นกน้อย อุไรพร
นกน้อย อุไรพร | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2500 อุไร สีหะวงษ์ บ้านจอม ตำบลยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ |
สัญชาติ | ไทย |
คู่สมรส | มัยกิจ ฉิมหลวง (2519 - 2566) |
สังกัด | วงเพชรพิณทอง
เอื้ออาร์ย์ .สหกวงเฮง.กรุงไทยออดิโอ .เสียงสยามโฟร์เอส ท็อปไลน์มิวสิค |
รางวัล | |
พระสุรัสวดี | ศิลปินลูกทุ่งหมอลำผู้สร้างชื่อเสียงให้กับภาคอิสาน พ.ศ. 2557 |
เมขลา | ศิลปินลูกทุ่งหมอลำผู้สร้างชื่อเสียงให้กับภาคอิสาน พ.ศ. 2557 |
นกน้อย อุไรพร | |
---|---|
ชื่อเกิด | อุไร สีหะวงษ์ |
เกิด | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2500 บ้านจอม ตำบลยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ |
ที่เกิด | อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
แนวเพลง | |
อาชีพ |
|
ช่วงปี | พ.ศ. 2513 — ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | วงเพชรพิณทอง
เอื้ออาร์ย์ .สหกวงเฮง.กรุงไทยออดิโอ .เสียงสยามโฟร์เอส ท็อปไลน์มิวสิค .เสียงอิสาน |
คู่สมรส | มัยกิจ ฉิมหลวง (2519 – 2566) |
สมาชิก | เสียงอิสาน |
อดีตสมาชิก | เพชรพิณทอง |
นกน้อย อุไรพร เป็นศิลปินนักร้องชาวไทยแนวลูกทุ่งหมอลำ ที่มีผลงานการบันทึกเสียงมากมาย อาทิเช่น นกจ๋า เกี่ยวข้าวดอรอแฟน ภาพถ่ายวิญญาณรัก สัจจาหญิง แอบคอย ดำขี่หลี่ คอยรักจากเสียงพิณ สาวอุบลรอรัก เหมือนดังนกขมิ้น เป็นต้น และเป็นผู้ก่อตั้งคณะเสียงอิสาน คณะหมอลำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและโด่งดังทั้งในและนอกราชอาณาจักร และยังคงดำเดินวงมาจนถึงปัจจุบันตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2518 จนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]นกน้อย อุไรพร หรือชื่อจริงว่า อุไร ฉิมหลวง (สกุลก่อนสมรส : สีหะวงษ์) เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2500 อยู่ที่บ้านจอม ตำบลยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรสาวคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายสม สีหะวงษ์ และ นางผัน สีหะวงษ์ เป็นศิลปินลูกทุ่งหมอลำ นกน้อยเริ่มต้นการเข้าสู่วงการบันเทิงโดยเข้าประกวดร้องเพลงที่สถานีวิทยุเธอกวาดรางวัลชนะเลิศมาทุกเวที ด้วยคะแนนที่เป็นเอกฉันท์ปราศจากข้อกังขา โดยเธอมักจะใช้เพลงของ ผ่องศรี วรนุช และ เรียม ดาราน้อยไปประกวด และได้มาสมัครเข้าร่วมวงดนตรีเพชรพิณทองของนพดล ดวงพร ในตำแหน่งนักร้อง แต่เนื่องด้วยเธอยังเด็กมากจึงได้รับหน้าที่เลี้ยงลูกให้หัวหน้าวงและเป็นหางเครื่องในเวลาต่อมา ก่อนที่จะได้บันทึกเสียงเพลงแรกในชีวิตคือเพลง "คอยรักจากเสียงพิณ" และยังมีอีกหลายบทเพลงเช่น ดำขี่หลี่ สัจจาหญิง ภาพถ่ายวิญญาณรัก เหมือนดั่งนกขมิ้น คอยอ้ายบ่มา ซึ่งสร้างชื่อให้เธอเป็นที่รู้จักทั่วภาคอิสาน
