คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บทความแนะนำ
เพิ่มหัวข้อบทความคัดสรรใกล้หมดคลัง พ.ศ. 2556
[แก้]- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
- นำเข้าหน้าประกาศเพื่อให้เสนอทางเลือกและอภิปรายเป็นเวลา 14 วัน หากไม่ได้ข้อยุติ อาจต้องเปิดลงคะแนนอีก 14 วัน
--taweethaも (พูดคุย) 08:39, 10 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
สมมติถ้าบทความคัดสรรหมดสต๊อก คือนำเสนอทุกบทความที่มีอยู่แล้ว จะดำเนินการอย่างไรต่อไป ผมคิดไว้เบื้องต้นหลายแนวทางว่า
- นำบทความเก่ามาฉายซ้ำ จนกว่าจะมีบทความใหม่เดือนถัดไป
- ไม่เปลี่ยนแปลง ปล่อยค้างไว้อยู่อย่างนั้น จนกว่าจะมีบทความใหม่เดือนถัดไป
- นำบทความคุณภาพขึ้นหน้าแรกแทน จนกว่าจะมีบทความใหม่เดือนถัดไป
ไม่ได้หมายความว่าตีตนไปก่อนไข้ แต่เราควรมีแนวปฏิบัติรองรับไว้ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ครับ --octahedron80 18:37, 27 สิงหาคม 2554 (ICT)
ความกังวลเรื่องนี้มีมานานแล้ว และอาจจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ทั้งสามข้อข้างต้นเป็นไปได้ครับ ผมขอเสนอที่แรงกว่านั้นหน่อยคือ
- (เป็นทางเลือกที่ 4) นำบทความคัดสรรภาษาอังกฤษ (หรือภาษาอื่น) มานำเสนอตามต้นฉบับ + ข้อความอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น (หมดสต๊อก ถ้าไม่ช่วยกันก็ไม่มีบทความภาษาไทยขึ้นหน้าหลัก)
เป็นการบอกกลายๆ ว่าเราสิ้นไร้ไม้ตอก แต่เราไม่ลดทอนคุณภาพ ไม่ฉายซ้ำ และไม่ปล่อยนิ่งไว้ --taweethaも 06:44, 24 ธันวาคม 2554 (ICT)
บทความคัดสรรประจำเดือน หมดสต๊อก น่าจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ผมขอเสนอ (เป็นทางเลือกที่ 5 - ดูทางเลือกที่ 3 ประกอบ) ว่า เปลี่ยนจากชื่อ บทความคัดสรรประจำเดือน มาเป็นบทความประจำเดือน โดยบทความที่สามารถขึ้นหน้าหลักได้คือ บทความคัดสรรกับบทความคุณภาพ จะได้เพิ่มชอยซ์บทความขึ้นหน้าหลัก อีกทั้งเป็นการแนะนำบทความที่ดี --Sry85 (พูดคุย) 01:58, 31 ธันวาคม 2555 (ICT)
ผมขอเสนออีกแนวทางหนึ่ง (เป็นทางเลือกที่ 6) คือ ปล่อยว่างไว้ โดยมีคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับบทความคัดสรร และหากบทความใดได้เลือกเป็นบทความคัดสรรใหม่ขึ้นมาในระหว่างที่ "หมดสต๊อก" ก็จะได้เป็นบทความคัดสรรประจำเดือนทันที โดยมีกำหนดไม่เกิน 30 วัน (หากมีบทความคัดสรรได้รับเลือกใหม่ก่อนเวลา 30 วันจะพ้นไป ผู้ดูแลระบบอาจพิจารณาถอนบทความเก่าออกและเปลี่ยนเป็นบทความใหม่เมื่อสิ้นเดือนปฏิทินแทนที่จะรอครบ 30 วันก็ได้) ประโยชน์ที่ได้จากตัวเลือกนี้คือ
- ไม่ลดทอนคุณภาพ
- สนับสนุนการผลิตบทความคัดสรร
- อาจเป็นการประชาสัมพันธ์ให้มีผู้หันมาช่วยเขียนบทความในวิกิพีเดียเพิ่มขึ้น เพราะเห็นถึงวิกฤตที่เกิดขึ้น
--taweethaも (พูดคุย) 08:34, 10 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วยกับการปล่อยให้ว่าง ตามปกติในการออกแบบเว็บ หน้าแรกของเว็บคือสิ่งเป็นหน้าเป็นตาของเว็บ การทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งว่างในหน้าหลักเปรียบได้กับไม่มีอะไรจะโชว์ หรือมีของดีมากมายแต่ไม่เอาออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ --浓宝努 10:05, 10 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- อย่าลืมว่าบทความฯ จะแสดงบนหน้าหลักในรุ่นมือถือด้วย --浓宝努 14:56, 10 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่ได้หมายความว่าปล่อยว่างแบบกลวงโบ๋นะครับ แต่มีข้อความอย่างอื่นมาแทนอธิบายว่าพื้นที่นี้ไว้ทำอะไร และอาจใส่ชื่อตัวอย่างบทความบทความคัดสรรประจำเดือนล่าสุด 3-5 รายการเป็นลิงก์ให้กดไปดูได้ รวมถึงอาจเลือกรูปใส่หนึ่งรูปให้ได้พื้นที่เท่าเดิมก็ได้เช่นกัน ดังนั้นในทางเทคนิคไม่น่าจะเป็นปัญหาเลย - ส่วนเราจะเลือกตัวเลือกใดนั้นน่าจะอยู่ที่แนวคิดและเหตุผล ว่าต้องการแบบเนียนสนิทคนอ่านแทบไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น (ฉายซ้ำหรือหยุดเวลาไว้) แบบร้องขอความช่วยเหลือ (ปล่อยว่าง/เอาภาษาอื่นมาใส่) หรือแบบผสมผสานคือเห็นความแตกต่างบ้าง (เอาบทความคุณภาพมาใส่แทน/และอาจบอกนิดนึงว่านี่คือบทความคุณภาพ ไม่ใช่บทความคัดสรร) --taweethaも (พูดคุย) 05:41, 11 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วยกับแนวทางนี้ครับ ใส่อะไรซักอย่างเป็น placeholder ไว้ก็ได้ ดูแล้วเป็นการเชิญชวนกึ่งบังคับให้มีคนพยายามหันมาเขียนบทความคัดสรรกันมากขึ้น ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มระยะเวลาเป็นสองเดือนหรือมากกว่านั้น รู้สึกว่าหนึ่งเดือนก็เป็นเวลาที่นานพอสมควรแล้ว --Portalian 13:59, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เท่าที่ดูปริมาณการเขียนบทความ ปี 2554 มีบทความคัดสรร 3 บทความ /ปี 2555 มีบทความคัดสรร 5 บทความ ปริมาณที่เพิ่มขึ้นน้อยมากครับ 1 บทความ เท่าที่ดูก็ใช้เวลาเขียนหลาย ๆ เดือน เหมือนกัน (ผู้เขียนบทความคัดสรรมีไม่กี่คน) ผมจึงขอเสนอให้ใช้บทความคุณภาพ เพื่อเป็นตัวเลือกเพิ่มบนหน้าหลัก --Sry85 (พูดคุย) 13:08, 23 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วยกับแนวทางนี้ครับ ใส่อะไรซักอย่างเป็น placeholder ไว้ก็ได้ ดูแล้วเป็นการเชิญชวนกึ่งบังคับให้มีคนพยายามหันมาเขียนบทความคัดสรรกันมากขึ้น ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มระยะเวลาเป็นสองเดือนหรือมากกว่านั้น รู้สึกว่าหนึ่งเดือนก็เป็นเวลาที่นานพอสมควรแล้ว --Portalian 13:59, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่ได้หมายความว่าปล่อยว่างแบบกลวงโบ๋นะครับ แต่มีข้อความอย่างอื่นมาแทนอธิบายว่าพื้นที่นี้ไว้ทำอะไร และอาจใส่ชื่อตัวอย่างบทความบทความคัดสรรประจำเดือนล่าสุด 3-5 รายการเป็นลิงก์ให้กดไปดูได้ รวมถึงอาจเลือกรูปใส่หนึ่งรูปให้ได้พื้นที่เท่าเดิมก็ได้เช่นกัน ดังนั้นในทางเทคนิคไม่น่าจะเป็นปัญหาเลย - ส่วนเราจะเลือกตัวเลือกใดนั้นน่าจะอยู่ที่แนวคิดและเหตุผล ว่าต้องการแบบเนียนสนิทคนอ่านแทบไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น (ฉายซ้ำหรือหยุดเวลาไว้) แบบร้องขอความช่วยเหลือ (ปล่อยว่าง/เอาภาษาอื่นมาใส่) หรือแบบผสมผสานคือเห็นความแตกต่างบ้าง (เอาบทความคุณภาพมาใส่แทน/และอาจบอกนิดนึงว่านี่คือบทความคุณภาพ ไม่ใช่บทความคัดสรร) --taweethaも (พูดคุย) 05:41, 11 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ถ้าบทความคัดสรรหมดจริงๆ ผมไม่เห็นด้วยที่จะเวียนบทความเก่ามาฉายซ้ำอีก ไม่เห็นด้วยที่จะปล่อยว่างไว้ แต่แนวทางที่จะใช้บทความคุณภาพขึ้นมาใช้ก็เป็นแนวทางที่ผมเห็นด้วย