ข้ามไปเนื้อหา

กูเกิล โครม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กูเกิล โครม
นักพัฒนากูเกิล
วันที่เปิดตัว
วินโดวส์เอกซ์พีBeta / 2 กันยายน 2008; 16 ปีก่อน (2008-09-02)
วินโดวส์เอกซ์พี1.0 / 11 ธันวาคม 2008; 15 ปีก่อน (2008-12-11)
แมคโอเอส, ลินุกซ์Preview / 4 มิถุนายน 2009; 15 ปีก่อน (2009-06-04)
แมคโอเอส, ลินุกซ์Beta / 8 ธันวาคม 2009; 14 ปีก่อน (2009-12-08)
หลายแพลตฟอร์ม5.0 / 25 พฤษภาคม 2010; 14 ปีก่อน (2010-05-25)
รุ่นเสถียร [±]
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส, ลินุกซ์73.0.3683.75 / 12 มีนาคม 2019; 5 ปีก่อน (2019-03-12)[1]
แอนดรอยด์73.0.3683.75 / 12 มีนาคม 2019; 5 ปีก่อน (2019-03-12)[2]
ไอโอเอส73.0.3683.68 / 12 มีนาคม 2019; 5 ปีก่อน (2019-03-12)[3]
รุ่นทดลอง [±]
เบต้า (ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส, ลินุกซ์)73.0.3683.75 / 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019-03-11); 2086 วันก่อน[4]
เบต้า (แอนดรอยด์)73.0.3683.75 / 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019-03-11); 2086 วันก่อน[5]
เบต้า (ไอโอเอส)74.0.3729.6 / 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019-03-13); 2084 วันก่อน[6]
Dev (ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส, ลินุกซ์)74.0.3729.6 / 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019-03-13); 2084 วันก่อน[7]
Dev (แอนดรอยด์)74.0.3729.11 / 14 มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019-03-14); 2083 วันก่อน[6]
Dev (ไอโอเอส)75.0.3731.3 / 12 มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019-03-12); 2085 วันก่อน[6]
Canary (ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส)75.0.3737.0 / 18 มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019-03-18); 2079 วันก่อน[6]
Canary (แอนดรอยด์)75.0.3737.0 / 18 มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019-03-18); 2079 วันก่อน[6]
ภาษาที่เขียนC, C++, Assembly, HTML, Java (เฉพาะแอนดรอยด์), JavaScript, Python[8][9][10]
เอนจินsBlink (WebKit ใน iOS), V8 JavaScript engine
ระบบปฏิบัติการ
แพลตฟอร์มIA-32, x86-64, ARMv7, ARMv8-A
รวมถึง
ภาษา47 ภาษา[13]
ประเภทเว็บเบราว์เซอร์, โมบายล์เบราว์เซอร์
สัญญาอนุญาตฟรีแวร์จำกัดสิทธิ์ ฐานส่วนเสริมโอเพนซอร์ส[14][note 1]
เว็บไซต์www.google.com/chrome/ แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

กูเกิล โครม (อังกฤษ: Google Chrome) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ข้ามแพลตฟอร์มที่พัฒนาโดยกูเกิล เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 2008 สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ สร้างด้วยส่วนเสริมซอฟต์แวร์เสรีจากแอปเปิล เว็บคิตกับมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์[15] ก่อนจะออกโปรแกรมให้กับลินุกซ์, แมคโอเอส, ไอโอเอส และแอนดรอยด์ ซึ่ง(ทั้งหมดทำหน้าที่เป็นเบราว์เซอร์หลัก[16] เบราว์เซอร์นี้ยังเป็นองค์ประกอบหลักของโครมโอเอส ซึ่งทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับเว็บแอปพลิเคชัน

