คอลลอยด์
คอลลอยด์ (อังกฤษ: colloid) เป็นสารผสมที่ดูเหมือนจะเป็นเนื้อเดียวกันแต่เป็นแขวนลอย โดยแบ่งเป็นส่วนเนื้อเดียว (continous phase) และอนุภาคคอลลอยด์คู่ (dispersed phase) ซึ่งตัวอนุภาคคอลลอยด์จะมีขนาดระหว่าง 10-7-10-4 เซนติเมตร หรือมากกว่าขนาดรูกระดาษเซลโลเฟน แต่น้อยกว่ารูกระดาษกรอง อนุภาคคอลลอยด์จะเกาะตัวใหญ่กว่าโมเลกุล แต่ไม่ใหญ่มาก จะแยกชั้นชัดเจน เช่น นม(Milk) ควัน(smoke)
ประเภทของคอลลอยด์
[แก้]อนุภาคคอลลอยด์ | ||||
---|---|---|---|---|
ส่วนเนื้อเดียว | ก๊าซ | (เพราะก๊าซละลายก๊าซได้) |
ละอองลอย (Liquid Aerosol) ตัวอย่าง: หมอก |
ละอองแข็งลอย(Solid Aerosol) ตัวอย่าง: ควัน |
ของเหลว | โฟม ตัวอย่าง: วิปครีม |
อิมัลชัน(Emulsion) ตัวอย่าง: นม, มายองเนส |
โซล ตัวอย่าง: สี, น้ำหมึก, เลือด |
|
ของแข็ง | โฟม ตัวอย่าง: หินพัมมิช |
เจล(Gel) ตัวอย่าง: เนย, เจลลาติน |
โซล ตัวอย่าง: ruby glass |
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในคอลลอยด์
[แก้]ปรากฏการณ์ทินดอลล์
[แก้]ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (Tyndall Effect) คือปรากฏการณ์กระเจิงแสง เมื่อฉายลำแสงไปในสารคอลลอยด์บางชนิด อนุภาคคอลลอยด์จะช่วยกระเจิงแสงและทำให้มองเห็นเป็นลำแสงได้ เช่นการทอแสงของอากาศที่มีละอองฝุ่นอยู่ ค้นพบโดย จอห์น ทินดอล ในปี พ.ศ. 2412 เช่น หมอก ฝุ่น
การเคลื่อนที่แบบบราวน์
[แก้]การเคลื่อนที่แบบบราวน์ (Brownian Motion) คือการเคลื่อนที่ของอนุภาคคอลลอยด์ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่แบบสุ่ม โดยการชนไปมาของอนุภาคจากส่วนเนื้อเดียว ซึ่งโรเบิร์ต บราวน์ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในการส่องควันโดยกล้องจุลทรรศน์
การวิ่งของโมเลกุลกับความเร็วแสงที่ผ่านสารละลายคอลลอยด์
[แก้]จากปรากฏการทินดอลล์คือปรากฏการณ์กระเจิงแสง โมเลกุลที่อยู่ภายในอนุภาคคอลลอยด์ จะเกิดประกฏการ undoll ultra tony Effect (u.u.t.e) หลังการเกิดประกฏการณ์ จะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับทางด้านแสง ความเร็วของแสงจะลดลงครึ่งหนึ่ง ตามทฤษฏี ของ sir.horinton flash ที่กล่าวว่า "ความเร็วของแสงเป็นพลังงานที่สามารถสัมผัสได้ด้วยแสงเท่านั้น"
อ้างอิง
[แก้]- Lyklema, J. “Fundamentals of Interface and Colloid Science”, vol.2, page.3.208, 1995
- Chemistry The Central Science, 7th Ed. by Rodil,Ma.Lourdes C. ISBN 013533480