ข้ามไปเนื้อหา

พูนสวัสดิ์ ธีมากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พูนสวัสดิ์ ธีมากร
ชื่อเกิดพูนสวัสดิ์ ธีมากร
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2471
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
เสียชีวิต21 มีนาคม พ.ศ. 2545 (73 ปี)
คู่สมรสอภิรดี ธีมากร
อาชีพนักแสดง ดารา ผู้กำกับ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2545
ผลงานเด่นเรือนแพ (2504)
เพชรพระอุมา (2514)
พระสุรัสวดีตุ๊กตาเงินบทตลกในตัว
พ.ศ. 2506เอื้อมเดือน
สุพรรณหงส์กำกับภาพ/ถ่ายภาพยนตร์
พ.ศ. 2523 – ขุนเดช
ThaiFilmDb

พูนสวัสดิ์ ธีมากร (2 มิถุนายน พ.ศ. 2471 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2545) เป็นนักแสดง ผู้กำกับ ช่างภาพชาวไทย

ผู้กำกับภาพ /ถ่ายภาพยนตร์

[แก้]

เริ่มงานแรกด้วยเรื่อง เรือนแพ (2504) ของอัศวินภาพยนตร์ หลังกลับจากการศึกษาฝึกงานที่ โรงถ่ายโทโฮ ประเทศญี่ปุ่น (ด้วยพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ) และได้ทำงานด้านการถ่ายทำให้กับอัศวินตลอดมา เช่น จำปูน (2507) ,เป็ดน้อย (2511) ,ละครเร่ (2512) ฯลฯ รวมทั้งภาพยนตร์นอกสังกัดที่มีชื่อเสียง เช่น เพชรพระอุมา (2514) ของ วิทยาภาพยนตร์ ซึ่งยกกองไปถ่ายทำถึงประเทศเคนยา

ผลงานแห่งความสำเร็จได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำด้านการถ่ายภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก ขุนเดช (2523)

ดารา /นักแสดง

[แก้]

เริ่มแสดงละครเวทีในแพ.ศ. 2490 และเป็นนักแสดงละครเวทีที่ได้รับความนิยมมาก จนปีพ.ศ. 2494ได้เป็นดาราสมทบในภาพยนตร์ เช่น สุภาพบุรุษจากอเวจี ก่อนก้าวสู่จุดสูงสุด จากภาพยนตร์ เอื้อมเดือน (2506) ด้วยรางวัลตุ๊กตาเงินบทตลกในตัวยอดเยี่ยมประจำปีนั้น และอีกหลากหลายบทบาทที่ผู้ชมยังคงจดจำ เช่น อ้อมอกดิน (2508) รับบทครูสอนเต้นรำจอมกะล่อน ,[1]เพชรตัดเพชร (2509) บทสมุนผู้ร้ายใจอำมหิต ซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่าพอใจมากที่ได้เปลี่ยนมารับบทแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิงจนผู้ชมคาดไม่ถึง ,[2]16 ปีแห่งความหลัง (2511) รับบทครูค่ายมวยผู้หวังดี ที่สุรพล สมบัติเจริญมาอาศัยอยู่ด้วยก่อนเป็นนักร้องชื่อดัง ,[3]โทน (2513) ซึ่งเป็นทั้งผู้ถ่ายภาพยนตร์และร่วมแสดงเป็นฮิปปี้วัยรุ่นหน้าแก่เกินวัย[4]จนถึงงานช่วงหลัง ได้แก่ ทหารเรือมาแล้ว ,ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด ,ฝันบ้าคาราโอเกะ ฯลฯ

ผลงานทางโทรทัศน์มีทั้งรายการยอดฮิตของเมืองไทย ชูศรีโชว์ ของ ชูศรี โรจนประดิษฐ์ และ ดอกดินพาเหรด ของ ดอกดิน กัญญามาลย์ จนถึงละครชุดที่ประสบความสำเร็จมากเรื่อง สามเกลอ รับบท เจ้าคุณประสิทธิ์ฯ ทางช่อง 9 อสมท. และ บท เจ้าคุณวิจิตรฯ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 (2538)[5] หลังจากเคยแสดงเป็น กิมหงวน ฉบับภาพยนตร์ 16 มม. สามเกลอเจอล่องหน (2509)

นักร้อง /นักพากย์

[แก้]

ขับร้องบันทึกแผ่นเสียง "พี่รักเจ้าสาว " ( สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ - สง่า อารัมภีร) ทำนองของเก่า ลาวราชบุรี ในละครเวทีคณะศิวารมย์

พากย์เสียงภาษาไทยให้ จินฟง เรื่อง เรือนแพ (2504) และพากย์เสียงตนเอง ใน เป็ดน้อย (2511)

ผลงาน

[แก้]

