละเหล่าทัพ[152] การเสริมสร้างกำลังรบเป็นความรับผิดชอบของแต่ละเหล่าทัพและคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง[153] ยุทธบริเวณทั้งห้าเรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่[154]

กองบัญชาการเหล่าทัพยังคงรักษาอำนาจควบคุมปฏิบัติการในบางพื้นที่ภายในประเทศและนอกประเทศจีน ตัวอย่างเช่น กองบัญชาการกองทัพบกมีอำนาจควบคุมหรือรับผิดชอบกองทหารรักษาการณ์ปักกิ่ง มณฑลทหารทิเบต มณฑลทหารซินเจียง และแนวป้องกันชายแดนและชายฝั่ง[155] การลาดตระเวนปราบปรามโจรสลัดในอ่าวเอเดนอยู่ภายใต้การควบคุมของกองบัญชาการกองทัพเรือ[156] กรมเสนาธิการร่วมมีอำนาจควบคุมปฏิบัติการนอกอาณาเขตของจีนในทางทฤษฎี[157] แต่ในทางปฏิบัติแล้วอำนาจดังกล่าวกลับจำกัดอยู่เพียงปฏิบัติการทางบกเท่านั้น[158]

เหล่าทัพและยุทธบริเวณมีระดับชั้นเท่าเทียมกัน การทับซ้อนของพื้นที่รับผิดชอบหรือหน่วยงานอาจก่อให้เกิดข้อพิพาทที่จำเป็นต้องมีการไกล่เกลี่ยโดยคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง[158]

ภายใต้การปฏิรูปกองทัพใน ค.ศ. 2015 ภูมิภาคทหารทั่วประเทศได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นยุทธบริเวณใน ค.ศ. 2016[159] ภูมิภาคทหารนั้นแตกต่างจากยุทธบริเวณ ตรงที่เป็นองค์กรปกครองในยามสงบที่มีกองทัพบกเป็นศูนย์กลาง[160] และกองบัญชาการรบร่วมในยามสงครามนั้นจะถูกจัดตั้งขึ้นตามความจำเป็นโดยกรมเสนาธิการร่วม ซึ่งมีกองทัพบกเป็นแกนหลัก[161]

โครงสร้างองค์กร

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กรม
 
 
 
คณะกรรมการ
 
 
 
สำนักงาน
 
 
 
เหล่าทัพเสริม
 
 
 
สถาบันวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการฯ
 
 
 
คณะกรรมการตรวจสอบวินัย
 
 
 
สำนักวางแผนยุทธศาสตร์
 
 
 
กองทัพอวกาศ
 
 
 
สถาบันวิทยาศาสตร์การทหาร
กรมเสนาธิการร่วม
 
 
 
คณะกรรมการการเมืองและกิจการกฎหมาย
 
 
 
สำนักงานปฏิรูปและโครงสร้างองค์กร
 
 
 
กองกำลังไซเบอร์สเปซ
 
 
 
มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ
กรมงานการเมือง
 
 
 
คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
 
 
สำนักงานความร่วมมือทางการทหารระหว่างประเทศ
 
 
 
กองกำลังสนับสนุนสารสนเทศ
 
 
 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกลาโหมแห่งชาติ
กรมการสนับสนุนโลจิสติกส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สำนักงานตรวจสอบบัญชี
 
 
 
กองกำลังสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ร่วม[162]
 
 
 
 
 
 
กรมพัฒนายุทโธปกรณ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สำนักบริหารงานสำนักงาน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กรมฝึกอบรมและบริหารงาน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กรมสรรพกำลังกลาโหม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยุทธบริเวณ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เหล่าทัพ
 
ยุทธบริเวณภาคตะวันออก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพบก
 
ยุทธบริเวณภาคตะวันตก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพเรือ
 
ยุทธบริเวณภาคใต้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพอากาศ
 
ยุทธบริเวณภาคเหนือ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพจรวด
 
ยุทธบริเวณภาคกลาง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทัพปลดปล่อยประชาชน
 
 
 
 
 
 
 
 

รัฐวิสาหกิจ

[แก้]

รัฐวิสาหกิจหลายแห่งได้จัดตั้งหน่วยกองกำลังติดอาวุธขึ้นภายในองค์กร โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[163][164][165] ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์เจี่ยฟ่างจฺวินเป้า (People's Liberation Army Daily) หน่วยงานภายในดังกล่าวได้รับมอบหมายให้ "ร่วมมือกับองค์กรระดับรากหญ้าในการรวบรวมข่าวกรองและข้อมูล เพื่อยุติหรือขจัดภัยคุกคามด้านความมั่นคงในระยะเริ่มต้น"[164]

สถาบันการศึกษา

[แก้]

มีสองแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกลาโหม ซึ่งต่างอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง และได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันการศึกษาทางทหารชั้นนำอันดับต้น ๆ ของจีน นอกจากนี้ยังมีสถาบันสังกัดเหล่าทัพและเหล่าทัพเสริมต่าง ๆ ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนอีก 35 แห่ง และสถาบันสังกัดตำรวจติดอาวุธประชาชนอีก 7 แห่ง[166]

สาขา

[แก้]

กองทัพปลดปล่อยประชาชนประกอบด้วยสี่เหล่าทัพหลัก ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองทัพจรวด และอีกสี่เหล่าทัพสนับสนุน ได้แก่ กองทัพอวกาศ กองทัพไซเบอร์สเปซ กองทัพสนับสนุนสารสนเทศ และกองทัพสนับสนุนโลจิสติกส์ร่วม[167]

เหล่าทัพหลัก

[แก้]

กองทัพปลดปล่อยประชาชนมีเหล่าทัพหลัก 4 หน่วย (จีน: 军种; พินอิน: jūnzhǒng) ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองทัพจรวด ภายหลังจากการประกาศลดกำลังพล 200,000 นายใน ค.ศ. 2003 และอีก 300,000 นายใน ค.ศ. 2005 ตามลำดับ จำนวนกำลังพลรวมของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจึงลดลงจาก 2.5 ล้านนาย เหลือประมาณ 2 ล้านนาย[168] การลดกำลังพลส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับกองทัพบกที่ไม่ใช่กำลังรบ ซึ่งจะเอื้อให้สามารถโอนงบประมาณไปยังกองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองทัพขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ได้มากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ของจีนจากการเน้นกำลังภาคพื้นดินเป็นหลักมาเป็นการให้ความสำคัญกับอำนาจทางอากาศและทางทะเลที่ติดตั้งเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อใช้ในการรุกคืบในดินแดนพิพาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเลจีนใต้[169]

กองทัพบก

[แก้]
รถถังหลัก ไทป์ 99เอ ประจำการในกองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน

กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน (จีน: 中国人民解放军陆军) เป็นเหล่าที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเหล่าทัพทั้ง 5 ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน มีกำลังพลประจำการ 975,000 นาย คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังพลทั้งหมดของกองทัพปลดปล่อยประชาชนซึ่งมีจำนวนประมาณ 2 ล้านนาย[12]: 260  แบ่งออกเป็นกลุ่มทัพประจำการ 12 กลุ่ม เรียงลำดับตั้งแต่กลุ่มทัพที่ 71 ไปจนถึงกลุ่มทัพที่ 83 ซึ่งกระจายไปประจำยังยุทธบริเวณทั้งห้าของประเทศจีน โดยแต่ละยุทธบริเวณจะรับผิดชอบกลุ่มทัพจำนวน 2 ถึง 3 กลุ่ม ในยามสงคราม กำลังสำรองและกำลังกึ่งทหารของกองทัพบกจำนวนมากอาจถูกระดมมาเพื่อเสริมกำลังกลุ่มทัพที่ปฏิบัติการอยู่ กำลังสำรองกองทัพบกประกอบด้วยกำลังพลประมาณ 510,000 นาย แบ่งออกเป็นกองพลทหารราบ 30 กองพล และกองพลปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยาน 12 กองพล ผู้บัญชาการคนปัจจุบันคือ พลเอก หลิว เจิ้นลี่ และผู้ตรวจการทางการเมืองคือ พลเอก ฉิน ชู่ถง[170]

