ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าโอซอนแห่งกรีซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอซอน
พระมหากษัตริย์แห่งกรีซ
ครองราชย์27 พฤษภาคม 1832 – 23 ตุลาคม 1862
ถัดไปเยออร์ยีโอสที่ 1 (ในฐานะ พระมหากษัตริย์แห่งเฮเลนส์)
ผู้สำเร็จราชการโยเซ็ฟ ลูทวิช ฟ็อน อาร์มันชแปร์ค (1832–1835)
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ1 มิถุนายน ค.ศ. 1815(1815-06-01)
ซัลทซ์บวร์ค จักรวรรดิออสเตรีย
อ็อทโท ฟรีดริช ลูทวิช ฟ็อน ไบเอิร์น
สวรรคต26 กรกฎาคม ค.ศ. 1867(1867-07-26) (52 ปี)
บัมแบร์ค ราชอาณาจักรบาวาเรีย
ฝังพระศพเทียทีเนอเชียเชอ มิวนิก
คู่อภิเษกอามาลีแห่งอ็อลเดินบวร์ค (สมรส 1836)
ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค
พระราชบิดาลูทวิชที่ 1 แห่งบาวาเรีย
พระราชมารดาเทเรเซแห่งซัคเซิน-ฮิลด์บวร์คเฮาเซิน
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าโอซอนแห่งกรีซ
พระราชลัญจกร
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลHis Majesty
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Majesty
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

โอซอน หรือ อ็อทโท (กรีก: O Όθων, อักษรโรมัน: O Óthon, เยอรมัน: Otto Friedrich Ludwig von Bayern; 1 มิถุนายน ค.ศ. 1815 – 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1867) เป็นเจ้าชายแห่งบาวาเรีย ที่ได้ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กรีซ นับตั้งแต่การก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1832 ภายใต้อนุสัญญาลอนดอน พระองค์ครองราชย์จนกระทั่งถูกปลดจากราชบัลลังก์ในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1862

พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของพระเจ้าลูทวิชที่ 1 แห่งบาวาเรีย พระเจ้าโอซอนขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรีซในขณะที่ยังทรงพระเยาว์ รัฐบาลของพระองค์จึงอยู่ภายใต้คณะผู้สำเร็จราชการสามคนซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ศาลบาวาเรีย[1] ต่อมาพระองค์ทรงได้รับความนิยมเหนือผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อพระองค์ด้รับการพิสูจน์อย่างกว้างขวางกับประชาชนว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองและเป็นกษัตริย์อย่างแท้จริง แต่ในที่สุดความต้องการรัฐธรรมนูญและแผ่ขยายเป็นวงกว้างและพระองค์ต้องเผชิญหน้ากับการจลาจลติดอาวุธ แต่ก็เกิดความสงบและสันติภาพในปี ค.ศ. 1843 หลังประชาชนได้รับรัฐธรรมนูญ

ตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าโอซอนไม่สามารถแก้ไขความยากจนของกรีซและป้องกันการแทรกแซงทางเศรษฐกิจจากภายนอก การเมืองกรีซในยุคนี้ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวพันกับสามมหาอำนาจและความสามารถในการรักษาพระราชอำนาจของพระเจ้าโอซอนคือกุญแจสู่พระราชอำนาจที่เหลืออยู่ของพระองค์ พระองค์ต้องมีส่วนร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับมหาอำนาจ เมื่อกรีซถูกปิดล้อมโดยกองทัพเรืออังกฤษในปี ค.ส. 1850 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1854 เพื่อหยุดยั้งกรีซจากการโจมตีจักรวรรดิออตโตมันระหว่างสงครามไครเมีย พระเจ้าอ็อตโตยืนอยู่ท่ามกลางชาวกรีซ และในที่สุด ค.ศ. 1862 พระองค์ถูกปลดในขณะที่อยู่ในชนบท และเสด็จสวรรคตในระหว่างการเนรเทศในบาวาเรียเมื่อ ค.ศ. 1867[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "SAE – Revival of Sarakatsani Caravan at the 22nd Panhellenic Sarakatsani Conference / World Council of Hellenes Abroad". En.sae.gr. 28 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-02. สืบค้นเมื่อ 1 October 2011.
  2. Poulianos,, Aris Ν. (1993). SARAKATSANI – THE MOST ANCIENT PEOPLE OF EUROPE.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Otto of Greece