ฝุ่นละออง
ฝุ่นละออง หรือ ละอองธุลี[1] คือ ของแข็งขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศหรือน้ำ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์ โดยนับเป็นมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำประเภทหนึ่ง
ฝุ่นละอองมีที่มาหลากหลายทั้งจากธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟ พายุทราย ไฟป่า ไอเกลือ หรือการกระทำของมนุษย์เช่น ไอของเสียจากรถยนต์ โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึง การเผาหญ้า และการเผาป่า ในประเทศกำลังพัฒนาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน
ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลายเช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคปอด รวมไปถึงมะเร็งปอด ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยพวกตัวกรองแบบต่างๆ เช่น หน้ากาก
การกำจัดฝุ่นละอองนั้น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่จะตกอยู่บนพื้นตามแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) จะลอยอยู่ในอากาศได้หลายสัปดาห์ และจะถูกกำจัดโดยฝนหรือหยาดน้ำฟ้าประเภทอื่น
ปัญหาสุขภาพ
[แก้]ผลกระทบของการสูดดมฝุ่นละอองที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางมีทั้งโรคหอบหืด มะเร็งปอด โรคทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด การคลอดก่อนกำหนด ความผิดปกติของการเกิด ทารกน้ำหนักน้อยเมื่อคลอด และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ฝุ่นละอองขนาดเล็กนอกอาคารที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4.2 ล้านคนต่อปีทั่วโลก และคิดเป็นปีชีวิตที่เสียไปหลังปรับทุพพลภาพแล้ว 103 ล้านปี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตใหญ่สุดอันดับ 5
ฝุ่นละอองทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยเข้าสู่อวัยวะโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่านการอักเสบทั่วร่าง นอกจากนี้บุคคลยังอาจได้รับผลกระทบในเชิงลบแม้ว่าได้รับฝุ่นละอองในขนาดต่ำกว่ามาตรฐานที่ถือกันว่าปลอดภัยอีกด้วย[2][3]
ขนาดของอนุภาคจะส่งผลต่อสุขภาพ โดยอนุภาคที่มีขนาด 10 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่า (PM10) สามารถเข้าไปในส่วนที่ลึกสุดของปอดได้ เช่น หลอดลมฝอย หรือ ถุงลม[4] อนุภาคขนาดใหญ่โดยทั่วไปจะถูกกรองด้วยจมูกและลำคอ โดยขนจมูกและขี้มูก แต่อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) สามารถผ่านเข้าไปในปอดและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
รายชื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ
[แก้]- รศ.ดร. ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร (เสียชีวิต 18 มีนาคม 2565)[5]
- นพ. กฤตไท ธนสมบัติกุล (เสียชีวิต 5 ธันวาคม 2566)[6][7]
- ศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี (เสียชีวิต 3 เมษายน 2567)
- สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์ (ป่วย 18 เม.ย. 2567)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน particulate
- ↑ Chest Journal, 1 Feb. 2019, "Air Pollution and Noncommunicable Diseases, A Review by the Forum of International Respiratory Societies’ Environmental Committee, Part 1: The Damaging Effects of Air Pollution", vol. 155, issue 2, pp. 409-416
- ↑ The Guardian, 17 May 2019, [https://www.theguardian.com/environment/ng-interactive/2019/may/17/air-pollution-may-be-damaging-every-organ-and-cell-in-the-body-finds-global-review# "Revealed: Air Pollution May Be Damaging ‘Every Organ in The Body’ Exclusive: Comprehensive Analysis Finds Harm from Head to Toe, Including Dementia, Heart and Lung Disease, Fertility Problems and Reduced Intelligence"]
- ↑ Region 4: Laboratory and Field Operations — PM 2.5 (2008).PM 2.5 Objectives and History. U.S. Environmental Protection Agency.
- ↑ "มะเร็งปอดคร่าชีวิตผู้เชี่ยวชาญระดับโลก จากปัจจัยเสี่ยงPM2.5". workpointTODAY.
- ↑ ""หมอกฤตไท" ตั้งคำถามปัญหาฝุ่น PM2.5 "ต้องซื้ออากาศหายใจจริงๆ เหรอ"". Thai PBS.
- ↑ ""หมอกฤตไท" อาจารย์อนาคตไกล สู่เพจ สู้ดิวะ กับการต่อสู้มะเร็งปอด". Thai PBS.
- ↑ "'ตั้ม สมประสงค์' ป่วยเข้า รพ. นอนให้ออกซิเจน ลั่น "อากาศดีนะ ดีที่ไม่ตาย"". khaosod.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ฝุ่นละออง (Suspended Particulate Matter : SPM) เก็บถาวร 2013-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการพัฒนาความรู้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
- ปริมาณฝุ่นละออง เก็บถาวร 2012-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมควบคุมมลพิษ
- ฝุ่น PM2.5 Huapood