บริการสุขภาพในประเทศอินเดีย
รัฐธรรมนูญอินเดียระบุมุมมองต่อ บริการสุขภาพในประเทศอินเดีย (อังกฤษ: Healthcare in India) ว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลประจำรัฐและดินแดนสหภาพ มากกว่าเป็นหน้าที่รับผิดชอบของรัฐบาลส่วนกลาง ในรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้รัฐทุกรัฐมีความรับผิดชอบที่ต้อง "ยกระดับการได้รับสารอาหารและมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในรัฐ และเพิ่มพูนการสาธารณสุขเป็นหนึ่งในหน้าที่หลัก" ("raising the level of nutrition and the standard of living of its people and the improvement of public health as among its primary duties")[2][3]
นโยบายสุขภาพแห่งชาติ (The National Health Policy) ได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภาอินเดียในปี 1983 และมีการปรับปรุงแก้ไขในปี 2002 และอีกครั้งในปี 2017 ข้อแก้ไขสี่ประการสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปในฉบับปรับปรุงปี 2017 ระบุถึงความจำเป็นที่ต้องมุ่งเน้นไปที่ภาระที่เพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อ, ภาวะฉุกเฉินของอุตสาหกรรมบริการสุขภาพที่กำลังเติบโต, กรณีของค่าใช้จ่ายที่ไร้เสถียรภาพจากค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่กำลังเพิ่มขึ้น และการเติบโตทางเศรษฐกิจของชาติที่จะช่วยพยุงความสามารถทางการเงินของการสาธารณสุขได้[4]
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้วกลับเป็นส่วนบริการสุขภาพของเอกชนที่เป็นผู้รับผิดชอบการบริการสุขภาพส่วนใหญ่ของประเทศอินเดีย และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ส่วนใหญ่มาจากผู้ป่วยหรือครอบครัวของผู้ป่วยโดยตรงมากกว่าที่จะมาจากการทำประกันสุขภาพ[5] Government health policy has thus far largely encouraged private sector expansion in conjunction with well-designed but limited public health programmes.[6] เมื่อปี 2018 รัฐบาลอินเดียได้เปิดตัวโครงการประกันสุขภาพโดยรัฐ (government-funded health insurance) ภายใต้ชื่อ อายุษมัน ภารต (Ayushman Bharat)
ธนาคารโลกระบุว่าค่าใช้จ่ายส่วนการแพทย์ของประเทศอินเดียคิดเป็น 3.89% ของจีดีพีประเทศ (ปี 2015)[7] จากใน 3.89% เป็นค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ของรัฐบาลคิดเป็น 1% ของจีดีพีเท่านั้น[8] ในขณะที่ค่าใช้จ่ายโดยผู้ป่วยเอง (out-of-pocket) คิดเป็นอัตราส่วน 65.05% ของค่าใช้จ่ายทางการแพทย์รวมในปี 2015[9]
ระบบบริการสุขภาพ
[แก้]บริการสุขภาพของรัฐ
[แก้]บริการสุขภาพของรัฐนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายและให้การสนับสนุนโดยรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน (below the poverty line)[10] ส่วนงานสาธารณสุขอินเดียคิดเป็น 18% ของการบริการผู้ป่วยนอก (Ambulatory care) ทั้งหมด และเป็น 