ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ (อังกฤษ: Sisaket College of Agriculture and Technology) เป็นวิทยาลัยด้านการเกษตร สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
ศรีสะเกษ
ชื่อย่อวษท.ศก. / SSKCAT
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการดร.โสภา มะเครือสี
ที่ตั้ง
เลขที่ 91 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองครก
อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 33000
เว็บไซต์www.sskcat.ac.th

ประวัติ

[แก้]

 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ[1] แรกเริ่มก่อตั้งเป็น “โรงเรียนประถมวิสามัญกสิกรรม” โดยจากคำปรารภของเจ้าคุณเทศาภิบาลได้ปรารภกับรองอำมาตย์โทพระศรีวิชัยบริบาล (ข้าหลวงประจำจังหวัดศรีสะเกษ) ว่าในจังหวัดศรีสะเกษ ควรจะมีแหล่งศึกษาทางด้านการเกษตร เพื่อที่จะได้สั่งสอนอบรมบุตรหลานของเกษตรกรให้นำความรู้ใหม่ ๆ ทางการเกษตรไปถ่ายทอดต่อบิดามารดา หรือกับบรรดาเครือญาติที่มีอาชีพทางการเกษตรทั้งหลายอันจะเป็นการพัฒนาประเทศอีกทางหนึ่ง 

จนกระทั่งรองอำมาตย์โทพระศรีวิชัยบริบาล จึงได้เรียกประชุมนายอำเภอต่างๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้พิจารณาจัดตั้งโรงเรียนด้านเกษตรกรรมขึ้นใช้ชื่อว่า  “โรงเรียนประถมวิสามัญกสิกรรม จังหวัดศรีสะเกษ” โดยให้พระศรีพิชัยบริบาล (ข้าหลวงประจำจังหวัด) หลวงศักดิ์รัตนเขต  (นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ) และขุนอักษรๆ (ธรรมการจังหวัด) พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนหลายคนได้ออกตรวจเลือกสถานที่เพื่อจัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวขึ้นและได้เสนอสถานที่ที่จะตั้งไปยังสมุหเทศาภิบาล  

ต่อมาเมื่อกลางปี  พ.ศ. 2473 สมุหเทศาภิบาลได้โปรดให้พระยาสิมาจารย์ธรรมการมณฑลและนายอ่ำ อุ่นไทยมาพิจารณาบริเวณที่ข้าหลวงจังหวัด  ข้าราชการจังหวัด  และประชาชนเสนอมา และได้อนุมัติบริเวณที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้น โดยเห็นว่าบริเวณ  “ห้วยปูน” ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองศรีสะเกษ  ประมาณ  1.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,000ไร่  มีลำห้วยปูน  ลำห้วยสำราญไหลผ่าน  บางส่วนของพื้นที่รกร้างว่างเปล่า และทำเลเลี้ยงสัตว์  เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบสูงเหมาะแก่การเกษตรและไม่ห่างจากตัวเมืองมากนัก  เป็นสถานที่เหมาะสมในการจัดตั้งโรงเรียน

โรงเรียนฯ ได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 15  พฤษภาคม  2474 โดยเปิดสอนตามหลักสูตรชั้นประถมปีที่  4  รับเฉพาะนักเรียนชายประจำ โดยทางจังหวัดคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนและให้ทุนการศึกษาทุกคน มีนายทิม  หาญกล้า  เป็นครูใหญ่

  • ปีพ.ศ. 2474  โรงเรียนประถมวิสามัญกสิกรรม จังหวัดศรีสะเกษ ได้เปิดสอนตามหลักสูตรชั้นประถมปีที่  4
  • ปีพ.ศ. 2482  โรงเรียนฯ ได้รับให้เปลี่ยนชื่อเป็น  "โรงเรียนกสิกรรมศรีสะเกษ"  สังกัดกรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  โดยรับนักเรียนจากผู้สำรวจการศึกษาชั้นประถมปีที่  4  เข้าเรียนหลักสูตร  2  ปี   เมื่อจบการศึกษาแล้วได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น (แผนกเกษตรกรรม)
  • ปีพ.ศ. 2494  โรงเรียนฯ ได้เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกเกษตรกรรม)  โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น  หรือผู้สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่  3  เข้าเรียนต่อเป็นเวลา 3  ปี  เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกเกษตรกรรม)  
  • ปีพ.ศ. 2507  โรงเรียนฯ ได้เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (แผนกเกษตรกรรม) เทียบเท่าประโยคมัธยมศึกษาชั้นสูง  โดยรับผู้สำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้น  (ม. 6 เดิม) หรือผู้สำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้นแผนกเกษตรกรรม  เข้าศึกษาเป็นเวลา  3  ปี  (ม.ศ. 4,5,6) สำเร็จแล้วได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ  (แผนกเกษตรกรรม)
  • ปีพ.ศ. 2513  โรงเรียนฯ ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรการศึกษาเกษตร  (ปกศ.เกษตร) ขึ้นอีกระดับหนึ่งรับเฉพาะนักเรียนชายอยู่ประจำตามคำเร่งรัดครูฉุกเฉินของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย  รับผู้จบมัธยมศึกษาปีที่  3 (ม.ศ. 3) หลักสูตร  2  ปี
  • ปีพ.ศ.  2519  โรงเรียนฯ ได้รับการยกฐานะจากเป็น "วิทยาลัยเกษตรกรรมศรีสะเกษ"  สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม  กรมอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดหลักศุตรดังนี้