กองทัพเรือ

[แก้]
เรือพิฆาตของกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน กำลังปฏิบัติการสกัดกั้นทางทะเลในการฝึกซ้อมทางทะเล ริมแพค 2016

กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน (จีน: 中国人民解放军海军) มีบทบาทรองจากกองทัพบกจนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่หลังจากนั้นกองทัพเรือก็ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ทันสมัยอย่างรวดเร็ว มีกำลังพลประมาณ 300,000 นาย จัดแบ่งเป็นทัพเรือหลักสามทัพ ได้แก่ ทัพเรือทะเลเหนือ มีฐานอยู่ที่เมืองชิงเต่า ทัพเรือทะเลตะวันออก มีฐานอยู่ที่เมืองหนิงปัว และทัพเรือทะเลใต้ มีฐานอยู่ที่เมืองจ้านเจียง[171] แต่ละทัพเรือประกอบด้วย หน่วยเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่ง หน่วยเรือดำน้ำ หน่วยอากาศนาวี หน่วยป้องกันชายฝั่ง และหน่วยนาวิกโยธิน[172][12]: 261 

กองทัพเรือประกอบด้วยเหล่านาวิกโยธินที่มีกำลังพล 25,000 นาย (จัดแบ่งเป็น 7 กองพลน้อย) และกองทัพอากาศนาวีที่มีกำลังพล 26,000 นาย ซึ่งปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์โจมตีและเครื่องบินปีกตายจำนวนหลายร้อยลำ[12]: 263–264  ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนงานโดยรวมในการปรับปรุงกองทัพเรือ กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนากองเรือทะเลลึก (blue water navy)[173]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 หู จิ่นเทา เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้รายงานต่อการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 ว่ามีความประสงค์ที่จะ "เพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล และพัฒนาประเทศจีนให้เป็นมหาอำนาจทางทะเล"[174] ตามรายงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่สุดในโลก[175] ผู้บัญชาการคนปัจจุบันคือ พลเรือเอก ต่ง จฺวิน และผู้ตรวจการทางการเมืองคือ พลเรือเอก ยฺเหวียน หฺวาจื้อ[176]

กองทัพอากาศ

[แก้]
เครื่องบินขับไล่ล่องหน เฉิงตู เจ-20 รุ่นที่ห้า

กองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (จีน: 中国人民解放军空军) มีกำลังพลประมาณ 395,000 นายถูกแบ่งออกเป็นยุทธบริเวณกองทัพอากาศ (TCAF) 5 แห่ง และกองบิน 24 กองบิน[177]: 249–259  ใน ค.ศ. 2024 ระบบได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น 11 ฐานระดับรอง ทำหน้าที่ควบคุมกองบินน้อย[178] กองบินส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นกองบินน้อย[178] แต่บางหน่วย (โดยเฉพาะกองบินทิ้งระเบิด และหน่วยปฏิบัติการพิเศษบางส่วน) ยังคงปฏิบัติการในฐานะกองบิน[179] หน่วยปฏิบัติการที่ใหญ่ที่สุดภายในเหล่าทัพอากาศคือกองบิน ซึ่งมีกรมบิน 2–3 กรม โดยแต่ละกรมจะมีอากาศยาน 20–36 ลำ กองบินน้อยมีอากาศยานตั้งแต่ 24–50 ลำ[180]เหล่าขีปนาวุธพื้นสู่อากาศจัดระเบียบเป็นกองพลและกองพลน้อย นอกจากนี้ยังมีกองพลส่งทางอากาศอีก 3 กอง ซึ่งขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศ รหัส J-XX และ XXJ เป็นรหัสที่หน่วยข่าวกรองตะวันตกใช้เรียกโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ห้าอย่างน้อยหนึ่งโครงการของจีน[181][182] ผู้บัญชาการคนปัจจุบันคือ พลอากาศเอก ฉาง ติงฉิว และผู้ตรวจการทางการเมืองคือ พลอากาศเอก กัว ผู่เซี่ยว[183][184]

กองทัพจรวด

[แก้]
ตงเฟิง-21ดี ในพิธีสวนสนามวันแห่งชัยชนะ ค.ศ. 2015

กองทัพจรวดกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (จีน: 中国人民解放军火箭军) เป็นกองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์หลักของกองทัพปลดปล่อยประชาชน มีกำลังพลอย่างน้อย 120,000 นาย[12]: 259  มีหน้าที่ควบคุมอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ของจีน[185] คาดการณ์ว่าอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดของจีนมีจำนวนระหว่าง 100 ถึง 400 หัวรบเทอร์โมนิวเคลียร์

กองทัพจรวดถูกแบ่งออกเป็นฐานต่าง ๆ ที่มีหมายเลขเรียงตามลำดับตั้งแต่ 61 ถึง 67 โดยฐานทั้ง 6 แห่งแรกนั้นประจำและปฏิบัติการอยู่ในยุทธบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ ขณะที่ฐานหมายเลข 67 ทำหน้าที่เป็นคลังอาวุธนิวเคลียร์กลางของจีน[186] ผู้บัญชาการคนปัจจุบันคือ พลเอก หลี่ ยฺวี่เชา และผู้ตรวจการทางการเมืองคือ พลเอก สฺวี จงปัว[187]

เหล่าทัพเสริม

[แก้]

กองทัพปลดปล่อยประชาชนมีเหล่าทัพเสริม (จีน: 兵种) 4 เหล่า ได้แก่ กองทัพอวกาศ กองกำลังไซเบอร์สเปซ กองกำลังสนับสนุนสารสนเทศ และกองกำลังสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ร่วม ระบบสี่เหล่าทัพเสริมนี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2024[167]

กำลังพล

[แก้]

การสรรหาบุคคลและการรับราชการ

[แก้]

กองทัพปลดปล่อยประชาชนก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยกำลังอาสาสมัครทั้งหมดในช่วงเริ่มต้น ใน ค.ศ. 1955 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปฏิรูปกองทัพปลดปล่อยประชาชนให้ทันสมัย กฎหมายการรับราชการทหารฉบับแรกได้บัญญัติให้มีระบบการเกณฑ์ทหารขึ้น[4] ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา กองทัพปลดปล่อยประชาชนมีลักษณะเป็นกองกำลังผสมที่ประกอบด้วยทั้งทหารกองประจำการและอาสาสมัคร[4][188][189] ทหารกองประจำการที่ครบกำหนดระยะเวลาการรับราชการ สามารถสมัครเป็นทหารอาสาสมัครเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อีกเป็นเวลา 16 ปี[4][189] ตามกฎหมายแล้ว การรับราชการทหารในกองทัพปลดปล่อยประชาชนถือเป็นข้อบังคับสำหรับพลเมืองจีนทุกคน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหารในประเทศจีนนับตั้งแต่ ค.ศ. 1959[190][191]

สตรีและชนกลุ่มน้อย

[แก้]
พันเอกหญิงของกองกำลังสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ร่วม

