วัดพระธรรมกาย
วัดพระธรรมกาย | |
---|---|
พระมหาธรรมกายเจดีย์ | |
ชื่อสามัญ | วัดพระธรรมกาย |
ที่ตั้ง | คลองหลวง ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12120 |
ประเภท | วัดราษฏร์ |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระครูปลัดรัตนวีรวัฒน์ (รังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก) พระเผด็จ ทตฺตชีโว (ปฏิบัติหน้าที่โดยพฤตินัย) [2] |
ความพิเศษ | พระอุโบสถได้รับรางวัลชมเชยสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2541[1] |
จุดสนใจ | การเข้าสักการะมหาวิหารพระมงคลเทพมุนีและพระมหาธรรมกายเจดีย์ |
กิจกรรม | งานบุญทุกวันอาทิตย์ งานบุญวันอาทิตย์ต้นเดือน |
เว็บไซต์ | th |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดพระธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
วัดพระธรรมกายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของประชาชน และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง แต่สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งได้ขอขมาในภายหลัง อย่างไรก็ดี สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ขึ้นวัดพระธรรมกายไว้ในบัญชีดำฐานเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ[3]
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้วัดพระธรรมกายเป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ เพื่อจับกุมพระธัมมชโย[4]
ประวัติ
ยุคเริ่มต้น (พ.ศ. 2506–2521)
เมื่อพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) มรณภาพไปแล้ว ลูกศิษย์ของท่านรวมถึงแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ได้สืบทอดสายปฏิบัติของวิชชาธรรมกาย ให้กับลูกศิษย์รุ่นใหม่ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ[5] ในสมัยนั้น ไชยบูลย์ สุทธิพลศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2506 ไชยบูลย์ ได้ไปที่วัดปากน้ำ หลังจากที่ได้อ่านวารสาร วิปัสสนาบันเทิงสาร ซึ่งมีอ้างถึงคุณวิเศษของแม่ชีจันทร์[6][7]
ไชยบูลย์ได้ชักชวนเพื่อนนักศึกษาร่วมกิจกรรมที่วัดปากน้ำ คณะลูกศิษย์แม่ชีจันทร์จึงขยายมากขึ้น[7] มีอยู่หนึ่งคนในคณะลูกศิษย์ที่ชื่อเผด็จ ผ่องสวัสดิ์ (ซึ่งในภายหลังได้บวชเป็นพระภิกษุ และได้มาเป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ชื่อพระเผด็จ ทตฺตชีโว). ในปี 2512 ไชยบูลย์เองได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้รับฉายา "ธมฺมชโย" และต่อมาได้เริ่มสอนกรรมฐานที่วัดปากน้ำร่วมกับแม่ชีจันทร์[8] ในที่สุดคณะลูกศิษย์ได้ขยายไปเป็นจำนวนมาก ยากที่จะจัดกิจกกรมที่วัดปากน้ำภาษีเจริญต่อ[9] ดังนั้นในวันที่ 20 ก.พ. พ.ศ. 2513 แม่ชีจันทร์ พระธัมมชโย และพระทัตตชีโว พร้อมกับบรรดาลูกศิษย์ได้ย้ายไปตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมอีกต่างหาก โดยที่มีเริ่มต้นบนที่ดินแปลง 196 ไร่ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี[10]
กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นวัดตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ในชื่อ "ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดวรณีธรรมกายาราม" ได้ชื่อตามวรณี สุนทรเวช ธิดาของพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) กับคุณหญิงแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (ประหยัด สุนทรเวช) ผู้บริจาคสถานที่ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "วัดพระธรรมกาย" จนถึงปัจจุบัน[11][12] ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดโดยสมบูรณ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2522 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 15 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522[13][14]
ในสมัยแรกแม่ชีจันทร์ยังมีบทบาทที่สำคัญในการบอกบุญและการปกครอง ต่อมาเมื่อท่านอายุมากขึ้น จึงค่อย ๆ มอบให้ลูกศิษย์ของท่าน คือหลวงพ่อธัมมชโย และหลวงพ่อทัตตชีโวบริหารงานต่อ[9]
การเติบโต (พ.ศ. 2522–2539)
ในสมัย พ.ศ. 2520-2530 ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว วัดพระธรรมกายเริ่มเป็นที่นิยมของประชาชนมากขึ้น.[15][16][17] วัดพระธรรมกายได้ถ่ายทอดค่านิยม มุ่งเน้นความสำเร็จทางธุรกิจ ความทันสมัย และการฝึกฝนตนเอง ซึ่งทำให้วัดเป็นที่ดึงดูดของประชาชนชนชั้นกลาง[18] อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้นประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ทั้งด้านธรรมเนียมประเพณี และด้านสังคม ชนชั้นกลางจึงต้องการที่พึ่ง[19][20]
ตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มสร้างวัดพระธรรมกายจะมุ่งเน้นกิจกรรมสำหรับนักเรียน และนักศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 วัดพระธรรมกายได้ตั้งโครงการอบรมขึ้นมา โดยตั้งชื่อว่า ธรรมทายาท ซึ่งเป็นโครงการปฏิบัติธรรมที่มุ่งเน้นนักศึกษามหาวิทยาลัย[21] ต่อมานักศึกษที่ผ่านการอบรมโครงการนี้ ได้มาเป็นผู้ประสานงานในชมรมพุทธของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยที่ในช่วงเวลา พ.ศ. 2520–2530 มีผู้ประสานงานที่เป็นลูกศิษย์ของวัดประสานงานในชมรมพุทธในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย[22] และในปี พ.ศ. 2524 วัดพระธรรมกายจัดตั้งโครงการ ทางก้าวหน้า โดยที่มีโรงเรียนหลายแห่งในประเทศไทยสมัครเพื่อให้นักเรียนแข่งขันสอบความรู้ด้านคำสอนเรื่องจรียธรรมในพระพุทธศาสนา[23] ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 วัดพระธรรมกายได้ปรับโครงการ ธรรมทายาท มาเป็นโครงการบวช ตามธรรมเนียมโบราณที่จะบวชสั้น[24] ซึงในเวลานั้นการบวชตามประเพณีมักบวชไม่นานนัก วัดพระธรรมกายจึงได้พยายามที่จะสวนกระแสดังกล่าว โดยการจัดบวช 2–3 เดือนเป็นอย่างน้อย[25] ในปี พ.ศ. 2529 วัดพระธรรมกายได้เริ่มอบรมผู้หญิงในโครงการอบรมระยะยาว[9]
ในสมัย พ.ศ. 2530 วัดพระธรรมกายมีคนร่วมพิธีกรรมสำคัญโดยเฉลี่ยจำนวน 50,000 คน[26] โครงการธรรมทายาทดังกล่าวเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2522 โดยมีผู้มาอบรมเพียง 60 คน แต่ในปี พ.ศ. 2529 จำนวนเพิ่มขึ้นเป็นหลายพันคน[27] ในปี พ.ศ. 2533 มีพระประจำรวม 260 รูป สามเณรรวม 214 รูป และเจ้าหน้าที่วัดรวม 441 คน[9] ทางวัดพระธรรมกาย ริเริ่มจัดกิจกรรมอย่างกว้าง อย่างเช่น ชวนประชาชนร่วมกันบริจาคเลือด จัดอบรมปฏิบัติธรรมให้กับภาครัฐ และเอกชน[28] รวมทั้งส่งเสริมงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2527 มีการจัดทำซีดีพระไตรปิฎกที่สามารถสืบค้นคำสำคัญได้ ซึ่งได้ร่วมมือกับสมาคมบาลีปกรณ์ ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัย California ณ เมือง Berkeley สหรัฐอเมริกา[29]
ในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิธรรมกายได้รับการรับรอง จากองค์กรสหประชาชาติ[10] และเริ่มมีการประชุมการศึกษา เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อส่งเสริมสันติภาพ สำหรับกลุ่มเยวชน เมื่อปี พ.ศ. 2559 มูลนิธิธรรมกายมีฐานะเป็นองค์กรที่ปรึกษาของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ[28] ในสมัยนั้นมูลนิธิธรรมกายเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรพุทธต่างประเทศหลายองค์กร ตัวอย่างเช่นฟอควงซาน ในไต้หวันและวัดพระพุทธเจ้า แสนพระองค์ ในฮ่องกง เป็นต้น[9][10]
วัดพระธรรมกายเริ่มขยายพื้นที่มากขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาทางวัดได้เริ่มตั้งศูนย์สาขาในสหรัฐ ประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน[30][9]
