ผู้ใช้:Eatwell.co
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
6-O-α-D-Glucopyranosyl-D-fructose
| |
ชื่ออื่น
พาลาทีน
| |
คุณสมบัติ | |
C12H12O11 | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
ไอโซมอลทูโลส
[แก้]ไอโซมอลทูโลส (Isomaltulose) คือคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ประเภทไดแซคคาไรด์ (disaccharide) ที่ประกอบด้วยกลูโคสและฟรุกโตสอย่างละ 1 โมเลกุล ต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิกชนิดแอลฟา-1,6 (alpha-1,6-glycosidic bond) ซึ่งสามารถพบได้น้อยในธรรมชาติ เช่น น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้น[1] ไอโซมอลทูโลสถูกพัฒนาและผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2547 และมีชื่อทางการค้าว่า พาลาทีน
คุณสมบัติ
[แก้]ไอโซมอลทูโลสผลิตจากน้ำตาลทรายที่ผ่านกระบวนการทางชีวภาพโดยใช้เอนไซม์ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของน้ำตาลซูโครส ส่งผลให้พันธะระหว่างโมเลกุลของกลูโคสและฟรุกโตสแข็งแรงมากขึ้น จากโครงสร้างนี้ทำให้ไอโซมอลทูโลสถูกย่อยและดูดซึมได้ช้าภายในระบบทางเดินอาหารของร่างกาย และมีรสชาติหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายครึ่งหนึ่ง เมื่อรับประทานแล้วส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการบริโภคน้ำตาลทรายและกลูโคสอย่างชัดเจน ทำให้ได้ค่าดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 38 ดังนั้นไอโซมอลทูโลสจึงถูกจัดเป็นอาหารที่อยู่ในกลุ่มดัชนีน้ำตาลต่ำ (low GI) ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่สม่ำเสมอกว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดอี่น[2] การให้พลังงานที่สม่ำเสมอของไอโซมอลทูโลสนี้ช่วยให้สมองและกล้ามเนื้อทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อีกทั้งเพิ่มการเผาผลาญพลังงานจากไขมันในร่างกาย และไม่ทําให้ฟันผุ[3]
ไอโซมอลทูโลสสามารถทนต่อความเป็นกรด-ด่างที่ pH มากกว่า 3.0 และทนอุณหภูมิในการแปรรูปสูงถึง 120 องศาเซลเซียส โดยโครงสร้างไม่สลายตัว ปัจจุบันไอโซมอลทูโลสผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่าสามารถใช้เติมลงไปในอาหารได้อย่างปลอดภัย (Generally Recognized as Safe ; GRAS)[4] สำหรับประเทศไทยไอโซมอลทูโลสถูกจัดอยู่ในหมวดอาหารทั่วไปโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร และอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารชนิดใหม่จากองค์การอาหารและยาในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[5] เป็นต้น
แหล่งพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต
[แก้]ไอโซมอลทูโลส จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมได้สมบูรณ์ในลำไส้เล็ก โดยเอนไซม์ที่ชื่อว่าไอโซมอลเทส (isomaltase) ที่อยู่บนผนังลำไส้เล็ก ซึ่งเอนไซม์จะย่อยพันธะไกลโคซิดิกชนิดแอลฟา-1,6 ของน้ำตาลไอโซมอลทูโลส ได้เป็นโมเลกุลกลูโคสและฟรุกโตสและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดซึ่งเหมือนกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยน้ำตาลทราย[6]
ด้วยคุณสมบัติการเป็นคาร์โบไฮเดรต ไอโซมอลทูโลสให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนัก 1 กรัม เทียบเท่ากับพลังงานจากน้ำตาลทราย หรือข้าวแป้งทั่วไป
ให้พลังงานอย่างต่อเนื่องยาวนาน
[แก้]จากการศึกษาพบว่าไอโซมอลทูโลสจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ไอโซมอลเทส ซึ่งกระบวนการย่อยนี้จะช้ากว่าการย่อยน้ำตาลทรายด้วยเอนไซม์ซูเครส (sucrase) ถึง 4.5 เท่า[7] ทำให้ไอโซมอลทูโลสถูกสลายเป็นพลังงานให้แก่ร่างกายอย่างช้า ๆ สม่ำเสมอและยาวนาน
ส่งผลต่อระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินในเลือดในระดับต่ำ
