ข้ามไปเนื้อหา

น้ำหมักชีวภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ น้ำจุลินทรีย์ เป็นของเหลว สีดำออกน้ำตาล กลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เช่น พืช สัตว์ทุกประเภท สามารถช่วยปรับความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตได้

การเก็บรักษาต้องเก็บน้ำหมักชีวภาพไว้ที่อุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป โดยทั่วไปสามารถทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองได้จากพืชผักผลไม้และผลผลิตจากธรรมชาติ โดยนำไปหมักตามกรรมวิธีที่ถูกต้อง คือต้องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ก่อน แล้วจึงนำหัวเชื้อที่ได้ไปขยายเป็นน้ำหมักชีวภาพต่อไป

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์

[แก้]

นำพืช ผัก หรือผลไม้สับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะปิดฝาให้มิดชิด จากนั้นผสมกับกากน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลอาจเป็นน้ำตาลที่ใช้กันปกติ หรือน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ในอัตราส่วน 3 กิโลกรัม ต่อน้ำตาล 1 กิโลกรัม แล้วคลุกเคล้าให้เข้าและปิดฝาทิ้งไว้ ทุก ๆ 5-7 วัน ควรเปิดฝาภาชนะ เพื่อคลุกให้เศษผักสัมผัสกับอากาศ ซึ่งจะหมักทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วจะสังเกตเห็นว่ามีน้ำผสมอยู่ ซึ่งน้ำที่ได้ก็คือน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ เมื่อได้น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์แล้วควรนำน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ เก็บใส่ไว้ในขวดปิดฝาให้สนิท พร้อมที่จะนำไปใช้ในการทำมันหมักหรืออาหารสัตว์ประเภทอื่น

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]