ตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์ (อังกฤษ: stock exchange, securities exchange, หรือ bourse) เป็นสถานที่ที่นายหน้าซื้อขายหุ้น (โบรเกอร์) และนักลงทุนสามารถซื้อและขายหลักทรัพย์ เช่น หุ้นของทุน พันธบัตร และเครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ตลาดหลักทรัพย์ยังให้บริการอำนวยความสะดวกสำหรับการออกและไถ่ถอนหลักทรัพย์ เช่น ตราสาร และกิจกรรมเงินทุน รวมถึงการจ่ายรายได้และเงินปันผล หลักทรัพย์ที่ลงทุนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ประกอบไปด้วย หุ้นที่ถูกออกโดยบริษัทที่จดทะเบียน หน่วยลงทุน ตราสารอนุพันธ์ ผลิตภัณฑ์การลงทุนรวม และพันธบัตร ตลาดหลักทรัพย์มักจะทำหน้าที่เป็นตลาด"การประมูลขายทอดตลาดอย่างต่อเนื่อง" กับผู้ซื้อและผู้ขายที่ทำธุรกรรมผ่าน Open outcry ที่ตำแหน่งศูนย์กลาง เช่น ชั้นของการแลกเปลี่ยน หรือการใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ (electronic trading platform) [1]
เพื่อให้สามารถลงทุนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์บางแห่ง หลักทรัพย์ต้องมีการแสดงรายการต่าง ๆ โดยปกตินั้น จะตั้งอยู่ที่ตั้งศูนย์กลางที่เล็กที่สุดสำหรับการเก็บบันทึกข้อมูล แต่การลงทุนนั้นจะเชื่อมโยงกับสถานที่จริงได้น้อยลง เนื่องจากตลาดสมัยใหม่ได้ใช้ระบบเครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้พวกเขามีความได้เปรียบในด้านความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นและลดต้นทุนในการทำธุรกรรม การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นจำกัดเฉพาะโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงไม่กี่ปี ช่องทางการซื้อขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ มากกมาย เช่น ระบบเครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ทางเลือก และ"ดาร์คพลู" ซึ่งมีกิจกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีความแตกต่างไปจากตลาดหลักทรัพย์แบบดั้งเดิม[2]
การเสนอขายหุ้นและพันธบัตรแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกให้กับนักลงทุนที่จะทำกันในตลาดหลักและตามมาด้วยการลงทุนซื้อขายหุ้นที่จะทำกันในตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์มักเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของตลาดหุ้น อุปสงค์และอุปทานในตลาดหุ้นได้รับแรงขับเคลื่อนจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ในตลาดเสรีทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลต่อราคาของหุ้น (ดูที่การประเมินมูลค่าหุ้น)
โดยทั่วไป จะไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ สำหรับหุ้นที่ถูกออกผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ และจะต้องไม่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงในภายหลัง เช่น การซื้อขายดังกล่าวอาจจะต้องผ่านทางตลาดเจรจาต่อรอง (off exchange หรือ over-the-counter) นี่เป็นวิธีแบบปกติที่มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์และพันธบัตร เพื่อที่จะเพิ่มมากขึ้น ตลาดหลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ตลาดหลักทรัพย์ยังทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจในการให้สภาพคล่องแก่ผู้ที่ถือหุ้นในการจัดหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในจัดการหุ้น
ดัชนีราคาหุ้น
[แก้]ประชาชนโดยทั่วไป จะรู้จักตลาดหลักทรัพย์ของประเทศต่าง ๆ ผ่านทางชื่อดัชนีราคาหุ้น (Price Index) ของตลาดหลักทรัพย์นั้น ๆ มากกว่าชื่อของตลาดหลักทรัพย์ ตัวอย่างดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นที่รู้จัก เช่น
ประเทศ | ตลาดหลักทรัพย์ | ดัชนีราคาหุ้น |
---|---|---|
สหรัฐ | นิวยอร์ก (NYSE) | ดาวโจนส์ |
เอสแอนด์พี 500 | ||
แนสแด็ก (NASDAQ) | แนสแด็ก | |
อังกฤษ | ลอนดอน | ฟุตซี่ |
สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | สเตรทไทมส์ |
ญี่ปุ่น | โตเกียว | นิกเคอิ |
จีน | เซี่ยงไฮ้ | เซี่ยงไฮ้คอมโพสิต |
ฮ่องกง | ฮ่องกง | ฮั่งเส็ง |
ไทย | ประเทศไทย | SET |
เอ็ม เอ ไอ | MAI |
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก หรือ New York Stock Exchange ถือไว้ว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่เก่าแก่ที่สุด[3] และดัชนีดาวโจนส์ ถือว่าเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่เก่าแก่ที่สุด ตลาดหลักทรัพย์ลาว[4] เป็นตลาดหลักทรัพย์ล่าสุด (เปิด10-10-10) เปิดทำการจริง 11-01-11 ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกจะนิยมใช้การคิดดัชนีราคาหลักทรัพย์ตามแบบ เอสแอนด์พี S&P ซึ่งคิดค้นโดยบริษัท สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ จำกัด เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากจะสามารถสะท้อนถึงปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดได้ดีกว่าทั้งในด้านปริมาณของธุรกรรม และด้านราคาของหลักทรัพย์
ดูเพิ่ม
[แก้]- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
- การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค
- ไทยเอ็นวีดีอาร์ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด
- สยามดีอาร์ บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด
- รายชื่อตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lemke and Lins, Soft Dollars and Other Trading Activities, §2:3 (Thomson West, 2013-2014 ed.).
- ↑ Lemke and Lins, Soft Dollars and Other Trading Activities, §§2:25 - 2:30 (Thomson West, 2013-2014 ed.).
- ↑ หลักการลงทุน ศาสตรจารย์เพชรี ขุมทรัพย์
- ↑ "ตลาดหลักทรัพย์ลาว". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.