การวิจารณ์ และคดี (พ.ศ. 2540–2543)
ช่วงเวลาในปี พ.ศ. 2540 นั้นตรงกันกับเวลาของวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย (วิกฤตต้มยำกุ้ง) ส่งผลให้เศรษฐกิจตกต่ำเป็นวงกว้างโดยเฉพาะในกลุ่มของพนักงานบริษัทที่มีรายได้ประจำ สวนทางกับการเติบโตของวัดพระธรรมกายในเวลานั้น ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการดำเนินงานของวัด โดยมีการระบุภายในงานของ โรรี แมคเคนซี ว่าถ้าหากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยในเวลานั้นไม่รุนแรงถึงขั้นสุด วัดพระธรรมกายที่ดำเนินกิจกรรมตามปกติของวัดตามที่ได้วางรากฐานมาอาจจะไม่ถูกวิจารณ์มากขนาดนี้[31]
ในปี พ.ศ. 2541 วัดพระธรรมกายถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการตีความด้านหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาและรูปแบบในการประกอบศาสนกิจต่าง ๆ[32] จากชนชั้นนำในวงการคณะสงฆ์ของไทย เช่น พระธรรมปิฎก และ ส.ศิวรักษ์ จากการเผยแพร่คำสอนว่า "นิพพานเป็นอัตตา" นอกจากนี้ยังมาจากการออกแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากขนบของพุทธจารีต ทั้งส่วนของพระพุทธรูป มหารัตนวิหารคด และมหาธรรมกายเจดีย์ รวมถึงการจัดพิธีกรรมต่าง ๆ ของวัดนั้นถูกวิจารณ์จากสาธารณชนว่ามีความหรูหราและอลังการ สวนทางกับสภาวะเศรษฐกิจในเวลานั้น[31] ประจวบเหมาะกับในปี พ.ศ. 2542 พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในขณะนั้นเผชิญข้อกล่าวหาว่ายักยอกที่ดินของวัดมาเป็นของตนเอง และมีการถอนฟ้องในปี พ.ศ. 2549[33]
แม้จะเผชิญการวิพากษ์วิจารณ์และคดีความอย่างหนัก แต่วัดพระธรรมกายยังคงเดินหน้าจัดกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงมวลชนจำนวนมหาศาลของคน เช่น การบวชอุบาสกแก้วเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จำนวน 200,000 คน ระหว่างวันที่ 29–31 มกราคม พ.ศ. 2542 และสามารถหาศิษยานุศิษย์ที่เป็นกำลังหลักคนใหม่เข้ามาได้เช่นกัน เช่น อนันต์ อัศวโภคิน, ทักษิณ ชินวัตร และ บุญชัย เบญจรงคกุล รวมถึงดารานักแสดงอีกจำนวนหนึ่ง[31]
การขอขมา
ภายหลังจากการนำเสนอข่าวในการวิจารณ์และโจมตีวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ในช่วงปี พ.ศ. 2542 ทั้งในรูปแบบการใช้คำพูดล่วงเกิน การตัดต่อภาพล้อเลียน และข้อกล่าวหาต่าง ๆ เช่น การบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม การลักทรัพย์ ฉ้อโกง การหลอกลวงประชาชน การโอนเงินของวัดให้สีกา การเล่นหุ้น เป็นวัดฉาว สำนักฉาว การกว้านซื้อที่ดินสร้างรีสอร์ท เป็นต้น ซึ่งในภายหลังได้มีการออกเนื้อความประกาศเผยแพร่เพื่อขอขมาเนื่องจากข้อมูลที่ได้นำเสนอไปไม่ตรงกับความเป็นจริง และสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชน โดยลงเป็นกรอบข่าวขอขมาเพียงกรอบเล็ก ๆ ในหนังสือพิมพ์เท่านั้น โดยมีการขอขมาในกรณีดังกล่าวจากหนังสือพิมพ์ ตามวันและฉบับที่ ดังนี้[34]
- หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 14 ฉบับที่ 4655 วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ขอขมาต่อการนำเสนอในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2542, 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2542
- ปีที่ 14 วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2544 หน้า 11 ขอขมาต่อการนำเสนอในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2542, 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2542
- หนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2544 ขอขมาต่อการเผยแพร่ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2543
- ขอขมาต่อข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2543
- ปีที่ 52 ฉบับที่ 17691 วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2544 หน้า 13 ขอขมาต่อกรณีการตัดต่อภาพที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และการใช้คำพูดกล่าวหาว่า "ชาวธรรมกายและเหล่าพระปลอมจอมมาร คงลิงโลดลำพองหัวใจเป็นอย่างยิ่งที่พระปลอมจอมมารได้รับประกันตัว" ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง
- ปีที่ 52 ฉบับที่ 17710 วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 หน้า 13 ขอขมาต่อการใช้ถ้อยคำว่า "การถือครองที่ดินที่ได้รับบริจาค เรื่องราวนิคหกรรม เรื่องราวคำสอนว่าบิดเบือนลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม ทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชน กระทำการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เหมาะสม ต้องอาบัติปาราชิก เรียกวัดพระธรรมกายว่าวัดฉาว นำเงินบริจาคไปดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หลอกขายพระดูดทรัพย์ หลอกขายบุญ เป็นวัดที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรและเจ้าพนักงานของรัฐ เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่าเป็นอลัชชี เดียรถีย์ พระปลอมจอมมาร นายไชยบูลย์ พระฉาว ศาสดาลูกแก้ว พระนอกรีด ภิกษุมหาโจร เจ้าอาวาสวัดฉาว มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับหญิงสาว" ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยเผยแพร่ถ้อยคำดังกล่าวช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2543
- หนังสือพิมพ์มติชน ปีที่ 25 ฉบับที่ 8888 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ขอขมาต่อกรณีข้อกล่าวหาการรุกป่าสงวน 700 ไร่ในพื้นที่ของอุทยานควนจุก จังหวัดพังงา เนื่องจากทางวัดไม่ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาแต่อย่างใด
- ปีที่ 26 ฉบับที่ 9262 วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2546 ขอขมาต่อการใช้ถ้อยคำว่า "วัดฉาว สำนักฉาว เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า นายไชยบูลย์ เจ้าสำนักฉาว กล่าวหาว่าเล่นหุ้น โอนเงินของวัดให้สีกา" ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยเผยแพร่ถ้อยคำดังกล่าวช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542
- ปีที่ 26 ฉบับที่ 9263 วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2546 ขอความต่อการใช้ถ้อยคำซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยเผยแพร่ถ้อยคำดังกล่าวช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542
กรณีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
วันที่ 16 ก.พ. 2560 ทางรัฐบาลมีคำสั่งใช้มาตรา 44 ให้พื้นที่บริเวณวัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ ป้องกันไม่ให้มีบุคคลเข้าไปในพื้นที่และผลักดันผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในวัดออกนอกพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้เข้าไปตรวจค้น พร้อมทั้งควบคุมตัวพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา คดีพิเศษเลขที่ 27/2559 ในข้อหาสบคบและร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร[35][36]
โครงการด้านการคณะสงฆ์
- โครงการเจริญพุทธมนต์ 5 ธันวามหาราช
- จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556
- โครงการมุทิตาสักการะพระภิกษุ–สามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยค
- เริ่มปี พ.ศ. 2530 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนสิงหาคม นับถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นครั้งที่ 26 โดยมีพระเปรียญธรรม 9 ประโยค ร่วมรับถวายมุทิตา จำนวน 1,132 รูป รวมมอบทุนการศึกษากว่า 7,924,000 บาท[37]
- โครงการถวายทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนบาลีทั่วประเทศ
- เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 นับถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นครั้งที่ 10 โดยมอบทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนที่สอบได้คะแนนสูงสุดในแต่ละประเภท รวมมอบทุนการศึกษา ปีละกว่า 4,000,000 บาท[37][38]
บุคคลสำคัญ
- พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย และเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา ในข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และรับของโจร
- พระเผด็จ ทตฺตชีโว เป็นรองเจ้าอาวาส
วิเคราะห์ทางการเมือง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 วัดพระธรรมกายได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยมีการแจ้งข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงและรับของโจร และการออกหมายจับจากกรมสอบสวนคดีพิเศษในฐานความผิดฐานสมคบและร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร โดยช่วงแรกเป็นการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม ก่อนที่ต่อมารัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ใช้กำลังโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ปิดล้อมวัดพระธรรมกายและค้นหาตัวพระไชยบูลย์ ธมฺมชโยด้วยกำลังตำรวจและทหารกว่า 4,240 นายในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยถือเป็นการใช้กำลังเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนมากในการดำเนินการกับวัดพระธรรมกายเป็นครั้งแรก[39]
หลักการ ความเชื่อ และวิถีชีวิต
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระของขวัญ
วัดพระธรรมกายมีหลักการในการเรียกพระเครื่องของตนเองว่า "พระของขวัญ"[40] ตามแนวทางของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งใช้เรียกพระผงขนาดเล็กที่สร้างขึ้นโดยพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เพื่อสมทบทุนในการสร้างโรงเรียนพระปริยัติของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญในเวลานั้น[41] โดยสำหรับการเรียกว่าพระของขวัญของวัดพระธรรมกายนั้นมีเหตุผลเพื่อให้องค์พระนั้นเป็นเครื่องเตือนและระรึกถึงบุญที่ได้ร่วมทำในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะมีพระของขวัญเฉพาะรุ่นตามแต่โอกาสและกิจกรรมนั้น ๆ[42] ซึ่งนอกจากตัวองค์พระซึ่งเป็นรูปเคารพแล้วยังมีการพิมพ์ในอีกด้านเป็นครูบาอาจารย์ คือ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)[43] และอาจมีการประดับด้วยกรอบหรืออัญมณีต่าง ๆ[44]
องค์กร และการบริหารงาน
มูลนิธิธรรมกายจัดตั้งขึ้นก่อนก่อตั้งวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เดิมใช้ชื่อว่า "มูลนิธิธรรมประสิทธิ์" โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ณ กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2513 เมื่อสร้างวัดพระธรรมกายเสร็จได้ขอแก้ไขเอกสาร เปลี่ยนชื่อเป็น "มูลนิธิพระธรรมกาย" เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2525 ณ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี และเพื่อไม่ให้สับสนกับชื่อวัด จึงจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจาก "มูลนิธิพระธรรมกาย" เป็น "มูลนิธิธรรมกาย" โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามหนังสือที่ ศธ 1304/6088 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2528[10][45]
องค์กรในสังกัด
วัดพระธรรมกาย ประกอบไปด้วยหน่วยงานภายใน ได้แก่
- สำนักองค์ประธาน
- สำนักประธานคณะกรรมการบริหาร
- สำนักบุคคลกลาง[46]
- สำนักการศึกษา
- สำนักสื่อสารองค์กร[47]
- กองส่งเสริมและเผยแพร่
- กองสื่ออินเตอร์เน็ต
- ศูนย์ข่าวดีเอ็มซีนิวส์
- กองภาพลักษณ์องค์กร
- กองภาพลักษณ์ออนไลน์
- ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
- ศูนย์สื่อชุมชน
- สำนักสื่อ ดีเอ็มซี[47]
- ฝ่ายพัฒนาและสนับสนุน
- สำนักสื่อธรรมะ[47]
- สำนักพัฒนาทรัพยากร[46]
- สำนักสาธารณูปการ
- สำนักงานเลขานุการ
- กองงานโลหะ
- กองงานสนาม
- กองธรรมอุทยาน
- กองสิ่งแวดล้อม
- กองครุภัณฑ์
- กองสาธารณูปโภค
- กองบุญสถาน
- กองอาสาสมัครสาธารณูปการ
- กองซ่อมบำรุงงานระบบอาคาร
- กองจัดซื้อและวัสดุกลาง
- กองอาคารสถานที่
- กองอาคารมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี
- กองอาคารมหาวิหารคุณยายอาจารย์ฯ
- กองมหาธรรมกายเจดีย์
- กองอาคารสภาธรรมกายสากล
- กองอาคารจอดรถ
- สำนักบริการกลาง
- สำนักศรัทธาพิบาล[48]
- สถาบันพัฒนาเยาวชนโลก
- สำนักกัลยาณมิตรสากล
- สำนักต่างประเทศ
- สำนักเผยแผ่[46]
- สำนักพระปริยัติธรรม[49]
- สถาบันพุทธศิลป์แห่งโลก
โรงเรียนพระปริยัติธรรม
ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2528 โดยมีพระไชยบูลย์ ธมฺมชโย และ พระมหา ดร. สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2556[37] ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2567 มีพระภิกษุ – สามเณรสอบผ่านเปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 107 รูป[54] และมีฆารวาสสอบผ่านบาลีศึกษา 9 ประโยค จำนวน 9 คน[55]
สถาบันอุดมศึกษา
วัดพระธรรมกาย ได้มีดำริให้สร้างหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ที่เน้นไปในด้านมนุษยศาสตร์และพุทธศาสตร์ จึงได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (Dhammakaya Open University: DOU) ขึ้น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ในระบบการศึกษาทางไกล จัดตั้งขึ้นตามรัฐบัญญัติการอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาเอกชนรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันมี 3 หลักสูตรคือ 1) ประกาศนียบัตรประกอบด้วย 2 หลักสูตร คือ Pre-Degree และ หลักสูตรสัมฤทธิบัตร 2) หลักสูตรปริญญาตรี สาขาพุทธศาสตรบัณฑิต 4 ปี 3) หลักสูตรปริญญาโท สาขา พุทธศาสตร์มหาบัญฑิต 2 ปี ทั้งนี้พระภิกษุจะได้รับการงดเว้นค่าลงทะเบียนตลอดทุกหลักสูตร[30] ขณะที่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ขึ้นบัญชีให้มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย เป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้รับการรับรองจากต่างประเทศในประเทศนั้น ๆ ที่ตั้งอยู่ ซึ่งจะไม่ได้รับการรับรองวุฒิจาก สกอ. ในประเทศไทยได้[56]
สถานีโทรทัศน์
ชื่ออื่น | Dhammakaya Media Channel |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
พื้นที่แพร่ภาพ | ไทย และทั่วโลก[57] |
คำขวัญ | ช่องนี้ช่องเดียว The Only One Channel |
สำนักงานใหญ่ | วัดพระธรรมกาย คลองหลวง ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12120 |
แบบรายการ | |
ภาษา | ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาอื่นๆ[58] |
ระบบภาพ | 576ไอ (4:3 คมชัดมาตรฐาน) (2545–2556) 576ไอ (16:9 คมชัดมาตรฐาน) (2556–2559) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | มูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม วัดพระธรรมกาย |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 |
ยุติออกอากาศ | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 |
