ข้ามไปเนื้อหา

ภาษากาตาลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษากาตาลา/ภาษาบาเลนเซีย
català/valencià
ออกเสียง[kətəˈla]/[valensiˈa]
ประเทศที่มีการพูดสเปน, อันดอร์รา, ฝรั่งเศส, อิตาลี
ชาติพันธุ์ชาวกาตาลา, ชาวบาเลนเซีย, ชาวแบลีแอริก, ชาวอารากอน
จำนวนผู้พูด4.1 ล้านคน[1]  (2555)
จำนวนผู้พูดทั้งหมด: มากกว่า 10 ล้านคน (ภาษาที่หนึ่งบวกภาษาที่สอง; 2561)[2]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษากาตาลาเก่า
  • ภาษากาตาลา/ภาษาบาเลนเซีย
รูปแบบมาตรฐาน
ภาษากาตาลา (จัดประมวลโดยสถาบันการศึกษากาตาลา)
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรกาตาลา)
อักษรเบรลล์กาตาลา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบ • สถาบันการศึกษากาตาลา
 • บัณฑิตยสถานภาษาแห่งบาเลนเซีย
รหัสภาษา
ISO 639-1ca
ISO 639-2cat
ISO 639-3cat
Linguasphere51-AAA-e
Domínio geolinguístico do catalão
  ดินแดนที่มีการพูดและใช้ภาษากาตาลา/บาเลนเซียเป็นภาษาทางการ
  ดินแดนที่มีการพูดภาษากาตาลา/บาเลนเซีย แต่ไม่มีการใช้เป็นภาษาทางการ
  ดินแดนซึ่งในอดีตไม่มีการพูดภาษากาตาลา/บาเลนเซีย แต่ปัจจุบันมีการใช้เป็นภาษาทางการ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษากาตาลา (กาตาลา: català) ซึ่งในแคว้นบาเลนเซียและเขตเอลการ์เชเรียกว่า ภาษาบาเลนเซีย (บาเลนเซีย: valencià) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ตะวันตกซึ่งแผลงมาจากภาษาละตินสามัญ เป็นภาษาราชการของประเทศอันดอร์รา[4] และเป็นภาษาราชการร่วมของภูมิภาคทางภาคตะวันออกของประเทศสเปน ได้แก่ กาตาลุญญา บาเลนเซีย และหมู่เกาะแบลีแอริก นอกจากนี้ยังมีสถานะกึ่งทางการในเทศบาลอัลเกโรของประเทศอิตาลี[5] นอกจากนี้ยังมีผู้พูดในจังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาลของประเทศฝรั่งเศสและในพื้นที่อีกสองแห่งทางภาคตะวันออกของประเทศสเปน ได้แก่ แถบตะวันออกของแคว้นอารากอนและเขตเอลการ์เชในแคว้นภูมิภาคมูร์เซีย มักเรียกดินแดนที่พูดภาษากาตาลา/บาเลนเซียรวมกันว่า "ประเทศกาตาลา" (Països Catalans)

ภาษากาตาลามีวิวัฒนาการมาจากภาษาละตินสามัญรอบเทือกเขาพิรินีตะวันออกในสมัยกลาง ในสเปนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรากฏขบวนการฟื้นฟูวรรณกรรมกาตาลา[6][7] ซึ่งเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 ปัจจุบันหน่วยงานที่มีหน้าที่วางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษากาตาลาคือ สถาบันการศึกษากาตาลา (Institut d'Estudis Catalans) ส่วนหน่วยงานที่มีหน้าที่วางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาบาเลนเซียคือ บัณฑิตยสถานภาษาแห่งบาเลนเซีย (Acadèmia Valenciana de la Llengua)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ภาษากาตาลา". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
  2. "InformeCAT 50 dades sobre la llengua catalana" (PDF) (ภาษาคาตาลัน). 7 June 2018. รายงานเกี่ยวกับภาษากาตาลาโดยองค์การฐานช่องทางเพื่อภาษา (Plataforma per la Llengua) จากการสำรวจทางภาษาศาสตร์สังคมล่าสุด
  3. 3.0 3.1 นักวิชาการไอบีเรียบางคนจัดภาษากาตาลา/บาเลนเซียเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ไอบีเรีย/ไอบีเรียตะวันออก
  4. Wheeler 2010, p. 191.
  5. Minder, Raphael (21 November 2016). "Italy's Last Bastion of Catalan Language Struggles to Keep It Alive". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 January 2017.
  6. Wheeler 2010, p. 190–191.
  7. Costa Carreras & Yates 2009, pp. 6–7.

บรรณานุกรม

[แก้]