กิตติ สีหนนทน์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กิตติ สีหนนทน์ | |
---|---|
กิตติ ใน พ.ศ. 2475 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | ประกอบ หุตะสิงห์ |
ถัดไป | เทียม ไชยนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | สกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 24 มกราคม พ.ศ. 2527 (73 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อิสระ |
คู่สมรส | สิรินทร์ จันทรสนธิ (สมรส 2490; เสียชีวิต 2510) |
บุตร | ประกิตติ์สิน สีหนนทน์ |
อาชีพ | นักการเมือง |
วิชาชีพ | ข้าราชการตุลาการ |
ลายมือชื่อ | |
กิตติ สีหนนทน์ (ชื่อเดิม สกิด ร่มไม้เกต; 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 – 24 มกราคม พ.ศ. 2527) เป็นนักการเมืองและข้าราชการตุลาการชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น องคมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ และรองประธานศาลฎีกา
ประวัติ
[แก้]กิตติ สีหนนทน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453[1] ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมชื่อว่า สกิด ร่มไม้เกต เป็นบุตรชายคนโตของโกเซ่ง และผิน ร่มไม้เกต บิดามารดามีอาชีพค้าขาย มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน
- อาบ สีหนนทน์ (ถึงแก่กรรม)
- บุญยิ่ง สีหนนทน์ (ถึงแก่กรรม)
- บุษบง นวรัตน์ (ถึงแก่กรรม)
กิตติ สีหนนทน์ ได้ทำการอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 มีฉายาว่า พระคุณสฺสติ โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์
กิตติ สีหนนทน์ ได้สมรสกับสิรินทร์ จันทรสนธิ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2510 บุตรี พลตรี พระยาวิเศษสงคราม (ช้อย จันทรสนธิ) และคุณหญิงสิน วิเศษสงคราม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2490 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ประกิตติ์สิน สีหนนทน์ ซึ่งได้ทำการสมรสกับบุษรัตน์ ชลวิจารณ์
การศึกษา =
[แก้]กิตติ สีหนนทน์ สำเร็จการศึกษาดังต่อไปนี้[1]
- พ.ศ. 2461 : จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสนธิ์ ภูมิพัฒน์
- พ.ศ. 2464 : จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวัดทรงธรรม
- พ.ศ. 2469 : จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- พ.ศ. 2472 : ได้กฎหมายภาค 1 โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2473 : ได้กฎหมายภาค 2 โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2474 : สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตชั้น 2 โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
การทำงาน
[แก้]การรับราชการ
[แก้]กิตติ รับราชการครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ได้บรรจุเป็นข้าราชการชั้นจัตวา ตำแหน่งจ่าศาลประจำศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ได้เลื่อนเป็นข้าราชการชั้นตรี ตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2480 ได้รับราชการเป็นข้าราชการตุลาการสามัญชั้นโท รับราชการศาลอาญา และได้โยกย้ายไปเป็นผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดต่างๆ ดังนี้[1]
ตำแหน่งทางราชการและการเมือง
[แก้]- พ.ศ. 2481 : ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชัยภูมิ
- พ.ศ. 2483 : เลื่อนเป็นข้าราชการตุลาการสามัญชั้นโท อันดับที่ 4
- พ.ศ. 2486 : ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพระตะบอง
- พ.ศ. 2488 : ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพิบูลสงคราม
- พ.ศ. 2489 : รับราชการศาลอาญา
- พ.ศ. 2490 : ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสระบุรี
- พ.ศ. 2493 : ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเบตง (ข้าราชการตุลาการสามัญชั้นเอก)
- พ.ศ. 2495 : ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดไชยา
- พ.ศ. 2496 : ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
- พ.ศ. 2497 : ผู้พิพากษาศาลแพ่ง (ข้าราชการตุลาการชั้น 3)
- พ.ศ. 2502 : ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (ข้าราชการตุลาการชั้น 4)
- พ.ศ. 2504 : ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ (ข้าราชการตุลาการชั้น 5)
- พ.ศ. 2505 : อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง
- พ.ศ. 2507 : ผู้พิพากษาศาลฎีกา (ข้าราชการตุลาการชั้น 6)
- พ.ศ. 2508 : อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- พ.ศ. 2510 : ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (ข้าราชการตุลาการชั้น 7)
- พ.ศ. 2512 : รองประธานศาลฎีกา (ข้าราชการตุลาการชั้น 8)
- พ.ศ. 2514 : เกษียณอายุราชการ
- พ.ศ. 2517 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2518 : องคมนตรี
ราชการพิเศษ
[แก้]- พ.ศ. 2484 : กรรมการศาลมณฑลทหารเขตจังหวัดชัยภูมิ
- พ.ศ. 2491 : กรรมการชำระสะสางราชการธุรการของศาลอาญา
- พ.ศ. 2498 : เลขานุการ 1 ของการประชุมสัปดาห์แห่งอาชญากรรม
- พ.ศ. 2502 : อนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
- พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2503 : เป็นกรรมการสอบความรู้กฎหมายของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ผู้บรรยายกฎหมาย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- พ.ศ. 2517 : รองประธานคณะที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2517 : กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
- พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2522 : กรรมการร่างกฎหมาย
- ที่ปรึกษาบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 4
- ประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- รองประธานกรรมการบริหารมูลนิธิมหาวชิราลงกรณ คนที่ 1
- กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
- กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
- กรรมการมูลนิธิวัดญาณสังวราราม
- กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
- กรรมการธนาคารออมสิน
- กรรมการบริษัท หลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด
- กรรมการบริษัท วายเคเค ซิปเปอร์ ประเทศไทย จำกัด
- กรรมการบริษัท วายเคเค เทรดดิ้ง จำกัด
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]กิตติ สีหนนทน์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2527 เวลา 20.30 น. ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ ด้วยโรคหัวใจวาย สิริอายุ 73 ปี 71 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2527 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]กิตติ สีหนนทน์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้[1]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[2]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[5]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[7]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 (2527). [https://digital.library.tu.ac.th/tu_ac/frontend/Info/item/dc:30 อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพนายกิตติ สีหนนทน์ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2527. โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๒๔๗๓, ๓ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2453
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2527
- บุคคลจากอำเภอพระประแดง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 9
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2