ตรีพล เจาะจิตต์
ตรีพล เจาะจิตต์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2535–2567) |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตรีพล เจาะจิตต์ (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 5 สมัย และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติ
[แก้]ตรีพล เจาะจิตต์ เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของ สิบตำรวจเอก ลาบ กับ นางเล็ก เจาะจิตต์[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี กสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ระดับปริญญาโท 2 สาขา คือ กสิกรรมและสัตวบาลมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สาขาวิทยาศาสตร์ทางด้านโคนม และการผลิตภัณฑ์นม จาก University of Tennessee ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ตรีพลได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์พิเศษของภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ควบคู่ไปกับการศึกษาในระดับปริญญาโทใบแรก จนเมื่อจบการศึกษา ตรีพลได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาเขตเกษตรศาสตร์ นครศรีธรรมราช รวมไปถึงรับราชการเป็นอาจารย์ โดยตำแหน่งสุดท้ายก่อนมาทำงานด้านการเมือง ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
งานการเมือง
[แก้]ตรีพล ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนที่จะได้รับเลือกติดต่อกันรวม 5 สมัย
พ.ศ. 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกตั้ง แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ตรีพล เจาะจิตต์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกวุฒิสภา
[แก้]ตรีพล เจาะจิตต์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช. ณรงค์ บุญสวยขวัญ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2548
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักวิชาการจากจังหวัดนครศรีธรรมราช
- อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- นักการเมืองจากจังหวัดนครศรีธรรมราช
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
- บุคคลจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.