สตรีมีส่วนร่วมอย่างแพร่หลายในสงครามนอกแบบ รวมถึงตำแหน่งในการรบจริง ในกองทัพแดงจีนตลอดช่วงการปฏิวัติ สงครามกลางเมืองจีน (ค.ศ. 1927–1949) และสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (ค.ศ. 1937–1945)[192][193] ภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนและการปรับเปลี่ยนกองทัพปลดปล่อยประชาชนให้เป็นองค์กรทหารแบบกองทัพสมัยใหม่ บทบาทของสตรีในกองทัพก็ได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปสู่บทบาทสนับสนุน บริการทางการแพทย์ และโลจิสติกส์[192] การเข้าร่วมกองทัพถือเป็นตัวเลือกอันทรงเกียรติสำหรับสตรี การรับราชการทหารเปิดโอกาสให้บุคลากรได้รับการศึกษา ฝึกอบรม เพิ่มสถานะทางสังคม และมีโอกาสย้ายไปประจำการในเขตเมืองหลังจากสิ้นสุดระยะเวลารับราชการ ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม การเข้ารับราชการทหารได้รับการยกย่องว่าเป็นเอกสิทธิ์และเป็นวิธีหนึ่งในการหลีกเลี่ยงการรณรงค์ทางการเมืองและการถูกบังคับขู่เข็ญ[192]

ในคริสต์ทศวรรษ 1980 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ดำเนินการลดกำลังพลครั้งใหญ่ท่ามกลางการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน โดยมีการปลดประจำการทหารสตรีกลับสู่สังคมพลเรือนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน การกีดกันสตรีออกจากกองทัพก็มีขอบเขตที่ขยายตัวมากขึ้น[192] ในคริสต์ทศวรรษ 1990 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ฟื้นฟูการรับสมัครสตรีเข้าประจำการในหน่วยทหารประจำการทั่วไป แต่เน้นการบรรจุในตำแหน่งเฉพาะทางที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบเป็นหลัก[192] สตรีส่วนใหญ่ได้รับการฝึกฝนในสาขา เช่น วิชาการ/วิศวกรรม การแพทย์ การสื่อสาร ข่าวกรอง งานด้านวัฒนธรรม และงานบริหาร ซึ่งสอดคล้องกับบทบาททางเพศแบบดั้งเดิม สตรีในกองทัพปลดปล่อยประชาชนมีแนวโน้มที่จะเป็นนักเรียนนายร้อยและนายทหารมากกว่าทหารกองประจำการ เนื่องมาจากความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง[192] องค์กรทางทหารยังคงรักษาหน่วยรบหญิงบางส่วนไว้เพื่อเป็นตัวอย่างของความเสมอภาคทางสังคม[192][193]

ทั้งทหารหญิงประจำการและนักเรียนนายร้อยหญิงในกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้รับการฝึกพื้นฐานเช่นเดียวกับทหารชาย แต่ส่วนใหญ่จะปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรที่มีสตรีเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุผลทางอุดมการณ์ กฎระเบียบที่กำหนดการแยกเพศภายในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจึงถูกยกเลิก อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างที่แยกเพศสำหรับองค์กรสตรีนั้นยังคงมีอยู่โดยพิจารณาจากความสะดวก[192] สตรีมีแนวโน้มที่จะดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาในองค์กรที่มีสตรีเป็นส่วนใหญ่ เช่น หน่วยทางการแพทย์ โลจิสติกส์ การวิจัย และการเมือง แต่บางครั้งก็พบได้ในหน่วยรบเมื่อยามสงบ[192] ในกองทัพอากาศ สตรีมักเป็นนักบินเครื่องบินขนส่งหรือเป็นลูกเรือ[194] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา มีเจ้าหน้าที่หญิงระดับสูงในกองทัพปลดปล่อยประชาชนเป็นจำนวนน้อย แต่การเลื่อนตำแหน่งยังคงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก[192][193] ในคริสต์ทศวรรษ 2010 สตรีมีบทบาทในการปฏิบัติการรบมากขึ้น โดยปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับบุคลากรชายในองค์กรที่ประกอบด้วยทั้งชายและหญิง และต้องผ่านมาตรฐานทางกายภาพที่เท่าเทียมกัน[193]

กองทัพส่งเสริมโอกาสของสตรีในกองทัพอย่างจริงจัง เช่น การเฉลิมฉลองวันสตรีสากลสำหรับสมาชิกของกองทัพ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จครั้งแรกของนายทหารสตรีและทหารกองประจำการหญิง รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่กับกองกำลังรักษาสันติภาพหรือการประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพเรือ การประกาศความสำเร็จของทหารหญิงในสื่อของรัฐ และการส่งเสริมกองกำลังพิเศษหญิงผ่านรายงานข่าวหรือสื่อยอดนิยม[193] กองทัพปลดปล่อยประชาชนไม่เคยเผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสัดส่วนเพศของกองทัพ แต่มูลนิธิเจมส์ทาวน์ได้ประมาณการว่าสตรีมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 ของกำลังพลประจำการในประเทศจีน[195]

ความเป็นเอกภาพของชาติและบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นแก่นหลักของการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน กองทัพแดงจีนและกองทัพปลดปล่อยประชาชนในยุคต่อมาได้มีนโยบายในการสรรหาบุคคลจากชนกลุ่มน้อยเข้าร่วมกองทัพอย่างจริงจัง ในช่วงสงครามกลางเมืองจีน มีการจัดตั้งหน่วยทหารม้าชาวมองโกลขึ้น ในช่วงสงครามเกาหลี ชนกลุ่มน้อยเกาหลีในประเทศจีนจำนวนมากถึง 50,000 คนได้อาสาสมัครเข้าร่วมกองทัพปลดปล่อยประชาชน การสรรหาบุคคลจากชนกลุ่มน้อยของกองทัพปลดปล่อยประชาชนโดยทั่วไปมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับนโยบายของรัฐ ในช่วงเริ่มแรก ชนกลุ่มน้อยจะได้รับการปฏิบัติอย่างดี โดยให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในการสรรหาและการฝึกอบรม ในคริสต์ทศวรรษ 1950 ชาติพันธุ์มองโกลมีสัดส่วนร้อยละ 52 ของนายทหารทั้งหมดในภูมิภาคทหารมองโกเลียใน ในช่วงการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าและการปฏิวัติทางวัฒนธรรม กองทัพได้ให้ความสำคัญกับ "วัฒนธรรมสังคมนิยม" นโยบายการผสมผสาน และการสร้างอัตลักษณ์ร่วมระหว่างทหารที่มีเชื้อชาติต่างกัน[196]

สำหรับนักเรียนนายร้อยและเจ้าหน้าที่ที่เป็นชนกลุ่มน้อย การพัฒนาโดยรวมเป็นไปตามนโยบายระดับชาติ โดยทั่วไป เจ้าหน้าที่ชนกลุ่มน้อยจะดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในภูมิภาคบ้านเกิดของตน ตัวอย่างเช่น กองกำลังอาสาสมัครในเขตปกครองตนเองชนชาติอี๋ พบว่ามีผู้บังคับบัญชาระดับกองพันและกรมทหารที่มีเชื้อสายอี๋คิดเป็นสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 34 ขณะที่กองกำลังอาสาสมัครท้องถิ่นทิเบต พบว่ามีผู้บังคับบัญชาที่มีเชื้อสายทิเบตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ชนกลุ่มน้อยสามารถบรรลุตำแหน่งระดับสูงในกองทัพปลดปล่อยประชาชน และโอกาสของการแต่งตั้งดูเหมือนจะสอดคล้องกับสัดส่วนประชากรชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน[196] บุคคลสำคัญที่เป็นที่รู้จักได้แก่ พลเอก โอลางฮู ชาวมองโกล ดำรงตำแหน่งระดับสูงในภูมิภาคมองโกเลียใน และเคยเป็นรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน และพลโท ไซฟุดดีน อาซีซี ชาวอุยกูร์ ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน[196] ภายในกองทัพเคยเกิดเหตุการณ์ที่แสดงถึงความไม่ไว้วางใจทางเชื้อชาติอยู่บ้าง เหตุการณ์หนึ่งที่เป็นที่ประจักษ์ชัดคือการแปรพักตร์เข้าร่วมกับสหภาพโซเวียตของพลเอก มาร์กุบ อิสคาคอฟ ชาวมุสลิมตาตาร์ ในคริสต์ทศวรรษ 1960 อย่างไรก็ตาม การที่เขาแปรพักตร์ไปนั้นมีสาเหตุหลักมาจากความผิดหวังต่อนโยบายกระโดดก้าวไกลที่ล้มเหลว มากกว่าจะมาจากภูมิหลังทางชาติพันธุ์ของเขา[197] ในยุคปัจจุบัน การแสดงออกถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ปรากฏเด่นชัดที่สุดในหมู่นายทหารชั้นผู้น้อย มีชนกลุ่มน้อยเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ขึ้นถึงตำแหน่งระดับสูงสุด[197]