แต่แนวทางนี้อาจทำให้แนวโน้มการพัฒนาบทความไปสู่ "คัดสรร" ลดลงได้ เนื่องจากอาจจะไม่เห็นความสำคัญของความเป็น "บทความคัดสรร" ต้องยอมรับว่าผู้ใช้ส่วนหนึ่ง ยังอยากจะพัฒนาบทความให้ขึ้นสู่หน้าแรก แต่หากเราลดจาก บทความคัดสรร มาเป็น บทความคุณภาพประจำเดือน ก็จะเป็นการลดแรงดึงดูดใจที่จะพัฒนาบทความได้ --Pongsak ksm (พูดคุย) 11:51, 11 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ผมเห็นด้วยกับคุณ Pongsak ksm ในการไม่เอาบทความเก่ามาฉายซ้ำ และไม่ปล่อยเนื้อที่ให้ว่าง แต่ผมว่าเราควรนำบทความคุณภาพที่มีอยู่ในขณะนี้ทั้งหมดมาพิจารณาว่าแต่ละบทความขาดอะไรบ้างถึงจะขึ้นไปสู่บทความคัดสรรได้ และช่วยกันปรับปรุงบทความตามนั้นจนสามารถยกระดับเป็นบทความคัดสรร แต่ถ้าใกล้จะหมดสต๊อกภายในไม่กี่เดือน ก็อาจจะต้องพิจารณาแนวทางอื่นร่วมด้วยครับ--Saeng Petchchai (พูดคุย) 22:29, 11 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- หมดแน่ในไม่นานนี้ และอัตราการใช้ (1 เดือนต่อบทความ) กับอัตราการสร้าง (หลายเดือนต่อบทความ) ไม่สมดุลกัน เหมือนคนถังแตกใช้เงินเกินตัว ตอนนี้เรายังกินบุญเก่าอยู่ แต่อย่าลืมว่าบุญเก่ามีวันหมดสิ้นไป และบทความตัดสรรยังถูกสอยได้อีกต่างหาก ดังนั้นจำเป็นต้องหาทางออกระยะยาวนับแต่บัดนี้
- เสนอทางเลือกที่ 7 บทความคัดสรรรายไตรมาส รายสองเดือน หรือราย... คำนวณจากอัตราการสร้างบทความคัดสรรเฉลี่ยในปีที่ผ่านมาแล้วปัดเศษ (หรือ seasonal variation, etc. หรือ margin of error) ลงให้เป็นจำนวนที่ฟังดูเหมาะสมตามระบบปฏิทิน (วัน สัปดาห์ เดือน ปี ฯลฯ) - แนวทางนี้ใช้ได้กับกรณีตรงข้ามคือมีบทความเหลือค้างสต๊อกด้วยก็ได้ ไม่ต้องโหวตใหม่ ในวิกิพีเดียภาษาที่มีความนิยมสูง เขาแสดงบทความคัดสรรกันรายวันก็มี - ข้อเสนอนี้ให้ใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป (หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอัตราการสร้างบทความคัดสรรอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ดูแลจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือผู้ใดจะร้องให้ผู้ดูแลพิจารณาก็ได้ หากมีข้อโต้แย้งในการพิจารณาของผู้ดูแล ให้ WP:ARB พิจารณาชี้ขาด) --taweethaも (พูดคุย) 05:10, 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- มีคำถามว่า การเสนอครั้งหนึ่งจะมีผลนานเพียงไร ไม่มีกำหนดหรือเปล่า (ดูจาก ให้ใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป) ถ้าบทความคัดสรรกลับมามีเหลือมากแล้ว จะเปลี่ยนอัตรากลับเป็นเหมือนเดิมได้หรือไม่ครับ ป.ล. คอต. มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทผู้ใช้ เรื่องการออกความเห็นนี้ระเบียบเกี่ยวข้องเพียง consensus เท่านั้นครับ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 09:07, 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- (1) ข้อเสนอนี้ให้พิจารณาทบทวนความถี่การแสดงบทความคัดสรรทุกต้นปีปฏิทินโดยผู้ดูแล (คนไหนก็ได้) ซึ่งจะเปลี่ยนกลับเป็นเหมือนเดิม ถี่ขึ้น หรือห่างลงอย่างไรก็แล้วแต่สถิติในการสร้าง(หักด้วยถอด)บทความคัดสรรในปีที่ผ่านมา โดยพิจารณาปัดเศษลงตามสมควร (2) ข้อเสนอนี้ให้ผู้ดูแล (คนไหนก็ได้) รักษาการ หากข้อเสนอนี้ได้รับ consensus ของชุมชนแล้วก็หมายความว่าชุมชนมอบอำนาจให้ผู้ดูแลดำเนินการในเรื่องนี้ (ตามรูปแบบในข้อเสนอ) ได้เลยทุกๆ รอบที่จำเป็นต้องทบทวนความถี่ของบทความคัดสรร และในกรณีที่รอถึงสิ้นปีไม่ได้ด้วย อย่างไรก็ดีหากคิดว่าผู้ดูแลที่ดำเนินการมิได้ทำตามข้อเสนอที่ได้รับการรับรองแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของ คอต. จะพิจารณาว่าผิดตรงไหน บกพร่องอย่างไร แก้ไขได้หรือเปล่า ฯลฯ --taweethaも (พูดคุย) 12:10, 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ถ้าจะให้ คอต. เข้ามาเกี่ยวข้อง เห็นว่ามีกรณีเดียวคือ ผู้ดูแลระบบตกลงกันไม่ได้ ย้อนไปมา เป็นปัญหาร้ายแรงถึงขนาดที่ชุมชนระงับไม่ได้ครับ แต่ก่อนถึงเวลานั้น คงมีการพูดคุยทำความเข้าใจกันแล้ว และแม้แต่ขณะนี้เอง ก็มีผู้ที่คอยจัดการเรื่องบทความคัดสรรประจำเดือนเพียงคนเดียวอยู่แล้ว ไม่ต้องหาใหม่เลยครับ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 12:18, 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- มีสองกรณีครับ คือ ผู้ดูแลตกลงกันเองไม่ได้ กับสองคือ มีผุ้อื่นร้องว่าผู้ดูแลปฏิบัติไม่ถูกต้องตามนโยบายที่รับรองแล้ว - ปัจจุบันมีคุณ Sry85 สละเวลาดูแลตรงนี้อยู่คนเดียว แต่ว่านโยบายต้องเขียนกว้างแบบให้ความยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกับตัวบุคคล ใครจะมาทำหน้าที่ก็ได้ อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติก็คงเปิดโอกาสให้คุณ Sry85 ลงมือก่อนอยุ่แล้วครับ --taweethaも (พูดคุย) 12:36, 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ถ้าจะให้ คอต. เข้ามาเกี่ยวข้อง เห็นว่ามีกรณีเดียวคือ ผู้ดูแลระบบตกลงกันไม่ได้ ย้อนไปมา เป็นปัญหาร้ายแรงถึงขนาดที่ชุมชนระงับไม่ได้ครับ แต่ก่อนถึงเวลานั้น คงมีการพูดคุยทำความเข้าใจกันแล้ว และแม้แต่ขณะนี้เอง ก็มีผู้ที่คอยจัดการเรื่องบทความคัดสรรประจำเดือนเพียงคนเดียวอยู่แล้ว ไม่ต้องหาใหม่เลยครับ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 12:18, 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- (1) ข้อเสนอนี้ให้พิจารณาทบทวนความถี่การแสดงบทความคัดสรรทุกต้นปีปฏิทินโดยผู้ดูแล (คนไหนก็ได้) ซึ่งจะเปลี่ยนกลับเป็นเหมือนเดิม ถี่ขึ้น หรือห่างลงอย่างไรก็แล้วแต่สถิติในการสร้าง(หักด้วยถอด)บทความคัดสรรในปีที่ผ่านมา โดยพิจารณาปัดเศษลงตามสมควร (2) ข้อเสนอนี้ให้ผู้ดูแล (คนไหนก็ได้) รักษาการ หากข้อเสนอนี้ได้รับ consensus ของชุมชนแล้วก็หมายความว่าชุมชนมอบอำนาจให้ผู้ดูแลดำเนินการในเรื่องนี้ (ตามรูปแบบในข้อเสนอ) ได้เลยทุกๆ รอบที่จำเป็นต้องทบทวนความถี่ของบทความคัดสรร และในกรณีที่รอถึงสิ้นปีไม่ได้ด้วย อย่างไรก็ดีหากคิดว่าผู้ดูแลที่ดำเนินการมิได้ทำตามข้อเสนอที่ได้รับการรับรองแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของ คอต. จะพิจารณาว่าผิดตรงไหน บกพร่องอย่างไร แก้ไขได้หรือเปล่า ฯลฯ --taweethaも (พูดคุย) 12:10, 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- มีคำถามว่า การเสนอครั้งหนึ่งจะมีผลนานเพียงไร ไม่มีกำหนดหรือเปล่า (ดูจาก ให้ใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป) ถ้าบทความคัดสรรกลับมามีเหลือมากแล้ว จะเปลี่ยนอัตรากลับเป็นเหมือนเดิมได้หรือไม่ครับ ป.ล. คอต. มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทผู้ใช้ เรื่องการออกความเห็นนี้ระเบียบเกี่ยวข้องเพียง consensus เท่านั้นครับ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 09:07, 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ผมเห็นด้วยกับคุณ Pongsak ksm ในการไม่เอาบทความเก่ามาฉายซ้ำ และไม่ปล่อยเนื้อที่ให้ว่าง แต่ผมว่าเราควรนำบทความคุณภาพที่มีอยู่ในขณะนี้ทั้งหมดมาพิจารณาว่าแต่ละบทความขาดอะไรบ้างถึงจะขึ้นไปสู่บทความคัดสรรได้ และช่วยกันปรับปรุงบทความตามนั้นจนสามารถยกระดับเป็นบทความคัดสรร แต่ถ้าใกล้จะหมดสต๊อกภายในไม่กี่เดือน ก็อาจจะต้องพิจารณาแนวทางอื่นร่วมด้วยครับ--Saeng Petchchai (พูดคุย) 22:29, 11 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ลงคะแนน