44% ของการบริการผู้ป่วยใน[11] ประชาชนชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในอินเดียมีแนวโน้มที่จะใช้บริการสุขภาพสาธารณะของรัฐต่ำกว่าประชาชนที่มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่า[12] นอกจากนี้ยังพบว่าสตรีและผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะใช้บริการสุขภาพสาธารณะมากกว่า[12] ดั้งเดิมแล้วระบบสาธารณสุขของอินเดียพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือและให้บริการทางการแพทย์แก่ปนะชาชนทุกคนโดยไม่สนใจวรรณะหรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ[13] อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาระหว่างระบบบริการสุขภาพสาธารณะกับของเอกชนมีความแตกต่างกันสูงมากในแต่ละรัฐของประเทศอินเดีย จากการสำรวจพบว่าครัวเรือนกว่า 57% ทั่วประเทศเห็นตรงกันว่าที่เลือกใช้ระบบบริการสุขภาพของเอกชนมากกว่าที่จะของสาธษรณะเพราะคุณภาพการบริการสุขภาพของสาธารณะอินเดียนั้นอยู่ในระดับที่แย่ (poor)[14] สาเหตุหนึ่งเนื่องด้วยการบริการสุขภาพสาธารณะจำนวนมากนั้นให้บริการในพื้นที่ชนบท และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ต่างก็ไม่เต็มใจหรือไม่อยากที่จะไปประกอบอาชีพในพื้นที่ห่างไกล บุคลากรทางการแพทยฺส่วนใหญ่ในระบบของการดูแลสุขภาพสาธารณะจึงเป็นแพทย์ใช้ทุน (intern) ที่ประสบการณ์ไม่สูงและขาดแรงจูงใจในการทำงานที่ถูกบังคับต้องมาใช้ทุนในส่วนบริการสุขภาพสาธารณะเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดในการศึกษาแพทยศาสตร์เท่านั้น จึงส่งผลให้ระบบการดูแลสุขภาพสาธารณะของอินเดียในระดับชาติอยู่ในคุณภาพที่ต่ำ เหตุผลใหญ่อื่น ๆ รวมถึงระยะทางระหว่างโรงพยาบาลรัฐกับพื้นที่อยู่อาศัย, เวลารอพบแพทย์ที่นาน และเวลาในการให้บริการที่ไม่สะดวกหรืออำนวยต่อผู้ป่วย[14]
หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2014ซึ่งได้นเรนทระ โมทีมานั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดีย รัฐบาลได้เปิดตัวแผนการสร้างระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health care) ในระดับชาติขึ้นภายใต้ชื่อ ส่วนงานประกันสุขภาพระดับชาติ (National Health Assurance Mission) ซึ่งจะทำให้ประชาชนทุกคนได้รับยารักษาโรคและการรักษาทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงประกันสุขภาพสำหรับกรณีร้ายแรงต่าง ๆ [15] ในปี 2015 การดำเนินงานของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องชะงักลงด้วยความกังวลเกี่ยวกับงบการคลัง[16] ในปี 2018 รัฐฐาลได้ประกาศโครงการ อายุษมัน ภารต (Ayushman Bharat) ที่จะครอบคลุมประชากรยากจนกว่าหนึ่งร้อยล้านครอบครัว (คิดเป็นประมาณ 500,000,000 คน – 40% ของงประชากรทั้งประเทศ) ซึ่งจะใช้ค่าใช้จ่ายกว่า 1.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี การจัดหาเงินทุนบางส่วนอาจมาจากภาคเอกชน[17]
บริการสุขภาพของเอกชน
[แก้]นับตั้งแต่ปี 2005 บริการสุขภาพส่วนใหญ่ของประเทศอินเดียอยู่ในการดูแลของบริการสุขภาพเอกชน หรือจากโครงการร่วมกับภาคเอกชน สถานพยาบาลทั้งประเทศคิดเป็นโรงพยาบาลเอกชน 58%, เตียง 29% ในทุกสถานพยาบาล และแพทย์ 81% ของทั้งประเทศทำงานให้กับสถานพยาบาลเอกชน[11] ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพครอบครัวแห่งชาติ-3 (National Family Health Survey-3) พบว่าบริการสุขภาพส่วนเอกชนคิดเป็นบริการสุขภาพส่วนใหญ่ของประชาชน 70% ในเขตเมือง และ 63% ในชนบท[14] งานวิจัยโดยสถาบัน IMS Institute for Healthcare Informatics เมื่อปี 2013 ทำการศึกษาในกว่า 14,000 ครัวเรือนใน 12 รัฐ พบว่าการใช้บริการสุขภาพของเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมาทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน[18] ส่วนคุณภาพของบริการสุขภาพเอกชนนั้น