ข้ามไปเนื้อหา

สงครามโตโยตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามโตโยตา
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งชาด–ลิเบียและสงครามเย็น

ทหารชาดกับรถกระบะโตโยต้า แลนด์ครูเซอร์ในค.ศ. 2008
วันที่16 ธันวาคม ค.ศ. 1986 – 11 กันยายน ค.ศ. 1987
(8 เดือน 3 สัปดาห์ 5 วัน)
สถานที่
ผล

ชาดและฝรั่งเศสชนะ

• ทหารลิเบียถูกขับออกจากชาด
คู่สงคราม
ลิเบีย
ชาด CDR
PLO[1][2]
ชาด FANT
ชาด FAP
 ฝรั่งเศส (ปฏิบัติการเอแปร์วีเย)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย มูอัมมาร์ กัดดาฟี
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย เคาะลีฟะฮ์ ฮัฟตาร์[3]
มาห์มุด อะบู มาร์ซูค
ฮิเซน ฮาเบร
ฮัสซัน จามุส
อีดริส เดบี
ฟร็องซัว มีแตร็อง
ฌ็อง ซอลนีแย
กำลัง
ลิเบีย:
90,000[4]
รถถัง 300+ คัน
อากาศยาน 60+ ลำ
CDR:
กองกำลังอาสาสมัคร 1,000 คน[5]
FANT:
28,000[6]
FAP:
1,500–2,000[7]
ฝรั่งเศส:
1,500
อากาศยาน 12+ ลำ
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 7,500 คน
ตกเป็นเชลย 1,000 คน
รถถังและรถลำเลียงพลหุ้มเกราะสูญหาย 800 คัน
อากาศยานเสียหาย 28–32 ลำ[8]
เสียชีวิต 1,000 คน[8]

สงครามโตโยตา (อาหรับ: حرب تويوتا, อักษรโรมัน: Ḥarb Tūyūtā, ฝรั่งเศส: Guerre des Toyota) หรือ มหาสงครามโตโยตา[9] เป็นช่วงท้ายของความขัดแย้งชาด–ลิเบียที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1987 สงครามสู้รบทางเหนือของชาดและพรมแดนชาด–ลิเบีย สงครามนี้ได้ชื่อมาจากรถกระบะโตโยต้า โดยเฉพาะโตโยต้า ไฮลักซ์และโตโยต้า แลนด์ครูเซอร์ที่ทหารชาดใช้ในการเคลื่อนพลและต่อสู้กับฝ่ายลิเบีย[10] สงครามโตโยตาจบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของลิเบีย ซึ่งแหล่งข้อมูลอเมริกันระบุว่าลิเบียเสียทหาร 7,500 คน คิดเป็นหนึ่งในสิบของกองทัพ และยุทโธปกรณ์เสียหายหรือถูกยึดเป็นมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[11] ขณะที่ฝ่ายชาดเสียทหารเพียง 1,000 คน[8]

สงครามโตโยตาเริ่มขึ้นเมื่อลิเบียยึดครองตอนเหนือของชาดใน ค.ศ. 1983 หลังมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียปฏิเสธไม่ยอมรับความชอบธรรมของฮิเซน ฮาเบร ประธานาธิบดีชาด ฝ่ายลิเบียได้รับการสนับสนุนทางทหารจากกลุ่มรัฐบาลเปลี่ยนผ่านแห่งชาติ (GUNT) ในการโค่นล้มฮาเบร แต่แผนการนี้ล้มเหลวเมื่อฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงในปฏิบัติการมันตาและปฏิบัติการเอแปร์วีเยที่หยุดยั้งการรุกของลิเบียไว้ที่เหนือเส้นขนานที่ 16 องศาเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งและมีคนอาศัยอยู่น้อยของชาด[12]

ค.ศ. 1986 กลุ่ม GUNT ขัดแย้งกับกัดดาฟี ทำให้ลิเบียเสียความชอบธรรมในการคงกำลังทหารในชาด ฮาเบรฉวยโอกาสนี้สั่งยกทัพข้ามเส้นขนานที่ 16 ในเดือนธันวาคม[13] ภายในสามเดือน ฮาเบรที่ใช้ยุทธวิธีกองโจรและการสงครามตามแบบสามารถยึดพื้นที่ทางเหนือคืนจากลิเบียได้เกือบทั้งหมด[14] ชาดกับลิเบียตกลงหยุดยิงในเดือนกันยายน ค.ศ. 1987 แต่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องข้อพิพาทฉนวนเอาซู จนใน ค.ศ. 1994 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินให้ฉนวนเอาซูเป็นของชาด

อ้างอิง

[แก้]
  1. "قصة من تاريخ النشاط العسكري الفلسطيني... عندما حاربت منظمة التحرير مع القذافي ضد تشاد - رصيف22". 4 December 2018.
  2. Talhami, Ghada Hashem (30 November 2018). Palestinian Refugees: Pawns to Political Actors. Nova Publishers. ISBN 9781590336496 – โดยทาง Google Books.
  3. Touchard, Laurent (21 October 2014). "Libye : la deuxième vie de Khalifa Haftar au Tchad et la défaite finale de Ouadi Doum". Jeune Afrique. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  4. Metz 2004, p. 254.
  5. The Americana Annual, 1988, 180
  6. Azevedo 1998, p. 119.
  7. The Economic Cost of Soviet Military Manpower Requirements, 143
  8. 8.0 8.1 8.2 Pollack 2002, p. 397
  9. Neville 2018, p. 16.
  10. Clayton 1998, p. 161.
  11. Simons 2004, p. 58
  12. Pollack 2002, pp. 382–385
  13. Nolutshungu 1995, p. 212.
  14. Azevedo 1998, p. 124.

บรรณานุกรม

[แก้]