พระเจ้าอะเนาะเพะลูน
พระเจ้าอะเนาะเพะลูน | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์พม่า | |||||
พระเจ้าอังวะ | |||||
ครองราชย์ | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2148 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2160 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าญองยาน | ||||
ถัดไป | มังรายกะยอชวาแห่งซะกุ๊ | ||||
พระเจ้าหงสาวดี | |||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 2160 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2171 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้านันทบุเรง | ||||
ถัดไป | พระเจ้ามีนเยเดะบะ | ||||
พระราชสมภพ | 21 มกราคม พ.ศ. 2121 | ||||
สวรรคต | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2171 (50 พรรษา) หงสาวดี | ||||
พระราชบุตร | พระเจ้ามีนเยเดะบะ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ตองอู | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าญองยาน | ||||
พระราชมารดา | พระนางสิริมหาธัมมราชาธิบดีเทวี | ||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระเจ้าอะเนาะเพะลูน (พม่า: အနောက်ဖက်လွန်, ออกเสียง: [ʔənaʊ̯ʔ pʰɛʔ lʊ̀ɰ̃] อะเน่าก์แพะหลุ่นมิง แปลว่า พระราชาแห่งทิศตะวันตก) หรือ พระเจ้ามหาธรรมราชา พงศาวดารมอญพม่าเรียกว่าพระเจ้าปราสาททองกลดแก้ว[1] เป็นพระมหากษัตริย์พม่าในราชวงศ์ตองอู เมื่อสิ้นพระเจ้าบุเรงนองและพระเจ้านันทบุเรงแล้ว ฐานอำนาจของราชวงศ์ตองอูสั่นคลอนเนื่องจากเกิดการกบฏจากพม่าด้วยกันเองในหลายหัวเมือง อีกทั้งการรุกรานจากต่างชาติ เช่น มอญและชาวโปรตุเกส พระองค์ทรงเป็นผู้รวบรวมอาณาจักรพม่าให้กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง แม้ไม่ยิ่งใหญ่เท่าสมัยของพระอัยกาก็ตาม
การขึ้นครองราชย์
[แก้]พระเจ้าอะเนาะเพะลูนเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าญองยานพระราชโอรสพระองค์เล็กของพระเจ้าบุเรงนอง เมื่อพระราชบิดาประชวรและสวรรคตระหว่างเดินทางกลับจากการยึดแสนหวีมาจากกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2148 พระองค์จึงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากรุงอังวะต่อจากพระบิดา
การสงคราม
[แก้]ในขณะนั้นอาณาจักรตองอูที่เคยยิ่งใหญ่ได้แตกสลายไปหมดแล้ว โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนในสมัยที่พระเจ้านันทบุเรงสิ้นพระชนม์ คือ
- อังวะ ปกครองโดยพระองค์
- แปร ปกครองโดยสะโตธรรมราชา ราชบุตรของพระเจ้านันทบุเรง ซึ่งแยกตัวเป็นอิสระจากหงสาวดีตั้งแต่สมัยพระเจ้านันทบุเรง
- ตองอู ปกครองโดยพระเจ้าตองอู เป็นพระโอรสของพระปิตุลาของพระเจ้านันทบุเรง
พระเจ้าอโนเพตลุนเมื่อรวบรวมไทใหญ่ได้แล้ว ก็ตีเมืองแปรได้ในปี พ.ศ. 2153 แล้วให้พระเจ้าตาลูน พระอนุชาปกครองเมืองแปรแทน
ตีเมืองตองอู
[แก้]พระเจ้าตองอูประชวรถึงแก่พิราลัย พระมหาอุปราชานัดจินหน่อง (พระสังกทัต) ขึ้นเป็นพระเจ้าตองอูแทนพระบิดา เกรงจะต้านทานอังวะไม่ได้จึงส่งทูตมายอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2152 รัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่เมื่อพระเจ้าอะเนาะเพะลูนยกทัพมาตีเมืองตองอู สมเด็จพระเอกาทศรถไม่ได้ทรงยกทัพไปช่วยแต่รับสั่งให้พระยาทะละที่ปกครองหัวเมืองมอญทางใต้กับฟีลีปึ ดึ บรีตู อี นีโกตึ ชาวโปรตุเกส เจ้าเมืองสิเรียมซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้นเกณฑ์ไพร่พลมอญไปช่วย แต่ทัพมอญนั้นยกไปช้าทำให้พระเจ้าตองอูนัดจินหน่องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าอะเนาะเพะลูนใน พ.ศ. 2153
