ครุธรรม
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
ครุธรรม (อ่านว่า คะรุทำ) แปลว่า "ธรรมอันหนัก" หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุณีอันเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่ทรงอนุญาตให้สตรีอุปสมบทได้ โดยต้องปฏิบัติด้วยความเคารพตลอดชีวิต มี 8 ประการโดยสรุป คือ
- แม้บวชมานานนับร้อยปีก็ต้องกราบไหว้ภิกษุ แม้บวชในวันนั้น
- ต้องจำพรรษาอยู่ในวัดที่มีภิกษุ
- ต้องไปถามวันอุโบสถและรับฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
- ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายหลังจำพรรษาแล้ว
- ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่ายเมื่อต้องอาบัติหนัก
- ต้องเป็นสิกขมานา 2 ปี ก่อนจึงขออุปสมบทในสงฆ์สองฝ่ายได้
- ต้องไม่บริภาษด่าว่าภิกษุไม่ว่ากรณีใด ๆ
- จะว่ากล่าวตักเตือนภิกษุไม่ได้ แต่ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนได้
อานิสงส์
[แก้]พระพุทธเจ้าตรัสว่าหากให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน พระสัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง 500 ปี[1] หมายถึงจะไม่มีผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมทั้งปฏิสัมภิทาอีกหลังจากนั้น แต่เมื่อได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน จะทำให้มีผู้บรรลุอรหันต์ปฏิสัมภิทาได้ตลอด 1,000 ปี และยังมีผู้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นต่าง ๆ ได้ตลอด 5,000 ปี[2] อันเป็นอายุของศาสนาพุทธ
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- ↑ ภิกขุนีขันธกะ, พระไตรปิฎก เล่มที่ 7 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 7
- ↑ ภิกขุนิกขันธกวรรณนา , อรรถกถา จุลวรรค ภาค 2 ภิกขุนีขันธกะ