รหัสต้นฉบับของโครมส่วนใหญ่มาจากโปรเจกต์โครเมียม ซอฟต์แวร์แบบฟรีและโอเพนซอร์สของกูเกิล แต่โครมถูกจัดลิขสิทธิ์เป็นฟรีแวร์ลิขสิทธิ์[14] เว็บคิตเคยเป็นเร็นเดอริงเอนจินดั้งเดิม แต่กูเกิลคัดลอกและพัฒนาใหม่เพื่อสร้างบลิงก์เอนจิน[17] โครมทุกรูปแบบใช้บลิงก์ ยกเว้นเพียงไอโอเอส[18]

ข้อมูลเมื่อ ตุลาคม 2022, StatCounter ประมาณการว่าโครมมีส่วนแบ่งการตลาดเบราว์เซอร์บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ทั่วโลก 67% (หลังอยู่ในช่วงสูงสุดที่ 72.38% ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018)[19] เป็นเว็บที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในแท็บเลต (แซงหน้าซาฟารี) และเป็นแอปหลักในสมาร์ตโฟน[20][21] และแพลตฟอร์มทั้งหมดรวมกันที่ 65%[22] เนื่องด้วยความสำเร็จนี้ ทำให้กูเกิลขยายชื่อแบรนด์ "โครม" ออกไปยังผลิตภัณฑ์อื่น เช่น: ChromeOS, Chromecast, Chromebook, Chromebit, Chromebox และ Chromebase

ประวัติ

[แก้]

เอริก ชมิดต์ อดีตซีอีโอกูเกิล (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร แอลฟาเบต บริษัทแม่ของกูเกิล) ได้คัดค้านการการพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นอิสระเป็นเวลาหกปี เขาระบุว่า "ตอนนี้กูเกิลยังเป็นบริษัทขนาดเล็ก และยังไม่ต้องการที่จะเข้าร่วมสงครามเบราว์เซอร์" ภายหลังที่ 2 ผู้ก่อตั้ง เซอร์เกย์ บริน และ แลร์รี เพจ ได้จ้างนักพัฒนามอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์หลายคนพัฒนาและผลิตรุ่นสาธิตของโครม ชมิดต์ ยอมรับรับว่า "มันเป็นสิ่งที่ดี แล้วมันก็ทำให้ฉันเปลี่ยนความคิดนั้น"[23]

ข่าวลือเกี่ยวกับกูเกิลกำลังพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนกันยายนปี 2004 สำนักข่าวออนไลน์และหนังสือพิมพ์ในสหรัฐระบุว่า กูเกิลได้จ้างอดีตนักพัฒนาเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์และที่อื่นๆ ซึ่งเป็นเวลาไม่นานนักหลังจากที่มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ ได้ออกรุ่นสมบูรณ์ 1.0 ซึ่งได้รับความนิยมและชิงส่วนแบ่งตลาดมาจาก อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ซึ่งในขณะนั้นกำลังประสบปัญหาด้านความปลอดภัยเป็นอย่างมาก[24]

ประกาศเปิดตัว

[แก้]

กูเกิลเปิดตัวโครม ในวันที่ 3 กันยายน 2008 และหนังสือการ์ตูนความยาว 38 หน้า เล่ารายละเอียดของเบราว์เซอร์ เล่าว่าได้ทีมงานพัฒนาเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์และอดีตทีมงานมอซิลลามากกว่า 2 คนร่วมพัฒนา

เริ่มให้บริการจริง

[แก้]

กูเกิล โครมเปิดตัวรุ่นเบต้าครั้งแรกในวันที่ 2 กันยายน 2008 สำหรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดว์ (สำหรับวินโดวส์เอกซ์พีหรือใหม่กว่าเท่านั้น) โดยมีทั้งหมด 43 ภาษา[25] และออกรุ่นสมบูรณ์ในวันที่ 11 ธันวาคมปีเดียวกัน

