พระยาชัยสุนทร (เจียม)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พระยาชัยสุนทร (เจียม) | |
---|---|
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2369 – พ.ศ. 2381 | |
ก่อนหน้า | พระยาชัยสุนทร(หมาแพง) |
ถัดไป | พระยาชัยสุนทร(หล้า) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบปีเกิด เมืองกาฬสินธุ์ |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2381 เมืองกาฬสินธุ์ |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
พระยาชัยสุนทร (เจียม) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวเจียมหรือเยี่ยม” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 (พ.ศ. 2369–2381)[1] เป็นต้นเชื้อสายตระกูลเช่น วงศ์กาฬสินธุ์ ศรีกาฬสินธุ์ พลเยี่ยม ทองเยี่ยม เป็นต้นซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครกาฬสินธุ์และร้อยเอ็ดในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
ชาติกำเนิด
[แก้]เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระธานี(หมาป้อง)อุปฮาดเมืองสกลนคร ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม มีพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นชายได้แก่ ท้าวเจียม ท้าวลาว ท้าวละ ท้าวหล้า ส่วนบุตรหญิงไม่ปรากฏนาม
การรับราชการ
[แก้]•เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้ารับราชการในกรมการเมืองกาฬสินธุ์และได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าววรบุตรที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ ในปีพ.ศ. 2366 ในสมัยพระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลําดับที่ 2 ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้ ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดําปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” ครั้นต่อมาเจ้าพระยาบดินทรเดชาเมื่อครั้งยังเป็นที่พระยาสุภาวดีได้มีใบบอกกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ท้าววรบุตร(เจียม) บ้านขามเปค้ย หลานพระยาไชยสุนทร(หมาแพง) ซึ่งมีความชอบในราชการสงคราม 2 ครั้ง คือ ครั้งตัดไม้ปากแพรกครั้งหนึ่งและครั้งที่สองเสบียงเมื่อตีหัวเมืองเวียงจันทน์ในราชการสงคราม ขึ้นเป็นท่ีพระยาไชยสุนทร เจ้รเมืองกาฬสินธุ์ ให้ท้าวหล้าเป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์และให้ท้าวลาวเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และท้าวด่างเป็นที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2371
•โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ “พานเงินเครื่องในถมสำรับหนึ่ง คนโทเงินถมยาดำหนึ่ง ลูกประคำทองหนึ่ง กระบี่บั้งเงินหนึ่ง สัปทนปัศตูหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง แพรทับทิมติดขลิบผืนหนึ่ง ชวานปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” - พร้อมตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คือ “เทวดานั่งแท่นถือพระขรรค์และดอกบัว”
อุปฮาด “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”
ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”
ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]•ปี พ.ศ. 2370 ตรงกับปีกุนนพศก จุลศักราช ๑๑๘๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โปรดให้กองทัพหลวงขึ้นมาปราบปามเมืองเวียงจันทน์ พระยาสุภาวดีแมรทัพได้ตรวจราชการทัพเมืองสกลนคร เจ้าเมืองกรมการเมืองไม่ได้เตรียมกําลังทหารลูกกระสุนดินดํา เสบียงอาหาร ไว้ตามคําสั่งแม่ทัพ แม่ทัพเห็นว่าเจ้าเมืองสกลนครกระทําการขัดขืนอํานาจอาญาศึก จึงเอาตัวพระธานีเจ้าเมืองสกลนครไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว ส่วนอุปฮาดหมาป้องไดีถึงแก่กรรมไปก่อนหน้านั้นแล้ว กรมการเมืองกาฬสินธุ์บางส่วนหลบหนีคือ ท้าววรบุตรเจียมหลบหนีไปยังบ้านขามเปี้ย(บริเวณตำบลบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด)และท้าวหล้าได้หลบหนีไปยังบ้านผ้าขาวพันนาเมืองเก่าเขตเมืองสกลนคร พอทัพพระยาสุภาวดีเคลื่อนผ่านเมืองสกลนครท้าวรบุตรเจียมและท้าวหล้าได้นําไพร่พลและพี่น้องเข้าหาทัพพระยาสุภาวดีเพื่อช่วยในราชการสงครามและได้เข้าฟ้องโทษราชวงศ์(หมาฟอง) ว่าด้วยเดิมเป็นใจเข้าด้วยกับเจ้าอนุวงศ์ เมื่อพิจารณาได้ความจริงแล้ว แม่ทัพปรึกษาจะเอาตัวราชวงศ์(หมาฟอง) ขอทําราชการแก้ตัวจึงงดโทษไว้ แล้วบังคับให้กวาดคุมครอบครัวตัวฉกรรณ์ที่อพยพหนีจากเมืองกาฬสินธุ์ไปอยู่ที่เมืองสกลนครนั้นจํานวน 2,500 คน ลงไปอยู่ที่ด่านหนุมานภายหลังยกขึ้นเป็นเมืองกบินทร์บุรี ยังคงเหลืออยู่ให้รักษาพระธาตุเชิงชุม แต่พวกเพี้ยศรีครชุม บ้านหนองเหียน บ้านจารเพ็ญ บ้านอ้อมแก้ว บ้านนาเวง บ้านพาน บ้านนาดี บ้านวังยาง บ้านผ้าขาว บ้านพันนา เท่านั้น เมืองสกลนครจึงเป็นเมืองร้าง ไม่มีเจ้าเมืองปกครองประกอบกับเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมืองร้างด้วยเช่นกัน
•ปี พ.ศ. 2371 เจ้าพระยาบดินทรเดชาเมื่อครั้งยังเป็นที่พระยาสุภาวดีได้มีใบบอกกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯแต่งตั้งท้าววรบุตร(เจียม)บ้านขามเปี้ยย หลานพระยาไชยสุนทร(หมาแพง) ซึ่งมีความชอบในราชการสงคราม 2 ครั้ง คือ ครั้งตัดไม้ปากแพรกครั้งหนึ่งและครั้งที่สองเสบียงเมื่อตีหัวเมืองเวียงจันทน์ในราชการสงคราม ขึ้นเป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ให้ท้าวหล้าเป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์และให้ท้าวลาวเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และท้าวด่างเป็นที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุและให้ครอบครัวไพร่พลเมืองกาฬสินธุ์ที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์กลับมาอาศัยที่แขวงเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิม
•ปี พ.ศ. 2372 แม่ทัพจึงมีใบบอกท้องตราราชสีห์โปรดเกล้าให้พระยาไชยสุนทร(เจียม) แต่งราชวงศ์ราชบุตร กรมการเมืองกาฬสินธุ์เป็นนายกองคุมท้าวเพีย ไพร่ฉกรรจ์ 606 คน และบุตรภรรยาเมืองกาฬสินธุ์ไปรักษาราชการเมืองสกลนคร เมื่อแต่งท้าวเพียผู้อยู่รักษาเมืองสกลนครแล้ว จึงมีใบบอกขอตั้ง ท้าวอินทิสารบุตรอุปฮาดเมืองจันคนเก่าเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ท้าวพิมพ์บุตรจารย์เปียเป็นที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และได้ฟื้นฟูเมืองกาฬสินธุ์หลังสงครามรวมทั้งบูรณะวัดวาอารามในเขตเมืองกาฬสินธุ์ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองดังเดิม
ถึงแก่กรรม
[แก้]•พระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 10 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2381 สืบมาภายหลังลูกหลานเรียกขานทานว่า “อัญญาหลวงองค์ใหญ่” สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 เพียงเท่านี้
ทายาท
[แก้]พระยาไชยสุนทร(เจียม) สมรสกับอัญญานางทองคำและมีบุตร 8 คน ได้แก่
1) นางพัน สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ
2) พระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 สมรสกับ อัญญานางคำ มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)ท้าวขี่ 2)ท้าวเหม็น 3)ท้าวหนู เป็นต้น