ชื่อ "นกน้อย อุไรพร" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในการแสดงนั้น ได้จากการนำเอาเพลงนกจ๋า มาเป็นเหมือนตัวแทนก็คือ นกน้อย และเอาชื่อจริงคือ อุไร มารวมกับคำสุดท้ายของนามสกุลของนพดล คือคำว่า พร มารวมกัน
ประวัติการดำเนินวงเสียงอิสาน
[แก้]ได้เข้ามาวงการดนตรีพุทธศักราช 2518 หลังจากตะเวนประกวดขับร้องทั่วอีสาน โดยไปสมัครเป็นนักร้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีวงดนตรีเพชรพิณทอง เจ้าของวงพ่อนพดล ดวงพรแล้วตั้งชื่อใหม่ให้เป็นนกน้อย อุไรพร
ต่อมาย้ายมาสังกัดบ้านพักทัมใจโดย อาวทิดหลอด หรือ มัยกิจ ฉิมหลวง นักจัดรายการทางสถานีวิทยุชื่อดังในจังหวัดอุดรธานี และได้แต่งงานกันปีพุทธศักราช 2519
หลังจากนั้นก็ตั้งวงดนตรีนกน้อย อุไรพร แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมและขาดทุนเนื่องจากไม่มีการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอน ซึ่งเป็นการนำนิทานพื้นบ้านหรือเรื่องเล่ามาเล่นกันเป็นเรื่องราวแล้วแทรกการร้องเพลงไว้ด้วย เป็นจุดด้อยที่ทำให้ ไม่มีใครจ้าง
หลังจากพักวงไปได้ไม่นานจึงปรับการแสดงและการจัดวงให้มีขนาดใหญ่ขึ้นภายใต้ชื่อวงเสียงอิสานหลังจากเริ่มวงครั้งใหม่ 10 ปีต่อมา เป็นระยะเวลาที่บ่มเพาะประสบการณ์ของวงทำให้เป็นที่นิยมกันมาในแถบถาคอีสานจนมีงานจ้างทั่วประเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยจุดเด่นใหญ่ที่ให้ผู้ชมนั้นคือ ตลก พร้อมนักแสดงนับ 500 ชีวิต และการแสดงที่หลากหลาย
เรื่องราวที่เข้ากันได้อย่างลงตัวหลังจากยกเครื่องปรับปรุงทีมงานการแสดงได้ไม่นานนัก วงดนตรีลูกทุ่งหมอลำคณะเสียงอิสานก็ได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางเป็นไฟลามทุ่ง นำทีมโดยนกน้อย อุไรพร, ลูกแพร-ไหมไทย อุไรพร ปอยฝ้าย มาลัยพร,คำมอส พรขุนเดช,จั๊กจั่น ดาวไพร,ดาวทอง,ดาวน้อย,ดาวตลก,ดาวรุ่ง เมื่อร้องจนเก่งแล้วจึงลองหัดแต่งกลอนลำร้องเอง ต่อมาก็แต่งให้นักแสดงในวงนำไปร้อง ลำเรื่องต่อกลอนของคณะเสียงอิสาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฮอยปานดำ, ฮอยปูนแดง, วงเวียนชีวิต,และอีกหลายๆเรื่อง ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของนกน้อย อุไรพร ทั้งนี้และทั้งชื่อเสียงของคณะเสียงอิสานเริ่มขยายวงกว้างเป็นไฟลามทุ่ง