ในวันเดียวกันนั้น, รายการข่าว CNET[26] ดึงความสนใจในข้อกำหนดในการใช้งานรุ่นเบต้าซึ่งดูเหมือนจะกำหนดให้ Google อนุญาตให้เนื้อหาทั้งหมดนั้นจะถูกโอนผ่านทางโครม เบราว์เซอร์ ซึ่งข้อความนี้ดูเหมือนจะนำมาจากส่วนหนึ่งของข้อกำหนดทั่วไปของกูเกิลเอง [27]ภายหลังจากนั้นกูเกิลได้ตอบรับคำวิจารณ์นี้ในทันทีโดยระบุว่าภาษาที่ใช้นั้นถูกหยิบยืมมาจากผลิตภัณฑ์อื่น และได้ลบข้อความดังกล่าวออกจากข้อกำหนดให้บริการแล้ว

โครม สามารถชิงส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์ 1% ได้อย่างรวดเร็ว [28][29][30][31]ภายหลังจากนั้นก็ลดลงเหลือเพียง 0.69% ในเดือนตุลาคม และกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งและเกิน 1% ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน [32]

ในเดือนมกราคม ปี 2009 CNET รวยงานว่าเตรียมการที่จะเปิดตัวโครมเวอร์ชัน โอเอสเทน และลินุกซ์ ภายในครึ่งปีแรก[33] โดยโครมเวอร์ชันตัวอย่างนักพัฒนาสำหรับ โอเอสเทน และลินุกซ์[34] ประกาศในวันที่ 4 มิถุนายน ผ่านทางบล็อก[35] โดยกล่าวว่าพวกเขายังขาดคุณสมบัติจำนวนมาก และมีความตั้งใจที่จะรับฟังความคิดเห็นในการใช้ง่ายในช่วงแรก

เดือนธันวาคม ปี 2009 กูเกิลได้ออกโครมรุ่นเบต้าสำหรับ โอเอสเทน และลินุกซ์ [36][37] และในวันที่ 25 พฤษภาคม ปี 2010 ก็ได้ออกกูเกิลโครมเวอร์ชัน 5.0 ซึ่งเป็นรุ่นสมบูรณ์สำหรับทั้ง 3 ระบบปฏิบัติการ[38]

ปัจจุบันกูเกิล โครม เป็นหนึงในสิบสองเบราว์เซอร์ที่ให้ผู้ใช้ในเขตเศรษฐกิจยุโรปเลือกใช้ สำหรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์[39][40]

คุณสมบัติ

[แก้]

รุ่นทดสอบ 0.2 ซึ่งมีจุดเด่นเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ เน้นการจัดการหน่วยความจำเพื่อรักษาประสิทธิภาพด้านความเร็วในการเปิดเว็บไซต์ และสิ่งที่แตกต่างจาก ไออี 8 อย่างหน้าตาโปรแกรมให้ใช้งานสะดวกมีการปรับให้แท็บย้ายไปอยู่เหนือแอดเดรสบาร์ (address bar) และการฝังระบบบริการจากกูเกิลและค่ายอื่นลงไป เหมือนกับไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) และไออี 8 (IE 8) และยังมีการแสดงรายชื่อมัลแวร์ (malware) หรือซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย เพื่อเตือนผู้ใช้ และลูกเล่นอื่น ๆ[41]

ความสามารถ

[แก้]
  • V8 JavaScript engine - ตัวประมวลผลจาวาสคริปต์ ซึ่งสามารถทำงานได้เร็วกว่าจาวาสคริปต์เอนจินของเว็บเบราว์เซอร์ตัวอื่น พัฒนาโดยกูเกิลเดนมาร์ก[42] โดยมี ลารส์ บัก เป็นวิศวกรหลัก
  • incognito mode (โหมดไม่ระบุตัวตน) - เล่นเว็บโดยไม่แสดงข้อมูลส่วนตัว โดยเมื่อปิดเบราว์เซอร์ โปรแกรมจะลบข้อมูลส่วนตัวในหน้าเว็บที่เข้าชมออก ไม่เก็บไว้ในระบบ

