ข้ามไปเนื้อหา

การประปานครหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประปานครหลวง
ชื่อทางการค้า
กปน.
ชื่อท้องถิ่น
Metropolitan Waterworks Authority
ชื่อโรมัน
Kan Prapa Nakhon Luang
ชื่อเดิมการประปากรุงเทพ
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรมการจ่ายน้ำประปาในเขตนครหลวง
ก่อนหน้า
  • กรมสุขาภิบาล
  • การประปาธนบุรี
  • การประปานนทบุรี
  • การประปาสมุทรปราการ
ก่อตั้ง16 สิงหาคม พ.ศ. 2510; 57 ปีก่อน (2510-08-16)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 400 ถนนประชาชื่น แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่, ,
จำนวนที่ตั้ง
  • สำนักงานประปาภาค 5 แห่ง
  • สำนักงานประปาสาขา 18 แห่ง
พื้นที่ให้บริการกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม
ผลผลิต2,042.41 ล้านลูกบาศก์เมตร
(พ.ศ. 2566)[1]
บริการ
  • การผลิตน้ำ
  • การติดตั้งประปา
  • ระบบจ่ายน้ำ
รายได้เพิ่มขึ้น 19,459.11 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 2,296.60 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รายได้สุทธิ
ลดลง 3,860.49 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[1]
ทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้น 41,865.00 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[2]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 90,224.13 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 71,241.18 ล้านบาท
(พ.ศ. 2566)[1]
พนักงาน
5,175 คน (พ.ศ. 2566)[1]
บริษัทแม่กระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

การประปานครหลวง เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ผลิตและให้บริการเกี่ยวกับน้ำประปาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ

ในสิ้นปี 2565 การประปานครหลวง เป็นรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด ลำดับที่ 10[3]ในปี พ.ศ. 2567 ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานกรรมการ

ประวัติ

[แก้]

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากจะเป็นยุคแห่งการพัฒนาความเจริญแล้ว ยังเริ่มต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรอีกด้วย เนื่องจากในสมัยนั้นราษฎรได้อาศัยน้ำฝนหรือน้ำในแม่น้ำลำคลอง ใช้ในการอุปโภคและบริโภคในบางฤดูน้ำจะกร่อยและสกปรก บางครั้งมีอหิวาตกโรคระบาดประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงทานขึ้นที่ข้างพระบรมมหาราชวังเพื่อแจกอาหารและน้ำที่สะอาดให้ประชาชนได้ดื่มกิน และหลังจากที่ได้ตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2448 จึงมีพระราชดำริให้กรมสุขาภิบาลดำเนินการสำรวจหาวิธีการจัดหาน้ำสะอาดสำหรับประชาชนในพระนคร ซึ่งนายเดอ ลาโรเตียร์ ซึ่งเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามารับราชการเป็น ช่างสุขาภิบาลในสมัยนั้น ได้เสนอให้เอาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่น้ำเค็มเข้าไม่ถึงมาใช้ ซึ่งสะดวกและไม่ต้องลงทุนมาก ในที่สุดจึงร่วมมือกับกรมคลองพิจารณาขุดคลองรับน้ำจากเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี นำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศ กิจการที่นำน้ำมาใช้ในพระนครนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เรียกตามภาษาสันสกฤตว่า การประปา

ในที่สุดเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเช่นการจัดซื้อที่ดิน การขุดคลอง อ่างเก็บน้ำ ก่อสร้างประตูน้ำ ท่อไซฟอนลอดคลอง สะพาน ติดตั้งเครื่องสูบเพื่อให้สามารถส่งน้ำจืด มายังโรงกรองน้ำสามเสนได้ ซึ่งได้ก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งระบบผลิตน้ำ ได้แก่ การติดตั้งเครื่องกวนสารส้มเพื่อให้น้ำตกตะกอน ถังเกอะกรองน้ำที่ ตำบลสามเสน ในการก่อสร้างระบบน้ำได้ฝังท่อเหล็ก เพื่อส่งน้ำไปตามท้องที่ที่จะจ่ายน้ำไปทั่วพระนครตั้งที่ปิด – เปิดน้ำตามถนนต่างๆ รวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประปาทั้งหมดรวมทั้งค่าที่ดินทั้งสิ้น 4,308,221.81 บาท โดยใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 ปีเศษ จึงสามารถจ่ายน้ำสะอาดให้กับชาวพระนครได้ใช้ นับว่าเป็นโครงการใหญ่ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ตราบเท่าทุกวันนี้