ด้วยทีมงานที่ยิ่งใหญ่ขบวนคอนวอยที่ยาวเหยียด เวทีแสงสีเสียงและการแสดงอันตื่นตาตื่นใจ และรูปแบบเวทีใหม่โดยใช้รถ 6 ล้อ 2 คันกางปีกออก จัดสเต็ปใช้ระบบไฮดรอดริกส์ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งและรูปแบบการแสดงใหม่เสมอ จนได้ชื่อว่าเป็น "หมอลำก้าวล้ำตลอดกาล" ปัจจุบัน นกน้อย อุไรพร ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีหมอลำในยุคปัจจุบันอีกคนหนึ่ง
เสียงอิสานรีแบรนด์(New generation)
[แก้]ปัจจุบันทีมงานเสียงอิสานได้ปรับปรุงรูปแบบใหม่(รีแบรนด์) โดยการกลับมาใช้เวทีนั่งร้านเหมือนเดิมและจัดฉากใหม่ให้สวยงาม และทันสมัย
ผลงานเพลง
[แก้]สตูดิโออัลบั้ม
[แก้]เป็นการรวบรวมอัลบั้ม ผลงานเพลง ของนกน้อย อุไรพร ก่อนช่วง พ.ศ. 2537 ซึ่งไม่ทราบ พ.ศ.ที่แน่ชัด จึงได้รวบรวมผลงานไว้ดังนี้
อัลบั้ม คอยรักจากเสียงพิณ[แก้]
|
|
อัลบั้ม พี่จ๋า[แก้]
|
|
อัลบั้ม สงสารผู้แพ้[แก้]
|
|
อัลบั้ม เห็นใจพี่จน[แก้]
|
|
อัลบั้ม ลำเดินขอนแก่นประยุกต์[แก้]
|
|
อัลบั้ม พี่ทิดไม่น่าทำ[แก้]
|
|
อัลบั้ม นกน้อยลำเพลิน[แก้]
|
|
อัลบั้ม รอรักนักรบ[แก้] |
|
สังกัด โฟร์เอส
ปี | สตูดิโออัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
2537 |
อัลบั้ม สาวโรงน้ำตาล[แก้]
|
|
สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
[แก้]2539 |
อัลบั้ม นกจ๋า[แก้]
|
|
2540 |
อัลบั้ม อย่าด่วนรัก[แก้]
|
|
2541 |
อัลบั้ม สาวหางเครื่อง[แก้]
|
|
2542 |
อัลบั้ม ดาวไม่ลืมดิน[แก้]
|
|
2543 |
อัลบั้ม บ้าไก่ตี[แก้]
|
|
2544 |
อัลบั้ม หัวใจไก่ชน[แก้]
|
|
2545 |
อัลบั้ม มนต์เพลงเสียงอิสาน[แก้]
|
|
2546 |
อัลบั้ม ยังฮักยังคอย[แก้]
|
|
2547 |
อัลบั้ม ทางฮักทางใจ[แก้]
|
|
2548 |
อัลบั้ม แม่ลูกอลเวง[แก้]
|
|
2549 |
อัลบั้ม น้ำตาเมีย[แก้]
|
|
2550 |
อัลบั้ม ดีเจใจเหงา[แก้]
|
|
2551 |
อัลบั้ม รถไฟสายน้ำตา[แก้]
|
|
2552 |
อัลบั้ม หญิงเดี่ยวมือหนึ่ง[แก้]
|
|
2553 |
อัลบั้ม ฟ้าบ่มีฝน[แก้]
|
|
2555 |
อัลบั้ม สาวเฒ่ากับบ่าวเหล้าขาว[แก้]
|
|
ซิงเกิ้ล
[แก้]- แห่งทุกข์แห่งม่วน
- ดอกไม้บานอีสานชื่น
- เสน่ห์อีสาน
- บ่ออมชอม
- ปาฏิหารย์
- ขอบฟ้าไกล
- ออนซอนอีสาน
- เป็นคนข้างใจของอ้ายได้บ่
- หัวใจดื้อ
- 40 ปี เสียงอิสาน
- 4 ทศวรรษตำนานเสียงอิสาน
- เอาผัวไปโผด
- ลวกไลน์ป่นเฟสบุ๊ค
- 60 ปีวิถีนกน้อย
- น้ำเน่าสิ้นดี
- ป่าศิลปิน
- เฉลิมพระเกียรติ ร.๑๐
- อาศิรวาทรัชกาลที่ ๑๐
- แหล่อาศริวาท ร.๑๐
- ขออินดี้นำแหน่สู
- ยังยิ้มได้(cover) feat.แป้ง ณัฐธิดา (ต้นฉบับพลพล พลกองเส็ง) (2564)