DMC ย่อมาจาก Dhammakaya Media Channel[59] เป็นช่องรายการธรรมะ คือ ทีวีช่องคุณธรรม สื่อสีขาวที่น้อมนำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเผยแผ่ ออกอากาศผ่านดาวเทียมตลอด 24 ชั่วโมง[60]
โดยพระธัมมชโยได้มีความตั้งใจว่า "จะเป็นรายการที่ทำให้ผู้ชมมีจิตใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง เพลิดเพลินกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตใจจะผูกพันอยู่กับพระรัตนตรัยและบุญกุศล" และ "มีรายการที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เช่น รายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา, นานาเทศนา, พุทธประวัติ, ชาดก 500 ชาติ, New News, ข่าว DNN ข่าว DMC News, ไปวัดไปวา, ปฏิบัติการกุ๊กกิ๊ก, พลังมด ฯลฯ"[61][57][58] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 รายการปรโลกนิวส์ยังได้ถ่ายทอดบทบรรยายโดยพระธัมมชโยเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายและอดีตชาติของสตีฟ จอบส์ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าหลังจากได้เสียชีวิตแล้ว ตัวเขาก็ได้ไปบังเกิดใหม่เป็น "เทพบุตรภุมมเทวาระดับกลางสายวิทยาธรกึ่งยักษ์"[62][63][64][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
ดีเอ็มซีถูกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลา 30 วัน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ตามคำร้องขอของกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยระบุเหตุผลว่าดีเอ็มซีเสนอข่าวสารระดมศิษยานุศิษย์ของวัดให้ไปรวมตัวที่วัดเพื่อขัดขวางการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ก่อนภายหลัง กสทช.สั่งเพิกถอนใบอนุญาตของดีเอ็มซีถาวร โดยระบุเหตุผลว่าเนื้อหาที่ออกอากาศปลุกปั่นยุยงให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร[65] ทั้งนี้ ดีเอ็มซียังคงออกอากาศผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้สถานีโทรทัศน์จีบีเอ็น (GBN) (ชื่อเดิมคือ ดีโอเอทีวี, DoA TV; Dhammakaya of America TV และ DIMC TV) ซึ่งออกอากาศจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในทางปฏิบัติ การออกอากาศของสถานีฯยังคงดำเนินการออกอากาศจากวัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานีเช่นเดิมแล้วส่งสัญญาณไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งรายการที่ออกอากาศยังใช้ผังรายการเดิมของดีเอ็มซีเช่นเดิม[66]
สาขาวัดในต่างประเทศ
วัดพระธรรมกายได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปหลายประเทศทั่วโลก วัดศูนย์สาขาแรกในต่างประเทศ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งในปี 2558 มีวัดศูนย์สาขาอยู่มากกว่า 100 แห่ง อาทิ วัดพระธรรมกายลอนดอน วัดพระธรรมกายเมลเบริ์น วัดภาวนาไทเป วัดพระธรรมกายซีแอตเติ้ล ฯลฯ [30]
สิ่งก่อสร้าง
- มหาธรรมกายเจดีย์ เจดีย์รูปโดมทรงกลมแบบสถูปสาญจี เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 194.40 เมตร ความสูง 32.40 เมตร ประกอบด้วย 3 ส่วน ซึ่งสื่อถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ภายนอกของมหาธรรมกายเจดีย์ส่วนพุทธรัตนะมีการเรียงต่อองค์พระธรรมกายประจำตัวที่สลักชื่อเจ้าของไว้จำนวน 300,000 องค์ ส่วนภายในมหาธรรมกายเจดีย์บรรจุพระธรรมกายประจำตัว จำนวน 700,000 องค์ฐานขององค์พระจารึกนามของผู้บริจาคเพื่อสร้างองค์พระธรรมกายประจำตัวเช่นเดียวกัน และพระบรมพุทธเจ้า นอกจากนี้ภายในเจดีย์ยังประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งมหาธรรมกายเจดีย์ออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันปี[67][68] และเป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีกลางแจ้ง ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีคนจากทั่วโลกเดินทางมาร่วมงานหลายแสนคน และในทุกวันมีพิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์[69][70] มหาธรรมกายเจดีย์เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2538 โดยเริ่มมีการประดิษฐานพระธรรมกายประจำตัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 และมีการประดิษฐานครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2553
- มหารัตนวิหารคด อาคารสองชั้นในรูปแบบคล้ายสเตเดียม ความยาวด้านละ 1 กิโลเมตร รอบมหาธรรมกายเจดีย์ ทั้งสี่ ทางวัดพระธรรมกายด้านคาดว่าสามารถจุคนได้หนึ่งล้านคน[71] และทางวัดก็ยังได้ระบุว่า เป็นสถานที่รวมพุทธบุตรและพุทธบริษัท 4 ทั่วโลกนับล้านให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อพบปะสนทนาธรรมและร่วมกันสร้างสันติสุข[69]
- มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี อาคารรูปทรงกลมแบบสาญจิเจดีย์คล้ายจานคว่ำเหมือนมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองคำหลวงพ่อสด จนฺทสโร เพื่อสักการบูชาและระลึกถึงพระคุณของท่าน ภายในมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี บรรจุเรื่องราวอัตชีวประวัติของท่าน เพื่อศึกษาค้นคว้า เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2539 และมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549[72]
- อุโบสถวัดพระธรรมกาย เมื่อวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2520 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จแทนพระองค์ เพื่อวางศิลาฤกษ์ และในวันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2523 มีพิธีผูกพัทธสีมา ภายในอุโบสถรองรับพระภิกษุเข้าร่วมประกอบสังฆกรรมพร้อมกันได้ครั้งละ 200 รูป มีรูปลักษณ์แบบศิลปไทยประยุกต์ ออกแบบโดยยึดหลักความเรียบง่ายและมีความสง่า โดยได้รับรางวัลชมเชยสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2541 จาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์[1]
- สภาธรรมกายสากล อาคารปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 150 ไร่ ประกอบด้วยชั้น 1 เป็นชั้นจอดรถ และมีห้องประชุมหลายขนาด ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป สำหรับอบรมศีลธรรมแก่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท ฯลฯ ชั้น 2 ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งใช้ในงานบุญทุกวันอาทิตย์ และงานบุญใหญ่ของวัดตลอดทั้งปี สามารถจุคนได้ประมาณ 300,000 คน[68][73]
- วิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง วิหารทรงพีระมิดหกเหลี่ยมทองคำ สูง 29 เมตร ภายในเป็นห้องหยกประดิษฐานรูปหล่อทองคำแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สามารถรองรับคนได้ 300 คน[74][75]
- หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง อาคารชั้นล่างโปร่ง มีส่วนสำนักงาน 4 ชั้น ส่วนของหลังคาสร้างเป็นยอดรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์ ภายในรูปทรงกลมเป็นภาพแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง หอฉันฯ ถูกใช้เป็นที่ฉันภัตตาหารของภิกษุ สามเณร เป็นโรงทานแก่ญาติโยมที่มาถวายภัตตาหาร รวมถึงประยุกต์ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของวัด เช่น การถวายกองทุนโคมประทีปในวันมาฆบูชา การถวายกองทุนผ้าไตรจีวร การถวายกองทุนผ้าอาบน้ำฝน การถวายกองทุนคิลานเภสัช การถวายกองทุนเครื่องกันหนาว รวมถึงใช้เป็นสถานที่เตรียมงานบุญใหญ่ของวัด เช่น การพับผ้าไตรจีวรจำนวนมากที่ใช้ประกอบพิธีอุปสมบทหมู่รุ่นต่าง ๆ การพับและเตรียมกระดาษชำระและช้อนส้อม เพื่อใช้ในงานวันคุ้มครองโลกซึ่งตรงกับวันเกิดของพระธัมมชโย[76]
