ข้ามไปเนื้อหา

ผี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุภาพสตรีสีน้ำตาลแห่งไรน์แฮมฮอลล์ ถ่ายโดยกัปตัน ฮูเบิร์ต ซี.โปรแวนด์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารคันทรี่ไลฟ์ ค.ศ. 1936

ตามความเชื่อและบันเทิงคดีแต่โบราณ ผี (อังกฤษ: ghost) เป็นวิญญาณ (soul) หรือเจตะ (spirit) ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ตาย ซึ่งสามารถปรากฏให้เห็น ไม่ว่าจะในรูปที่มองเห็นได้หรือสำแดงออกมาในรูปอื่น รายละเอียดการปรากฏตัวของผีมีหลากหลายมากตั้งแต่การแสดงตนแบบมองไม่เห็น ปรากฏเป็นรูปร่างบอบบางที่โปร่งแสงหรือแทบมองไม่เห็น ไปจนถึงการเห็นภาพสมจริงดุจมีชีวิต

ความเชื่อในการแสดงตนของวิญญาณผู้ตายนั้นมีแพร่หลาย ย้อนไปตั้งแต่วิญญาณนิยมหรือการบูชาบรรพบุรุษในวัฒนธรรมก่อนรู้หนังสือ หลักในบางศาสนา เช่น พิธีกรรมงานศพ พิธีไล่ผี หลักเจตนิยมบางประการและเวทมนตร์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อปลอบวิญญาณของผู้ตายให้สงบโดยเฉพาะ ผีมักได้รับการอธิบายว่า เป็นสิ่งที่อยู่โดดเดี่ยวซึ่งสิงสู่ในสถานที่ วัตถุหรือบุคคลหนึ่ง ๆ ที่ผีผูกพันยามมีชีวิตอยู่

ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์

[แก้]

จอห์น เฟอร์เรียร์ แพทย์ชาวสกอต เขียน An essay towards a theory of apparitions (ความเรียงว่าด้วยทฤษฎีการปรากฏตัวของผี) ใน ค.ศ. 1813 ซึ่งเขาแย้งว่า การพบเห็นผีเป็นผลมาจากภาพลวงตา ภายหลัง แพทย์ชาวฝรั่งเศส Alexandre Jacques François Brière de Boismont ตีพิมพ์ On Hallucinations: Or, the Rational History of Apparitions, Dreams, Ecstasy, Magnetism, and Somnambulism (ว่าด้วยประสาทหลอน: หรือประวัติศาสตร์ผี ความฝัน ปิติสานติ์ อำนาจแม่เหล็กและอาการละเมอเดินถูกเหตุผล) ใน ค.ศ. 1845 ซึ่งเขาอ้างว่า การพบเห็นผีเป็นผลมาจากประสาทหลอน[1][2]

Joe Nickell แห่ง Committee for Skeptical Inquiry เขียนว่า ไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือว่ามีสถานที่ซึ่งมีวิญญาณของผู้ตายอาศัยอยู่[3] ความบกพร่องของสัญชานมนุษย์และคำอธิบายทางกายภาพตามปกติสามารถเป็นเหตุผลของการพบเห็นผีได้ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงความดันอากาศในบ้านทำให้ประตูกระแทกปิดเสียงดัง หรือแสงไฟจากรถยนต์ที่ผ่านไปมาสะท้อนผ่านกระจกในยามค่ำคืน พาเรียโดเลีย (Pareidolia) การโน้มเอียงโดยกำเนิดที่จะยอมรับรูปแบบในสัญญาณสุ่ม เป็นสิ่งที่ผู้กังขาเชื่อว่าทำให้คนเชื่อว่าตนเอง "เห็นผี"[4] สำหรับรายงานของผี "โผล่ออกมาจากมุมตา" อาจอธิบายได้ว่า เป็นความว่องไวของการมองภาพด้านข้างของมนุษย์ ตามข้อมูลของ Nickell การมองภาพด้านข้างสามารถทำให้หลงผิดได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลางดึกเมื่อสมองอ่อนล้าและมีแนวโน้มตีความภาพและเสียงอย่างผิด ๆ[5]