สัญชัย พสุและคณะ (Sanjay Basu et al.) พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ของเอกชนมีแนวโน้มที่จะใช้เวลากับผู้ป่วยต่อคนนานกว่าของภาครัฐ[19] อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่สูงนี้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้ป่วย ส่งผลให้หลายครัวเรือนประสบปัญหาหายนะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Catastrophic Health Expenditure) ซึ่งคือค่าใช้จ่ายส่วนบริการสุขภาพของครัวเรือนที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐาน[4] และค่าใช้จ่ายในส่วนเอกชนนั้นกำลังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา[20] ครัวเรือนยากจน 35% ของอินเดียประสบกับปัญหาค่าใช้จ่ายสูงนี้ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงภาวะอันตรายของอินเดียในขณะนี้[4] ด้วยค่าใช้จ่ายส่วนสุขภาพของรัฐบาลเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพีลดต่ำลงทุกปี และค่าใช้จ่ายสุขภาพส่วนเอกชนที่พุ่งสูงขึ้น ประชาชนที่ยากจนจึงถูกทิ้งไว้กับตัวเลือกทางการแพทย์ที่น้อยลงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน[4] ประกันสุขภาพของเอกชนในประเทศอินเดียพบมากผ่านแผนการประกันสุขภาพของรัฐบาล ข้อมูลจากธนาคารโลกเมื่อปี 2010 ระบุว่าประชากรอินเดีย 25% มีแผนประกันสุขภาพของตนเอง[21] ในขณะที่งานวิจัยของรัฐบาลอินเดียเมื่อปี 2014 พบว่ามีประชากรแค่เพียง 17% เท่านั้นที่ทำประกันสุขภาพ[22] บริการสุขภาพของเอกชนในอินเดียโดยทั่วไปมักให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพที่ดีกว่าแต่ด้วยราคาที่สูงจนไร้เหตุผล ด้วยว่าอินเดียไม่มีหน่วยงานราชการที่ควบคุมหรือองค์กรทางกฎหมายที่เป็นกลางในการกำกับดูแลการ ประพฤติผิดทางการแพทย์ (medical malpractices) ในรัฐราชสถาน บุคลากรทางการแพทย์ 40% ไม่มีวุฒิแพทยศาสตร์บัณฑิต (medical degree) และ 20% ไม่ได้จบชั้นมัธยมศึกษา[20] เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2012 รายการสัตยเมว ชยเต (Satyamev Jayate) ของนักแสดงชื่อดังอามีร์ ข่าน (Aamir Khan) ได้ออกอากาศตอน "หรือระบบบริการสุขภาพจะต้องการการรักษา?" ("Does Healthcare Need Healing?") ซึ่งพูดถึงประเด็นค่าใช้จ่ายที่สูงอย่างไร้เหตุผลและการประพฤติผิดทางการแพทย์ของโรงพยาบาลและคลินิกเอกชนในอินเดีย กลุ่มบริษัท นารายันเฮลธ์ (Narayana Health) ผู้ให้บริการสุขภาพเอกชนเจ้าใหญ่ในอินเดียจึงออกโครงการที่จะลดราคาการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจลงที่ 800 ดอลล่าร์สหรัฐเพื่อตอบโต้[23]
ดูเพิ่ม
[แก้]- สาธารณสุขในประเทศอินเดีย
- การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศอินเดีย
- สวัฉภารตอภิยาน (Swachh Bharat Abhiyan)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "All India Institute of Medical Sciences, New Delhi". Top Universities (ภาษาอังกฤษ). 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2019-11-18.
- ↑ "National Health Policy 2017" (PDF). Ministry of Health and Family Welfare. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-13. สืบค้นเมื่อ 2019-01-22.