คำวิจารณ์

[แก้]

ตั้งแต่กูเกิล โครมออกมามีการถกเถียงถึงประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานอย่างกว้างขวางในหลายมุมมอง โดยนิวยอร์กไทมส์[43] และ Wall Street Journal [44] กล่าวว่าเป็นเบราว์เซอร์ที่ดูสะอาดตา ดาวน์โหลดมาใช้ได้ง่าย มีระบบที่รักษาความปลอดภัยที่ดี มีความเร็วในการใช้งานมากกว่า อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ แต่ยังช้ากว่า ไฟร์ฟอกซ์ และ ซาฟารี ในขณะที่ทางซีเน็ต[45] และเว็บไซต์ FOX NEWS [46]ได้แสดงผลลัพธ์ว่าโครมเร็วกว่า ไออี ไฟร์ฟอกซ์ และซาฟารี เช่นเดียวกับทางบล็อกของมอซิลลาผู้สร้างโปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ ออกข่าวว่า โครมนั้นเร็วกว่าไฟร์ฟอกซ์รุ่นปัจจุบัน (3.0.1) แต่ไฟร์ฟอกซ์รุ่น 3.1 ที่จะออกมาจะเร็วกว่าโครม[47] กูเกิล โครมยังพบปัญหาบางอย่างเช่น ตำแหน่งของลูกศรเมื่อทำการพิมพ์ อาจมีการผิดเพี้ยนไปบ้าง เมื่อทำการคัดลอกข้อความใดๆ ด้วยการทำแถบสี อาจจะประสบปัญหาไม่สามารถคัดลอกได้ทั้งประโยค เป็นต้น [48]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Chrome's WebKit & Blink layout engines and its V8 JavaScript engine are each free and open-source software, while its other components are each either open-source or proprietary. However, section 9 of Google Chrome's Terms of Service designates the whole package as proprietary freeware.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Stable Channel Update for Desktop". Chrome Releases. Blogger. March 12, 2019. สืบค้นเมื่อ March 12, 2019.
  2. "Chrome for Android Update". Chrome Releases blog. Blogger. March 12, 2019. สืบค้นเมื่อ March 12, 2019.
  3. "Google Chrome on the App Store". iTunes Preview. March 12, 2019. สืบค้นเมื่อ March 12, 2019.
  4. "Beta Channel Update for Desktop". Google Blogspot. March 11, 2019. สืบค้นเมื่อ March 11, 2019.
  5. "Chrome Beta for Android Update". Google Blogspot. March 11, 2019. สืบค้นเมื่อ March 12, 2019.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Google Chrome". OmahaProxy CSV Viewer. Chromium team.
  7. "Dev Channel Update for Desktop". Google Blogspot. March 13, 2019. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
  8. "Chromium (Google Chrome)". Ohloh.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2012. สืบค้นเมื่อ February 8, 2012.
  9. "Chromium coding style". Google Open Source. สืบค้นเมื่อ March 29, 2017.
  10. Lextrait, Vincent (January 2010). "The Programming Languages Beacon, v10.0". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2012. สืบค้นเมื่อ March 14, 2010.
  11. "Chrome 95 brings Material You to everyone, adds secure payment confirmation, and more". XDA Developers. October 21, 2021. สืบค้นเมื่อ November 18, 2021.
  12. "Google Chrome (iOS)".
  13. "Supported languages". Google Play Console Help. สืบค้นเมื่อ December 18, 2015.
  14. 14.0 14.1 "Google Chrome and Chrome OS Additional Terms of Service". www.google.com.
  15. Ashford, Warwick (September 2, 2008). "Google launches beta version of Chrome web browser". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2021.
  16. "Google Chrome for Android". developer.chrome.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2020. สืบค้นเมื่อ June 20, 2020.
  17. Bright, Peter (April 3, 2013). "Google going its own way, forking WebKit rendering engine". Ars Technica. Conde Nast. สืบค้นเมื่อ March 9, 2017.
  18. "Open-sourcing Chrome on iOS!". 2017. สืบค้นเมื่อ April 26, 2021.
  19. "Desktop Browser Market Share Worldwide". StatCounter Global Stats (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 13, 2021.
