วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสิ่งแวดล้อม
หน้าตา
โครงการวิกิสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพีเดีย โดยมีจุดประสงค์ในการรวบรวม พัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ทั้งนี้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ได้ ด้วยการแก้ไข เพิ่มเติมเนื้อหาสาระข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ในทุกบทความ
ความหมายของสิ่งแวดล้อม
[แก้]สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรม แบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ[1] และแบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้
- สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (อังกฤษ: built environment) กล่าวถึงบริเวณโดยรอบที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ให้เหมาะสำหรับกิจกรรมของมนุษย์ โดยเริ่มจากระดับขอบเขตของคน ย่าน และเมือง โดยมักจะรวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้าหรือประปา ซึ่งในทางปฏิบัติคำนี้จะถูกกล่าวถึงในส่วนของ การออกแบบ การก่อสร้าง และ การจัดการ สิ่งโดยรอบให้เหมาะสมกับมนุษย์
- สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (อังกฤษ: natural environment) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าสิ่งแวดล้อม เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนโลกหรือบนภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยรวม สามารถจำแนกโดยดูจากองค์ประกอบได้ดังนี้
- หน่วยทางนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์ทำหน้าที่เป็นระบบธรรมชาติโดยไม่มีการรบกวนของมนุษย์มากเกินไป ซึ่งรวมไปถึงพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ดิน หิน ชั้นบรรยากาศ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้ขอบเขตของสิ่งดังกล่าว
- ทรัพยากรทางธรรมชาติทางจักรวาล และปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ไม่มีขอบเขตที่แน่ชัดซึ่งรวมไปถึงอากาศ น้ำ และภูมิอากาศ รวมไปถึงพลังงาน กัมมันตรังสี ประจุไฟฟ้า และความเป็นแม่เหล็ก ที่ไม่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของมนุษย์
แม่แบบ
[แก้]- {{บทความสิ่งแวดล้อม}} (หน้าพูดคุย)
- {{User Wikiproject Environment}} (หน้าผู้ใช้)
- {{โครงสิ่งแวดล้อม}} (สำหรับบทความที่ยังไม่สมบูรณ์)
บทความที่น่าสนใจ
[แก้]หน่วยงานทางสิ่งแวดล้อม
[แก้]- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมทรัพยากรน้ำ
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- องค์การจัดการน้ำเสีย
- องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
- องค์การสวนสัตว์
- องค์การสวนพฤกษศาสตร์
ทรัพยากรธรรมชาติ
[แก้]- ทรัพยากรธรรมชาติ (บทความ)
- ใช้แล้วไม่หมดสิ้น: พลังงาน อากาศ น้ำ ดิน
- ใช้แล้วทดแทนได้: พืช ป่าไม้ สัตว์ป่า
- นำมาใช้ใหม่ได้: แร่โลหะ แร่โลหะ โลหะเจือ
- ใช้แล้วหมดสิ้นไป: น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน
นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
[แก้]- สืบ นาคะเสถียร
- ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช
- ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
- เจริญ วัดอักษร
- ชวลิต วิทยานนท์
- ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ
- นันทริกา ชันซื่อ
- บุญส่ง เลขะกุล
- รังษีนภดล ยุคล
- วิชัย สุริยุทธ
วิกฤตทางสิ่งแวดล้อม
[แก้]พลังงานทดแทน
[แก้]- พลังงานทดแทน
- เชื้อเพลิงชีวภาพ
- มวลชีวภาพ
- พลังงานความร้อนใต้พิภพ
- พลังงานน้ำ
- พลังงานแสงอาทิตย์
- พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง
- พลังงานคลื่น
- พลังงานลม
เทคโนโลยีทางสิ่งแวดล้อม
[แก้]หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง
[แก้]- หมวดหมู่:สิ่งแวดล้อม
- หมวดหมู่:การป่าไม้
- หมวดหมู่:การผังเมือง
- หมวดหมู่:การอนุรักษ์
- หมวดหมู่:พลังงานทดแทน
- หมวดหมู่:แก๊สเรือนกระจก
- หมวดหมู่:บรรยากาศ
- หมวดหมู่:ความยั่งยืน
- หมวดหมู่:ชีวนิเวศ
- หมวดหมู่:ถาวรภาพ
- หมวดหมู่:เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
- หมวดหมู่:วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- หมวดหมู่:วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- หมวดหมู่:สิ่งแวดล้อมนิยม
- หมวดหมู่:สิ่งแวดล้อมและสังคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ความหมายของสิ่งแวดล้อมจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบค้นวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557