- อาคารภาวนา 60 ปีพระราชภาวนาวิสุทธิ์ อาคารรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นสถานที่ปฏิบัติวิชชาธรรมกายชั้นสูง มิได้ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าออก[77]
- อาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง อาคารรูปทรงกลม เริ่มก่อสร้างปลายปี 2552 (ยังไม่แล้วเสร็จ) เพื่อให้เป็นสำนักงานใหญ่ของวัด ห้องประชุมด้านวิชาการด้านพระปริยัติธรรมขนาดใหญ่ ห้องปฏิบัติธรรมสำหรับบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกา ขนาดใหญ่ พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับครูบาอาจารย์ของวัดพระธรรมกาย [78][79]
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย[37]
- นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกหลายอาคาร ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย ศูนย์พยาบาลสงฆ์ วัดพระธรรมกาย หมู่กุฏิที่พักดวงใจ วัดพระธรรมกาย (สำหรับสามเณร) หมู่กุฎิคณะสงฆ์ วัดพระธรรมกาย อาคารสำนักงานใหญ่ อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ วัดพระธรรมกาย อาคารสถานีโทรทัศน์ DMC วัดพระธรรมกาย อาคารสถานีวิทยุกระจายเสียง DMC วัดพระธรรมกาย[80]
การวิพากษ์วิจารณ์
วัดพระธรรมกายมีผู้ศรัทธาจำนวนหนึ่ง แต่ก็เป็นที่แคลงใจของประชาชนทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง แม้สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งขอขมาแล้วก็ตาม[81] เป็นต้นว่า
- การแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ กรณีที่วัดพระธรรมกายนำเงินบริจาคไปลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยอ้างว่าเพื่อให้เงินเกิดดอกออกผลติดตามมานั้น ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง เช่น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการเรียกวัดพระธรรมกายเป็น "แหล่งพุทธพาณิชย์ขนาดใหญ่ของโลก"[3]
- การยักยอกทรัพย์ กรณีที่วัดพระธรรมกายถูกพระธัมมชโย เจ้าอาวาส ยักยอกทรัพย์ โดยปรากฏว่าโฉนดที่ดินมากมายของวัดมีชื่อพระธัมมชโยเป็นเจ้าของ เรื่องนี้ถูกนำเข้ามหาเถรสมาคมและเกิดเป็นคดีอาญาในเวลาต่อมา การไต่สวนดำเนินมาเจ็ดปี แต่สุดท้ายอัยการสูงสุดได้มีมติให้ถอนฟ้อง เนื่องจากพระธัมมชโยได้คืนที่ดินให้แก่วัดพระธรรมกายแล้ว[82]
- การธุดงค์ในเมือง กรณีที่วัดพระธรรมกายจัดให้พระสงฆ์ออกเดินธุดงค์ในเมือง เรียกว่า "ธุดงค์ธรรมชัย" โดยให้นำเครื่องลาดมาปูรองที่เดิน โปรยบุปผชาติบนเครื่องลาด และจัดให้ประชาชนซึ่งเป็นสาวกมาเฝ้าแห่แหนริมเครื่องลาด ทั้งมีขบวนแห่อย่างวิจิตรอลังการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554[83] นั้น ก่อปัญหาการจราจรในเมือง และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง[84][85][86] เป็นต้นว่า
- สุวิทย์ ทองประเสริฐ อดีตหลวงปู่พุทธะอิสระ วิจารณ์ว่า "การจะทำกิจกรรมอะไรก็ตาม หากทำแล้วเบียดเบียนตน ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ก็ถือว่า ผิดหลักพุทธศาสนา...พุทธศาสนิกชนต้องต่อต้าน...ไม่น่าจะเป็นการเผยแพร่ธรรม น่าจะเป็นการทำร้ายพระธรรมมากกว่า รวมทั้งทำให้พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้ามัวหมอง การเดินธุดงค์บนดอกกุหลาบดอกดาวเรือง ไม่ไช่วิธีของพระภิกษุที่สันโดษ...นอกจากพระเดินธุดงค์แล้ว นักเรียนและประชาชนยังถูกเกณฑ์ให้ไปตากแดดรับคณะ ไม่ได้ไปเพราะศรัทธา แต่ไปเพราะโดนเกณฑ์ไป ศรัทธาที่เกิดจากการแสดงเป็นศรัทธาที่หลอกลวง ไม่ใช่ศรัทธาที่บริสุทธิ์...เรื่องนี้มหาเถรสมาคมทำอะไรอยู่ สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำอะไรอยู่"[87] ตรึงใจ บูรณสมภพ สมาชิกวุฒิสภา และประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ของวุฒิสภา เห็นว่า "ไม่เหมาะสม เนื่องจากการเดินธุดงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ พระสงฆ์ต้องจาริกไปตามเขา อยู่อย่างสมถะ เพื่อทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่ใช่มาเดินในเมืองหลวงท่ามกลางกิเลสที่มีสีสันแห่งบริโภคนิยม"[85]
- อย่างไรก็ดี วัดพระธรรมกายชี้แจงสั้น ๆ ว่า กิจกรรมดังกล่าวไม่ผิดหลักพุทธศาสนา[85] และได้รับการสนับสนุนจากพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ด้วย[84] ขณะที่นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวรับรองในทำนองเดียวกันว่า "เป็นการรวมชาวพุทธให้มาร่วมกิจกรรม แม้ว่าจะมีผลกระทบด้านการจราจรบ้าง...เหมือนการจัดทำบุญตักบาตรพระสงฆ์หลายหมื่นรูปที่ถนนเยาวราช ซึ่งเป็นเรื่องดี ไม่อยากให้มองแต่แง่ลบอย่างเดียว อยากให้มองว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์มากกว่า"[88]
- การอ้างว่า สตีฟ จอบส์ ตายแล้วเป็นอมนุษย์ กรณีที่วัดพระธรรมกายเผยแพร่สารคดีชุด แวร์อิสสตีฟ จอบส์ (Where is Steve Jobs) ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2555 ความว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัด ได้ใช้ญาณตรวจสอบพบว่า สตีฟ จอบส์ ตายแล้วไปเกิดเป็นวิทยาธรกึ่งยักษ์อยู่ในพิภพซึ่งทับซ้อนอยู่กับมนุษยโลก เพราะเขายังห่วงหาอาลัยในธุรกิจ[3] นั้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการอวดอุตริมนุษยธรรม และพระไพศาล วิสาโล เห็นว่า เข้าข่ายปาราชิก[89]
- การจัดการพนัน กรณีที่วัดพระธรรมกายเปิดให้สาธารณชนกด "ถูกใจ" (like) หน้าเฟซบุ๊กของวัด แล้วลงชื่อเสียงเรียงนามพร้อมที่อยู่สำหรับติดต่อกลับ เพื่อชิงรางวัลพระพุทธรูปทองคำมูลค่าสิบล้านบาท เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 นั้น ถูกนักนิติศาสตร์วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการขยายฐานลูกค้าของวัด และเป็นการจัดการพนันโดยแจ้งชัดซึ่งตามกฎหมายแล้วต้องขออนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยก่อน อย่างไรก็ดี นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า ไม่ผิดอะไร เป็นเรื่องมโนสาเร่ไม่ควรใส่ใจ เพราะเป็นเพียงวิธีดึงดูดความสนใจของวัด และเห็นว่า ที่กิจกรรมนี้ถูกมองว่าเป็นการแสวงหาผลประโยชน์บางประการนั้น "ก็เพราะวัดแห่งนี้มีภาพลักษณ์ที่คนนอกมักมองว่าเลวอยู่ก่อนแล้ว"[90]
- กิจกรรมของวัดพระธรรมกายยังเป็นหัวเรื่องหนึ่งที่นิยมศึกษาและวิจัย เช่น งานวิทยานิพนธ์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ที่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางบนอินเทอร์เน็ตกลางปี 2556 เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่บังคับให้ข้าราชการครูเข้าอบรมยังวัดพระธรรมกาย[91] โดยพระมหาวุฒิชัยได้วิจัยเกี่ยวกับงานวิชาการต่างๆ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) แล้วสรุปว่า วัดพระธรรมกายเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐาน[91]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2541
- ↑ Head, Jonathan (2560-03-22). "The curious case of a hidden abbot and a besieged temple". BBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 ต.ค. 2560.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "ธรรมกายสุดเพี้ยน! ปลุกวิญญาณ 'สตีฟ จ็อบส์'". ผู้จัดการรายวัน. 2555-08-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-26. สืบค้นเมื่อ 2555-08-22.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ทหาร-ตำรวจพรึ่บ! ล้อมวัดพระธรรมกาย “ดีเอสไอ” ประกาศให้ ปชช.เลี่ยงถนนคลองหลวง http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9600000016155 เก็บถาวร 2017-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Heikkilä-Horn 2539, p. 94.