  20. "Tablet Browser Market Share Worldwide". StatCounter Global Stats (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 13, 2021.
  21. "Tablet Browser Market Share Worldwide". StatCounter Global Stats (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 15, 2021.
  22. "Browser Market Share Worldwide (Jan 2009 - September 2021)". สืบค้นเมื่อ October 13, 2021.
  23. Julia Angwin (July 9, 2009). "Sun Valley: Schmidt Didn't Want to Build Chrome Initially, He Says". WSJ Digits Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-17. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
  24. "Rumours surround Google browser".
  25. "It was when not if... Google Chrome". September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-08. สืบค้นเมื่อ September 2, 2008.
  26. "Be sure to read Chrome's fine print". CNET. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-04. สืบค้นเมื่อ September 3, 2008.
  27. "Google Terms of Service – Policies & Principles – Google". Google.com. March 1, 2012. สืบค้นเมื่อ March 30, 2013.
  28. Pichai, Sundar; Upson, Linus (September 1, 2008). "A fresh take on the browser". Google Blog. สืบค้นเมื่อ July 11, 2012.
  29. "Google Chrome update: First screenshot, and live-blog alert". CNet. September 1, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-03. สืบค้นเมื่อ July 11, 2012.
  30. "Google launches Chrome web browser". The Canadian Press. Associated Press. September 2, 2008. สืบค้นเมื่อ September 2, 2008.
  31. "Come on Google... Chrome for Mac?". November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-03. สืบค้นเมื่อ November 22, 2008.
  32. Gruener, Wolfgang (January 3, 2009). "Google Chrome crosses 1% market share again". Chicago (IL), United States: TG Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ July 11, 2012.
  33. Shankland, Stephen (January 9, 2009). "Chrome gets Mac deadline, extensions foundation". CNET. สืบค้นเมื่อ January 13, 2009.
  34. "Early Access Release Channels". dev.chromium.org. สืบค้นเมื่อ April 8, 2012.
  35. "Danger: Mac and Linux builds available". สืบค้นเมื่อ June 9, 2009.
  36. Mark Larson (December 8, 2009). "Beta Update: Linux, Mac, and Windows". Google. สืบค้นเมื่อ July 11, 2012.
  37. "Google Chrome for the holidays: Mac, Linux and extensions in beta". Googleblog.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ July 11, 2012.
  38. Brian Rakowski (May 25, 2010). "A new Chrome stable release: Welcome, Mac and Linux!". Google. สืบค้นเมื่อ July 11, 2012.
  39. http://arstechnica.com/information-technology/2014/12/windows-browser-ballot-comes-to-an-end-as-ec-obligation-expires/
  40. "Microsoft offers browser choices to Europeans". BBC News. March 1, 2010. สืบค้นเมื่อ July 11, 2012.
  41. แห่โหลดเบราว์เซอร์ยี่ห้อกูเกิล "Google Chrome" จนเว็บล่ม เก็บถาวร 2012-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ 3 กันยายน 2551 00:32 น.
  42. Philipp Lenssen (2008-09-01). "Google on Google Chrome - comic book". Google Blogoscoped. สืบค้นเมื่อ 2008-09-01.
  43. http://ptech.allthingsd.com/20080902/first-test-of-googles-new-browser/
  44. http://www.nytimes.com/2008/09/03/technology/personaltech/03pogue.html?_r=1&oref=slogin
  45. Google Chrome faster than Firefox, IE, Safari
  46. http://www.foxnews.com/story/0,2933,415962,00.html
  47. "TraceMonkey Update". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-04. สืบค้นเมื่อ 2008-09-04.
  48. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-19. สืบค้นเมื่อ 2008-09-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]