ข้ามไปเนื้อหา

ซีบีเอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซีบีเอส บรอดแคสติง อิงค์.
สัญลักษณ์ของซีบีเอส บรอดแคสติง อิงค์.
ประเทศสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
พื้นที่แพร่ภาพสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา, แคนาดา แคนาดา,
Flag of เม็กซิโก เม็กซิโก, ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์,
สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่, มาเลเซีย มาเลเซีย,
ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย, บราซิล บราซิล,
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย อินเดีย,
อิสราเอล อิสราเอล, สวีเดน สวีเดน,
เดนมาร์ก เดนมาร์ก, โปแลนด์ โปแลนด์, อาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน
รัสเซีย รัสเซีย, สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน, เกาหลีใต้ เกาหลีใต้,
เนเธอร์แลนด์ ดัตช์, อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย,
และ หมู่เกาะแคริบเบียน
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์/สถานีวิทยุ
คำขวัญOnly CBS
แบบรายการ
ระบบภาพ480ไอ (เอสดี)
720พี/1080ไอ (เอชดี)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของเวสติงเฮาส์อิเล็กทริกคอร์เพอเรชัน
ซีบีเอสคอร์เพอเรชัน (เดิม)
(พ.ศ. 2538-2543)
ไวอาคอม (เดิม)/ซีบีเอสคอร์เพอเรชัน
(พ.ศ. 2543-2562)
ไวอาคอมซีบีเอส
(พ.ศ. 2562-2565)
พาราเมาต์โกลบอล
(พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน)
บุคลากรหลักวิลเลียม เอส.แพเลย์ ผู้ก่อตั้ง
เลสลีย์ มูนเวส ประธานซีบีเอส
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ18 กันยายน พ.ศ. 2470 (วิทยุ)
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 (โทรทัศน์)
ชื่อเดิมยูไนเต็ด อินดิเพนเดนต์
บรอดแคสเตอร์ส (พ.ศ. 2470)
ระบบแพร่สัญญาณบันทึกเสียงโคลัมเบีย (พ.ศ. 2470–2471)
ระบบแพร่สัญญาณโคลัมเบีย
(ใช้เป็นทางการ ระหว่าง
พ.ศ. 2471–2538)
ลิงก์
เว็บไซต์www.cbs.com

ซีบีเอส (อังกฤษ: CBS) หรือ บริษัทแพร่สัญญาณซีบีเอส (อังกฤษ: CBS Broadcasting Inc.) เป็นเครือข่ายสถานีโทรทัศน์อเมริกัน หนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่ แห่งวงการโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา โดยอีกสองสถานีคือ เอ็นบีซี และเอบีซี และเช่นเดียวกับทั้งเอ็นบีซี ทางซีบีเอสเริ่มจากการเป็นสถานีวิทยุมาก่อน ชื่อมาจากชื่อเก่าของสถานีที่ใช้ชื่อว่า ระบบแพร่สัญญาณโคลัมเบีย (อังกฤษ: Columbia Broadcasting System , โคลัมเบีย บรอดแคสติง ซิสเตม) ในบางครั้งจะเรียกว่าสถานี "เครือข่ายดวงตา" (Eye Network, อายเน็ตเวิร์ก) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า "ดวงตา" (The Eye, ดิอาย) เนื่องจากรูปร่างโลโก้ของบริษัทที่มีลักษณะเป็นดวงตา หรือในบางครั้งก็เรียกว่า "เครือข่ายทิฟฟานี" (Tiffany Network, ทิฟฟานีเน็ตเวิร์ก) เช่นกัน ที่หมายถึงความมีคุณภาพสูงของรายการของซีบีเอสในช่วงระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งของผู้ก่อตั้ง วิลเลียม เอส. แพเลย์ (1927–1990) (พ.ศ. 2470-2533)[1] และยังอาจหมายถึงการเริ่มออกอากาศทางโทรทัศน์สีครั้งแรกของช่องอีกด้วย ที่เกิดขึ้นในตึก ทิฟฟานี แอนด์ โค. ในนครนิวยอร์ก ในปี 1950 (พ.ศ. 2493)[2] ดังนั้นจึงได้ฉายานามว่าเป็นระบบการออกอากาศโทรทัศน์สี (Color broadcasting system) ในช่วงที่เกิดนวัตกรรมนี้มา

