ซิโซมัยซิน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | bactoCeaze |
AHFS/Drugs.com | International Drug Names |
ช่องทางการรับยา | topical |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.046.365 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C19H37N5O7 |
มวลต่อโมล | 447.53 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
ซิโซมัยซิน หรือ แบคโตซีซ หรือ เอนซามัยซิน (อังกฤษ: Sisomicin หรือ bactoCeaze หรือ Ensamycin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่ได้จากการหมักของเชื้อแบคทีเรียสกุล Micromonospora[1] จัดเป็นยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ชนิดใหม่ที่ออกฤทธิ์กว้าง และมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันกับเจนตามัยซิน
เป็นที่คาดการณ์กันว่าซิโซมัยซินนั้นเป็นยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก[2] เช่นเดียวกับยาอื่นในกลุ่มนี้ ซิโซมัยซินนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการ โดยความเข้มข้นของซิโซมัยซินที่ฆ่าเชื้อแบทีเรียได้ร้อยละ 90 (MBC) นั้นมีค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันกับความเข้มข้นต้ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ในห้องปฏิบัติการ (MIC).[3] ยิ่งไปกว่านั้น เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa ที่แยกได้จากห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ยังตอบสนองต่อซิโซมัยซินได้ดี การดื้อต่อยาซิโซมัยซินของแบคทีเรียนั้นอาจเป็นผลมาจากทั้งโดยการสร้างเอนไซม์หรือด้วยกลไกที่ไม่ใช่เอนไซม์ ทั้งนี้ ซิโซมัยซินสามารถถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์เดียวกันที่ทำให้เจนตามัยซินหมดฤทธิ์ อย่างไรก็ตาม เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ที่ดื้อต่อเจนตามัยซินนั้นยังคงตอบสนองต่อซิโซมัยซินได้ดี ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากกลไกการดื้อต่อเจนตามัยซินของแบคทีเรียเหล่านั้นเป็นกลไกที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการสร้างเอนไซม์ออกมาเปลี่ยนแปลงตัวยา[4]
การศึกษาบางการศึกษาพบว่าซิโซมัยซินนั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ล้มเหลวจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอื่นหรือผลการเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อสาเหตุนั้นดื้อต่อยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ชนิดอื่น[5][6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ M. J. Weinstein; J. A. Marquez; R. T. Testa; G. H. Wagman; E. M. Oden; J. A. Waitz (Nov 1970). "Antibiotic 6640, a new Micromonospora-produced aminoglycoside antibiotic". J. Antibiot. 23 (11): 551–554. doi:10.7164/antibiotics.23.551. PMID 5487129.
- ↑ WE Sanders Jr; CC Sanders. (Mar–Apr 1980). "Sisomicin: a review of eight years' experience". Rev Infect Dis. 2 (2): 182–195. doi:10.1093/clinids/2.2.182. PMID 6994206.
- ↑ ME Levison; D Kaye. (Jun 1974). "In vitro comparison of four aminoglycoside antibiotics: sisomicin, gentamicin, tobramycin, and BB-K8". Antimicrob. Agents Chemother. 5 (6): 667–669. doi:10.1128/aac.5.6.667. PMC 429032. PMID 15825423.
- ↑ I Phillips; BA King; KP Shannon. (Mar 1978). "The mechanisms of resistance to aminoglycosides in the genus Pseudomonas". J Antimicrob Chemother. 4 (2): 121–129. doi:10.1093/jac/4.2.121. PMID 649532.
- ↑ ME Levison; D Kaye. (Mar 1979). "A randomized comparative trial of three aminoglycosides--comparison of continuous infusions of gentamicin, amikacin and sisomicin combined with carbenicillin in the treatment of infections in neutropenic patients with malignancies". Medicine (Baltimore). 58 (2): 159–170. doi:10.1097/00005792-197903000-00004. PMID 431401.
- ↑ DG Maki; WA Craig; WA Agger. (Jun 1979). "A comparative clinical trial of sisomicin and gentamicin in major gram-negative infections". Infection 7 (Suppl. 3). 5 (6): 298–300. doi:10.1007/bf01646260.
- Articles with changed CASNo identifier
- Articles with changed ChemSpider identifier
- Articles with changed EBI identifier
- Chem-molar-mass both hardcoded and calculated
- Infobox-drug molecular-weight unexpected-character
- Articles with changed InChI identifier
- อะมิโนไกลโคไซด์
- ยาปฏิชีวนะ
- ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน
- บทความเกี่ยวกับ เภสัชกรรมและยา ที่ยังไม่สมบูรณ์