3) พระอินทิสาร(ด่าง)ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และสกลนคร สมรสกับ นางขาว บุตรีคนที่ 1 ของพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตร 4 คน ได้แก่ 1)นางอ่อน 2)นางน้อย 3)ท้าวเปีย 4)ท้าวอุปละ เป็นต้น
4) ท้าวสุริยะ สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ
5) ท้าวบุญมา สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ
6) นางดา สมรสกับใครสืบไม่ได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ
7) นางหลอด สมรสกับ ท้าวสุวรรณสาร(โสน้อย)กำนันตำบลบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด มีบุตร 1 คน ได้แก่ 1)ท้าวมหาโคตรแก้ว เป็นต้น
*ท้าวสุวรรณสาร(โสน้อย)มีบิดาชื่อท้าวโสใหญ่กับพี่ชายคือท้าวพรหมาใหญ่ เป็นชาวบ้านท้องถิ่นดั่งเดิมของตำบลบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ในปัจจุบันและมีทายาทบางส่วนของพระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 ได้สมรสและมีทายาทตั้งรกรากในพื้นและอาศัยอยู่ที่ตำบลบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด จนถึงปัจจุบัน
สายสกุลทายาทและเครือญาติ
[แก้]- วงศ์กาฬสินธุ์ ต้นสกุลคือ พระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 และ พระอินทิสาร(ด่าง) ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และสกลนคร
1)พระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 พ.ศ.2390-2493 สมรสกับ อัญญานางคำ มีบุตร 3 คน ได้แก่
1.1 พระอินทิสาร(ขี่) ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2389-2394 สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 5 คน ได้แก่ 1)นางแก้ว 2)นางเหนี่ยว 3)นางเจียง 4)นางกระแต 5)ท้าวอินที เป็นต้น
1.2 พระไชยสุนทร(เหม็น) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2415-2419 สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 3 คน คือ 1)ท้าวมหายศ 2)ท้าวจัน 3)ท้าวเชียงขะ เป็นต้น
1.3 พระไชยสุนทร(หนูหมี) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ.2426-2433 สมรสกับ นางขำ บุตรีคนที่ 4 ของพระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตร 6 คน ได้แก่ 1)นางเสริม 2)นางบู่ทอง3)ท้าวทับ 4)ท้าวตัน 5)นางเสริม 6)นางทิพคลี(ประคีย์) เป็นต้น
2)พระอินทิสาร(ด่าง) ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และสกลนคร สมรสกับ นางขาว บุตรีคนที่ 1 ของพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตรด้วยกัน 4 คน ได้แก่
2.1 นางอ่อน สมรสกับ พระราษฎรบิหาร(ทอง) เจ้าเมืองกมลาไสย ลำดับที่ 2 มีบุตร 5 ได้แก่ 1)นางเหลี่ยม 2)หลวงชาญวิชัยยุทธ(เหม็น) 3)นางเพชร 4)หลวงกมลาพิพัฒน์(เทศ) 5)นางทองคำ(เกิดกับนางทรัพย์) เป็นต้น
2.2 นางน้อย สมรสกับ ท้าวสีหาราช บุตรคนที่ 1 ของพระโพธิสาร(คำ) ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ มีบุตร 3 คน ได้แก่ 1)นางเพ็ง 2)พระครูกาฬสินธุ์ทิวาจารย์สังฆปาโมกข์(อ้ม) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ 3)ท้าวคำชมพู เป็นต้น
2.3 ท้าวเปีย (เฒ่ากวนบ้านธาตุเชิงชุม/ผู้ใหญ่บ้าน) สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 6 คน ได้แก่ 1)ท้าวพิมพ์จักร 2)ท้าวพิมพ์มะสอน 3)ท้าวพิมพ์สาร 4)นางทอง 5)นางตุ๊ด 6)ท้าวจารย์พิมพ์ เป็นต้น
2.4 ท้าวอุปละ(นายกองเมืองกาฬสินธุ์) สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 6 คน ได้แก่ 1)ท้าวป้อง 2)นางบด 3)นางไพ 4)นางพู 5)ท้าวฝ้าย 6)ท้าวไชยสิน เป็นต้น