[แก้]- ให้ใช้ {{สนับสนุน}} {{คัดค้าน}} {{เป็นกลาง}} โดยอาจสนับสนุนมากกว่าหนึ่งทางเลือก หรือคัดค้านมากกว่าหนึ่งทางเลือกก็ได้ - และระบุเหตุผลประกอบเพิ่มเติมได้
- ผู้มีสิทธิลงคะแนนอนุโลมตามผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกผู้ดูแลระบบ
- เปลี่ยนแปลงความเห็นได้จนกว่าจะปิดนับคะแนน (ประมาณกลางเดือนมีนาคม)
- การนับคะแนนยึดตามหลัก consensus หากหาไม่ได้ ก็อภิปรายและลงคะแนนใหม่ไปจนกว่าจะมีข้อยุติ
เปิดลงคะแนน 14 วันนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป --taweethaも (พูดคุย) 10:16, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ความเห็น
- ตอนนี้หลายคนเลือกให้นำบทความคุณภาพมาแสดงแล้วนะครับ ไม่น่าลงคะแนนอีกครับ กรณีนี้ใช้การเห็นพ้องต้องกันแทนได้ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 10:46, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ทางเลือกที่ 1
[แก้]นำบทความเก่ามาฉายซ้ำ จนกว่าจะมีบทความใหม่เดือนถัดไป
- เป็นกลาง เป็นไปได้ และทำง่ายที่สุด แต่ผมเชื่อว่าชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยสามารถทำได้มากกว่านี้ --taweethaも (พูดคุย) 10:23, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เป็นกลาง ทางเลือกของการวนบทความเก่าก็เป็นทางเลือกที่ดีครับ โดยเฉพาะเมื่อเล็งเห็นว่าบางส่วนในหน้าหลักก็เกิดการวนเช่นกันเช่นในกรณีของ On this day (ซึ่งแม้จะเทียบรูปแบบกันไม่ได้เสียทีเดียวเพราะ On this day เป็น permanent fixture ทางประวัติศาสตร์ แต่บทความคัดสรรก็เป็น fixture ในตัวมันเองเช่นกัน) แต่ผลเสียก็คือจะไม่มี หรือจะมีบทความคัดสรรเพิ่มขึ้นน้อยลงเพราะไม่มีผู้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว --∫G′(∞)dx 10:45, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เป็นกลาง ควรใช้เป็นตัวเลือกสุดท้าย เรายังมีวิธีอื่นที่จะแก้ไขปัญหาได้ครับ--Saeng Petchchai (พูดคุย) 20:02, 4 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Aristitleism (พูดคุย) 11:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วย เป็นทางเลือกที่ทำได้ง่าย และดูดีพอสมควร แต่ควรทำร่วมกับข้อ 6 คือมีประกาศแปะต่อท้ายว่าอันนี้เป็นบทความเก่า เพราะตอนนี้ FA หมดสต๊อกแล้ว --Portalian 22:00, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --浓宝努 22:20, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --B20180 (พูดคุย) 01:18, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Nullzero (พูดคุย) 09:35, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 (พูดคุย) 11:31, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Lerdsuwa (พูดคุย) 18:01, 6 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 02:29, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 16:02, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
ทางเลือกที่ 2
[แก้]ไม่เปลี่ยนแปลง ปล่อยค้างไว้อยู่อย่างนั้น จนกว่าจะมีบทความใหม่เดือนถัดไป
- ไม่เห็นด้วย แสดงความไม่รับผิดชอบต่อผู้อ่าน และให้น้ำหนักกับบทความสุดท้ายมากเกินไป --taweethaも (พูดคุย) 10:23, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย
ไม่ควรปล่อยว่างครับ ถ้าปล่อยว่างไปเฉย ๆ โดยไม่มีคำอธิบายอะไรหรืออะไรเลย ก็จะไม่มีอะไรเข้ามาในสต๊อกมากเท่าที่ควร แล้วจะกลายเป็นว่าเราปล่อยพื้นที่ให้เสียประโยชน์ไป--∫G′(∞)dx 10:45, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)- กรุณาอ่านใหม่ "ปล่อยค้าง" ไม่ใช่ "ปล่อยว่าง" --浓宝努 22:20, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Aristitleism (พูดคุย) 11:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ให้น้ำหนักกับบทความสุดท้ายมากเกินไป --Portalian 22:00, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --浓宝努 22:20, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --B20180 (พูดคุย) 01:18, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Nullzero (พูดคุย) 09:35, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 (พูดคุย) 11:31, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ทำให้วิกิพีเดียดูเหมือนไม่มีความเคลื่อนไหวครับ--Saeng Petchchai (พูดคุย) 20:02, 4 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Lerdsuwa (พูดคุย) 18:01, 6 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 02:31, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 16:02, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
ทางเลือกที่ 3
[แก้]นำบทความคุณภาพขึ้นหน้าแรกแทนชั่วคราว จนกว่าจะมีบทความคัดสรรใหม่เดือนถัดไป (ดูทางเลือกที่ 5 ประกอบ)
- ไม่เห็นด้วย ลดคุณภาพของสื่อที่นำขึ้นหน้าแรก --taweethaも (พูดคุย) 10:23, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วย เอาขึ้นขัดตาทัพไปก่อน รอจนกว่าจะมีบทความคัดสรรของเดือนต่อไป (โดยเฉพาะเดือนนั้น ๆ เอง ก็ retitle เป็นบทความคุณภาพประจำเดือนไปก่อนก็ได้ จนกว่าจะมีบทความคัดสรร) --∫G′(∞)dx 10:45, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Aristitleism (พูดคุย) 11:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกับข้อ 5 --Portalian 22:00, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --浓宝努 22:20, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --B20180 (พูดคุย) 01:18, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --MuanN (พูดคุย) 09:23, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --Nullzero (พูดคุย) 09:35, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Sry85 (พูดคุย) 11:31, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย ถึงอย่างไร บทความคุณภาพก็เคยผ่านการพิจารณาของชุมชนแล้วว่าดีกว่าบทความระดับอื่น --Saeng Petchchai (พูดคุย) 20:02, 4 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Lerdsuwa (พูดคุย) 18:01, 6 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 02:33, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 16:03, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