ยุทธภัณฑ์

[แก้]

งบประมาณและรายจ่าย

[แก้]
งบประมาณอย่างเป็นทางการ
ปี มูลค่า
(พันล้านเหรียญ

สหรัฐ)

มีนาคม 2000 14.6[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2001 17.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2002 20.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2003 22.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2004 24.6[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2005 29.9[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2006 35.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2007 44.9[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2008 58.8[198]
มีนาคม 2009 70.0[ต้องการอ้างอิง]
มีนาคม 2010 76.5[199]
มีนาคม 2011 90.2[199]
มีนาคม 2012 103.1[199]
มีนาคม 2013 116.2[199]
มีนาคม 2014 131.2[199]
มีนาคม 2015 142.4[199]
มีนาคม 2016 143.7[199]
มีนาคม 2017 151.4[199]
มีนาคม 2018 165.5[200]
มีนาคม 2019 177.6[201]
พฤษภาคม 2020 183.5[202]
มีนาคม 2021 209.4[203]
มีนาคม 2022 229.4[204]

การใช้จ่ายทางทหารสำหรับกองทัพปลดปล่อยประชาชนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ต่อปีในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา[205] สถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) ประมาณการค่าใช้จ่ายทางทหารของจีนใน ค.ศ. 2013 ไว้ที่ 188.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ[206] งบประมาณทางทหารของจีนใน ค.ศ. 2014 จากข้อมูลของ Janes Information Services ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิเคราะห์อุตสาหกรรมกลาโหม อยู่ที่ 148 พันล้านเหรียญสหรัฐ[207] ซึ่งเป็นใหญ่เป็นอันดับสองในโลก งบประมาณทางทหารของสหรัฐอเมริกาสำหรับ ค.ศ. 2014 เมื่อเปรียบเทียบแล้ว อยู่ที่ 574.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ,[208] ซึ่งลดลงจากระดับสูงสุด 664.3 พันล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ. 2012

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) จีนกลายเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับสามของโลกใน ค.ศ. 2010–2014 เพิ่มขึ้น 143% จากช่วง ค.ศ. 2005–2009

การใช้จ่ายทางทหารที่เพิ่มขึ้นของจีนเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดความตึงเครียดในทะเลจีนใต้โดยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนที่เกี่ยวข้องกับฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไต้หวัน รวมถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนและญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับหมู่เกาะเซ็งกากุที่เป็นข้อพิพาท - เลขาธิการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โรเบิร์ต เกตส์ ได้เรียกร้องให้จีนมีความโปร่งใสมากขึ้นเกี่ยวกับขีดความสามารถและความตั้งใจทางทหารของตน.[209][210]

ตัวเลขงบประมาณได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของสภาแห่งรัฐผ่านเอกสารชื่อ 'งบประมาณส่วนกลางและท้องถิ่น' ตามด้วยปีก่อนหน้าที่เผยแพร่

แผนภูมิแสดงการใช้จ่ายทางทหารทั่วโลกโดยแบ่งตามประเทศใน ค.ศ. 2019 เป็นพันล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI)

สัญลักษณ์

[แก้]

ตราสัญลักษณ์

[แก้]
ตราสัญลักษณ์กองทัพปลดปล่อยประชาชน

ตราสัญลักษณ์ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ประกอบด้วยดาวสีแดงซึ่งมีตัวอักษรจีนสองตัว "八一" (ตามตัวอักษร "แปด-หนึ่ง") ซึ่งหมายถึงการจลาจลหนานชางในวันที่ 1 สิงหาคม 1927

ธง

[แก้]