[แก้]ระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดหลังการรับประทานไอโซมอลทูโลสต่ำกว่าการทานน้ำตาลทรายและกลูโคสทั่วไป จากการศึกษาในคนไทยพบว่าไอโซมอลทูโลสมีค่าดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 38 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาลทรายและกลูโคสที่มีค่าดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 65 และ 100 ตามลำดับ พบว่าไอโซมอลทูโลสส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และไม่ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาลทรายและกลูโคส[2]
ไอโซมอลทูโลสส่งผลให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมาในกระแสเลือดน้อยกว่าและเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินครีตินชนิด GLP-1 มากขึ้นถึง 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการทานน้ำตาลทรายทั่วไป ซึ่ง GLP-1 เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด โดยการดึงน้ำตาลเข้ำสู่เซลล์ และลดการปลดปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด[8][9][10]
เพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
[แก้]เนื่องจากไอโซมอลทูโลสถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างช้า และผลจากการที่ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมาน้อยลง ทำให้อัตราการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานในร่างกายลดลง จากกลไกเหล่านี้จึงส่งผลให้ร่างกายมีการนำไขมันที่ถูกเก็บไว้ในเซลล์ไขมันออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน ซึ่งอัตราการเผาผลาญไขมันที่เกิดขึ้นนี้ สูงกว่าอัตราการเผาผลาญเมื่อทานน้ำตาลทรายทั่วไปถึงร้อยละ 20[11] ทั้งนี้เมื่อกรดไขมันในเลือดและเซลล์ไขมันถูกดึงไปสลายเป็นพลังงาน ส่งผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง และลดการสะสมไขมันในตับและเซลล์ไขมันในร่างกาย[12]
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
[แก้]อัตราการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ด้วยคุณสมบัติของไอโซมอลทูโลสที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำทำให้ร่างกายดูดซึมเข้าสู่ร่างกายช้า งานวิจัยในเด็กอายุ 5-11 ปี พบว่าการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไอโซมอลทูโลสมีส่วนช่วยเสริมความจำและทำให้อารมณ์ดีขึ้น ภายหลังจากการทานอาหารเช้า 3 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลทราย[13]
ไม่ทำให้ฟันผุ
[แก้]ไอโซมอลทูโลสไม่ทำให้ฟันผุ เนื่องจากจุลินทรีย์ในช่องปากไม่สามารถย่อยสลายไอโซมอลทูโลสได้ จึงไม่ก่อให้เกิดการสร้างคราบพลัคและกรดมาทําลายสารเคลือบฟัน ที่เป็นต้นเหตุหลักของฟันผุ[14]
การนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร
[แก้]ไอโซมอลทูโลสถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด เช่น ขนมหวานเบเกอรี่ ขนมเด็ก น้ำผลไม้ เครื่องดื่มสำหรับผู้ออกกำลังกาย เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารเสริมสูตรดื่ม ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร อาหารทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์สำหรับออกกำลังกาย เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ (Functional Food) เป็นอาหารทางเลือกที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการควบคุมอาหาร ควบคุมะระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน เป็นต้น [3]
นี่คือหน้าทดลองเขียนของ Eatwell.co หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
- ↑ Siddiqui, I. R.; Furgala, B. (1967-01). "Isolation and Characterization of Oligosaccharides from Honey. Part I. Disaccharides". Journal of Apicultural Research (ภาษาอังกฤษ). 6 (3): 139–145. doi:10.1080/00218839.1967.11100174. ISSN 0021-8839.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 ผศ. ดร. วันทนีย์ เกรียงสินยศ. (2553) การศึกษาค่าดัชนีน้ำตาล การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลและการเผาผลาญสารอาหารเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานภายหลังการรับประทานน้ำตาลไอโซมอลตูโลส. มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันโภชนาการ.
