ข้ามไปเนื้อหา

วังวาริชเวสม์

พิกัด: 13°46′42″N 100°31′12″E / 13.7784221°N 100.5199671°E / 13.7784221; 100.5199671
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วังวาริชเวสม์
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปลี่ยนสภาพ
ประเภทวัง
สถาปัตยกรรมตะวันตก
ที่ตั้งแขวงดุสิต เขตดุสิต
เมือง กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย
พิกัด13°46′12″N 100°31′12″E / 13.77000°N 100.52000°E / 13.77000; 100.52000
เริ่มสร้างพ.ศ. 2476
เจ้าของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)
ปัจจุบันถูกใช้ประโยชน์โดยแม็ทชิ่ง สตูดิโอ

วังวาริชเวสม์ ตั้งอยู่ที่ซอยสุโขทัย 6 ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2476 (1 ปี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีพระสาโรชรัตนนิมมานก์ สถาปนิกไทยรุ่นบุกเบิกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง

ปัจจุบัน วังวาริชเวสม์ เป็นอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และครอบครองการใช้ประโยชน์โดยบริษัทแม็ทชิ่ง สตูดิโอ จำกัด (มหาชน)

สถาปัตยกรรม

[แก้]

เนื่องด้วยเป็นอาคารหลังแรก ๆ ในช่วงของการเปลี่ยนยุคทางสถาปัตยกรรมจากตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งยังติดกับรูปแบบเดิมที่อิงอยู่กับอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโบราณ สู่ยุคต้นรัชกาลที่ 8 ซึ่งทันสมัยและเป็นสากลมากยิ่งขึ้น และ การก่อสร้างจึงเน้นความประหยัดและเรียบง่าย อันเนื่องด้วยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวัสดุก่อสร้างใหม่เพื่อเพิ่มความคงทนถาวรโดยนำคอนกรีตเสริมเหล็กมาใช้แทนไม้หรือปูนทั้งในส่วนที่เป็นโครงสร้างและองค์ประกอบตกแต่ง ใช้ลวดลายเรขาคณิตแทน ลวดลายฉลุแบบเดิม (ขนมปังขิง) เดิม นอกจากนี้ ยังเป็นยุคเปลี่ยนสถาปนิกจากที่เคยเป็นเจ้านาย ขุนนาง หรือชาวต่างชาติ มาเป็นสามัญชนธรรมดา แสดงให้เห็นวิวัฒนาการเชิงรูปแบบและโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°46′42″N 100°31′12″E / 13.7784221°N 100.5199671°E / 13.7784221; 100.5199671