นักวิจัยบางคน เช่น Michael Persinger แห่งมหาวิทยาลัยลอเรนเทียน ประเทศแคนาดา สังเกตว่า ความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลก (ซึ่งถูกสร้างขึ้นได้จากความเครียดเทคโทนิกส์ในเปลือกโลกหรือกิจกรรมของดวงอาทิตย์ เป็นต้น) สามารถกระตุ้นสมองกลีบขมับ และสร้างประสบการณ์จำนวนมากซึ่งเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่ในความทรงจำ[6] คาดกันว่า เสียงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการพบเห็นที่ทึกทักว่าเป็นจริง Richard Lord และ Richard Wiseman ได้สรุปว่า อินฟราซาวน์สามารถทำให้มนุษย์ประสบความรู้สึกแปลก ๆ ในห้องได้ เช่น ความกังวล ความโศกเศร้าอย่างยิ่ง ความรู้สึกว่ากำลังถูกมอง หรือกระทั่งอาการหนาวสะท้าน[7] มีคำอธิบายบ้านผีสิงที่เป็นไปได้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1921 ว่า การได้รับพิษคาร์บอนมอนออกไซด์สามารถทำให้การรับรู้ของระบบตาและหูเปลี่ยนไปได้[8]

แบ่งตามศาสนา

[แก้]

ยูดาย-คริสต์

[แก้]

ในภาษาฮิบรู, โทราห์ และคัมภีร์ไบเบิลมีการอ้างอิงเกี่ยวกับเรื่องผีเพียงเล็กน้อย, ได้มีการเชื่อมโยงความเชื่อที่ว่ามีวิญญาณใน ธรรมชาติและจักรวาล (spiritism) [9] เข้ากับกิจกรรมต้องห้ามอันลึกลับหรือรหัสญาณ [10]

อิสลาม

[แก้]

ตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามนั้น, จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าผี [11] ในอัลกุรอานกล่าวถึงวิญญาณที่รู้จักกันในชื่อว่า ญิน [12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shane McCorristine Spectres of the Self: Thinking About Ghosts and Ghost-Seeing in England,1750-1920 2010, pp. 44-56
  2. Ken Gelder The horror reader 2000, pp. 43-44
  3. Nickell, Joe (Sept-Oct 2000). "Haunted Innate=2009-12-19". Committee for Skeptical Inquiry. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. Carroll, Robert Todd (June 2001). "pareidolia". skepdic.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  5. Weinstein, Larry (June 2001). "The Paranormal Visit". Committee for Skeptical Inquiry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-16. สืบค้นเมื่อ 2010-02-12.
    "Once the idea of a ghost appears in a household . . . no longer is an object merely mislaid. . . . There gets to be a dynamic in a place where the idea that it's haunted takes on a life of its own. One-of-a-kind quirks that could never be repeated all become further evidence of the haunting."
  6. Richard Wiseman เก็บถาวร 2007-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved September 25, 2007.
  7. "Sounds like terror in the air". Reuters. smh.com.au. 2003-09-09. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  8. Choi IS (2001). "Carbon monoxide poisoning: systemic manifestations and complications". J. Korean Med. Sci. 16 (3): 253–61. doi:10.3346/jkms.2001.16.3.253. PMC 3054741. PMID 11410684.
  9. http://www.jack-wallace.com/g8social_glossary_t3_03.htm[ลิงก์เสีย]
  10. Deuteronomy 18:11
  11. Please tell me about ghosts... เก็บถาวร 2013-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Islamhelpline. Retrieved on 2013-03-21.
  12. U. A. B. Razia Akter Banu (1992). Islam in Bangladesh, Volume 58. Brill Publishers. ISBN 978-90-04-09497-0. สืบค้นเมื่อ 12 December 2011. The scholars emphasising the syncretistic nature of Bengal Islam usually refer to some Bengali Muslims' proclivity to believe in spirits like ghosts, female ghosts, and demons. The Koran, however, mentions on kind of spirits called jinn.

ดูเพิ่ม

[แก้]