ฟาโรห์บา
ฮอรัส-บา | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
บา, ฮอร์-บา | |||||||||||||||||||||
พระนามเซเรคของฟาโรห์ฮอรัส-บา | |||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ไม่ทราบ | ||||||||||||||||||||
ถัดไป | ไม่ทราบ | ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ไม่แน่ชัด, อาจจะราชวงศ์ที่หนึ่ง, ราชวงศ์ที่สอง หรือ ราชวงศ์ที่สาม |
บา หรือที่เรียกว่า ฮอรัส บา เป็นพระนามเซเรคของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ตอนต้น ซึ่งอาจจะทรงปกครองในช่วงปลายราชวงศ์ที่หนึ่ง หรือปลายช่วงราชวงศ์ที่สอง หรือในช่วงราชวงศ์ที่สาม ไม่ทราบระยะเวลาแห่งการครองราชย์และลำดับตำแหน่งตามช่วงเวลาที่แน่ชัด
ที่มาของพระนาม
[แก้]หลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์ "บา" เพียงชิ้นเดียว คือ ชิ้นส่วนของหินชิสต์เขียว ซึ่งพบในห้องชุดใต้ดินใต้พีระมิดแห่งดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์ และหลุมฝังศพมาสตาบา (สมัยราชวงศ์ที่หก) ของขุนนางระดับสูงนามว่า นิ-อังค์-บา[1][2]
การระบุตัวตน
[แก้]ไม่ค่อยทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์บาค่อนข้างน้อย แต่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีเพียงไม่กี่ชิ้นที่ยืนยันว่ามีผู้ปกครองพระองค์ดังกล่าวอยู่จริง แต่ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์เพิ่มเติม
ในปี ค.ศ. 1899 อเลสซานโดร ริชชี นักวิทยาศาสตร์ ได้ตีพิมพ์ภาพวาดของเซเรคที่ปรากฏสัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณรูปขาเดียว (สัญลักษณ์การ์ดิเนอร์ D58) ซึ่งเป็นอักษรอียิปต์โบราณ ภาพดังกล่าวอยู่ในเล่มที่ 35 ของชุดหนังสือ Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde ตามที่ริชชีได้ค้นพบพระนามเซเรคในศิลาจารึกที่วาดิ มะกะเรฮ์ คาบสมุทรไซนาย นักไอยคุปต์วิทยาอย่าง ยาโรสลาฟ เชร์นี และมิเชล เบาด์ พบว่าศิลาจารึกที่ริชชีตีพิมพ์ไปนั้นเป็นศิลาจารึกของฟาโรห์ซานัคต์แห่งราชวงศ์ที่สาม โดยที่ริชชีได้แปล ความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในพระนามของฟาโรห์ซานัคต์ผิด สัญลักษณ์ดังกล่าวคือสัญลักษณ์ห่วงเชือกตั้งตรง, สัญลักษณ์ซิกแซกที่แทนภาพของน้ำและสัญลักษณืกิ่งไม้ด้านล่าง ซึ่งที่ริชชีมองว่าเป็นสัญลักษณ์ขาเดียว[3]
นักไอยคุปต์วิทยาอย่าง เชร์นี และปีเตอร์ คาพลอนี ได้คิดว่าฟาโรห์บา อาจจะฟาโรห์พระองค์เดียวกนกับฟาโรห์ฮอรัส เบิร์ด ซึ่งปรากฏหลักฐานที่เบาบางเช่นเดียวกัน โดยผู้ปกครองพระองค์นี้ทรงเขียนพระนามของพระองค์ด้วยสัญลักษณ์รูปนกคล้ายห่าน แต่เนื่องจากการตีความสัญลักษณ์รูปนกในข้อสงสัยนั้นยังขาดรายละเอียดทางศิลปะที่เอื้อให้สามารถระบุตัวตนได้ นักไอยคุปต์วิทยาจึงโต้แย้งการอ่านและความหมายของพระนามฮอรัสที่ถูกต้อง เชร์นีและคาพลอนีคิดว่าพระนามของฟาโรห์ทั้งสองพระองค์สามารถถอดความเหมือนกันคือ "บา" ในกรณีนี้คือฟาโรห์ฮอรัส บา และฟาโรห์ฮอรัส เบิร์ด จะเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์พระองค์เดียวกัน แต่ข้อสันนิษฐานของเชร์นีและคาพลอนีกลับไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป[4]
ในทางตรงกันข้าม นักไอยคุปต์วิทยาอย่าง นาบิล สเวลิม คิดว่าฟาโรห์ฮอรัส บา ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลัก์โดยตรงของฟาโรห์นิเนทเจอร์แห่งราชวงศ์ที่ 2 ซึ่งได้ชี้ไปที่รูปแบบของพระนามของฟาโรห์นิเนทเจอร์ในบันทึกพระนามแห่งอไบดอส ซึ่งขึ้นต้นด้วยสัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณ (รูปแกะตัวผู้; สัญลักษณ์การ์ดิเนอร์ E11) เช่นเดียวกับพระนามเซเรคของฟาโรห์ฮอรัส บา ดังนั้น สเวลิม จึงเชื่อว่าพระนามฮอรัสของฟาโรห์บานั้นเป็นพระนามที่มีส่วนหนึ่งของพระนามประสูติของฟาโรห์นิเนทเจอร์ที่ผิด[5]
ไม่ทราบสถานที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์บา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nabil Swelim: Some Problems on the History of the Third Dynasty - Archaeological and Historical Studies; Volume 7. The Archaeological Society of Alexandria, Alexandria 1983, page 27–32, 180 und 219.
- ↑ Carl Richard Lepsius: Koenigsbuch der Alten Aegypter. Besser, Mainz 1858, page 18 & Obj. no. 906.
- ↑ Míchel Baude: Djéser et la IIIe dynastie: Les Grands pharaons. Pygmalion, Paris 2007, ISBN 2-7564-0147-1, page 20.
- ↑ Peter Kaplony: Horus Ba?. In: Mitteilungen des Deutschen Archäologischen Institut Kairo. Volume 20. von Zabern, Mainz 1965, page 3 & 4.
- ↑ Nabil Swelim: Some Problems on the History of the Third Dynasty - Archaeological and Historical Studies Band 7. The Archaeological Society of Alexandria, Alexandria 1983, page 27–32, 180 & 219.