- ฟ้าหลังฝนคนบันเทิง (2564)
- เสียงกล่อมโลก (2565)
- โอมมหาละลวย (2565)
- คาถาเงินล้าน (2565)
- โอ้สกุณา…นกจ๋า (2565)
- แม่หม้ายป้ายแดง(2566)
ผลงานรวมศิลปินในนามเสียงอิสาน
[แก้]ผลงานรวมศิลปินในนามวงเสียงอิสาน
2540 |
อัลบั้ม 4 สาวดาวรุ่ง[แก้]
|
|
2544 |
อัลบั้ม อยากโชว์[แก้]
|
|
2545 |
อัลบั้ม เพลงตลกเสียงอิสาน ชุด โคตรงก[แก้]
|
|
2547 |
อัลบั้ม รวมดาวสาวเสียงอิสาน[แก้]
|
|
2548 |
อัลบั้ม รวมดาวสาวเสียงอิสาน 2[แก้]
|
|
2549 |
อัลบั้ม ดาวทองเสียงอิสาน 1[แก้]
|
|
2549 |
อัลบั้ม รวมดาวสาวเสียงอิสาน 3[แก้]
|
|
2549 |
อัลบั้ม รวมดาวตลกเสียงอิสาน ชุด หอบสาแลน[แก้]
|
|
2550 |
อัลบั้ม ดาวทองเสียงอิสาน 2[แก้]
|
|
2550 |
อัลบั้ม รวมดาวสาวเสียงอิสาน 4[แก้]
|
|
2550 |
อัลบั้ม รวมดาวตลกเสียงอิสาน ชุด วัยชราขาร็อค[แก้]
|
|
2551 |
อัลบั้ม สืบสานตำนานนก[แก้]
|
|
2551 |
อัลบั้ม ดาวทองเสียงอิสาน ชุด ดาวทองลองร็อค[แก้]
|
|
2551 |
อัลบั้ม ดาวน้อยเสียงอิสาน ชุด ดาวน้อยสอยร็อค[แก้]
|
|
2551 |
อัลบั้ม ดาวตลกเสียงอิสาน ชุด ดาวไถ[แก้]
|
|
2552 |
อัลบั้ม ดาวทองเสียงอิสาน ชุด ดาวทองลำซิ่ง[แก้]
|
|
2552 |
อัลบั้ม ดาวน้อยเสียงอิสาน ชุด รวมดาว 1[แก้]
|
|
2552 |
อัลบั้ม ดาวตลกเสียงอิสาน ชุด มันเลยถอน[แก้]
|
|
2553 |
อัลบั้ม ดาวทองเสียงอิสาน ชุด นางแมวยั่วสวาท[แก้]
|
|
2553 |
อัลบั้ม ดาวน้อยเสียงอิสาน ชุด สาวน้อยสก๊อยพันธุ์เลาะ[แก้]
|
|
2553 |
อัลบั้ม ดาวตลกเสียงอิสาน ชุด ลูกเขยเทวดา[แก้]
|
|
2554 |
อัลบั้ม ดาวน้อยเสียงอิสาน ชุด สาวหมอลำเร็กเก้[แก้]
|
|
2554 |
อัลบั้ม ดาวรุ่งเสียงอิสาน 1[แก้]
|
|
2554 |
อัลบั้ม ดาวรุ่งเสียงอิสาน ชุด อย่าขอสกา[แก้]
|
|
2554 |
อัลบั้ม ดาวตลกเสียงอิสาน ชุด กะเทยก่อม็อบ[แก้]
|
|
2555 |
อัลบั้ม ดาวน้อยเสียงอิสาน ชุด สาวมัธยมกระโปรงเหี่ยน[แก้]
|
|
2555 |
อัลบั้ม ดาวตลกเสียงอิสาน ชุด ร็อกกากกาด[แก้]
|
|
2556 |
อัลบั้ม แห่งทุกข์แห่งม่วน[แก้]
|
|
2556 |
อัลบั้ม ดาวรุ่งเสียงอิสาน ชุด ห่วงสาวกระโปรงเหี่ยน[แก้]
|
|
2558 |
อัลบั้ม ซุปตาร์เสียงอิสาน[แก้]
|
ผลงานการแสดงสดลำเรื่องต่อกลอนคณะเสียงอิสาน
[แก้]ปี | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2524 | พระเตมีย์ใบ้ | พระนางจันทรเทวี | - |
หูดสามเปา | - | - | |
25-- | ฮอยปานดำ | ทองใบ | - |
2544 | วงเวียนชีวิต | แม่ผู้ใหญ่ | - |
ฮอยปูนแดง | แม่บุญธรรมทองศรี | - | |
เงากรรม | ดาหวัน | - | |
2545 | วงเวียนชีวิต (ภาค 2) | แม่ผู้ใหญ่ | - |