ทางเลือกที่ 4
[แก้]นำบทความคัดสรรภาษาอังกฤษ (หรือภาษาหลักอื่นๆ 2-5 อันดับแรกตามจำนวนบทความ) มานำเสนอตามต้นฉบับ + ข้อความอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น (หมดสต๊อก ถ้าไม่ช่วยกันก็ไม่มีบทความภาษาไทยขึ้นหน้าหลัก) เป็นการบอกกลายๆ ว่าเราสิ้นไร้ไม้ตอก แต่เราไม่ลดทอนคุณภาพ ไม่ฉายซ้ำ และไม่ปล่อยนิ่งไว้ - (ดูทางเลือกที่ 6 ประกอบ - แนวคิดคล้ายการ Black out ในวิกิพีเดียหลายภาษาในกรณีรณรงค์ต่อต้านร่างกฎหมาย)
- เห็นด้วย (เป็นผู้เสนอ) --taweethaも (พูดคุย) 10:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เป็นกลาง ผมสนับสนุนเรื่องที่เราควรมีคำอธิบายถึงวิกฤตนี้ (เป็น Essay แล้วลิงก์จากหน้าหลักไป) แต่การที่จะนำบทความภาษาอังกฤษมาเขียนนำเสนอแบบนั้นมันดูเหมือนว่าเราหมดหนทางเกินไป --∫G′(∞)dx 10:45, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Aristitleism (พูดคุย) 11:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นความจำเป็นที่วิกิไทยจะต้องไปพึ่งวิกิภาษาอื่น --Portalian 22:00, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย สมมติว่า enwp หมดสต๊อกตามบ้าง (ถึงมันจะเป็นไปไม่ได้ก็เถอะ) จะต้องไปยืม dewp frwp ต่ออีกหรือครับ :) --浓宝努 22:20, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --B20180 (พูดคุย) 01:24, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --Nullzero (พูดคุย) 09:35, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 (พูดคุย) 11:31, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย วิกิพีเดียภาษาไทย ควรแสดงเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยครับ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ--Saeng Petchchai (พูดคุย) 20:02, 4 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Lerdsuwa (พูดคุย) 18:01, 6 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 02:34, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 16:03, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
ทางเลือกที่ 5
[แก้]เปลี่ยนจากชื่อ บทความคัดสรรประจำเดือน มาเป็นบทความประจำเดือน โดยบทความที่สามารถขึ้นหน้าหลักได้คือ บทความคัดสรรกับบทความคุณภาพ จะได้เพิ่มชอยซ์บทความขึ้นหน้าหลัก อีกทั้งเป็นการแนะนำบทความที่ดี (ดูทางเลือกที่ 3 ประกอบ)
- ไม่เห็นด้วย ลดคุณภาพของบทความที่นำขึ้นหน้าแรก --taweethaも (พูดคุย) 10:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วย แต่ไม่ควรใช้บทความคุณภาพนานเกินนะครับ ไม่เช่นนั้นจะเกิดกรณีบทความคุณภาพหมดสต๊อกด้วย (อนึ่งผมมีความเห็นว่า ถ้าทั้งบทความคัดสรรและบทความคุณภาพหมดสต๊อก อาจนำบทความที่เกี่ยวกับวันสำคัญ ปรับแต่งหน้าตาให้ดีหน่อยแล้วนำมาแทนที่ได้ เพราะเคยมีข้อเสนอนี้แต่ในขณะนั้นไม่ได้หยิบมาพิจารณาต่อเพราะยังไม่มีปัญหาหมดเรื่องจะขึ้นหน้าหลัก) --∫G′(∞)dx 10:45, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Aristitleism (พูดคุย) 11:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เป็นการลดคุณภาพของบทความที่จะมาขึ้นหน้าแรก และลดแรงบันดาลใจในการพัฒนาบทความเป็น FA --Portalian 22:00, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --浓宝努 22:20, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --B20180 (พูดคุย) 01:18, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --Nullzero (พูดคุย) 09:35, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย เป็นผู้เสนอ --Sry85 (พูดคุย) 11:31, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Saeng Petchchai (พูดคุย) 20:02, 4 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Lerdsuwa (พูดคุย) 18:01, 6 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 02:36, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 16:04, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
ทางเลือกที่ 6
[แก้]ปล่อยว่างไว้ โดยมีคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับบทความคัดสรร และหากบทความใดได้เลือกเป็นบทความคัดสรรใหม่ขึ้นมาในระหว่างที่ "หมดสต๊อก" ก็จะได้เป็นบทความคัดสรรประจำเดือนทันที โดยมีกำหนดไม่เกิน 30 วัน (หากมีบทความคัดสรรได้รับเลือกใหม่ก่อนเวลา 30 วันจะพ้นไป ผู้ดูแลระบบอาจพิจารณาถอนบทความเก่าออกและเปลี่ยนเป็นบทความใหม่เมื่อสิ้นเดือนปฏิทินแทนที่จะรอครบ 30 วันก็ได้) ประโยชน์ที่ได้จากตัวเลือกนี้คือ ไม่ลดทอนคุณภาพ สนับสนุนการผลิตบทความคัดสรร และอาจเป็นการประชาสัมพันธ์ให้มีผู้หันมาช่วยเขียนบทความในวิกิพีเดียเพิ่มขึ้น เพราะเห็นถึงวิกฤตที่เกิดขึ้น - (ดูทางเลือกที่ 4 ประกอบ - แนวคิดคล้ายการ Black out ในวิกิพีเดียหลายภาษาในกรณีรณรงค์ต่อต้านร่างกฎหมาย)
- เห็นด้วย (เป็นผู้เสนอ) --taweethaも (พูดคุย) 10:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วย (อนึ่งผมมีความเห็นว่า นอกจากจะมีคำอธิบายแล้ว บางครั้งเราน่าจะหยิบบทความใดบทความหนึ่งที่มี potential ว่าจะเป็นบทความคัดสรรได้มาใส่เป็น collaboration to FA ในคำอธิบายด้วย) --∫G′(∞)dx 10:45, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Aristitleism (พูดคุย) 11:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Portalian 22:00, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --浓宝努 22:20, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --B20180 (พูดคุย) 01:18, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Nullzero (พูดคุย) 09:35, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 (พูดคุย) 11:31, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Saeng Petchchai (พูดคุย) 20:02, 4 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Lerdsuwa (พูดคุย) 18:01, 6 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 02:36, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 16:04, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