ธงของกองทัพปลดแอกประชาชน เค้าโครงของธงมีรูปดาวสีทองที่มุมซ้ายบน และตัวอักษรจีนสองตัว "八一" ทางด้านขวาของรูปดาว บนพื้นหลังสีแดง แต่ละเหล่ายังมี ธง: 5⁄8 บนสุดของธงเหมือนกันกับธงกองทัพปลดปล่อยประชาชน ส่วน 3⁄8 ล่างเป็นสีของเหล่านั้นๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. "【延安记忆】"中国人民解放军"称谓由此开始". 2020-08-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-22. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  2. "1947年10月10日,《中国人民解放军宣言》发布". 中国军网. 2017-10-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-22. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  3. "中国共产党领导的红军改编为八路军的背景和改编情况 – 太行英雄网". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Allen, Kenneth (January 14, 2022). "The Evolution of the PLA's Enlisted Force: Conscription and Recruitment (Part One)". Jamestown Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2023. สืบค้นเมื่อ 2024-02-11. Following the setback of the Cultural Revolution, in the late 1970s, the PLA embarked on an ambitious program to modernize many aspects of the military, including education, training, and recruitment. Conscripts and volunteers were combined into a single system that allowed conscripts who fulfilled their service obligation to stay in the military as volunteer soldiers for a total of 16 years.
  5. 5.0 5.1 The International Institute for Strategic Studies 2022, p. 255.
  6. 6.0 6.1 "Trends in Military Expenditure 2023" (PDF). Stockholm International Peace Research Institute. April 2024. สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
  7. Xue, Maryann (4 July 2021). "China's arms trade: which countries does it buy from and sell to?". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2022. สืบค้นเมื่อ 26 May 2022.
  8. 8.0 8.1 "TIV of arms imports/exports from China, 2010–2021". Stockholm International Peace Research Institute. 7 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2023. สืบค้นเมื่อ 26 January 2023.
  9. 9.0 9.1 9.2 Benton, Gregor (1999). New Fourth Army: Communist Resistance Along the Yangtze and the Huai, 1938–1941 (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. p. 396. ISBN 978-0-520-21992-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2023. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Fravel, M. Taylor (2019). Active Defense: China's Military Strategy since 1949. Vol. 2. Princeton University Press. doi:10.2307/j.ctv941tzj. ISBN 978-0-691-18559-0. JSTOR j.ctv941tzj. S2CID 159282413.
  11. "Global military spending remains high at $1.7 trillion" (ภาษาอังกฤษ). Stockholm International Peace Research Institute. 2 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-10-13.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 International Institute for Strategic Studies (2020). The Military Balance. London: Routledge. doi:10.1080/04597222.2020.1707967. ISBN 978-0367466398.
  13. Saunders et al. 2019, p. 148.
  14. 14.0 14.1 Saunders et al. 2019, pp. 13–14.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 Saunders et al. 2019, p. 521.
  16. "The PLA Navy's New Historic Missions: Expanding Capabilities for a Re-emergent Maritime Power" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2011. สืบค้นเมื่อ 1 April 2011.
  17. 17.0 17.1 Garlick, Jeremy (2024). Advantage China: Agent of Change in an Era of Global Disruption. Bloomsbury Academic. ISBN 978-1-350-25231-8.
  18. Carter, James (4 August 2021). "The Nanchang Uprising and the birth of the PLA". The China Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  19. "History of the PLA's Ground Force Organisational Structure and Military Regions". Royal United Services Institute. 17 June 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  20. Bianco, Lucien (1971). Origins of the Chinese Revolution, 1915–1949 (ภาษาอังกฤษ). Stanford University Press. p. 68. ISBN 978-0-8047-0827-2.
  21. Zedong, Mao (2017). On Guerilla Warfare: Mao Tse-Tung On Guerilla Warfare (ภาษาอังกฤษ). Martino Fine Books. ISBN 978-1-68422-164-6.
  22. "The Chinese Revolution of 1949". United States Department of State, Office of the Historian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  23. Ken Allen, Chapter 9, "PLA Air Force Organization" เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The PLA as Organization, ed. James C. Mulvenon and Andrew N.D. Yang (Santa Monica, CA: RAND, 2002), 349.
  24. "中国人民解放军海军成立70周年多国海军活动新闻发布会在青岛举行". mod.gov.cn (ภาษาจีน). Ministry of National Defence of the People's Republic of China. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 18 May 2020.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 Russo, Alessandro (2020). Cultural Revolution and revolutionary culture. Durham: Duke University Press. pp. 36–37. ISBN 978-1-4780-1218-4. OCLC 1156439609.
  26. 26.0 26.1 "China's People's Liberation Army, the world's second largest conventional..." UPI (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
  27. Loh, Dylan M.H. (2024). China's Rising Foreign Ministry: Practices and Representations of Assertive Diplomacy. Stanford University Press. ISBN 9781503638204.
  28. Pamphlet number 30-51, Handbook on the Chinese Communist Army (PDF), Department of the Army, 7 December 1960, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 April 2011, สืบค้นเมื่อ 1 April 2011
  29. 29.0 29.1 Stewart, Richard (2015). The Korean War: The Chinese Intervention (ภาษาอังกฤษ). CreateSpace Independent Publishing Platform. ISBN 978-1-5192-3611-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  30. Cliff, Roger; Fei, John; Hagen, Jeff; Hague, Elizabeth; Heginbotham, Eric; Stillion, John (2011), "The Evolution of Chinese Air Force Doctrine", Shaking the Heavens and Splitting the Earth, Chinese Air Force Employment Concepts in the 21st Century, RAND Corporation, pp. 33–46, ISBN 978-0-8330-4932-2, JSTOR 10.7249/mg915af.10
  31. Hoffman, Steven A. (1990). India and the China Crisis. Berkeley: University of California Press. pp. 101–104. ISBN 978-0-520-30172-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2021. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  32. Van Tronder, Gerry (2018). Sino-Indian War: Border Clash: October–November 1962. Pen and Sword Military. ISBN 978-1-5267-2838-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2021. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  33. 33.0 33.1 Brahma Chellaney (2006). Asian Juggernaut: The Rise of China, India, and Japan (ภาษาอังกฤษ). HarperCollins. p. 195. ISBN 978-8172236502. Indeed, Beijing's acknowledgement of Indian control over Sikkim seems limited to the purpose of facilitating trade through the vertiginous Nathu-la Pass, the scene of bloody artillery duels in September 1967 when Indian troops beat back attacking Chinese forces.
  34. Van Praagh, David (2003). Greater Game: India's Race with Destiny and China (ภาษาอังกฤษ). McGill-Queen's Press – MQUP. p. 301. ISBN 978-0773525887. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 6 August 2021. (Indian) jawans trained and equipped for high-altitude combat used US provided artillery, deployed on higher ground than that of their adversaries, to decisive tactical advantage at Nathu La and Cho La near the Sikkim-Tibet border.
  35. Hoontrakul, Ponesak (2014), "Asia's Evolving Economic Dynamism and Political Pressures", ใน P. Hoontrakul; C. Balding; R. Marwah (บ.ก.), The Global Rise of Asian Transformation: Trends and Developments in Economic Growth Dynamics, Palgrave Macmillan US, p. 37, ISBN 978-1-137-41236-2, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018, สืบค้นเมื่อ 6 August 2021, Cho La incident (1967) – Victorious: India / Defeated : China
  36. 36.0 36.1 Li, Xiaobing (2007). A History of the Modern Chinese Army. University Press of Kentucky. doi:10.2307/j.ctt2jcq4k. ISBN 978-0-8131-2438-4. JSTOR j.ctt2jcq4k.
  37. Ebrey, Patricia Buckley. "Four Modernizations Era". A Visual Sourcebook of Chinese Civilization. University of Washington. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2010. สืบค้นเมื่อ October 20, 2012.
  38. 人民日报 (31 January 1963). 在上海举行的科学技术工作会议上周恩来阐述科学技术现代化的重大意义 [Science and Technology in Shanghai at the conference on Zhou Enlai explained the significance of modern science and technology]. People's Daily (ภาษาจีน). Central Committee of the Chinese Communist Party. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2016. สืบค้นเมื่อ October 21, 2011.
  39. Mason, David (1984). "China's Four Modernizations: Blueprint for Development or Prelude to Turmoil?". Asian Affairs. 11 (3): 47–70. doi:10.1080/00927678.1984.10553699. ISSN 0092-7678. JSTOR 30171968.
  40. Vincent, Travils (9 February 2022). "Why Won't Vietnam Teach the History of the Sino-Vietnamese War?". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  41. Fravel, M. Taylor (2007). "Power Shifts and Escalation: Explaining China's Use of Force in Territorial Disputes". International Security. 32 (3): 44–83. doi:10.1162/isec.2008.32.3.44. ISSN 0162-2889. JSTOR 30130518. S2CID 57559936.
  42. China and Afghanistan, Gerald Segal, Asian Survey, Vol. 21, No. 11 (Nov., 1981), University of California Press
  43. 43.0 43.1 43.2 Hilali, A.Z (September 2001). "China's response to the Soviet invasion of Afghanistan". Central Asian Survey (ภาษาอังกฤษ). 20 (3): 323–351. doi:10.1080/02634930120095349. ISSN 0263-4937. S2CID 143657643.
  44. 44.0 44.1 Starri, S. Frederick (2004). Xinjiang: China's Muslim Borderland. M.E. Sharpe. pp. 157–158. ISBN 0765613182.