ผลงานแสดงภาพยนตร์

[แก้]
  • พ.ศ. 2512 : อภินิหารอาจารย์ทอง
  • พ.ศ. 2512 : ยอดรักยูงทอง
  • พ.ศ. 2512 : นางละคร
  • พ.ศ. 2512 : ขวัญหล้า
  • พ.ศ. 2512 : ไพรรัก
  • พ.ศ. 2512 : เด็กวัด
  • พ.ศ. 2512 : ทับสะแก
  • พ.ศ. 2512 : ดอนเจดีย์
  • พ.ศ. 2512 : ดาวรุ่ง
  • พ.ศ. 2513 : โทน
  • พ.ศ. 2513 : เพลงรักแม่น้ำแคว
  • พ.ศ. 2513 : วิญญาณดอกประดู่
  • พ.ศ. 2513 : เรารักกันไม่ได้
  • พ.ศ. 2513 : เงินจางนางจร
  • พ.ศ. 2513 : อินทรีทอง
  • พ.ศ. 2513 : ลูกหนี้ทีเด็ด
  • พ.ศ. 2513 : เทวีกายสิทธิ์
  • พ.ศ. 2514 : คนึงหา
  • พ.ศ. 2514 : จำปาทอง
  • พ.ศ. 2514 : สองฝั่งโขง
  • พ.ศ. 2514 : แก้วสารพัดนึก
  • พ.ศ. 2514 : เหนือพญายม
  • พ.ศ. 2515 : แม่ปลาบู่
  • พ.ศ. 2515 : ขวัญใจลูกทุ่ง
  • พ.ศ. 2515 : วิวาห์ลูกทุ่ง
  • พ.ศ. 2516 : ผาเวียงทอง
  • พ.ศ. 2516 : วางฟูซาน
  • พ.ศ. 2516 : สุดหัวใจ
  • พ.ศ. 2517 : กังหันสวาท
  • พ.ศ. 2519 : เดียมห์
  • พ.ศ. 2519 : ขุนศึก
  • พ.ศ. 2520 : หงส์ทอง
  • พ.ศ. 2520 : พ่อม่ายทีเด็ด
  • พ.ศ. 2520 : กูซิใหญ่
  • พ.ศ. 2521 : น้องเมีย
  • พ.ศ. 2521 : กัปตันเรือปู
  • พ.ศ. 2522 : แดร๊กคูล่าต๊อก
  • พ.ศ. 2522 : รักพี่ต้องหนีพ่อ
  • พ.ศ. 2523 : ทหารเกณฑ์ ภาค 2
  • พ.ศ. 2523 : เป๋อจอมเปิ่น
  • พ.ศ. 2523 : แผ่นดินแห่งความรัก
  • พ.ศ. 2524 : ยอดรักผู้กอง
  • พ.ศ. 2524 : คำอธิษฐานของดวงดาว
  • พ.ศ. 2524 : ทหารเรือมาแล้ว
  • พ.ศ. 2524 : เด็ดหนวดพ่อตา
  • พ.ศ. 2525 : สัตว์สาวผู้น่ารัก
  • พ.ศ. 2525 : อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง
  • พ.ศ. 2525 : กุนซืออ้วน
  • พ.ศ. 2525 : แววมยุรา
  • พ.ศ. 2526 : นักเลงข้าวนึ่ง
  • พ.ศ. 2526 : วันวานยังหวานอยู่
  • พ.ศ. 2527 : เดชผีดิบ
  • พ.ศ. 2527 : ป.ล.ผมรักคุณ
  • พ.ศ. 2527 : เพชรตัดเพชร
  • พ.ศ. 2528 : ตะวันยิ้มแฉ่ง
  • พ.ศ. 2529 : ไปรษณีย์สื่อรัก
  • พ.ศ. 2529 : พ่อจอมยวน แม่จอมยุ่ง
  • พ.ศ. 2529 : รักกันเล่น ๆ (ไม่เห็นเป็นไร)
  • พ.ศ. 2530 : เรารักกันนะ (ที่ปักกิ่ง)
  • พ.ศ. 2531 : พ่อปลาไหล แม่พังพอน
  • พ.ศ. 2531 : หวานมันส์ ฉันคือเธอ 2
  • พ.ศ. 2531 : มนต์รักเพลงทะเล้น
  • พ.ศ. 2531 : กระชุ่มกระชวย
  • พ.ศ. 2531 : ผิดฝาไม่ผิดตัว
  • พ.ศ. 2531 : ถ้าจะจีบก็ได้เลย
  • พ.ศ. 2531 : ความรัก
  • พ.ศ. 2531 : รักฤๅเสน่หา
  • พ.ศ. 2533 : เศรษฐีใหม่
  • พ.ศ. 2533 : 3 กบาล
  • พ.ศ. 2533 : ดีดสีและตีเป่า
  • พ.ศ. 2533 : ใช่แล้วหลุดเลย
  • พ.ศ. 2533 : พ่อไก้แจ้ แม่ไก่ชน
  • พ.ศ. 2533 : ครูไหวใจร้าย
  • พ.ศ. 2534 : ด้วยรักไม่รู้จบ
  • พ.ศ. 2534 : ขอลูกแก้วเป็นพระเอก
  • พ.ศ. 2534 : โฮ่ง
  • พ.ศ. 2534 : สยึ๋มกึ๋ย
  • พ.ศ. 2534 : วิมานมะพร้าว
  • พ.ศ. 2536 : ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด
  • พ.ศ. 2536 : ฮัลโหล ขอรบกวนหน่อยนะ
  • พ.ศ. 2537 : ม.6/2 ห้องครูวารี
  • พ.ศ. 2538 : บินแหลก
  • พ.ศ. 2538 : ยุทธการเด็ดดอกฟ้า
  • พ.ศ. 2539 : แรงเป็นไฟ ละลายแค่เธอ
  • พ.ศ. 2539 : อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2
  • พ.ศ. 2540 : แก๊งค์กระแทกก๊วนส์ เก๋ากวนเมือง
  • พ.ศ. 2540 : 18-80 เพื่อนซี้ไม่มีซั้ว
  • พ.ศ. 2540 : ฝันบ้าคาราโอเกะ