- ↑ 3.0 3.1 Sentko, Anke; Willibald-Ettle, Ingrid (2012-07-16), O'Donnell, Kay; Kearsley, Malcolm W. (บ.ก.), "Isomaltulose", Sweeteners and Sugar Alternatives in Food Technology, Wiley-Blackwell, pp. 397–415, doi:10.1002/9781118373941.ch18, ISBN 978-1-118-37394-1, สืบค้นเมื่อ 2021-03-03
- ↑ Nutrition, Center for Food Safety and Applied (2020-08-04). "GRAS Notice Inventory". FDA (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Winger, Ray (2003-09). "Australia New Zealand Food Standards Code". Food Control. 14 (6): 355. doi:10.1016/s0956-7135(03)00044-6. ISSN 0956-7135.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Lina, B.A.R.; Jonker, D.; Kozianowski, G. (2002-10). "Isomaltulose (Palatinose®): a review of biological and toxicological studies". Food and Chemical Toxicology (ภาษาอังกฤษ). 40 (10): 1375–1381. doi:10.1016/S0278-6915(02)00105-9.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Alternative sweeteners. Lyn O'Brien Nabors (4th ed ed.). Boca Raton, FL: CRC Press. 2012. ISBN 1-4398-4615-4. OCLC 760056415.
{{cite book}}
:|edition=
has extra text (help)CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Ang, Meidjie; Linn, Thomas (2014-10-01). "Comparison of the effects of slowly and rapidly absorbed carbohydrates on postprandial glucose metabolism in type 2 diabetes mellitus patients: a randomized trial". The American Journal of Clinical Nutrition (ภาษาอังกฤษ). 100 (4): 1059–1068. doi:10.3945/ajcn.113.076638. ISSN 0002-9165.
- ↑ Maeda, Aya; Miyagawa, Jun-ichiro; Miuchi, Masayuki; Nagai, Etsuko; Konishi, Kosuke; Matsuo, Toshihiro; Tokuda, Masaru; Kusunoki, Yoshiki; Ochi, Humihiro; Murai, Kazuki; Katsuno, Tomoyuki (2013-05). "Effects of the naturally-occurring disaccharides, palatinose and sucrose, on incretin secretion in healthy non-obese subjects". Journal of Diabetes Investigation (ภาษาอังกฤษ). 4 (3): 281–286. doi:10.1111/jdi.12045. PMC 4015665. PMID 24843667.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: PMC format (ลิงก์) - ↑ Keyhani-Nejad, Farnaz; Barbosa Yanez, Renate Luisa; Kemper, Margrit; Schueler, Rita; Pivovarova-Ramich, Olga; Rudovich, Natalia; Pfeiffer, Andreas F.H. (2020-03). "Endogenously released GIP reduces and GLP-1 increases hepatic insulin extraction". Peptides (ภาษาอังกฤษ). 125: 170231. doi:10.1016/j.peptides.2019.170231.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Sridonpai, Pimnapanut; Komindr, Surat; Kriengsinyos, Wantanee (2016-03). "Impact of Isomaltulose and Sucrose Based Breakfasts on Postprandial Substrate Oxidation and Glycemic/Insulinemic Changes in Type-2 Diabetes Mellitus Subjects". Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet Thangphaet. 99 (3): 282–289. ISSN 0125-2208. PMID 27276739.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ König, Daniel; Theis, Stephan; Kozianowski, Gunhild; Berg, Aloys (2012-06). "Postprandial substrate use in overweight subjects with the metabolic syndrome after isomaltulose (Palatinose™) ingestion". Nutrition (ภาษาอังกฤษ). 28 (6): 651–656. doi:10.1016/j.nut.2011.09.019.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Young, Hayley; Benton, David (2015-09). "The effect of using isomaltulose (Palatinose™) to modulate the glycaemic properties of breakfast on the cognitive performance of children". European Journal of Nutrition (ภาษาอังกฤษ). 54 (6): 1013–1020. doi:10.1007/s00394-014-0779-8. ISSN 1436-6207. PMC 4540784. PMID 25311061.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: PMC format (ลิงก์) - ↑ Hamada, Shigeyuki (2002-01-01). "Role of sweeteners in the etiology and prevention of dental caries". Pure and Applied Chemistry. 74 (7): 1293–1300. doi:10.1351/pac200274071293. ISSN 1365-3075.