- ↑ Jugal Kishore (2005). National health programs of India: national policies & legislations related to health. Century Publications. ISBN 978-81-88132-13-3. สืบค้นเมื่อ 2 September 2012.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Sekher, T.V. "Catastrophic Health Expenditure and Poor in India: Health Insurance is the Answer?" (PDF). iussp.org. สืบค้นเมื่อ September 18, 2017.
- ↑ Berman, Peter (2010). "The Impoverishing Effect of Healthcare Payments in India: New Methodology and Findings". Economic and Political Weekly. 45 (16): 65–71. JSTOR 25664359.
- ↑ Britnell, Mark (2015). In Search of the Perfect Health System. London: Palgrave. p. 60. ISBN 978-1-137-49661-4.
- ↑ "Health expenditure, total (% of GDP)". World Bank. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
- ↑ "Domestic general government health expenditure (% of GDP)". World Bank.
- ↑ "Out-of-pocket expenditure (% of current health expenditure)". World Bank.
- ↑ Rajawat, K. Yatish (January 12, 2015). "Modi's ambitious health policy may dwarf Obamacare". qz.com. Quartz – India. สืบค้นเมื่อ September 18, 2017.
- ↑ 11.0 11.1 Thayyil, Jayakrishnan; Jeeja, MathummalCherumanalil (2013). "Issues of creating a new cadre of doctors for rural India". International Journal of Medicine and Public Health (ภาษาอังกฤษ). 3 (1): 8. doi:10.4103/2230-8598.109305.
- ↑ 12.0 12.1 Dey, DK; Mishra, V (2014). "Determinants of Choice of Healthcare Services Utilization: Empirical Evidence from India". Indian Journal of Community Health. 26 (4): 357–364.
- ↑ Chokshi, M; Patil, B; Khanna, R; Neogi, S B; Sharma, J; Paul, V K; Zodpey, S (2016). "Health systems in India". Journal of Perinatology. 36 (Suppl 3): S9–S12. doi:10.1038/jp.2016.184. ISSN 0743-8346. PMC 5144115. PMID 27924110.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 International Institute for Population Sciences and Macro International (September 2007). "National Family Health Survey (NFHS-3), 2005 –06" (PDF). Ministry of Health and Family Welfare, Government of India. pp. 436–440. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-12-08. สืบค้นเมื่อ 5 October 2012.
- ↑ "India's universal healthcare rollout to cost $26 billion". Reuters. 2014-10-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
- ↑ Aditya Kalra (27 March 2015). "Exclusive: Modi govt puts brakes on India's universal health plan". Reuters India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
- ↑ "INDIA IS INTRODUCING FREE HEALTH CARE—FOR 500 MILLION PEOPLE". Newsweek. 16 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
- ↑ Ramya Kannan (30 July 2013). "More people opting for private healthcare". The Hindu. Chennai, India. สืบค้นเมื่อ 31 July 2013.
- ↑ Basu, Sanjay; Andrews, Jason; Kishore, Sandeep; Panjabi, Rajesh; Stuckler, David (2012-06-19). "Comparative Performance of Private and Public Healthcare Systems in Low- and Middle-Income Countries: A Systematic Review". PLOS Medicine. 9 (6): e1001244. doi:10.1371/journal.pmed.1001244. ISSN 1549-1676. PMC 3378609. PMID 22723748.
- ↑ 20.0 20.1 Balarajan, Y; Selvaraj, S; Subramanian, SV (2011-02-05). "Health care and equity in India". The Lancet. 377 (9764): 505–515. doi:10.1016/s0140-6736(10)61894-6. PMC 3093249. PMID 21227492.
- ↑ "Government-Sponsored Health Insurance in India: Are You Covered?". worldbank.org. The World Bank Group. October 11, 2012. สืบค้นเมื่อ September 18, 2017.
- ↑ Mehra, Puja (April 9, 2016). "Only 17% have health insurance cover". The Hindu. สืบค้นเมื่อ September 18, 2017.
- ↑ Britnell, Mark (2015). In Search of the Perfect Health System. London: Palgrave. p. 58. ISBN 978-1-137-49661-4.