เดิมสถานีเกิดจากยูไนเต็ดอินดีเพนเดนต์บรอดแคสเตอร์สอิงก์ ที่มีสถานีวิทยุ 16 สถานี ที่ซื้อมาจากวิลเลียม เอส. แพเลย์ ในปี 1928 (พ.ศ. 2471) และเปลี่ยนชื่อมาเป็น ระบบแพร่สัญญาณโคลัมเบีย[3] และภายใต้การแนะนำของแพเลย์ ซีบีเอสก็เป็นเครือข่ายสถานีวิทยุที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา และเป็นบิ๊กทรีของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา ในปี 1974 ซีบีเอสลดชื่อเต็มให้เหลือชื่อสั้น ๆ ว่า ซีบีเอส อิงก์ (CBS, Inc.) และต่อมาเดอะ เวสติงเฮาส์ อีเลกทริก คอร์โปเรชัน ได้ครอบครองสถานีในปี 1995 (พ.ศ. 2538) และเปลี่ยนชื่อบริษัทที่ซื้อมาเป็น ซีบีเอส คอร์โปเรชัน (CBS Corporation) ในปี 2000 (พ.ศ. 2543) ซีบีเอสอยู่ใต้การควบคุมของ ไวอาคอม ในปลายปี 2005 (พ.ศ. 2548) ไวอาคอมแยกตัวเองและก่อตั้งซีบีเอส คอร์โปเรชันใหม่กับสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส เป็นสถานีหลัก ซึ่งทั้งซีบีเอส คอร์โปรเรชัน และไวอาคอมใหม่ อยู่ภายใต้การควบคุมของ ซัมเนอร์ เรดสโตน ผ่าน เนชันนอลอมิวส์เมนต์ส บริษัทแม่ของทั้งสองบริษัท ก่อนที่จะควบกิจการเป็น ไวอาคอมซีบีเอส ในปลายปี 2019 (พ.ศ. 2562) และในปี 2022 (พ.ศ. 2565) ไวอาคอมซีบีเอส เปลี่ยนชื่อเป็น พาราเมาต์โกลบอล

รายการที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ซีเอสไอ: ไครม์ซีนอินเวสติเกชัน เอ็นซีไอเอส ฯลฯ

สัญลักษณ์ประจำสถานี

[แก้]

ในช่วงแรกของสถานี สัญลักษณ์ของสถานีจะเป็นตัวอักศรซีบีเอส ตัวพิมพ์ใหญ่ พร้อมไฟสปอตไลท์ส่องลงมา ใช้จนกระทั่ง วันทื่ 20 ตุลาคม 1951 ทางสถานีจึงเปลี่ยนสัญลักษณ์เป็นรูปดวงตา ทื่ออกแบบโดย บิล โกลเด้น ซึ่งแรงบัลดาลใจได้มาจากการทื่เค้าได้ไปท่องเทื่ยวทื่เพนซิวาเนีย ดักซ์ คันทรื่ เขาได้พบกับสัญลักษณ์ดวงตาต่างๆ ทื่ชาวนาวาดไว้บนยุ้งฉางเพื่อไล่วิญญาณอันชั่วร้าย บิลจึงนำแรงบัลดาลใจนั้น มาทำโลโก้ของซีบีเอส

สัญลักษณ์ดวงตาของซีบีเอส กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ทางสถานีใช้มานานมากที่สุด โดยที่ไม่เคยเปลี่ยนโลโก้เลย ต่างจากหลายๆช่อง ที่เปลี่ยนบ่อยๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Westinghouse Bids for Role In the Remake : CBS Deal Advances TV's Global Reach". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-18. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
  2. According to a New York Times piece on November 9, 1950, "the first local public demonstrations of color television will be initiated Tuesday by the Columbia Broadcasting System. Ten color receivers are being installed on the ground floor of the former Tiffany building at 401 Fifth Avenue, near Thirty-seventh Street, where several hundred persons can be accommodated for each presentation"
  3. "www.nytimes.com/1990/10/28/obituaries/william-s-paley-who-built-cbs-into-a-communications-empire-dies-at-89.html".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]