- ↑ Rajakaruna, J. (28 ก.พ. 2551). "Maha Dhammakaya Cetiya where millions congregate seeking inner peace" [มหาธรรมกายเจดีย์ สถานที่ที่คนแสงหาสันติสุขภายในรวมเป็นล้าน]. Daily News (ศรีลังกา) (ภาษาอังกฤษ). Lake House.
- ↑ 7.0 7.1 McDaniel, Justin (2549). "Buddhism in Thailand: Negotiating the Modern Age". ใน Berkwitz, Stephen C. (บ.ก.). Buddhism in World Cultures: Comparative Perspectives [พระพุทธศาสนาตามวัฒนธรรมต่างๆ ในโลก มุมมองในแง่เปรียบเมียบ] (ภาษาอังกฤษ). Santa Barbara, California: ABC-CLIO. ISBN 1-85109-787-2.
- ↑ Heikkilä-Horn 1996, p. 94.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 เฟื่องฟูสกุล 2541.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Sirikanchana, Pataraporn (2010). "Dhammakaya Foundation" [มูลนิธิธรรมกาย]. ใน Melton, J. Gordon; Baumann, Martin (บ.ก.). Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices (ภาษาอังกฤษ) (2 ed.). ABC-CLIO.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-16.
- ↑ Zehner, Edwin (2533). "Reform Symbolism of a Thai Middle–Class Sect: The Growth and Appeal of the Thammakai Movement" [สัญลักษณ์เชิงปฏรูปในกลุ่มศาสนาระดับชนชั้นกลาง การเติบโต และแรงดึงดูด ของสำนักธรรมกาย]. Journal of Southeast Asian Studies (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press ในนามของ Department of History National University of Singapore. 21 (2).
- ↑ "จาก "บ้านธรรมประสิทธิ์" สู่ "มหาธรรมกายเจดีย์"". ช่อง 8 (โทรทัศน์). มหากาพย์ ธรรมกาย. Vol. 3. 29 พ.ค. 2559. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 1:52. สืบค้นเมื่อ 15 พ.ย. 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Heikkilä-Horn 2015.
- ↑ Falk, Monica Lindberg (2550). Making fields of merit: Buddhist female ascetics and gendered orders in Thailand [การสร้างเนื้อนาบุญ นักบวชผู้หญิง และการแยกเพษในหมู่นักบวชในประเทศไทย] (ภาษาอังกฤษ). Copenhagen: NIAS Press. ISBN 978-87-7694-019-5.
- ↑ McDaniel 2553, pp. 41, 662.
- ↑ Bechert 2540, p. 176.
- ↑ Scott 2552, p. 52.
- ↑ Swearer 2534, p. 656.
- ↑ Taylor 2532, p. 126.
- ↑ เฟืองฟูสกุล, อภิญญา (1 ม.ค. 2536). "Empire of Crystal and Utopian Commune: Two Types of Contemporary Theravada Reform in Thailand" [อาณาจักรแก้ว และหมู่คณะตามอุดมคติ การปฏิรูปเถรวาทในประเทศไทยแบบสมัยใหม่ สองแนวทาง]. Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia (ภาษาอังกฤษ). 8 (1): 157.
- ↑ Scott 2552, p. 44.
- ↑ Mackenzie 2007, pp. 42–3.
- ↑ Newell, Catherine Sarah (1 เม.ย. พ.ศ. 2051). Monks, meditation and missing links: continuity, "orthodoxy" and the vijja dhammakaya in Thai Buddhism [พระภิกษุ สมาธิ และสิ่งต่อเชื่อมที่หายไป การสืบทอด ความเชื่อดั้งเดิม และวิชชาธรรมกายตามพระพุทะศาสนาแบบไทย] (Ph.D.) (ภาษาอังกฤษ). Department of the Study of Religions, วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน. p. 130.
{{cite thesis}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Zehner, Edwin (2005). "Dhammakāya Movement" [ขบวนการธรรมกาย]. ใน Jones, Lindsay (บ.ก.). Encyclopedia of Religion (ภาษาอังกฤษ). Vol. 4 (2 ed.). Farmington Hills: Thomson Gale. p. 2325.
- ↑ Zehner, Edwin (มิ.ย. พ.ศ. 2556). "The church, the monastery and the politician: Perils of entrepreneurial leadership in post-1970s Thailand" [โบสถ์ วัด และนักการเมือง โทษภัยของผู้นำนักบริหารในประเทศไทย ยุคหลัง ค.ศ.1979]. Culture and Religion (ภาษาอังกฤษ). 14 (2). doi:10.1080/14755610.2012.758646. ISSN 0143-8301.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Keyes, Charles F (2536). "Buddhist Economics and Buddhist Fundamentalism in Burma and Thailand". ใน Marty, Martin E.; Appleby, R. Scott (บ.ก.). Fundamentalisms and the state: remaking polities, economies, and militance. The Fundamentalism Project (ภาษาอังกฤษ). Vol. 3. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0-226-50884-6.
- ↑ 28.0 28.1 Litalien, Manuel (ม.ค. พ.ศ. 2553). Développement social et régime providentiel en thaïlande: La philanthropie religieuse en tant que nouveau capital démocratique [ประเทศไทย การพัฒนาสังคม และคณะผู้ปกครองที่โชคดี การบริจาคทางศาสนาในรูปแบบใหม่ที่เป็นทุนประชาธิปไตย] (PDF) (Ph.D. Thesis) (ภาษาฝรั่งเศส). Université du Québec à Montréal.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ =Burford, Grace G. (2005). "Pali Text Society" (PDF). ใน =Jones, Lindsay (บ.ก.). Encyclopedia of Religion (ภาษาอังกฤษ). Vol. 10 (2 ed.). Thomson-Gale. p. 6956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 March 2017.
{{cite encyclopedia}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ 30.0 30.1 30.2 บัญชานนท์, พงศ์พิพัฒน์. "รู้จัก "เครือข่ายธรรมกาย"". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2024-12-09.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 31.0 31.1 31.2 "วิบากกรรมธรรมกาย ก่อนเผชิญอำนาจเบ็ดเสร็จ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-02-22.