  45. Szczudlik-Tatar, Justyna (October 2014). "China's Evolving Stance on Afghanistan: Towards More Robust Diplomacy with "Chinese Characteristics"" (PDF). Strategic File. Polish Institute of International Affairs. 58 (22). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2023. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  46. Galster, Steve (9 October 2001). "Volume II: Afghanistan: Lessons from the Last War". National Security Archive, George Washington University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  47. Godwin, Paul H. B. (2019). The Chinese Defense Establishment: Continuity And Change In The 1980s (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-000-31540-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2024. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  48. 48.0 48.1 48.2 Saunders et al. 2019, p. 523.
  49. Zissis, Carin (5 December 2006). "Modernizing the People's Liberation Army of China". Council on Foreign Relations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  50. Saunders et al. 2019, p. 51.
  51. Saunders et al. 2019, p. 520.
  52. Saunders et al. 2019, p. 526.
  53. Saunders et al. 2019, pp. 51–52.
  54. Saunders et al. 2019, p. 531.
  55. "PLA's "Absolute Loyalty" to the Party in Doubt". The Jamestown Foundation. 30 April 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  56. "Xi Jinping insists on PLA's absolute loyalty to Communist Party". The Economic Times. 20 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2023. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  57. Chan, Minnie (23 September 2022). "China's military told to 'resolutely do what the party asks it to do'". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2023. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  58. 58.0 58.1 58.2 The Political System of the People's Republic of China. Chief Editor Pu Xingzu, Shanghai, 2005, Shanghai People's Publishing House. ISBN 7-208-05566-1, Chapter 11 The State Military System.
  59. News of the Communist Party of China, Hyperlink เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 28 March 2007.
  60. Farley, Robert (1 September 2021). "China Has Not Forgotten the Lessons of the Gulf War". National Interest. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  61. Scobell, Andrew (2011). Chinese Lessons from Other Peoples' Wars (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Strategic Studies Institute, U.S. Army War College. ISBN 978-1-58487-511-6. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  62. Lampton, David M. (2024). Living U.S.-China Relations: From Cold War to Cold War. Lanham, MD: Rowman & Littlefield. p. 225. ISBN 978-1-5381-8725-8.
  63. Sasaki, Tomonori (23 September 2010). "China Eyes the Japanese Military: China's Threat Perception of Japan since the 1980s". The China Quarterly (ภาษาอังกฤษ). 203: 560–580. doi:10.1017/S0305741010000597. ISSN 1468-2648. S2CID 153828298. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  64. Sakaguchi, Yoshiaki; Mayama, Katsuhiko (1999). "Significance of the War in Kosovo for China and Russia" (PDF). NIDS Security Reports (3): 1–23. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  65. Sun, Yun (8 April 2020). "China's Strategic Assessment of Afghanistan". War on the Rocks. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  66. 66.0 66.1 Chase, Michael S. (19 September 2007). "China's Assessment of the War in Iraq: America's "Deepest Quagmire" and the Implications for Chinese National Security". China Brief. The Jamestown Foundation. 7 (17). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  67. 67.0 67.1 Ji, You (1999). "The Revolution in Military Affairs and the Evolution of China's Strategic Thinking". Contemporary Southeast Asia. 21 (3): 344–364. doi:10.1355/CS21-3B. ISSN 0129-797X. JSTOR 25798464. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  68. Wortzel, Larry M. (2007). "The Chinese People's Liberation Army and Space Warfare". Space Policy. American Enterprise Institute. JSTOR resrep03013.
  69. Hjortdal, Magnus (2011). "China's Use of Cyber Warfare: Espionage Meets Strategic Deterrence". Journal of Strategic Security. 4 (2): 1–24. doi:10.5038/1944-0472.4.2.1. ISSN 1944-0464. JSTOR 26463924. S2CID 145083379.
  70. Jinghua, Lyu. "What Are China's Cyber Capabilities and Intentions?". Carnegie Endowment for International Peace (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  71. 71.0 71.1 71.2 71.3 71.4 Shinn, David H.; Eisenman, Joshua (2023). China's Relations with Africa: a New Era of Strategic Engagement. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-21001-0.
  72. Osborn, Kris (2022-03-21). "China Modernizes Its Russian-Built Destroyers With New Weapons". The National Interest (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2023. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  73. Gao, Charlie (2021-01-01). "How China Got Their Own Russian-Made Su-27 "Flanker" Jets". The National Interest (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  74. Kadam, Tanmay (26 September 2022). "2 Russian Su-30 Fighters, The Backbone Of Indian & Chinese Air Force, Knocked Out By Ukraine – Kiev Claims". The Eurasian Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  75. Larson, Caleb (2021-05-11). "China's Deadly Kilo-Class Submarines Are From Russia With Love". The National Interest (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2023. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  76. Vavasseur, Xavier (21 August 2022). "Five Type 052D Destroyers Under Construction In China". Naval News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  77. Wertheim, Eric (January 2020). "China's Luyang III/Type 052D Destroyer Is a Potent Adversary". United States Naval Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2023. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  78. Rogoway, Tyler; Helfrich, Emma (18 July 2022). "China's J-10 Fighter Spotted In New 'Big Spine' Configuration (Updated)". The Warzone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 November 2022.
  79. Osborn, Kris (2022-10-04). "China Boosts J-20 Fighter Production to Counter U.S. Stealth Fighters". The National Interest (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  80. Funaiole, Matthew P. (4 August 2021). "A Glimpse of Chinese Ballistic Missile Submarines". Center for Strategic & International Studies (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2023.
  81. Lendon, Brad (2022-06-25). "Never mind China's new aircraft carrier, these are the ships the US should worry about". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  82. "Fujian aircraft carrier doesn't have radar, weapon systems yet, photos show". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  83. Hendrix, Jerry (2022-07-06). "The Ominous Portent of China's New Carrier". National Review (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  84. "China establishes Rocket Force and Strategic Support Force – China Military Online". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2 January 2016.
  85. 85.0 85.1 85.2 85.3 Duan, Lei (2024). "Towards a More Joint Strategy: Assessing Chinese Military Reforms and Militia Reconstruction". ใน Fang, Qiang; Li, Xiaobing (บ.ก.). China under Xi Jinping: A New Assessment. Leiden University Press. ISBN 9789087284411. JSTOR jj.15136086.
  86. "Exclusive: Massive parade tipped for PLA's 90th birthday". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2017-03-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  87. Buckley, Chris (2017-07-30). "China Shows Off Military Might as Xi Jinping Tries to Cement Power". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
  88. "Chinese military purge exposes weakness, could widen". Reuters. December 31, 2023. สืบค้นเมื่อ July 22, 2024.
  89. "Charting China's 'great purge' under Xi". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-10-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2024-01-01.
  90. Yan, Sophia (2024-07-10). "China constructing secret military base in Tajikistan to crush threat from Taliban". The Daily Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-07-10.
  91. "Secret Signals: Decoding China's Intelligence Activities in Cuba". Center for Strategic and International Studies (ภาษาอังกฤษ). July 1, 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-07-02. สืบค้นเมื่อ 2024-07-02.
  92. Garrison, Cassandra (2019-01-31). "China's military-run space station in Argentina is a 'black box'". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-25.
  93. "Eyes on the Skies: China's Growing Space Footprint in South America". Center for Strategic and International Studies (ภาษาอังกฤษ). October 4, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-04.
  94. Cheang, Sopheng; David, Rising (2024-05-08). "Chinese warships have been docked in Cambodia for 5 months, but government says it's not permanent". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-07-10.
  95. "Chinese warships rotate at Cambodia's Ream naval base". Radio Free Asia. July 4, 2024. สืบค้นเมื่อ July 10, 2024.
  96. Gowan, Richard (2020-09-14). "China's pragmatic approach to UN peacekeeping". Brookings Institution (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  97. 97.0 97.1 97.2 97.3 Rowland, Daniel T. (September 2022). Chinese Security Cooperation Activities: Trends and Implications for US Policy (PDF) (Report). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  98. China's Role in UN Peacekeeping (PDF) (Report). Institute for Security & Development Policy. March 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  99. Daniel M. Hartnett, 2012-03-13, China's First Deployment of Combat Forces to a UN. Peacekeeping Mission—South Sudan เก็บถาวร 14 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, United States-China Economic and Security Review Commission