ทางเลือกที่ 7
[แก้]เปลี่ยนความถี่การแสดงผลให้เหมาะสมกับอัตราการสร้างบทความคัดสรร เรียกใหม่ว่า บทความคัดสรรรายไตรมาส รายสองเดือน หรือราย... (ตามความเหมาะสม) โดยคำนวณจากอัตราการสร้างบทความคัดสรรเฉลี่ยในปีที่ผ่านมาแล้วปัดเศษ (หรือ seasonal variation, etc. หรือ margin of error) ลงให้เป็นจำนวนที่ฟังดูเหมาะสมตามระบบปฏิทิน (วัน สัปดาห์ เดือน ปี ฯลฯ) - แนวทางนี้ใช้ได้กับกรณีตรงข้ามคือมีบทความเหลือค้างสต๊อกด้วยก็ได้ ไม่ต้องโหวตใหม่ ในวิกิพีเดียภาษาที่มีความนิยมสูง เขาแสดงบทความคัดสรรกันรายวันก็มี - กำหนดเป็นนโยบายใหม่ให้ใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป และทบทวนใหม่ทุกปีหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอัตราการสร้างบทความคัดสรรอย่างมีนัยสำคัญ โดยชุมชนมอบอำนาจให้ผู้ดูแลจะหยิบยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาได้เองหรือผู้ใดจะร้องให้ผู้ดูแลพิจารณาก็ได้ (WP:AN) หากมีข้อโต้แย้งในการพิจารณาของผู้ดูแล ให้ WP:ARB พิจารณาชี้ขาด การเปลี่ยนความถี่ไม่ต้องได้รับ consensus อีก แต่การจะเปลี่ยนกติกาในนโยบายนี้อย่างมีสาระสำคัญต้องให้ชุมชนรับรอง
- เห็นด้วย (เป็นผู้เสนอ) น่าจะเป็นทางสายกลางที่สุด ไม่รุนแรงเท่ากับทางเลือกที่ 4 หรือ 6 และไม่ลดคุณภาพโดยการนำอย่างอื่นมาแทนบทความคัดสรร และยังสนับสนุนการสร้างบทความคัดสรรตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการจัดพื้นที่หน้าแรกให้แสดงผล --taweethaも (พูดคุย) 10:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ความเห็น (ตอบท่านข้างล่างสองท่าน) แนวทางนี้จะไม่สร้างแรงกดดันต่อการโหวตเลือกบทความคัดสรรมาขึ้นหน้าแรกมากนัก เพราะจำนวนบทความที่สร้างและบทความที่นำมาใช้มีพอดีหรือใกล้เคียงกัน ไม่ว่าความถี่การแสดงผลเป็นหนึ่งบทความต่อหนึ่งเดือน หรือต่อเวลาอื่นๆ หากมีน้อยก็แสดงผลนานซึ่งเป็นแรงจูงใจให้พัฒนาบทความใหม่มากขึ้น แต่ในทางตรงข้ามหากมีมาก ทำให้แสดงผลไม่นานอาจเป็นข้อเสียที่ลดแรงจูงใจการสร้างบทความคัดสรรได้ อย่างไรก็ดีต้องพิจารณาช่องทางอื่นอีกสามคอลัมน์ที่เหลือในหน้าหลักประกอบกันด้วย --taweethaも (พูดคุย) 06:32, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย เพราะเป็นทางที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่ปัญหาก็คือ ควรจะกำหนดเวลาขึ้นไว้นานสักแค่ไหน (ทั้งนี้อยากให้พิจารณาประเด็นของ page view ระหว่างที่บทความได้ขึ้นหน้าหลักด้วย) --∫G′(∞)dx 10:45, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วย แต่มีความกังวลส่วนตัวว่า ถ้านานเกินไป อาจส่งผลในทางลบต่อภาพลักษณ์ ลดความนิยม หรือก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย เช่น เข้ามาเมื่อไรก็เจอแต่อันนี้ ไม่มีอะไรใหม่แล้วหรือไง --Aristitleism (พูดคุย) 11:29, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เป็นกลาง เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวได้ แต่ก็เกรงว่าถ้านานเกินไปอาจจะทำให้คนดูเบื่อได้ --Portalian 22:00, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --Saeng Petchchai (พูดคุย) 20:02, 4 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --浓宝努 22:20, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --B20180 (พูดคุย) 01:18, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง --Nullzero (พูดคุย) 09:35, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ท้ายสุดอาจต้องมาหาวิธีใหม่ เข้าสู่วงจรเดิม --Sry85 (พูดคุย) 11:31, 2 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Lerdsuwa (พูดคุย) 18:01, 6 มีนาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 02:38, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 16:04, 8 มีนาคม 2556 (ICT)
สรุปผลการลงคะแนน
[แก้]- ทางเลือก. จำนวนผู้ลงคะแนน (สนับสนุน-เป็นกลาง-คัดค้าน)
- 12 (2-3-7)
- 12 (0-0-12)
- 13 (9-2-2)
- 12 (1-3-8)
- 12 (7-3-2)
- 12 (4-0-8)
- 12 (6-4-2)
สรุปว่าให้ดำเนินการตามทางเลือกที่ 3 กล่าวคือนำบทความคุณภาพขึ้นแทนชั่วคราว จนกว่าจะมีบทความคัดสรรใหม่ต่อไป (ไม่ฉายซ้ำ ไม่แช่แข็ง ไม่เอาภาษาอื่นมาแทน ไม่ทำให้บทความคุณภาพมีสิทธิ์ขึ้นหน้าหลักเป็นการถาวร ไม่ปล่อยว่าง และไม่เปลี่ยนแปลงความถี่ในการแสดงผล เพราะเป็นทางเลือกที่ชุมชนชอบน้อยกว่าทางเลือกที่ 3) --taweethaも (พูดคุย) 09:28, 14 มีนาคม 2556 (ICT)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
บทความคัดสรรใกล้หมดคลัง พ.ศ. 2562
[แก้]- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
เนื่องจากบทความคัดสรรจะหมดแล้ว จึงขอรณรงค์ให้ช่วยกันสร้างบทความคัดสรรครับ ขอเสนอว่าให้เลือกเรื่องที่สนใจมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษครับ en:Wikipedia:Featured articles เรื่องภาษาเดี๋ยวช่วย ๆ กันเกลาไปครับ --Wedjet (คุย) 13:44, 2 มิถุนายน 2562 (ICT)
เรียนผู้ใช้:Wedjet จริง ๆ ถ้าบทความคัดสรรหมดสต็อก จะเอาบทความคุณภาพมาแทนตามมติในกรุด้านบนนะครับ --Jeabbabe (คุย) 18:57, 3 มีนาคม 2563 (+07)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
บทความคัดสรรหมดคลัง พ.ศ. 2565
[แก้]- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
ในที่สุดบทความก็หมดคลัง ดังนั้นขอเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติด้านบน โดยการนำบทความคุณภาพขึ้นเป็นบทความประจำเดือนแทนเป็นการชั่วคราวด้วยครับ Jeabbabe (คุย) 10:22, 1 ธันวาคม 2565 (+07)
- เอาบทความ หลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจาย ขึ้นไปไว้ชั่วคราวแล้วครับ --Lookruk | 💬 (พูดคุย) 11:23, 1 ธันวาคม 2565 (+07)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
บทความคัดสรรหมดคลัง พ.ศ. 2566
[แก้]- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
บทความคัดสรรหมดคลังอีกแล้ว ได้นำบทความคุณภาพ โผน กิ่งเพชร ขึ้นชั่วคราว ตามมติเมื่อ พ.ศ. 2556 เนื่องจากเดือน ก.พ. เป็นเดือนเกิด และช่วงนี้ไม่มี FA แนวชีวประวัติคนไทยมานานแล้ว --Portalian (คุย) 01:03, 2 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)
นอกจากนี้ ด้วยอัตราการเพิ่มของ FA ตอนนี้ที่ต่ำมาก หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง (หรือมีการอภิปรายวิธีการจัดการใหม่ เช่น เปลี่ยนความถี่เป็นราย 2 เดือน ฯลฯ) เราน่าจะต้องเจอปัญหานี้กันไปอีกนาน ผมขอเสนอทางออกชั่วคราวว่า ช่วงนี้ในการเสนอ FA ประจำเดือน สามารถนำ GA มาเสนอได้ โดยใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับการเสนอ FA (พิจารณาเดือนเกิด เดือนครบรอบ สลับแนวบทความ ฯลฯ) เพื่อให้เกิดความหลากหลายต่อคนอ่าน แต่หากในเดือนนั้นมีบทความที่ผ่าน FA ก็ย่อมต้องให้ priority กับ FA ก่อนเสมอ --Portalian (คุย) 01:10, 2 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)
- 1. ถ้าต้องการนำ GA ขึ้นแทน ควรมีกระบวนการเสนอให้เหมือนกับ FA ประจำเดือนตามปกติโดยใช้หน้าเดิม
- 2. ผมเสนออีกทางหนึ่งคือถ้าไม่มี FA ก็ตัดส่วนนี้ออกไปเลย แล้วยกมาแสดงเฉพาะเมื่อมี FA ประจำเดือน (อารมณ์เดียวกับ featured list ของ enWP ที่จะแสดงทุกวันจันทร์เท่านั้น) ครับ --Horus (พูดคุย) 01:18, 2 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
บทความคัดสรรหมดคลัง พ.ศ. 2567
[แก้]- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
ข้อความเดิมจากปลาย พ.ศ. 2566 มีดังนี้นะครับ (เขียนอยู่ใต้ส่วนข้อเสนอของเดือน สิงหาคม 2567) --Taweethaも (คุย) 10:21, 7 มกราคม 2567 (+07)
- ถ้าไม่มีบทความคัดสรรเหลือ คงต้องให้เป็นบทความคัดสรรประจำเดือนก่อน --Sry85 (คุย) 11:08, 30 พฤศจิกายน 2566 (+07)
- ผมไม่ขัดข้องถ้าจะทำเช่นนั้น แต่วัตถุประสงค์ที่เสนอให้ลงเดือนเป็นหลักแหล่งในอนาคตเพื่อจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น นั่นคืออยากให้เร่งรัดพิจารณาบทความคัดสรรอื่นที่มีผู้เสนอหรือเลือกบทความคุณภาพอื่นขึ้นมาแสดงผลไปก่อน / ทั้งนี้ก็แล้วว่าผู้เขียนหลัก @PhakkaponP: จะเห็นเป็นอย่างไรด้วย / อันนี้เป็นเพียงความพยายามเล็กที่จะช่วยสร้างความแน่นอนขึ้นในโลกที่ไม่อาจคาดการณ์ได้นะครับ --Taweethaも (คุย) 07:50, 2 ธันวาคม 2566 (+07)
- ผมไม่ทราบดีว่าตอนนี้เราเหลือบทความคัดสรรประจำเดือนมากน้อยเพียงใด แต่หากไม่มีบทความเหลือแล้ว การนำบทความนี้จัดเป็นบทความคัดสรรประจำเดือนก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการนำบทความคุณภาพมาแสดงแทนครับ ขณะเดียวกันหากมีผู้เสนอบทความคัดสรรใหม่ ๆ และผ่านการพิจารณาแล้วเสร็จ ผมก็แอบหวังในใจให้เลือกใช้บทความเหล่านั้นก่อนบทความนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ในบทความในเดือนสิงหาคมครับ –PhakkaponP (คุย) 20:57, 3 ธันวาคม 2566 (+07)
- ผมไม่ขัดข้องถ้าจะทำเช่นนั้น แต่วัตถุประสงค์ที่เสนอให้ลงเดือนเป็นหลักแหล่งในอนาคตเพื่อจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น นั่นคืออยากให้เร่งรัดพิจารณาบทความคัดสรรอื่นที่มีผู้เสนอหรือเลือกบทความคุณภาพอื่นขึ้นมาแสดงผลไปก่อน / ทั้งนี้ก็แล้วว่าผู้เขียนหลัก @PhakkaponP: จะเห็นเป็นอย่างไรด้วย / อันนี้เป็นเพียงความพยายามเล็กที่จะช่วยสร้างความแน่นอนขึ้นในโลกที่ไม่อาจคาดการณ์ได้นะครับ --Taweethaも (คุย) 07:50, 2 ธันวาคม 2566 (+07)
- ไม่เหลือแล้วครับ ขอบคุณคุณ @PhakkaponP: ที่แสดงความยืดหยุ่นรับได้ในทั้งสองทางครับ
- ขอบคุณคุณ @Sry85: ที่พิจารณาวลาดีมีร์ เลนินเป็นบทความคัดสรรเมื่อ 19:11, 2 December 2023 ครับ
- อยากเชิญชวนทุกคนร่วมกันเขียนและร่วมกันพิจารณาบทความคัดสรรครับ ทางเลือกที่เป็นไปได้ในการจัดการตรงนี้ คือ
- (ทางเลือกที่ 1) บทความคัดสรรประจำไตรมาส นั่นคือปีหนึ่งจะมีได้เพียงสี่บทความ (เหมือนสี่ฤดู) ผมตรวจสอบยอดการเข้าชมบทความคัดสรรจากหน้าแรกในช่วงที่ผ่านมา อยู่ในหลักร้อยต่อวัน เมื่อเทียบกับการเข้าชมหน้าแรกที่มีจำนวนมาก มีความรู้สึกว่าไม่ได้มากมายเหมือนแต่ก่อนและอาจควรได้รับการจัดสรรกำลังของอาสาสมัครที่น้อยลงไปตามส่วนก็ได้ หรือ
- (ทางเลือกที่ 2) จะคั่นเวลาด้วยบทความคุณภาพไปเดือนเว้นเดือน โดยให้บทความคุณภาพมีระยะเวลาแสดงผลที่น้อยกว่า เช่น 1-2 สัปดาห์แทนที่จะเป็นหนึ่งเดือนก็เป็นทางเลือกที่ยุติธรรมไปอีกแบบ ดึงดูดความสนใจกลับมาที่หน้าหลักได้ และส่งเสริมให้อาสาสมัครเขียนบทความคุณภาพ
- (ถ้ามีคนสนใจแนวคิดทำนองนี้จะขยายไปอภิปรายเป็นเรื่องเป็นราวข้างนอกนะครับ ไม่งั้นคงจบไว้ตรงนี้ก่อน)
--Taweethaも (คุย) 09:07, 5 ธันวาคม 2566 (+07)
- ทางเลือกที่ 1 ผมว่า 3 เดือนนานไปนิดครับ คนอ่านอาจจะเบื่อเสียก่อน ถ้าซัก 2 เดือนอาจจะพอไหว
- ทางเลือกที่ 2 น่าสนใจดีครับ แต่มันแอบย้อนแย้งตรงที่ การที่บทความขาดแคลน แต่เรากลับต้องมาเพิ่มความถี่ แทนที่จะลดความถี่ และทำให้อาสาสมัครต้องทำงานหนักขึ้นอีก (และในอนาคต หาก GA หมดด้วย จะทำอย่างไร?)
- ณ ตอนนี้ ผมยังสนับสนุนแนวทางปัจจุบันที่เราใช้กันอยู่ครับ คือเสนอ GA แทนได้ถ้าหมด (ระยะเวลา 1 เดือนเท่ากัน) แต่ถ้ามี FA ใหม่มา ก็ต้องให้ priority แก่ FA ก่อน (ยกเว้นว่าผู้เสนอจะเจาะจงเสนอสำหรับเดือนอื่นที่เหมาะสมกว่า)
--Portalian (คุย) 00:28, 2 มกราคม 2567 (+07)
- ขอบคุณคุณ @Sry85: ที่พิจารณาบทความคัดสรรในระยะหลังมานี้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม และขอบคุณผู้เขียนทุกท่าน @Portalian และ PhakkaponP:
- ผมย้อนกลับไปดูข้อเสนอ พ.ศ. 2556 ผ่านมา 10+ ปี ความเห็นผมใน พ.ศ. 2567 ยังคงคล้ายเดิม แต่ยอมโอนอ่อนให้นำบทความคุณภาพขึ้นมาได้ครับ
- สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้น่าจะเป็นการสนับสนุนให้มีผู้เขียนและเสนอบทความคัดสรรกันมากขึ้น เป็นโอกาสของคนหน้าใหม่ที่จะได้สนับสนุนผลักดันกันขึ้นมาต่อไป เราเหลือเวลาประมาณ 1-2 เดือน (มกราคมมีบทความอยู่แล้ว) และมีบทความในคลังเหลือสองราย คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (เสนอเป็นกุมภาพันธ์) และ การยอมจำนนของญี่ปุ่น (เสนอเป็นสิงหาคม)
--Taweethaも (คุย) 10:42, 7 มกราคม 2567 (+07)
เห็นด้วยกับการใช้บทความคุณภาพ นำมาเสนอบทความคัดสรรประจำเดือนได้ เสนอว่าถ้าบทความคัดสรรเหลือไม่ถึง 3 บทความ นำเสนอได้เลย--Sry85 (คุย) 11:09, 7 มกราคม 2567 (+07)
- เห็นด้วยครับ อธิบายความให้ชัดเจนเพื่อให้เข้าใจตรงกัน คือ
หากเหลือบทความคัดสรรที่ยังไม่เคยเป็นบทความคัดสรรประจำเดือนขณะใดก็ตามน้อยกว่า 3 บทความ ให้เสนอบทความคุณภาพเพื่อเป็นแสดงผลในหน้าหลักในตำแหน่งของบทความคัดสรรประจำเดือนได้
หมายเหตุเพิ่มเติม
- การเสนอและการพิจารณาดังกล่าวไม่ทำให้ความคุณภาพกลายเป็นบทความคัดสรรแต่อย่างใด
- การนับจำนวนน้อยกว่า 3 ให้นับบทความคัดสรรที่ยังไม่เคยเป็นบทความคัดสรรประจำเดือนทั้งหมด ไม่ต้องคำนึงว่าบทความเหล่านั้นอาจได้รับการเสนอชื่อเป็นบทความคัดสรรประจำเดือนอยู่ระหว่างรอการพิจารณาในเดือนใดในอนาคตหรือไม่
- บทความคุณภาพที่ได้รับการพิจารณาให้แสดงผลแทนที่บทความคัดสรรประจำเดือนแล้วจะแสดงผลอยู่ทั้งเดือนเช่นเดียวกับบทความคัดสรร ไม่ว่าระหว่างเดือนนั้นจะมีบทความใหม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นบทความคัดสรรเพิ่มเติมหรือไม่
- สนับสนุนให้ผู้เขียนบทความหลักเป็นผู้เสนอชื่อบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพเพื่อการแสดงผลในหน้าหลักก่อน เว้นแต่
- ผู้เขียนหลักขาดการเข้าใช้งานวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องต่อเนื่องกันเวลาหนึ่งเดือนขึ้นไป หรือ
- เหลือเวลาน้อยกว่า 15 วันก่อนที่จะต้องเปลี่ยนบทความประจำเดือนและยังไม่มีบทความใดได้รับการเสนอชื่อ
- ในทุกกรณี สนับสนุนให้เสนอบทความล่วงหน้าไม่เกิน 12 เดือนในอนาคตเพื่อให้สัมพันธ์กับเหตุการณ์ในบทความ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นพิเศษหรือมีจำนวนบทความคัดสรรที่ยังไม่เคยได้รับเลือกเป็นบทความคัดสรรประจำเดือนตั้งแต่ 12 บทความขึ้นไป
นำเข้าหน้าประกาศแล้วนะครับ จะครบสองสัปดาห์ วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567 นี้--Taweethaも (คุย) 20:27, 7 มกราคม 2567 (+07)
- เห็นด้วยตามแนวทางที่คุณ @Taweetham: เสนอครับ ว่าหากเหลือ FA ในคลังน้อยกว่า 3 บทความ สามารถเสนอ GA ขึ้นหน้าหลักได้เลย แต่ในทางเทคนิคผมยังอยากให้คงชื่อ "บทความคัดสรรประจำเดือน" ไว้ มิใช่ "บทความประจำเดือน" โดย GA ที่ขึ้นหน้าหลัก จะมี remark ต่อท้ายไว้ คล้ายกับเดือนก.พ./มี.ค. 2565 คืออยากให้ทำเหมือนเป็นมาตรการชั่วคราว เอา GA ขึ้นได้เป็นกรณีพิเศษมากกว่า (ถึงแม้ในทางปฏิบัติ บทความที่ขึ้นหน้าหลักช่วงนี้อาจจะมี GA เกินครึ่งก็ตาม) เพราะ ideally ทุกคนน่าจะอยากให้อัตรา FA มันกลับมาเพิ่มเกิน 1 บทความ/เดือนอีกครั้ง --Portalian (คุย) 02:45, 13 มกราคม 2567 (+07)
- @Portalian: ขัดเกลาข้อความข้างต้นใหม่แล้วนะครับ ตัดคำที่จะสื่อว่าบทความประจำเดือนหรือบทความคุณภาพประจำเดือนออกไป และขีดเส้นใต้ตามที่แนะนำ --Taweethaも (คุย) 10:40, 13 มกราคม 2567 (+07)
- เพิ่มเติมนะครับ ที่เรากังวลกันว่าจะหมดคลังกันมาเป็นสิบปี แต่ถ้าค้นคำว่า "(เป็นบทความคุณภาพ)" ในหน้า วิกิพีเดีย:บทความคัดสรรประจำเดือน พบว่ามีเพียงสองครั้งในเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม 2566 เท่านั้นนะครับ --Taweethaも (คุย) 10:44, 13 มกราคม 2567 (+07)
- เห็นด้วยตามแนวทางที่คุณ @Taweetham: เสนอครับ ว่าหากเหลือ FA ในคลังน้อยกว่า 3 บทความ สามารถเสนอ GA ขึ้นหน้าหลักได้เลย แต่ในทางเทคนิคผมยังอยากให้คงชื่อ "บทความคัดสรรประจำเดือน" ไว้ มิใช่ "บทความประจำเดือน" โดย GA ที่ขึ้นหน้าหลัก จะมี remark ต่อท้ายไว้ คล้ายกับเดือนก.พ./มี.ค. 2565 คืออยากให้ทำเหมือนเป็นมาตรการชั่วคราว เอา GA ขึ้นได้เป็นกรณีพิเศษมากกว่า (ถึงแม้ในทางปฏิบัติ บทความที่ขึ้นหน้าหลักช่วงนี้อาจจะมี GA เกินครึ่งก็ตาม) เพราะ ideally ทุกคนน่าจะอยากให้อัตรา FA มันกลับมาเพิ่มเกิน 1 บทความ/เดือนอีกครั้ง --Portalian (คุย) 02:45, 13 มกราคม 2567 (+07)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
อภิปรายเตรียมพร้อมก่อนเปิดเสนอชื่อ พ.ศ. 2568
[แก้]- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
จดไว้ช่วยจำของ 2568 จะได้เสนอเป็นทางการอีกครั้งเมื่อขึ้นหน้าใหม่ (อาจมีการจัดทำแม่แบบอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับ DYK / อาจเสนอเปลี่ยนแปลงกติกาให้ทันสมัยในลักษณะเดียวกับ DYK)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาปนา 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ผู้เขียนหลักคือ Pongsak ksm (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) เข้ามาเขียนครั้งสุดท้ายเมื่อ 22:28, 8 August 2024
- ประเทศเบลเยียม เอกราชได้รับการรับรอง 19 เมษายน พ.ศ. 2382 ผู้เขียนหลักคือ Kinkku Ananas (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) เข้ามาเขียนครั้งสุดท้ายเมื่อ 18:45, 1 April 2020
- ทิก กว๋าง ดึ๊ก มรณภาพ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1963 ผู้เขียนหลักคือ Chainwit. (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) เป็นบทความคัดสรรตั้งแต่กันยายน 2567
- เจ้าชายอัลเฟรดแห่งบริเตนใหญ่ 22 กันยายน ค.ศ. 1780 – 20 สิงหาคม ค.ศ. 1782 ผู้เขียนหลักคือ Supakit prem (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) อาจได้รับพิจารณาเป็นบทความคัดสรรปลายปี 2567 หรือต้นปี 2568 (ถ้ามีการเสนอใหม่)
ประเด็นเพิ่มเติมหลังจาก ทิก กว๋าง ดึ๊ก และ เจ้าชายอัลเฟรดแห่งบริเตนใหญ่ ผ่านเป็นบทความคัดสรรแล้วจะเป็นเรื่องเกณฑ์ความยาวของบทความ ระยะเวลาการพิจารณา การมีส่วนร่วมของชุมชน (ทั้งการพิจารณาบทความให้เป็นบทความคัดสรรและการเสนอขึ้นหน้าหลัก การมีส่วนร่วมแก้ไขในบทความ รวมถึงสถิติการเข้าชม)
คาดว่าจะดำเนินการได้หลังปิดโครงการ DYK 30 พฤศจิกายน 2567 แล้วถอดบทเรียนที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่การจัดการส่วนนี้
--Taweethaも (คุย) 09:11, 19 กรกฎาคม 2567 (+07)
- เห็นด้วย จะได้เป็นรูปแบบเดียวกันครับ -- Chainwit. [ พูดคุย ] 14:24, 11 กันยายน 2567 (+07)
- เห็นด้วยครับ จะได้เป็นรูปแบบเดียวกันครับ FunkyFriday Wiki (คุย) 20:48, 29 กันยายน 2567 (+07)
ข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างรอความชัดเจนนะครับ ผู้ใช้:Taweetham/ทดลองเขียน --Taweethaも (คุย) 07:50, 3 ตุลาคม 2567 (+07)
- โปรดดูข้อเสนอที่ พูดคุย:หน้าหลัก --Taweethaも (คุย) 07:40, 15 ธันวาคม 2567 (+07)
- สิ้นสุดการอภิปรายแล้ว จะกลับมาทำแม่แบบสำหรับการเสนอให้ใหม่ในวันที่ 28 ธันวาคม 2567 นี้นะครับ --Taweethaも (คุย) 08:58, 25 ธันวาคม 2567 (+07)
- โปรดดูข้อเสนอที่ พูดคุย:หน้าหลัก --Taweethaも (คุย) 07:40, 15 ธันวาคม 2567 (+07)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
บทความแนะนำ พ.ศ. 2568
[แก้]ด้วยแรงบันดาลใจและรหัสต้นฉบับที่พัฒนาใช้งานในโครงการรู้ใหม่ว่าในหกเดือนหลังของ พ.ศ. 2567 โครงการบทความคัดสรรประจำเดือนได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันตามลำดับแล้ว (ทั้งนี้เป็นผลจาก พูดคุย:หน้าหลัก#ข้อเสนอการจัดการหน้าหลักต้อนรับ_พ.ศ._2568_(ค.ศ._2025) ซึ่งพูดคุยนอกรอบกับทุกภาคส่วนและนำเข้าหน้าประกาศเป็นเวลา 14 วันแล้ว) --Taweethaも (คุย) 08:09, 3 มกราคม 2568 (+07)
กติกาช่วงเปลี่ยนผ่าน
[แก้]กติกาช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าใจว่าจะอนุโลมตามเดิมให้มากที่สุด แต่เพื่อให้ชุมชนได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจะคงของเดิมไว้แล้วขีดออก เป็นเวลาหกเดือนแรกถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ไปก่อน --Taweethaも (คุย) 08:09, 3 มกราคม 2568 (+07)
โครงการสนับสนุน
[แก้]เพื่อทำให้บทความคุณภาพและบทความคัดสรรมีความคึกคักมากขึ้นน่าจะได้จัดโครงการสนับสนุนเช่นเดียวกับโครงการรู้ไหมว่า มีประเด็นให้พึงพิจารณาดังนี้
- บทความคุณภาพและบทความคัดสรร มีความยากกว่าบทความรู้ใหม่ว่า (บทความใหม่หรือการปรับปรุงเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญ) จะมีคนเข้าร่วมน้อยกว่าเดิมหรือไม่ จะทำอย่างไรให้คงจำนวนผู้เข้าร่วมได้มากเท่าเดิม
- เชิญชวนผู้เข้าร่วมจากโครงการรู้ไหมว่าพัฒนาตัวเองเข้าสู่โครงการใหม่
- เพิ่มรางวัลให้ดึงดูดใจมากขึ้น
- เพิ่มการประชาสัมพันธ์โดยใช้พื้นที่หน้าหลักเป็นเวลา 15-30 วัน ในช่วงที่ไม่มีบทความคุณภาพหรือบทความคัดสรรได้รับการเสนอชื่อเป็นบทความแนะนำ
- การดำเนินการให้สอดคล้องกับส่วนนอกเหนือจากเว็บหรือเครือข่ายนอกวิกิพีเดีย (การลงพื้นที่ของ WMTH ชมรมนักเรียน นิสิต นักศึกษา และองค์กรพันธมิตร)
- กติกา
- การให้คะแนนการเขียนร่วมกัน การตรวจพิจารณา และการป้องกันการทุจริตหรือเอารัดเอาเปรียบกันในทางอื่นใด จะต้องมีการวางแผนไว้อย่างไรบ้าง
- อาสาสมัครที่สนใจเป็นผู้จัดมีใครบ้าง
- ผู้สนับสนุนของรางวัลและการดำเนินการอื่นส่วนที่นอกเหนือจากเว็บ
- อีกสามช่องที่เหลือในหน้าหลัก (รู้ไหมว่า เรื่องจากข่าว วันนี้ในอดีต) จะทำอย่างไร จะทำทีละส่วนไปโครงการละประมาณ 6 เดือนหรือว่าจะสะสมเสริมกันไปเรื่อย ๆ ในที่สุดจะเป็นโครงการสนับสนุนหน้าหลักโดยปริยาย
--Taweethaも (คุย) 08:09, 3 มกราคม 2568 (+07)
- ความเห็น
- จำนวนผู้เข้าร่วมสามารถเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันได้โดย
- ลดความยุ่งยากในส่วนการเข้าร่วมโครงการลง แต่ไม่ลดเกณฑ์ใด ๆ เช่น ไม่ต้องบันทึกรายชื่อบทความ แต่ให้คงลงชื่อไว้
- ประเด็นของรางวัล เห็นว่าคงเกณฑ์เดิมไว้ คือ ดีเด่น ดีมาก ชมเชย ผ่านเกณฑ์ แล้วแบ่งของรางวัลตามเกณฑ์กันไป
- แต่อาจจะมีรางวัลพิเศษสำหรับกลุ่มเฉพาะหรือไม่ เช่น นักเขียนหน้าใหม่ กลุ่มเยาวชน กลุ่ม veteran หรือโครงการวิกิเฉพาะทาง ฯลฯ
- หรือมีรางวัลที่ไม่ได้ให้ตัวเงินโดยตรง แต่ให้สิทธิพิเศษอื่น ๆ เช่น ทุนสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรมที่วิกิมีเดียประเทศไทยเป็นผู้คัดเลือกผู้รับทุนโดยไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์
- การประชาสัมพันธ์บนวิกิพีเดีย ไม่แน่ใจว่าพื้นที่ Central Sitenotice นั้นพอจะเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ หน้าหลักก็จำเป็นอย่างมากที่สุดที่จะต้องใช้ประชาสัมพันธ์
- การประชาสัมพันธ์นอกเว็บวิกิพีเดีย ต้องมีแผนการชัดเจนมากขึ้น ในโครงการรู้ไหมว่าปี 67 ผมเพียงแค่เพิ่มการประชาสัมพันธ์บนเพจ Contest War ซึ่งประชาสัมพันธ์ฟรีในครั้งแรกที่ขอลงข่าว ปรากฏว่ามียอด Reaction + Share เยอะกว่าโพสต์ปกติ แต่ไม่แน่ใจว่ามีใครมาจากทางนี้หรือไม่ คิดว่าปีนี้คงต้องเจาะเฉพาะทางมากขึ้นเพิ่มให้ได้นักเขียนคุณภาพมากกว่าจำนวนผู้เขียน เช่น กลุ่มเฟซบุ๊กเฉพาะทางแบบ subreddit หัวข้อประวัติศาสตร์ ถ้าเน้นการรับรู้คิดว่าลงเพจเฟซบุ๊ก ติ๊กตอกรายการข่าวชื่อดังก็คงได้ แต่ส่วนตัวไม่เห็นด้วยเพราะเกรงว่ายอดไม่พึงประสงค์จะเพิ่มขึ้น และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ทางกายภาพผ่าน WMTH และพันธมิตรผมมเห็นด้วยแต่ไม่มีความเห็นเพิ่มเติม
- กติกา
- ของรู้ไหมว่า 67 ใช้ระบบผู้เขียนหลักผู้เขียนร่วมได้เท่ากันหมด แต่ปีนี้คงต้องลดหลั่นกันไป เช่น ผู้เขียนหลักได้ร้อยละ 100 ผู้เขียนร่วมที่มีส่วนร่วมเกินร้อยละ 75 ได้ร้อยละ 100 น้อยกกว่านั้นได้ร้อยละ 50 เป็นต้น เครื่องมือกลางเดิมคิดว่าเพียงพอที่จะดำเนินโครงการได้
- ช่องอื่นสามารถดำเนินพร้อมกันได้ แต่คงต้องมาวางกติกากันใหม่ เพราะเรื่องจากข่าวและวันนี้ในอดีตค่อนข้างจำเพาะ โดยการเลือกเรื่องมาใส่ต้องมีเกณฑ์ที่เหมาะสมด้วย (ปัจจุบันมีเพียงใครใคร่ใส่ก็ใส่+common sense ต้องอภิปรายเกณฑ์ตรงนี้ให้ยุติก่อน) แต่รู้ไหมว่ามีกติกาเดิมที่ดีเพียงพออยู่แล้ว พร้อมดำเนินการได้ทันที
- จำนวนผู้เข้าร่วมสามารถเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันได้โดย
- --Wutkh (คุย) 10:32, 4 มกราคม 2568 (+07)
- @Wutkh: ขอบคุณมากครับ เห็นด้วยตามข้างต้นครับ สรุปเบื้องต้นคงจะทำเพียงแต่บทความแนะนำไปก่อนนะครับ โฟกัสทีละจุด รู้ไหว่าก็ปล่อยให้เดินไปตามปกติ ยังไม่ต้องเร่งเครื่องอีกในตอนนี้ ส่วนการประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารทั้งภายในและภายนอก ก่อนอื่นรอการดำเนินการใน WP:AN เรื่องแค่เอาประกาศขึ้นให้ผู้ใช้ล็อกอินมองเห็นด้านบนยังไม่มีความคืบหน้าเลยครับ แต่ก็จะรอดูผลกันต่อไป / ระยะเวลาโครงการเสนอว่าช่วงปิดเทอมใหญ่ เริ่มประมาณมีนาคมเป็นต้นไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายน จะเป็นอย่างไรครับ / สำหรับรางวัล ปรึกษาคุณ @Athikhun.suw: ด้วยครับ --Taweethaも (คุย) 16:05, 5 มกราคม 2568 (+07)
- ขอบคุณมาก ๆ ครับ ห้วงเวลาตามนี้กำลังดีเลยครับ
ช่วงมีนามีหยุดอีสเตอร์น่าจะได้เฝ้าดูช่วงต้นโครงการได้เต็มที่ตอนนี้ขอร่างกติกาและปรึกษาเรื่องรางวัลกับคุณ Athikhun.suw กันก่อนนะครับ --Wutkh (คุย) 23:07, 5 มกราคม 2568 (+07)- กำลังตาม @Athikhun.suw: อยู่ครับ --Taweethaも (คุย) 10:27, 10 มกราคม 2568 (+07)
- ขอบคุณมาก ๆ ครับ ห้วงเวลาตามนี้กำลังดีเลยครับ
- @Wutkh: ขอบคุณมากครับ เห็นด้วยตามข้างต้นครับ สรุปเบื้องต้นคงจะทำเพียงแต่บทความแนะนำไปก่อนนะครับ โฟกัสทีละจุด รู้ไหว่าก็ปล่อยให้เดินไปตามปกติ ยังไม่ต้องเร่งเครื่องอีกในตอนนี้ ส่วนการประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารทั้งภายในและภายนอก ก่อนอื่นรอการดำเนินการใน WP:AN เรื่องแค่เอาประกาศขึ้นให้ผู้ใช้ล็อกอินมองเห็นด้านบนยังไม่มีความคืบหน้าเลยครับ แต่ก็จะรอดูผลกันต่อไป / ระยะเวลาโครงการเสนอว่าช่วงปิดเทอมใหญ่ เริ่มประมาณมีนาคมเป็นต้นไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายน จะเป็นอย่างไรครับ / สำหรับรางวัล ปรึกษาคุณ @Athikhun.suw: ด้วยครับ --Taweethaも (คุย) 16:05, 5 มกราคม 2568 (+07)