- ↑ "วิบากกรรมธรรมกาย ก่อนเผชิญอำนาจเบ็ดเสร็จ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-02-22.
- ↑ เรือนอินทร์, พรรณราย (2017-02-21). "เจาะชีวิต 'ธัมมชโย' จาก 'ภิกษุ' สู่ 'ผู้ต้องหา'".
- ↑ "รวมสื่อขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย". kalyanamitra.org.
- ↑ ทหาร-ตำรวจพรึ่บ! ล้อมวัดพระธรรมกาย "ดีเอสไอ" ประกาศให้ ปชช.เลี่ยงถนนคลองหลวง http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9600000016155 เก็บถาวร 2017-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Tostevin, Matthew; Satrusayang, Cod; Thempgumpanat, Panarat (24 ก.พ. 2560). "The power struggle behind Thailand's temple row" [การต่อสู้ด้านอำนาจ ที่ทำให้เกิดการขัดแย้งเกี่ยวกับศาสนา]. Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 ก.พ. 2560.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 37.0 37.1 37.2 37.3 "29 ปีบนเส้นทาฃธรรม". ดอกเบี้ยธุรกิจ. 1 มี.ค. 2542. p. 1.
- ↑ "มอบทุนสนับสนุนพระบาลีหว่า 3 ล้านบาทในวันสมาธิโลก". แนวหน้า. 7 ส.ค. พ.ศ. 2556. p. 21. สืบค้นเมื่อ 29 พ.ย. พ.ศ. 2559 – โดยทาง Matichon E-library.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ตำรวจทหารหลายพัน ค้นวัดพระธรรมกาย ยังไม่พบพระธัมมชโย". www.benarnews.org. สืบค้นเมื่อ 2024-12-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พระของขวัญ: พระของขัวญเพื่อการตรึกระลึกถึงบุญ". www.kalyanamitra.org.
- ↑ "พระของขวัญ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ – วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม".
- ↑ "พระของขวัญ: พระของขัวญเพื่อการตรึกระลึกถึงบุญ". www.kalyanamitra.org.
- ↑ "พระของขวัญ: พระของขัวญเพื่อการตรึกระลึกถึงบุญ". www.kalyanamitra.org.
- ↑ "พระของขวัญ: พระของขัวญเพื่อการตรึกระลึกถึงบุญ". www.kalyanamitra.org.
- ↑ คณะทีมงานประชาสัมพันธ์ (19 ธ.ค. 2541). "เอกสารชี้แจงฉบับที่ 2/2541-พระราชภาวนาวิสุทธิ์กับการถือครองที่ดิน". www.dhammakaya.or.th. จังหวัดปทุมธานีh: มูลนิธิธรรมกาย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มี.ค. 2548.
- ↑ 46.0 46.1 46.2 "สำนักบุคคลกลาง, สำนักเผยแผ่, สำนักพัฒนาทรัพยากร, อาศรมอุบาสก, อาศรมอุบาสิกา สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และเวียนประทักษิณ บูชาธรรมเนื่องในวันธรรมชัย รอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561". ภาพดี ๆ ๐๗๒.
- ↑ 47.0 47.1 47.2 null (2016-05-20). "เปิดโครงสร้างทีมสื่อวัดพระธรรมกาย". www.komchadluek.net.
- ↑ "สรุปข่าวประจำวัน : สำนักศรัทธาภิบาลจัดโครงการพระอาจารย์พบสาธุชน". www.kalyanamitra.org. สืบค้นเมื่อ 2024-12-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เกี่ยวกับโรงเรียนพระปริยัติธรรม". โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย.
- ↑ "ปทุมธานี 417 รูป ร่วมสอบนักธรรมชั้นตรี ที่วัดพระธรรมกาย เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกล". สยามรัฐ. 2024-10-12.
- ↑ "กองพระบาลี". โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย.
- ↑ "กองธรรม". โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย.
- ↑ "สำนักเรียนอภิธรรม". โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย.
- ↑ pariyat. "ทำเนียบ ป.ธ.๙". www.pariyat.com.
- ↑ pariyat. "ทำเนียบบาลีศึกษา ๙". www.pariyat.com.
- ↑ "มหาลัยใดบ้างที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย และสกอ.ไม่รับรองวุฒิ ตรวจสอบด่วน!". www.kroobannok.com.
- ↑ 57.0 57.1 นาเจริญ, นิธิศ (20 พ.ย. 2559). "เปิดโครงสร้างทีมสื่อวัดพระธรรมกาย". คม ชัด ลึก. เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป. สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 58.0 58.1 "ธรรมกายปฏิเสธนำเงินวัดไปเล่นหุ้น เตรียมยื่นคัดค้านปิดช่อง DMC". โพสต์ทูเดย์. โพสต์ พับลิชชิง. 7 ธ.ค. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 มี.ค. 2560.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ DMC, DMC ย่อมาจาก
- ↑ "สำนักสื่อสารธรรมกาย เปิดแนวรบสื่อเต็มรูปแบบ". ช่องนาว. 31 พ.ค. 2559. สืบค้นเมื่อ 20 พ.ค. 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ [1], Dhamma Media Channel (DMC) [ลิงก์เสีย]
- ↑ ปรโลกนิวส์ ตอน สตีฟ จ็อบส์ ตายแล้วไปไหน (dmc.tv)
- ↑ ธรรมกายเสนอสารคดี "สตีฟ จ็อบส์ตายแล้วไปไหน", ข่าวธรรมกาย-สตีฟ จ็อบส์ ถูกพูดถึงในรายการ "เรื่องเล่าเช้านี้", คำชี้แจงจากวัดธรรมกายเรื่องสตีฟ จ็อบส์ (ครั้งที่สอง) จากบล็อกนัน
- ↑ "ธรรมกายแจงปมภัยศาสนา". สำนักข่าวไทย. 3 มิ.ย. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 8 มี.ค. 2560.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "NBTC must abide by law". Bangkok Post. โพสต์ พับลิชชิ่ง. 3 ม.ค. พ.ศ. 2559. p. 9. สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. พ.ศ. 2560 – โดยทาง Matichon E-library.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ตั้ง ธัมมชโย เป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์ ธรรมกายหันไลฟ์สดผ่าน FB-Youtube แทนหลังช่อง DMC ถูกปิด". บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์. บริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน). 9 ธ.ค. พ.ศ. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ Mackenzie 2550, pp. 41–2, 46–7.
- ↑ 68.0 68.1 Snodgrass, Judith (พ.ศ. 2546). "Building Thai Modernity: The Maha Dhammakaya Cetiya" [สร้างความทันสมัยแบบไทย มหาธรรมกายเจดีย์]. Architectural Theory Review (ภาษาอังกฤษ). 8 (2). doi:10.1080/13264820309478494.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 69.0 69.1 ประวัติวัดพระธรรมกาย เก็บถาวร 2007-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บกัลยาณมิตร
- ↑ Scott 2552, p. 1.
- ↑ มหารัตนวิหารคด มหาบุญสถาน เพื่อการปฏิบัติธรรม
- ↑ "Visitor's Zone" [โซนผู้เชี่ยมชม] (ภาษาอังกฤษ). มูลนิธิธรรมกาย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ม.ค. พ.ศ. 2550.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|archivedate=
(help) - ↑ "Visitor's Zone" [โซนผู้เชี่ยมชม] (ภาษาอังกฤษ). มูลนิธิธรรมกาย. 19 ต.ค. พ.ศ. 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ต.ค. พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
และ|archivedate=
(help) - ↑ Seeger, Martin (ก.ย. พ.ศ. 2551). "The Changing Roles of Thai Buddhist Women: Obscuring Identities and Increasing Charisma". Religion Compass (ภาษาอังกฤษ). 3 (5): 811.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "The Visitor's Zone" [โซนผู้เชี่ยมชม] (ภาษาอังกฤษ). มูลนิธิธรรมกาย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-03-09.