  100. Bernard Yudkin Geoxavier, 2012-09-18, China as Peacekeeper: An Updated Perspective on Humanitarian Intervention เก็บถาวร 31 มกราคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Yale Journal of International Affairs
  101. "Chinese Peacekeepers to Haiti: Much Attention, More Confusion". Royal United Services Institute. 1 February 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2024. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  102. Nichols, Michelle (14 July 2022). "China pushes for U.N. arms embargo on Haiti criminal gangs". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  103. Dyrenforth, Thomas (2021-08-19). "Beijing's Blue Helmets: What to Make of China's Role in UN Peacekeeping in Africa". Modern War Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  104. Lew, Christopher R.; Leung, Pak-Wah, บ.ก. (2013). Historical Dictionary of the Chinese Civil War. Lanham, Maryland: The Scarecrow Press, Inc. p. 3. ISBN 978-0810878730. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2023. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  105. Paine, S. C. M. (2012). The Wars for Asia, 1911–1949. Cambridge University Press. p. 123. ISBN 978-1-139-56087-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2022. สืบค้นเมื่อ 28 November 2017.
  106. "Security Check Required". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2015. สืบค้นเมื่อ 1 May 2016.
  107. "Sinkiang and Sino-Soviet Relations" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2011. สืบค้นเมื่อ 14 March 2017.
  108. Shakya 1999 p. 32 (6 Oct); Goldstein (1997), p. 45 (7 Oct).
  109. Ryan, Mark A.; Finkelstein, David M.; McDevitt, Michael A. (2003). Chinese warfighting: The PLA experience since 1949. Armonk, NY: M.E. Sharpe. p. 125. ISBN 0-7656-1087-6.
  110. Rushkoff, Bennett C. (1981). "Eisenhower, Dulles and the Quemoy-Matsu Crisis, 1954–1955". Political Science Quarterly. 96 (3): 465–480. doi:10.2307/2150556. ISSN 0032-3195. JSTOR 2150556.
  111. Zhai, Qiang (2000). China and the Vietnam wars, 1950–1975. Chapel Hill: University of North Carolina Press. ISBN 978-0807825327. OCLC 41564973.
  112. The 1958 Taiwan Straits Crisis_ A Documented History. 1975.
  113. Lintner, Bertil (2018). China's India War: Collision Course on the Roof of the World (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-909163-8. OCLC 1034558154.
  114. "Некоторые малоизвестные эпизоды пограничного конфликта на о. Даманском". Военное оружие и армии Мира. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2018. สืบค้นเมื่อ 10 March 2018.
  115. Carl O. Schustser. "Battle for Paracel Islands". เก็บถาวร 20 มกราคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  116. Elleman, Bruce A. (2001). Modern Chinese Warfare, 1795–1989. Routledge. p. 297. ISBN 0415214742.
  117. Carlyle A. Thayer, "Security Issues in Southeast Asia: The Third Indochina War", Conference on Security and Arms Control in the North Pacific, Australian National University, Canberra, August 1987.
  118. Koo, Min Gyo (2010). Island Disputes and Maritime Regime Building in East Asia. The Political Economy of the Asia Pacific. New York, NY: Springer New York. p. 154. doi:10.1007/978-0-387-89670-0. ISBN 978-0-387-89669-4.
  119. McFadden, Robert D. (5 June 1989). "The West Condemns the Crackdown". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 25 May 2021.
  120. Dreyer, June Teufel (2005). "China's Vulnerability to Minority Separatism". Asian Affairs. 32 (2): 69–85. doi:10.3200/AAFS.32.2.69-86. ISSN 0092-7678. JSTOR 30172869. S2CID 153883722. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  121. Qimao, Chen (1996). "The Taiwan Strait Crisis: Its Crux and Solutions". Asian Survey. 36 (11): 1055–1066. doi:10.2307/2645635. ISSN 0004-4687. JSTOR 2645635. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  122. Henry, Jérôme (November 2016). "China's Military Deployments in the Gulf of Aden: Anti-Piracy and Beyond" (PDF). Notes de l'Ifri (89). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  123. Torode, Greg (13 March 2014). "A nervous region eyes robust Chinese response to missing Malaysian plane". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  124. "Troop and police contributors". United Nations Peacekeeping (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
  125. "UNMISS Fact Sheet". UNMISS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2021. สืบค้นเมื่อ 22 December 2017.
  126. Tellis, Ashley J. (June 2020). Hustling in the Himalayas: The Sino-Indian Border Confrontation (PDF). Carnegie Endowment for International Peace (Report). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2021. สืบค้นเมื่อ 29 June 2020. These efforts to bring new territorial enclaves under Chinese control are occurring simultaneously at several different locations, such as on the northern bank of the Pangong Tso, at Hot Springs, and in the Galwan Valley, places that all lie astride the LAC in eastern Ladakh
  127. Pollpeter & Allen 2012, p. 50.
  128. Wei, Changhao (2022-03-29). "Explainer: How Seats in China's National People's Congress Are Allocated". NPC Observer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-03-10.
  129. "中华人民共和国第十四届全国人民代表大会代表名单" [List of Deputies to the 14th National People's Congress of the People's Republic of China]. People's Daily. 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 23 July 2024.
  130. 130.0 130.1 130.2 Liu, Zhen (18 October 2022). "What is China's Central Military Commission and why is it so powerful?". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
  131. The Political System of the People's Republic of China. Chief Editor Pu Xingzu, Shanghai, 2005, Shanghai People's Publishing House. ISBN 7-208-05566-1 Chapter 11, the State Military System, pp. 369–392.
  132. "Xi Jinping Has a New Title: Commander-in-Chief of the People's Liberation Army". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.
  133. Pollpeter & Allen 2012, p. 101.
  134. Lague, David; Lim, Benjamin Kang (23 April 2019). "How China is replacing America as Asia's military titan". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  135. Pollpeter & Allen 2012, pp. 84–85.
  136. 136.0 136.1 136.2 "Xi Jinping is obsessed with political loyalty in the PLA". The Economist. 6 November 2023. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-11-07.
  137. 137.0 137.1 Torode, Greg; Tian, Yew Lun (2023-09-20). "Li Shangfu: Who is China's missing defence minister and how important is he?". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
  138. 138.0 138.1 "军事制度" [Military System]. China Internet Information Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2007. สืบค้นเมื่อ 7 November 2023.
  139. 139.0 139.1 139.2 Allen, Kenneth; Chao, Brian; Kinsella, Ryan (4 March 2013). "China's Military Political Commissar System in Comparative Perspective". Jamestown Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2020. สืบค้นเมื่อ 7 November 2023.
  140. 140.0 140.1 140.2 140.3 140.4 140.5 Pollpeter & Allen 2012, p. 16.
  141. Pollpeter & Allen 2012, p. 18.
  142. Kaufman & Mackenzie 2009, pp. 73–74.
  143. Kaufman & Mackenzie 2009, p. 73.
  144. 144.0 144.1 Kaufman & Mackenzie 2009, p. 74.
  145. 145.0 145.1 145.2 Wuthnow, Joel; Saunders, Phillip C. (16 March 2021). "A New Step Forward in PLA Professionalization". The Jamestown Foundation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2024. สืบค้นเมื่อ 22 June 2024.
  146. Allen, Kenneth (22 July 2010). "Assessing the PLA's Promotion Ladder to CMC Member Based on Grades vs. Ranks – Part 1". The Jamestown Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-11. สืบค้นเมื่อ 2024-05-12.
  147. Pollpeter & Allen 2012, p. 17.
  148. Pollpeter & Allen 2012, p. 19.
  149. Kaufman & Mackenzie 2009, p. 77.
  150. "中国公务员的级别和职级" [Chinese civil service grades and ranks]. Dalate Banner Party Building Network (ภาษาจีน). 9 March 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-06-14. สืบค้นเมื่อ 2024-06-14.
  151. "Considerations for replacing Military Area Commands with Theater Commands". english.chinamil.com.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2018. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  152. ATP 7-100.3: Chinese Tactics 2021, p. 2-4.
  153. Saunders et al. 2019, p. 235.
  154. ATP 7-100.3: Chinese Tactics 2021, pp. 2-5–2-6.
  155. Saunders et al. 2019, p. 355.
  156. Saunders et al. 2019, p. 715.
  157. Saunders et al. 2019, p. 714.
  158. 158.0 158.1 Saunders et al. 2019, p. 137.
  159. Saunders et al. 2019, p. 61.
  160. Saunders et al. 2019, p. 146.
  161. Saunders et al. 2019, p. 234.
  162. "China establishes Joint Logistic Support Force - China Military". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 17 January 2021.
  163. "Big Chinese state-owned enterprises setting up army-linked militias". Radio Free Asia (ภาษาอังกฤษ). October 3, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-06. สืบค้นเมื่อ 2023-10-07.
  164. 164.0 164.1 Liu, Natalie (2023-11-07). "Why is China Highlighting Militias in State Owned Enterprises?". Voice of America (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-11-09. According to Chinese media, units have been established this year in at least 23 SOEs nationwide, nine of them in Wuhan.
