ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาจิตตะกอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาจิตตะกอง
Chatgaya/Satgaya
চাটগাঁইয়া বুলি Chaţgãia Buli
ประเทศที่มีการพูดบังกลาเทศ, พม่า
ภูมิภาคทางตะวันออกของ เอเชียใต้
จำนวนผู้พูด14 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-2cit
ISO 639-3

ภาษาจิตตะกอง (Chaţgãia Buli) เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ใช้พูดในจิตตะกอง และทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบังกลาเทศ ใกล้เคียงกับภาษาเบงกอลแต่นักภาษาศาสตร์มักจะแยกเป็นอีกภาษาต่างหากและไม่ถือเป็นภาษาถิ่นของภาษาเบงกอล มีผู้พูด 14 ล้านคนในบังกลาเทศและอังกฤษ

ไวยากรณ์

[แก้]

ใกล้เคียงกับภาษาเบงกอลมีการผันคำ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา อนุภาคแสดงความปฏิเสธนำหน้านามเช่นเดียวกับภาษาอัสสัม ซึ่งต่างจากภาษาเบงกอลที่ตามหลัง

คำศัพท์

[แก้]

คำศัพท์ส่วนใหญ่ของภาษาจิตตะกองมาจากภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย และภาษาตุรกีเช่นเดียวกับภาษาเบงกอล รวมทั้งคำยืมจากภาษาโปรตุเกสและภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เคยเป็นอาณานิคมของทั้งสองชาตินี้มาก่อน ลักษณะที่ต่างจากภาษาเบงกอลคือ ภาษาจิตตะกองมีคำยืมจากภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย และภาษาตุรกี มากกว่าเพราะในอดีตจิตตะกองเป็นเมืองท่ามีพ่อค้าเข้ามาค้าขายมาก การที่โปรตุเกสเคยเข้ามาควบคุมจิตตะกองในฐานะเมืองท่า ทำให้มีคำยืมจากภาษาโปรตุเกสมากกว่าภาษาเบงกอล

ระบบการเขียน

[แก้]

ภาษาจิตตะกองเป็นภาษาที่ไม่ได้ใช้เป็นภาษาเขียน ชาวจิตตะกองอ่านและเขียนภาษาเบงกอลด้วยอักษรเบงกอล ในอดีตเคยเขียนด้วยอักษรอาหรับ สำเนียงโรฮีนจาของภาษานี้ เคยเขียนด้วยอักษรอาหรับเช่นกัน แต่ปัจจุบันใช้อักษรละติน