ทะเลสาบมาลาวี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ทะเลสาบมาลาวี | |
---|---|
ภาพถ่ายของทะเลสาบจากดาวเทียม | |
พิกัด | 12°00′S 34°30′E / 12.000°S 34.500°E |
ชนิดของทะเลสาบ | Ancient lake, Rift lake |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | Ruhuhu River[1] |
แหล่งน้ำไหลออก | Shire River[1] |
ประเทศในลุ่มน้ำ | มาลาวี โมซัมบิกและแทนซาเนีย |
ช่วงยาวที่สุด | 560 กิโลเมตร (350 ไมล์)[1] ถึง 580[2] |
ช่วงกว้างที่สุด | 75 กิโลเมตร (47 ไมล์)[1] |
พื้นที่พื้นน้ำ | 29,600 ตารางกิโลเมตร (11,400 ตารางไมล์)[1] |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 292 เมตร (958 ฟุต)[3] |
ความลึกสูงสุด | 706 เมตร (2,316 ฟุต)[3] |
ปริมาณน้ำ | 8,400 ลูกบาศก์กิโลเมตร (2,000 ลูกบาศก์ไมล์)[3] |
ความสูงของพื้นที่ | 468 เมตร (1,535 ฟุต) above sea level[4] |
เกาะ | Likoma and Chizumulu islets, Mumbo Island |
อ้างอิง | [1][3] |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | Lake Niassa and its Coastal Zone |
ขึ้นเมื่อ | 26 เมษายน ค.ศ. 2011 |
เลขอ้างอิง | 1964[5] |
ทะเลสาบมาลาวี หรือ ทะเลสาบนยาซา ในแทนซาเนีย หรือ ทะเลสาบนิอัสซา ในโมซัมบิก (อังกฤษ: Lake Malawi, Lake Nyasa, Lake Nyassa, Lake Niassa) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา เช่นเดียวกับทะเลสาบวิกตอเรียหรือทะเลสาบแทนกันยีกา นับว่าเป็นทะเลสาบที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดา 3 ทะเลสาบนี้[6]
ทะเลสาบมาลาวี เกิดจากการที่พื้นผิวโลกในบริเวณหุบเขาเกรตริฟต์แวลลีย์แยกตัวออกจากกันเมื่อ 8 ล้านปีก่อน และกำเนิดเป็นทะเลสาบเมื่อ 4 ล้านปีก่อน จากน้ำที่เอ่อล้นในทะเลสาบแทนกันยีกา ไหลมารวมกันที่นี่[7] นับเป็นทะเลสาบที่มีความใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 31,000 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 600 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 50 กิโลเมตร มีพื้นที่ติดกับประเทศมาลาวี, แทนซาเนีย และโมซัมบิก
ทะเลสาบมาลาวีมีจุดที่ลึกที่สุดวัดได้ประมาณ 700 เมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 427 เมตร น้ำในทะเลสาบแห่งนี้ได้ชื่อว่ามีความใสมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สามารถมองลงไปได้ลึกถึง 3 เมตร มีอุณหภูมิของน้ำระหว่างพื้นผิวกับส่วนที่ลึกลงไปแตกต่างกันเพียง 2-3 องศาเซลเซียส
มีสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่จะเป็นหาดทรายหรือหาดเลนที่มีวัชพืชปกคลุมสลับกับชายฝั่งที่มีโขดหินอยู่มากมาย ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม จะเป็นช่วงที่อากาศแปรปรวน คือ มักจะมีพายุก่อตัวขึ้นในทะเลสาบ ทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 3-4 เมตร และจะมีลมพัดมาจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เรียกว่า "เอ็มเวรา" (Mwera) ก่อนจะเข้าสู่ฤดูหนาว
ทะเลสาบมาลาวี ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของปลาหมอสีแหล่งใหญ่อีกแห่งหนึ่ง เช่นเดียวกับทะเลสาบแทนกันยีกาและทะเลสาบวิกตอเรีย มีปลาหมอสีหลายสกุลหลายชนิด อาทิ สกุล Oreochromis เช่น ปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจน้ำจืดที่มีความสำคัญมาก หรือ สกุล Cyrtocara และProtomelas ซึ่งเป็นปลาสวยงามที่เป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งทะเลสาบมาลาวีได้การสำรวจแล้วพบปลาหมอสีมากกว่า 1,000 ชนิด[8][9] เชื่อกันว่าปลาในทะเลสาบมาลาวีนั้นมาจากปลาหมอสีที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบแทนกันยีกาที่ไหลมาพร้อมกับน้ำในทะเลสาบ แรกเริ่มมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น (โดยเชื่อว่ามีแค่ชนิดเดียวเท่านั้นที่มาถึง คือ Haplochromis ที่ฟักลูกในปาก) แต่ภายในระยะเวลาเพียง 1 ล้านปี ก็ได้กลายพันธุ์มาเป็นปลาหมอสีที่หลากหลายชนิดอย่างในปัจจุบัน[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Malawi Cichlids". AC Tropical Fish. Aquaticcommunity.com. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อceonline
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Lake Malawi". World Lakes Database. International Lake Environment Committee Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02.
- ↑ Scheffel, Richard L.; Wernet, Susan J., บ.ก. (1980). Natural Wonders of the World. United States of America: Reader's Digest Association, Inc. p. 222. ISBN 0-89577-087-3.
- ↑ "Lake Niassa and its Coastal Zone". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
- ↑ "Planet Earth Episode 3 Fresh Water". บีบีซี. 24 December 2014. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
- ↑ 7.0 7.1 Mutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet". สารคดีทางอนิมอลพนาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2556
- ↑ "Protected Areas Programme". United Nations Environment Programme, World Conservation Monitoring Centre, UNESCO. October 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11. สืบค้นเมื่อ 2008-06-26.
- ↑ ปลาโบราณ, ไฟร์เมาท์ (Firemouth) สีสันสดใสแห่งทะเลสาบมาลาวี คอลัมน์ แนะนำปลา นิตยสาร Fish Zone หน้า 89-90 ฉบับที่ 17 ปีที่ 2: 15 ตุลาคม-15 พฤศจิกายน 2544