ข้ามไปเนื้อหา

ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
(0 ปี 26 วัน)
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าครวญ สุทธานินทร์
ถัดไปประมาณ อดิเรกสาร
ดำรงตำแหน่ง
28 เมษายน – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2519
(0 ปี 118 วัน)
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้ากฤษณ์ สีวะรา
ถัดไปหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
21 – 28 เมษายน พ.ศ. 2519
(0 ปี 7 วัน)
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกฤษณ์ สีวะรา
ก่อนหน้ากมล สีตกะลิน
ถัดไปนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(3 ปี 136 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
26 มกราคม พ.ศ. 2518 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2519
(1 ปี 34 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
4 เมษายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(0 ปี 185 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มกราคม พ.ศ. 2456
ประเทศสยาม
เสียชีวิต26 สิงหาคม พ.ศ. 2527 (71 ปี)
ประเทศไทย
สัญชาติไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสลมุน คงสมบูรณ์
บุพการี
  • พระขยันสรกรณ์ (ประยูร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) (บิดา)
  • นางขยันสรกรณ์ (ชุบ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) (มารดา)
การศึกษาโรงเรียนวัดราชบพิธ
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยทหารบก
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากรมสรรพาวุธทหารบก
ผ่านศึกกบฏบวรเดช
กรณีพิพาทอินโดจีน
สงครามโลกครั้งที่สอง

พลเอก ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา (12 มกราคม พ.ศ. 2456 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2527) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และอดีตสมาชิกวุฒิสภา

ประวัติ

[แก้]

พลเอก ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2456[1] เป็นบุตรของพันโท พระขยันสรกรณ์ (ประยูร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) กับนางชุบ ขยันสรกรณ์ (สกุลเดิม:จารุจินดา) มีพี่น้อง 8 คน สมรสกับนางลมุน คงสมบูรณ์[2]

จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดราชบพิธ แล้วจึงเข้าศึกษาต่อจนจบระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และจบหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 3 พลเอก ทวิช รับราชการในกองทัพบก เคยดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ เช่น ผู้บังคับบัญชากองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน[3] ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 13[4] เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก เป็นต้น รับราชการมียศสูงสุดที่ พลเอก

งานการเมือง

[แก้]

ในพ.ศ. 2518 พลเอก ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[5] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[6] ต่อมาในพ.ศ. 2519 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[7] ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2519 สืบแทน พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ซึ่งถึงแก่อนิจกรรรมอย่างกระทันหัน[8] นอกนากนี้พลเอก ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[9]และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 4[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พลเอก ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาพและประวัติสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2519. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2519
  2. "ชมรมสายสกุลจารุจินดา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  3. "ผู้บังคับบัญชา กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ในอดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  4. "อดีตผู้บังคับหน่วย - มณฑลทหารบกที่ ๑๓". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-23. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  6. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา แทน พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม) เล่ม 93 ตอนที่ 68ก วันที่ 29 เมษายน 2519
  9. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  10. "วุฒิสภาชุดที่ ๔ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  11. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  12. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๐)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-07.
  13. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2516" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (51ง ฉบับพิเศษ): 12. 10 พฤษภาคม 2516. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๘ กันยายน ๒๕๐๕