พระเจ้าอะเนาะเพะลูนรับสั่งให้พระเจ้าตองอูตั้งทัพสกัดทัพมอญ แต่ก็ต้านไม่อยู่จนพระยาทะละกับดึบรีตูไปถึงตองอูจึงเผาเมืองตองอูทิ้ง และให้กวาดต้อนทรัพย์สมบัติผู้คนรวมถึงพระจ้าตองอูลงไปยังสิเรียม พระเจ้าตองอูเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์
ตีเมืองสิเรียม
[แก้]ต่อมาพระยาทะละกับดึบรีตูแตกคอกันเพราะเดอปริโตทำลายและย่ำยีพระพุทธศาสนาด้วยการรื้อสถูปเจดีย์เพื่อหาสมบัติซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวพม่ามอญรับไม่ได้ ชาวเมืองสิเรียมก็พากันเกลียดชัง พระเจ้าอะเนาะเพะลูนได้โอกาสจึงเสด็จตีเมืองสิเรียมใน พ.ศ. 2155 ครั้งนี้อยุธยาไม่ช่วย เดอปริโตจึงเอาเมืองหงสาวดีไปยกให้รัฐบาลโปรตุเกสแล้วขอทัพเรือมาช่วยแต่มาไม่ทัน พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงตีเมืองสิเรียมแตกเมื่อ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ. 2156 ทรงจับดึบรีตูไปตรึงกางเขน และกวาดต้อนชาวโปรตุเกสกับพวกลูกครึ่งราว 400 ไปเป็นทาสที่อังวะ ทัพเรือโปรตุเกสมาถึงหลังสิเรียมถูกตีแตกเลยถูกทัพอังวะยึดไว้
ส่วนพระเจ้าตองอูนัดจินหน่อง พระเจ้าอะเนาะเพะลูนเห็นว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์ตองอูเหมือนกัน จึงสั่งให้กลับมานับถือศาสนาพุทธ และสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ พระเจ้าตองอูไม่ยอมจึงถูกประหารฐานกบฏ
สถาปนาราชธานีหงสาวดี
[แก้]พ.ศ. 2156 พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงปราบปรามโปรตุเกสจนสิ้นศัตรูในเมืองพม่า ทรงยึดครองและย้ายเมืองหลวงจากอังวะกลับมาหงสาวดีอีกครั้งเหมือนในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง แต่หงสาวดีนั้นร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้านันทบุเรงเสด็จหนีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปประทับที่ตองอู พระราชวังก็ถูกเผาจนเหลือแต่เพียงซากโดยพวกยะไข่ พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงสร้างได้แต่พลับพลาที่ประทับชั่วคราว ภายหลังก็ไม่สามารถบูรณะพระราชวังให้เหมือนสมัยก่อนได้
ได้หัวเมืองมอญในอำนาจ
[แก้]หลังจากทรงย้ายราชธานีมาหงสาวดี พระเจ้าอะเนาะเพะลูนได้ทรงเกลี้ยกล่อมพระยาทะละ ผู้ปกครองหัวเมืองมอญของกรุงศรีอยุธยา จนพระยาทะละยอมอ่อนน้อม จึงทรงแต่งตั้งพระยาทะละเป็นพระยาธรรมราชาให้ครองหัวเมืองมอญฝ่ายใต้ ทรงให้พระยาธรรมราชาส่งบุตรชายคือพระยาพระรามไปรับราชการที่หงสาวดีแทน แล้วทรงส่งตะคะแมงพระอนุชาไปปกครองเมืองเรแทนพระยาพระราม จากนั้นพม่าก็ได้เมืองเมาะตะมะและหัวเมืองมอญเกือบทั้งหมดกลับไปดังเดิม
ศึกทวายตะนาวศรี
[แก้]ทางกรุงศรีอยุธยาให้เจ้าเมืองทวายยกไปตีเมืองเรจับตะคะแมงได้ พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงขัดเคืองจึงยกทัพ 40,000 คนเสด็จไปตีทวายด้วยพระองค์เองในเดือนยี่ พ.ศ. 2156 ทรงตีเมืองทวายแตก จากนั้นทรงยกทัพมาตีตะนาวศรีของกรุงศรีอยุธยา แต่ก็มีกองทัพอยุธยากับโปรตุเกสต้านไว้ พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงรอดกลับไปที่เมาะตะมะ อยุธยาชนะศึกเมืองตะนาวศรีแล้วก็ยึดคืนเมืองทวายกลับมาได้