ผลงานแสดงละครโทรทัศน์

[แก้]

ผลงานการถ่ายภาพ

[แก้]
  • พ.ศ. 2512 : ละครเร่
  • พ.ศ. 2515 : ชู้
  • พ.ศ. 2515 : สุดสายป่าน
  • พ.ศ. 2516 : ความรักมักเป็นอย่างนี้
  • พ.ศ. 2516 : เจ้าสาวเรือพ่วง
  • พ.ศ. 2516 : วางฟูซาน
  • พ.ศ. 2517 : น้ำผึ้งขม
  • พ.ศ. 2517 : สามปอยหลวง
  • พ.ศ. 2518 : ทะเลทอง
  • พ.ศ. 2518 : นายอำเภอใจเพชร
  • พ.ศ. 2519 : 17 ทหารกล้า
  • พ.ศ. 2519 : เหมือนหนึ่งในฝัน
  • พ.ศ. 2519 : ทะเลฤๅอิ่ม
  • พ.ศ. 2520 : กูซิใหญ่
  • พ.ศ. 2521 : ขุนดอน
  • พ.ศ. 2521 : หญิงปรารถนา
  • พ.ศ. 2521 : แม่ยอดสร้อยพ่อยอดแซว
  • พ.ศ. 2521 : เดนนรก
  • พ.ศ. 2522 : สวรรค์ปิด
  • พ.ศ. 2522 : สามคนผัวเมีย
  • พ.ศ. 2522 : บัณฑิตเหลือเดน
  • พ.ศ. 2522 : อยู่อย่างเสือ
  • พ.ศ. 2522 : ลูกชั่ว
  • พ.ศ. 2523 : คู่โจร
  • พ.ศ. 2523 : มันมือเสือ
  • พ.ศ. 2523 : ผิดหรือที่จะรัก
  • พ.ศ. 2524 : ยอดรักผู้กอง
  • พ.ศ. 2524 : สิงห์คะนองปืน
  • พ.ศ. 2524 : รักครั้งแรก
  • พ.ศ. 2524 : สุดทางรัก
  • พ.ศ. 2525 : ยอดเยาวมาลย์
  • พ.ศ. 2525 : เพชฌฆาตหน้าเป็น
  • พ.ศ. 2525 : รักจั๊กจี้
  • พ.ศ. 2526 : เห่าดง
  • พ.ศ. 2527 : แพแตก

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พูนสวัสดิ์ ธีมากร เป็นบุตรชายของร้อยโทเขียน ธีมากร นายทหารบก เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ 7 พี.เจ. ซึ่งเคยเป็นผู้อ่านประกาศและแถลงการณ์ของคณะราษฎร[6] และร่วมแสดงใน เลือดทหารไทย (2478)

ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางอภิรดี ธีมากร มีบุตรชายชื่อ อรรถพร ธีมากร ชื่อเล่น หนุ่ม ซึ่งเป็นดารานักแสดงในวงการบันเทิงไทยปัจจุบัน

มรณกรรม

[แก้]

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2545

อ้างอิง

[แก้]
  1. วีดิทัศน์ อ้อมอกดิน ,พันธมิตร 2546
  2. วีซีดี เพชรตัดเพชร ,พันธมิตร 2546
  3. วีซีดี 16 ปีแห่งความหลัง ,เมโทรพิคเจอร์ส 2543
  4. วีดิทัศน์ โทน ,พันธมิตร 2549
  5. พีระพงศ์ ดามาพงศ์ ท่องอดีตกับสามเกลอ เล่ม 1 แมทช์บอกซ์ กรุงเทพ 2546 ISBN 974-684-580-2 หน้า 84-89
  6. นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 283.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]