     1.  หลักสูตร  ปวช. 2524  รับผู้ที่จบ  ม. 3  หรือเทียบเท่าเข้าศึกษาต่อเป็นเวลา  3  ปี

     2.  หลักสูตร  ปวช. 2525  รับผู้ที่จบ ปวช. หรือ ม.ศ. 5 ประเภทวิชาชีพเกษตรกรรมเข้าศึกษาต่อเป็นเวลา  2  ปี

     3.  หลักสูตร  ปวช. 2520  รับผู้ที่จบ ม.ศ. 5 เข้าศึกษาต่อเป็นเวลา  1  ปี

     4.  หลักสูตร  ปวช. 2524  (พิเศษ) รับผู้ที่จบ  ม.ศ.5 เข้าศึกษาต่อเป็นเวลา  1  ปี

  • ปีพ.ศ. 2527 วิทยาลัยฯ ได้ยกเลิกหลักสูตรเดิม และเปลี่ยนมีเปิดหลักสูตร 5 หลักสูตรดังนี้

      1.  หลักสูตร  ปวช. 2524  

      2.  หลักสูตร  ปวส. 2525

      3.  หลักสูตร  ปวส. 2527  

      4.  หลักสูตร  โครงการอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท  (อศ.กช.)

      5.  หลักสูตร  ปวท. 2527  สาขาวิชาพืชไร่-นา  สาขาวิชาโคเนื้อและกระบือ  สาขาวิชาสวนประดับ  สาขาวิชาสัตว์ปีก  และสาขาวิชาสัตว์เล็ก

  • ปี พ.ศ. 2536  วิทยาลัยฯ ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดสอน  หลักสูตรระดับ  ปวส.  สาขาวิชาการบัญชี  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์  และสาขาวิชาอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นโดยรับนักเรียนที่จบชั้น  ม.  6  จากโรงเรียนมัธยมสามัญทั่วไป  เรียนต่อหลักสูตร  2  ปี  นอกจากนั้นยังเปิดสอนในหลักสูตร  ปวช.  ช่างยนต์  ตามโครงการวิทยาลัยชุมชนในปี พ.ศ. 2539 ได้มีประกาศกฎกระทรวงจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในวิทยาลัยเกษตรกรรมศรีสะเกษ  โดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยชุมชนศรีนครลำดวน"
  • วันที่  1   ตุลาคม  พ.ศ.  2539  วิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง ได้ควบรวมกันและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น  "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ"  สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม  กรมอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาโครงการเกษตรเพื่อชีวิต ที่ให้เรียนฟรี อยู่ประจำ ทำโครงการ ของ นายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น

    จนกระทั่ง พ.ศ. 2557 วิทยาลัยฯ ถูกควบรวมตามประกาศกฎกระทรวงเรื่อง "การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. 2556" จึงมีผลทำให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ รวมเป็นหน่วยงานหนึ่งของในสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเปิดสอนในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 เปิดสอน

[แก้]

ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้[2]

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  • สาขาวิชาพณิชยการ

หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง[3]

[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี

  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาเกษตรศาตร์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาช่างกลเกษตร
  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาสัตวรักษ์
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)[4]

[แก้]
  1. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)

รับนักศึกษาจบปวส. เกษตรศาสตร์ หรือ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.sskcat.ac.th/sskhistory.php
  2. http://www.vec.go.th/ เก็บถาวร 2017-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หลักสูตรอาชีวศึกษา
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10.
  4. http://ivec.vec.go.th.pdf[ลิงก์เสีย]/ประกาศกฎกระทรวง