ศึกล้านนา
[แก้]พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงเคลื่อนทัพออกจากเมาะตะมะเมื่อเดือน 11 พ.ศ. 2157 ไปตีล้านนาเพราะล้านนาอยู่ในความวุ่นวาย เมื่อทรงยกทัพไปถึงลำพูน พระเจ้าเชียงใหม่สะโดะกะยอทรงทิ้งเมืองเชียงใหม่กวาดต้อนผู้คนมาอยู่ลำปาง จนเสบียงร่อยหรอแต่ก็ทรงอยู่จนพระเจ้าเชียงใหม่สิ้นพระชนม์ขุนนางล้านนาจึงยอมแพ้ พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงตั้งพระยาน่านเป็นพระเจ้าเชียงใหม่แล้วทรงยกทัพกลับไปหงสาวดี
แต่กองทัพอยุธยายกไปถึงภายหลัง ล้านนาก็กลับไปเข้าข้างไทยและไล่ขุนนางพม่าไปหมด ต่อมาใน พ.ศ. 2161 อยุธยากับพม่าทำสัญญาเลิกทำสงครามต่อกันโดยอยุธยายกเมืองเมาะตะมะให้พม่า ส่วนพม่าก็ยกเชียงใหม่ให้อยุธยา
พระอนุชา
[แก้]พระเจ้าอะเนาะเพะลูนมีพระอนุชา 2 พระองค์คือ
- พระเจ้าตาลูน หรือพระเจ้าสุทโธธรรมราชา ครองเมืองแปร
- มังรากะยอชวา ครองเมืองอังวะ
การเสด็จสวรรคต
[แก้]พระเจ้าอะเนาะเพะลูนประทับอยู่ที่หงสาวดีจนถึง พ.ศ. 2169 โหรทูลว่าพระเคราะห์ร้าย ขอให้แปรพระราชฐานไปอยู่ที่อื่น พระองค์จึงข้ามแม่น้ำไปตั้งพลับพลาอยู่นอกเมืองหงสาวดีแล้วทรงประทับอยู่เป็นเวลา 2 ปี
ใน พ.ศ. 2171 พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงหมั้นกับ นางฅำเปา พระราชธิดาของเจ้าเกี๊ยงฅำ เจ้าฟ้าไทลื้อเมืองเชียงตุง ซึ่งเป็นคนรักของ มังเรทิป มังเรทิปทราบความทรงกริ้ว ฉิ่ง ตาน โค พระสหาย จึงอาสาข้ามเรือไปฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ลอบปลงพระชนม์พระบิดาของมังเรทิป ยิงธนูศรโดนพระศอ สวรรคตซบพระวรกายกับขอบหน้าต่างที่ปราสาทริมน้ำนั้น นานข้ามวันจนกว่าพวกข้าหลวงในพระองค์จะรู้ ทรงอยู่ในราชสมบัติได้ 23 ปี มังเรทิปขึ้นครองราชย์ได้ 1 ปี ตะโดธรรมราชา กับ มิงจีสวา พระอนุชาของพระเจ้าอะเนาะเพะลูน รวมกำลังโจมตีหงสาวดียึดอำนาจมังเรทิปได้ กองกำลังอาณาจักรยะไข่กับหัวเมืองพม่าบางส่วนสนับสนุน แต่ทัพมังเรทิปพ่ายแพ้ ในงานแปลของฮาร์วี่ กล่าวว่ามังเรทิปถูกประหารโดยพระอนุชาของพระเจ้าอะเนาะเพะลูนซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อคือพระเจ้าตาลูน แต่ในหลักฐานพม่าชั้นต้นเขียนว่า มังเรทิป ถูกโค่นล้มก็จริง แต่ทรงได้รับความคุ้มครองจากบรรดาเจ้าหญิงแห่งเชียงใหม่ พระธิดาของนรธาเมงสอ และเจ้าชายมิงละนรธา เจ้าเมืองพินยา กระทั่งพระเจ้าตาลูนต้องย้ายจากหงสาวดีไปอังวะเพราะไม่สามารถราชาภิเษกที่หงสาวดีได้นานสี่ปี
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าอะเนาะเพะลูน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 49
- บรรณานุกรม
- ดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ไทยรบพม่า เล่ม 1 สำนักงานพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, พ.ศ. 2546
- ประชุมพงศาวดารเล่ม 2 (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย และภาค 2). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2506. 336 หน้า. หน้า 49-51.
ก่อนหน้า | พระเจ้าอะเนาะเพะลูน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าญองยาน | พระมหากษัตริย์พม่า (อาณาจักรพม่ายุคที่ 2) (พ.ศ. 2148 - 2171) |
พระเจ้ามีนเยเดะบะ |