ท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”วงศ์กาฬสินธุ์”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดสกลนคร
- ศรีกาฬสินธุ์และ พลเยี่ยม(เดิมเขียนว่า”พรมเยี่ยมกับพรหมเยี่ยม) ต้นสกุลคือท้าวสุวรรณสาร(โสน้อย) กำนันคนแรกตำบลบ้านแวง สมรสกับนางหลอด มีบุตร 1 คนคือ ท้าวมหาโคตรแก้ว สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 9 คนคือ
1)นางพัน สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คน คือ 1)ท้าวแพง เป็นต้น
2)ท้าวจันฑกุมาร สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 1 คน คือ 1)นางล้อม เป็นต้น
3)ท้าวสุริยะวงศา(ฝ่าย) (อดีตกำนันตำบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ดและเป็นผู้ตั้งนามสกุล“พลเยี่ยม”) สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 7 คน ได้แก่ 1)ขุนโพนทองวิจารณ์(สาย) (อดีตกำนันบ้านแวง) 2)นางสุนทอง 3)นางใส 4)นางทองอยู่ 5)นางสิงห์ 6)นางบุญเพ็ง 7)นางโส เป็นต้น
4)นางทองศรี สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 7 คน ได้แก่ 1)ท้าวสอ 2)นางดี 3)นางพรหมมา 4)นางภู่ 5)นางวัน 6)ท้าวสิงห์เอี่ยม 7)นางพา เป็นต้น
5)นางสีดา สมรสกับใครมีบุตรกี่คนสืบไม่ได้
6)ท้าวบุญมา สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 9 คน ได้แก่ 1)นางชาตรี 2)ท้าวอิน 3)ท้าวปิ่น 4)นางตา 5)นางจำปา 6)นางคำพา 7)นางจันลา 8)นางโสภา 9)ท้าวทอน เป็นต้น
7)หลวงสุนทรวุฒิรักษ์(มี) (อดีตข้าราชการกระทรวงคมนาคม แขวงเมืองกาฬสินธุ์)ได้ตั้งนามสกุล“ศรีกาฬสินธุ์“และสมรสกับนางเบ้า ณ กาฬสินธุ์ มีบุตร 10 คนได้แก่ 1)ท้าวหวาด 2)นางอ่อง 3)นางทอง 4)รองอำมาตย์ตรีผลมัย 5)ขุนสรรพบรรณกิจ(สายทอง)(อดีตหัวหน้างานสรรพกรจังหวัดสกลนครและนครพนม)6)ท้าวอัมพร 7)นางทองดำ 8)นางทองใบ 9)นางมะละ 10)นางมาลัย เป็นต้น
8)นางหลอด สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 7 คน ได้แก่ 1)ท้างเกิ่ง 2)นางบาง 3)ส.ต.เช้ย 4)นางขวัญ 5)นางสอน 6)นางเหมือย 7)ท้าวคำ เป็นต้น
9)ท้าวคำตา สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 5 คนได้แก่ 1)นางบุญจันทร์ 2)ท้าวคำคา 3)นางเหล่า 4)ท้าวทองมี 5)ท้าวน้อย เป็นต้น
ท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”ศรีกาฬสินธุ์และพลเยี่ยม”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอโพนทองของจังหวัดร้อยเอ็ดและบางส่วนของจังหวัดกาฬสินธุ์
- ทองเยี่ยม ต้นสกุลคือพระไชยสุนทร(หนูหมี) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2426-2433 บุตรคนที่ 3 ของพระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 สมรสมกับนางขำ บุตรีคนที่ 4 ของพระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตร 6 คน ได้แก่
1)นางเสริม
2)นางบู่ทอง
3)ท้าวทับ (ผู้ตั้งนามสกุล“ทองเยี่ยม”)
4)ท้าวตัน
5)นางเสริม
6)นางทิพคลี(ประคีย์) สมรสกับ ขุนสรรพบรรณกิจ(สายทอง ศรีกาฬสินธุ์) อดีตหัวหน้างานสรรพกรจังหวัดสกลนครและนครพนม
ท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”ทองเยี่ยม”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดกาฬสินธุ์
สายตระกูล
[แก้]พงศาวลีของพระยาชัยสุนทร (เจียม) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ก่อนหน้า | พระยาชัยสุนทร (เจียม) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาชัยสุนทร (หมาแพง) | เจ้าเมืองกาฬสินธุ์, ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ (พ.ศ. 2381 - 2490) |
พระยาชัยสุนทร (หล้า) |