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดกิจการโดยมีชื่อเรียกครั้งนั้นว่า การประปากรุงเทพฯ[4] โดยมีพระราชดำรัสให้เห็นถึงความสำคัญของน้ำที่สะอาดของกิจการประปาตอนหนึ่งว่า

...ท่านทั้งหลายที่ได้ช่วยเราทำการอันนี้ให้สำเร็จไปได้ ควรรู้สึกปลื้มใจว่า ได้ทำการอันเป็นประโยชน์และ กุศลอย่างยิ่ง เพราะน้ำซึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์ใครๆย่อมรู้อยู่แล้วทั้งในโบราณและบัดนี้ว่า เป็นของจำเป็นเพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขสำหรับป้องกันโรคอันตรายของมนุษย์ น้ำใสสะอาดย่อมเป็นเครื่องบำบัดโรคได้ดีกว่าโอสถหรือเภสัชทั้งหลาย...

ในที่สุดน้ำประปาที่สะอาดบริสุทธิ์ อันเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ผู้ทรงริเริ่ม เพื่อให้ประชาชนของพระองค์ในกรุงเทพฯ ได้บริโภค ก็สำเร็จตามพระราชประสงค์ ต่อนี้ไปราษฎรของพระองค์ไม่ต้องบริโภคน้ำที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยอีกต่อไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการบำรุงความสุขอันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนแล้ว การประปายังเป็นเครื่องแสดงปรากฏอีกอย่างหนึ่งว่าเมืองไทยได้ดำเนินขึ้นสู่บันไดแห่งความเจริญอีกขั้นหนึ่งแล้ว กิจการประปากรุงเทพฯ ก้าวหน้าเป็นลำดับจนกระทั่งปี 2496 เมื่อประชาชนเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงได้มีการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งในพระนคร ธนบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ ในพ.ศ. 2510 รัฐบาลได้รวมกิจการประปา 3 จังหวัด 4 องค์กร คือ การประปากรุงเทพฯ การประปาเทศบาลธนบุรี การประปานนทบุรี และการประปาสมุทรปราการ รวมเป็นกิจการเดียวกันมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีชื่อเรียกว่า การประปานครหลวง[5] มาจนทุกวันนี้

คณะกรรมการ

[แก้]

มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567 แต่งตั้งคณะกรรมการดังนี้

  1. นายกองเอก ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ประธานกรรมการ
  2. นายกองเอกโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
  3. พลโท สุเมธ พรหมตรุษ ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  4. นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน
  5. นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์[6]
  6. นายกองเอก สนิท ขาวสอาด อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ
  7. ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
  8. อาจารย์ ดร.เพียงออ เลาหะวิไลย อาจารย์ วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  9. นาย นิทัศน์ มณีศิลาสันต์ อดีตกรรมการการประปานครหลวง
  10. พลตำรวจโท กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  11. รองศาตราจารย์ ดร. ชัยวัฒน์ อุตตมากร รองศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  12. นางสาว ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัทและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด
  13. ดร. ชัยทัต แซ่ตั้ง อดีตกรรมการการประปานครหลวง
  14. นาย เกียรติณรงค์ วงศ์น้อย ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง

การดำเนินงาน

[แก้]

การประปานครหลวงมีพื้นที่รับผิดชอบ 3,192 ตารางกิโลเมตร ใช้น้ำดิบจากสองแหล่งในการผลิตน้ำประปา คือ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำแม่กลอง มีโรงงานผลิตน้ำหลัก 4 แห่ง คือ โรงงานผลิตน้ำบางเขน มหาสวัสดิ์ สามเสน และธนบุรี รวมกำลังการผลิต 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำประปาที่ผลิตได้มีคุณภาพมาตรฐานองค์การอนามัยโลก จำนวนผู้ใช้น้ำกว่า 2.1 ล้านราย คิดเป็นประชากรประมาณ 10 ล้านคน หรือเป็นร้อยละ 99% ของประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]