คตินิยมสรรผสาน
คตินิยมสรรผสาน[1] (อังกฤษ: Eclecticism) คือแนวการสร้างสรรค์ที่มิได้ยึดมั่นถือมั่นในปรัชญาใดปรัชญาหนึ่งอย่างแน่วแน่ แต่จะดึงจากทฤษฎี, ลักษณะ หรือ ความคิดต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในหัวเรื่อง หรือใช้ทฤษฎีต่าง ๆ ในบางกรณี
บางครั้งรูปงานที่ออกมาก็จะดูขาดความสง่างามหรือขาดความเรียบง่าย และบางครั้งก็ได้รับการวิจารณ์ว่าขาดความสอดคล้องกันทางด้านความคิด แต่กระนั้นคตินิยมสรรผสานก็เป็นปรัชญาที่นิยมใช้กันในการศึกษาสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น นักจิตวิทยายอมรับพฤติกรรมด้านต่าง ๆ แต่มิได้พยายามใช้ทฤษฎีนี้ในการให้คำอธิบายพฤติกรรมทุกด้านของมนุษย์เป็นต้น
ที่มา
[แก้]คตินิยมสรรผสานบันทึกเป็นครั้งแรกว่าใช้กันโดยนักปรัชญาโบราณที่ไม่อ้างตนว่ายึดอยู่กับปรัชญาความคิดใดความคิดหนึ่งแต่จะเลือกจากแนวคิดของปรัชญาต่างที่มีอยู่ที่มีเหตุผลและเหมาะกับตนเอง จากแนวความคิดนี้นักปรัชญาก็สร้างระบบปรัชญาของตนเองขึ้นใหม่
คำว่า “Eclecticism” แผลงมาจากภาษากรีกโบราณว่า “eklektikos” ที่แปลว่า เลือกสิ่งที่ดีที่สุด[2] นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงที่รู้จักกันว่าเป็นนักปรัชญาสรรผสานของปรัชญากรีกก็ได้แก่เซโนแห่งซิเทียมผู้ริเริ่มลัทธิสโตอิก, พาเนเชียส และ โพซิโดเนียส และ คาร์เนดีส และ ฟิโลแห่งลาริสสาผู้ริเริ่มสถาบันเพลโตที่สาม ในบรรดานักปรัชญาโรมันก็ได้แก่กิแกโรผู้ที่ถือว่าเป็นนักปรัชญาสรรผสานแท้ผู้รวมสำนักศึกษาเพริพาเททิก, สโตอิกและ สถาบันเพลโตใหม่เข้าด้วยกัน นอกจากนั้นก็ยังมีมาร์คัส เทเรนเทียส วาร์โร และ แซแนกาผู้ลูก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11.
- ↑ Encyclopedia Britannica - in philosophy and theology, the practice of selecting doctrines from different systems of thought without adopting the whole parent system for each doctrine
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะสรรผสาน วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมสรรผสาน