ชาวมีดซ์
ราชวงศ์เมเดีย Māda | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
c. 678 BC–c. 549 BC | |||||||||||||||||
ณ ช่วงเวลาการขยายอำนาจสูงสุดของชาวมีดซ์ | |||||||||||||||||
เมืองหลวง | เอกบาทานา | ||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | เมเดีย | ||||||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาอิหร่านโบราณ (เกี่ยวข้องกับศาสนามิถรา, ช่วงแรกของศาสนาโซโรอัสเตอร์) | ||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||
• 700s–675 BC | Deioces | ||||||||||||||||
• 675–653 BC | Phraortes | ||||||||||||||||
• 653–585 BC | Cyaxares | ||||||||||||||||
• 585–549 BC | Astyages | ||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคเหล็ก | ||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | c. 678 BC | ||||||||||||||||
• โค่นโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช | c. 549 BC | ||||||||||||||||
|
ชาวมีดซ์ (อังกฤษ: Medes) เป็นชาวอิหร่านโบราณซึ่งพูดภาษาเมเดียและอาศัยอยู่บริเวณที่เรียกว่า เมเดีย ระหว่างทางตะวันตกและทางเหนือของอิหร่าน ราว 11 ศตวรรษก่อนคริสตศักราช ได้อาศัยอยู่ภูมิภาคแถบภูเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่านและตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกของภูมิภาคเมโสโปเตเมียในบริเวณใกล้กับเอกบาทานา (ปัจจุบันคือแฮเมดอน) การรวมตัวเป็นเผ่าในอิหร่านนั้นเชื่อว่าเกิดขึ้นในช่วง 8 ศตวรรษก่อนคริสตศักราช ในช่วง 7 ศตวรรษก่อนคริสตศักราช ชาวอิหร่านตะวันตกและพื้นที่อื่น ๆ ทั้งหมดถูกปกครองโดยชาวมีดซ์ แต่สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ขยายไปถึงที่ใดนั้นยังไม่แน่ชัด[1]
ถึงแม้ชาวมีดซ์จะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่ามีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในตะวันออกใกล้โบราณ แต่ชาวมีดซ์ก็ไม่ทิ้งหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงแหล่งข้อมูลจากต่างชาติอย่าง อัสซีเรีย, บาบิโลเนีย, อาร์มีเนีย และกรีก รวมถึงโบราณสถานอิหร่านซึ่งเชื่อว่าได้รับการปกครองโดยชาวมีดซ์
หลักฐานที่เกี่ยวของกับชาวมีดซ์ได้รับการบันทึกโดยเฮอรอโดทัสซึ่งได้ให้ภาพเกี่ยวกับคนที่มีอำนาจมาก เป็นผู้ที่ก่อตั้งจักรวรรดิในช่วงเริ่มต้นเมื่อ 7 ศตวรรษก่อนคริสตศักราช จนมาสิ้นสุดในช่วง 550 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งได้ทำให้จักรวรรดิอัสซีเรียล่มสลาย และเป็นคู่แข่งอันมีอำนาจกับอาณาจักรลิเดียและบาบิโลเนีย