2550 | น้ำตาเมีย | แม่ผู้ใหญ่ | - |
2562 | บุญนำกรรมแต่ง | แม่ของแสงทวี | - |
ผลงานการแสดง
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]ปี พ.ศ. | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2546 | มนต์เพลงเสียงอิสาน | นกน้อย อุไรพร | - |
2547 | อลเวง มนต์เพลงเสียงอิสาน | - | |
2548 | วงเวียนชีวิต | แม่ผู้ใหญ่ | - |
2560 | ยองบ่าง เดอะมูฟวี่ | แม่ครูนก | - |
2561 | หลวงพี่มาร์ | - |
ละครโทรทัศน์
[แก้]ปี พ.ศ. | เรื่อง | บทบาท | ออกอากาศ |
---|---|---|---|
2566 | ไมโครโฟนม่วนป่วนรัก | ป้าสม | ONE 31 |
2567 | เทียนซ่อนแสง | ย่าศรีนวล |
รางวัล
[แก้]- ชนะเลิศการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งของสถานีวิทยุ กวส.1 จังหวัดสุรินทร์
- ได้รับพระราชทานปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีพุทธศักราช 2550
- ได้รับรางวัล คนดีศรีอุดรธานี ในงานทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี ประจำปีพุทธศักราช 2551
- ได้รับรางวัลในการใช้ภาษาไทยท้องถิ่นยอดเยี่ยมจาก พลเอกสรยุทธ์ จุลานนท์ ประจำปีพุทธศักราช 2553
- เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรสาขานาฏศิลป์และการละคร จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ มหาวิทยาลัยราฏภัชสกลนคร
- ศิลปินลูกทุ่งหมอลำผู้สร้างชื่อเสียงให้กับภาคอิสาน ในงานประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง และ รางวัลเมขลา ประจำปีพุทธศักราช 2557
- ได้รับประทานรางวัล บุคคลดีเด่นในรางวัล "แม่พิมพ์ของชาติดีเด่น" เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2557 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2557
- ได้รับรางวัล "เหมราช" บุคคลต้นแบบแห่งปี สาขาผู้นำด้านวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2559 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2559
- เข้ารับพระราชทานรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 14 ธันวาคม 2559
- ได้รับรางวัล "คนดีของสังคม" ประจำปีพุทธศักราช 2560 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 24 มิถุนายน 2560
- ได้รับรางวัล "ศิลปินมรดกอีสาน" สาขาศิลปะการแสดง หมอลำเรื่องต่อกลอน ประจำปีพุทธศักราช 2561 ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 2 เมษายน 2561
- ได้รับรางวัลมณีนพรัตน์ราชธานีศรีสยาม (ครั้งที่ 1) สาขารางวัลศิลปินส่งเสริมวัฒนธรรมไทยดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2564