  165. He, Laura (2024-02-21). "Major companies in China are setting up their own volunteer armies". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-02-22.
  166. Allen, Kenneth; Chen, Minzhi (2019). "The People's Liberation Army's 37 Academic Institutions" (PDF). Air University. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-05-14.
  167. 167.0 167.1 "Chinese PLA embraces a new system of services and arms: Defence spokesperson - China Military". eng.chinamil.com.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-04-20.
  168. Wong, Edward; Perlez, Jane; Buckley, Chris (2 September 2015). "China Announces Cuts of 300,000 Troops at Military Parade Showing Its Might". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2015. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  169. China plans military reform to enhance its readiness เก็บถาวร 2 มกราคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – The-Japan-news.com
  170. Jia Nan (贾楠) (5 July 2021). 4人晋升上将!. Sina (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 6 July 2021.
  171. Chi-yuk, Choi (27 May 2013). "PLA Navy's three fleets meet in South China Sea for rare show of force". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  172. The PLA Navy: New Capabilities and Missions for the 21st Century (PDF) (Report). Washington, D.C.: Office of Naval Intelligence. 2 December 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  173. Farley, Robert (10 November 2021). "Does China Qualify as Having a True Blue Water Navy?". The National Interest. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2024. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  174. "China launches two destroyers with tech similar to US Navy's Aegis system". 3 July 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  175. Military and Security Developments Involving the People's Republic of China 2020 Annual Report to Congress (PDF) (ภาษาอังกฤษ). U.S. Department of Defense. 2021-07-09. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 13 November 2022.
  176. 习近平今再晋升5名上将. rfi.fr (ภาษาจีน). 6 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2021. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
  177. International Institute for Strategic Studies (2018). "Chapter Six: Asia". The Military Balance (ภาษาอังกฤษ). Routledge. 118 (1): 261–265. doi:10.1080/04597222.2018.1416982. ISSN 0459-7222.
  178. 178.0 178.1 Trevethan, Lawrence (2018). "Brigadization" of the PLA Air Force (PDF). Defense Technical Information Center. China Aerospace Studies Institute (CASI). pp. 1–3. ISBN 978-1718721159. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  179. International Institute for Strategic Studies (2024-02-12). The Military Balance 2024 (ภาษาอังกฤษ) (1 ed.). London: Routledge. pp. 261–265. doi:10.4324/9781003485834. ISBN 978-1-003-48583-4.
  180. "The Dragon's Wing: The People's Liberation Army Air Force's Strategy > Air University (AU) > Journal of Indo-Pacific Affairs Article Display". www.airuniversity.af.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  181. Chang 2002
  182. Coniglio 2006, P.44
  183. Marcus, Clay; Rod, Lee (24 September 2021). "Star General Chang Dingqiu Takes Command of China's Air Force". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2021. สืบค้นเมื่อ 9 October 2021.
  184. "[军事报道]张又侠在出席中央军委纪委扩大会议时强调 坚决贯彻全面从严治党战略方针 深入做好新时代军队纪检监察工作" [[Military Report] Zhang Youxia, when attending the enlarged meeting of the Disciplinary Commission of the Central Military Commission, emphasized that we must resolutely implement the strategic policy of strictly governing the party in an all-round way and do a good job in the military discipline inspection and supervision work in the new era.]. [[China Central Television] (ภาษาจีน). 22 January 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022.
  185. Lee, Roderick; Béraud-Sudreau, Lucie; Brewster, David; Cairns, Christopher; Ellis, R. Evan; Herlevi, April; Nantulya, Paul; Nouwens, Meia; Pincus, Rebecca; Wuthnow, Joel (2022). "PLA Rocket Force as a Service: New Team Player or Increasingly Irrelevant?". Enabling a More Externally Focused and Operational Pla – 2020 Pla Conference Papers: 133–154. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  186. Kristensen, Hans M.; Korda, Matt (2021-11-02). "Chinese nuclear weapons, 2021". Bulletin of the Atomic Scientists (ภาษาอังกฤษ). 77 (6): 318–336. Bibcode:2021BuAtS..77f.318K. doi:10.1080/00963402.2021.1989208. ISSN 0096-3402. S2CID 244118657.
  187. Xiu, Ma (24 October 2022). PLA Rocket Force Organization (PDF) (Report). China Aerospace Studies Institute. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2022. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
  188. "China is struggling to recruit enough highly skilled troops". The Economist. November 6, 2023. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-02-11. In the late 1970s it adopted the current hybrid system of volunteers and conscripts.
  189. 189.0 189.1 Allen, Kenneth W.; Corbett, Thomas; Taylor A., Lee; Xiu, Ma (November 3, 2022). "Personnel of the People's Liberation Army" (PDF). United States–China Economic and Security Review Commission. p. 23. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2023. สืบค้นเมื่อ 2024-02-11.
  190. Wang, Amber (30 April 2022). "The new rules China hopes will build more professional soldiers". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2024. สืบค้นเมื่อ 15 April 2024.
  191. "Taiwan Is Extending Conscription. Here's How Its Military Compares to Other Countries". Time. 6 January 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2023. สืบค้นเมื่อ 8 January 2023.
  192. 192.00 192.01 192.02 192.03 192.04 192.05 192.06 192.07 192.08 192.09 Li, Xiaolin (1993). "Chinese Women in the People's Liberation Army: Professionals or Quasi-Professionals?". Armed Forces & Society. 20 (1): 69–83. doi:10.1177/0095327X9302000105. JSTOR 45346560.
  193. 193.0 193.1 193.2 193.3 193.4 Kania, Elsa (4 October 2016). "Holding Up Half the Sky? (Part 1)—The Evolution of Women's Roles in the PLA". China Brief. 16 (15). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2024. สืบค้นเมื่อ 1 April 2024.
  194. W. Allen, Kenneth (15 November 2021). "Females in the PLA Air Force". China Aerospace Studies Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2024. สืบค้นเมื่อ 1 April 2024.
  195. Kania, Elsa; Allen, Kenneth (26 October 2016). "Holding Up Half the Sky? (Part 2)—The Evolution of Women's Roles in the PLA". China Brief. 16 (16). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2024. สืบค้นเมื่อ 1 April 2024.
  196. 196.0 196.1 196.2 William R., Heaton (1977). "The Minorities and the Military in China". Armed Forces & Society. 3 (2): 325–342. doi:10.1177/0095327X7700300211. JSTOR 45346013.
  197. 197.0 197.1 Yang, Zi (9 September 2017). "Ethnicity factors strongly in PLA promotions". Asia Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2024. สืบค้นเมื่อ 1 April 2024.
  198. Lague, David (4 March 2008). "China increases military spending". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  199. 199.0 199.1 199.2 199.3 199.4 199.5 199.6 199.7 "What does China really spend on its military?". 28 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2018. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
  200. "China says defence spending increase to be 'appropriate' | News | al Jazeera". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
  201. "China Sets Date for 'Two Sessions' in Latest Move Toward Post-COVID Normal". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
  202. "What Does China Really Spend on its Military?". 28 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2018. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
  203. Grevatt, Jon; Andrew, MacDonald (5 March 2021). "China announces 6.8% increase in 2021 defence budget". Janes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2021. สืบค้นเมื่อ 28 April 2021.
  204. Yew Lun Tian (5 March 2022). "China plans 7.1% defence spending rise this year, outpacing GDP target". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2022. สืบค้นเมื่อ 5 March 2022.
  205. 2007 Annual Report to Congress: Military Power of the People's Republic of China. p. 25.
  206. "SIPRI Military Expenditure Database". Stockholm International Peace Research Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2016. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  207. Ramzy, Austin (4 February 2014). "Middle East, Russia and China fuel 2014 global defense spending surge: report". The Washington Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2014. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  208. Lawrence, Dune (3 February 2014). "China to Ramp Up Military Spending". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2014. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  209. "US, China need transparent military ties: Gates." เก็บถาวร 3 มิถุนายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Agence France-Presse, 30 May 2009.
  210. "Amid development of stealth fighter, aircraft carrier, China insists its military not a threat." เก็บถาวร 23 มีนาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Associated Press, 13 June 2011.

ข้อมูลอ้างอิง

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

ประวัติ

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]