- ↑ "The Visitor's Zone" [โซนผู้เชี่ยมชม] (ภาษาอังกฤษ). มูลนิธิธรรมกาย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-07. สืบค้นเมื่อ 2017-03-09.
- ↑ Mackenzie 2550.
- ↑ ศรีเรือนทอง, มั่น (18 ธ.ค. พ.ศ. 2558). "เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารทรงกลมโครงสร้างถักสานด้วยเทคโนโลยีคอนกรีตสำเร็จรูป" (PDF). วารสารวิชาการสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย. 3 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 2017-03-09.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ""คอนเนคชั่น" ธรรมกาย". ช่อง 8 (โทรทัศน์). มหากาพย์ ธรรมกาย. Vol. 5. 31 พ.ค. พ.ศ. 2559. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 0:15. สืบค้นเมื่อ 15 พ.ย. พ.ศ. 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ภาพมุมสูงของวัดพระธรรมกาย". ทีเอ็นเอ็น24. 27 พ.ค. พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 11 พ.ย. พ.ศ. 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ศรีสุวรรณ, สุชาติ (19 ก.ค. 2546). "คำชี้แจง". มติชน. p. 10. สืบค้นเมื่อ 8 มี.ค. 2560 – โดยทาง Matichon E-library.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ย้อนคดี ธัมมชโย ยักยอกทรัพย์วัดพระธรรมกาย อัยการตัดตอนถอนฟ้อง". Manager Online. 2553-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2556-03-23.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ (2555-04-06). "บทวิเคราะห์ธรรมกาย กฎหมายหมิ่นศาสนา และอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ซ้อนรัฐ". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 84.0 84.1 "ขบวนภิกษุธรรมกายบุกกรุง! สาวกแห่โปรย "ดาวรวย" รับ "พงศ์เทพ" ยักไหล่ใช้ ร.ร.ปักกลด". ผู้จัดการ. 2556-01-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 85.0 85.1 85.2 "หลายฝ่ายฉะ "ธุดงค์กลางเมือง" ไม่เหมาะสม "ธรรมกาย" อ้างไม่ผิดหลักศาสนา". ผู้จัดการ. 2555-04-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ธุดงค์นะจ๊ะ... ธรรมเกินนะฮะ!". ผู้จัดการ. 2555-04-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""หลวงปู่พุทธะอิสระ" ติงธรรมกายเดินธุดงค์ทำคนเดือดร้อน ผิดหลักศาสนา". ผู้จัดการ. 2556-01-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-01. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พศ.-ธรรมกายแจงธุดงค์กลางกรุง ไม่ผิดหลักศาสนา". ไทยรัฐ. วัชรพล (บริษัท). 2555-04-03. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อวดอุตริ! พระไพศาลชี้ 'สตีฟ จ็อบส์' ฉบับธรรมกาย เข้าข่ายอาบัติปาราชิก!". ไทยรัฐ. วัชรพล (บริษัท). 2555-08-21. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นักวิชาการชี้ กดแชร์ธรรมะ ธรรมกาย ลุ้น 10 ล้าน เข้าข่ายการพนัน". กะปุก. 2556-07-03. สืบค้นเมื่อ 2556-07-03.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 91.0 91.1 "แชร์ว่อน!วิทยานิพนธ์พระว.'ธรรมกาย'อันตราย". คมชัดลึก. 2556-09-11. สืบค้นเมื่อ 2556-09-11.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
บรรณานุกรม
- เฟื่องฟูสกุล, อภิญญา (2541), ศาสนาทัศน์ของชุมชนเมืองสมัยใหม่: ศึกษากรณีวัดพระธรรมกาย (PDF), ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย
- Bechert, Heinz (2540), "Der moderne Theravada-Buddhismus in Sri Lanka und Südostasien" [พระพุทธศาสนาเถรวาทในศรีลังกา และเอเซียอาคเนย์ในยุคใหม่] (PDF), ใน Mathes, Klaus-Dieter; Freese, Harald (บ.ก.), Buddhism in the Past and Present (ภาษาเยอรมัน), vol. 2, Asia-Africa Institute, มหาวิทยาลัย Hamburg
- Heikkilä-Horn, M-J (2539), "Two Paths to Revivalism in Thai Buddhism: The Dhammakaya and Santi Asoke Movements" [เส้นทางของการฟื้นฝู่ สำนักธรรมกาย และสำนักสันติอโศก"], Temenos (ภาษาอังกฤษ) (32), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-28, สืบค้นเมื่อ 2017-12-18
- Heikkilä-Horn, Marja-Leena (2558), "Dhammakaya" [ธรรมกาย], ใน Athyal, Jesudas M. (บ.ก.), Religion in Southeast Asia: An Encyclopedia of Faiths and Cultures (ภาษาอังกฤษ), ABC-CLIO, ISBN 978-1-61069-250-2
- Mackenzie, Rory (2550), New Buddhist Movements in Thailand: Towards an understanding of Wat Phra Dhammakaya and Santi Asoke [กระแสพุทธใหม่ในประเทศไทย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย และสันติอโศก] (ภาษาอังกฤษ), Abingdon: Routledge, ISBN 0-203-96646-5
- McDaniel, Justin (2553), "Buddhists in Modern Southeast Asia" [ชาวพุทธเอเชียอาคเนย์ในสมัยใหม่], Religion Compass (ภาษาอังกฤษ), Blackwell Publishing, 4 (11), doi:10.1111/j.1749-8171.2010.00247.x
- Scott, Rachelle M. (2552), Nirvana for Sale? Buddhism, Wealth, and the Dhammakāya Temple in Contemporary Thailand [ขายนิพพานจริงหรือ พระพุทธศาสนา ความรวย และวัดพระธรรมกายในประเทศไทยยุคปัจจุบัน] (ภาษาอังกฤษ), Albany: State University of New York Press, ISBN 978-1-4416-2410-9
- Swearer, Donald K. (1991), "Fundamentalistic Movements in Theravada Buddhism", ใน Marty, M.E.; Appleby, R.S. (บ.ก.), Fundamentalisms Observed (ภาษาอังกฤษ), vol. 1, Chicago; London: มหาวิทยาลัย Chicago, ISBN 978-0-226-50878-8
- Taylor, J. L. (1989), "Contemporary Urban Buddhist "Cults" and the Socio-Political Order in Thailand", Mankind (ภาษาอังกฤษ), 19 (2), doi:10.1111/j.1835-9310.1989.tb00100.x
แหล่งข้อมูลอื่น
- การศึกษา
- พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2556). บทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต): ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย เก็บถาวร 2016-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
14°04′23.37″N 100°38′47.01″E / 14.0731583°N 100.6463917°E
- บทความ
- "แฉ!! ธรรมกายงัดแผนเรียกคนเข้าวัด แชร์ธรรมะชิงโชค ลุ้นพระทองคำ'" เก็บถาวร 2013-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (2556-07-24). ผู้จัดการ. [ออนไลน์].
- "แฉ! ธรรมกายโปรเจกต์ 'ล้างสมองครู–ยึดครองประเทศ'" เก็บถาวร 2013-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (2556-07-22). ผู้จัดการ. [ออนไลน์].
- ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2555-04-06). ธรรมกาย กฎหมายหมิ่นศาสนา และอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ซ้อนรัฐ. [ออนไลน์].