ข้ามไปเนื้อหา

สถานีบางโพ

พิกัด: 13°48′23″N 100°31′15″E / 13.8064°N 100.5209°E / 13.8064; 100.5209
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางโพ
BL09

Bang Pho
สถานีมองจากถนนประชาราษฎร์สาย 2
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนประชาราษฎร์ สาย 2 เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°48′23″N 100°31′15″E / 13.8064°N 100.5209°E / 13.8064; 100.5209
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย     สายเฉลิมรัชมงคล
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อท่าเรือบางโพ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL09
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ4 ธันวาคม พ.ศ. 2562; 5 ปีก่อน (2562-12-04)[1]
ผู้โดยสาร
2564914,603
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
เตาปูน
มุ่งหน้า หลักสอง ผ่าน บางซื่อ
สายเฉลิมรัชมงคล บางอ้อ
มุ่งหน้า ท่าพระ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีบางโพ (อังกฤษ: Bang Pho Station, รหัส BL09) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตั้งอยู่บริเวณแยกบางโพ จุดตัดของถนนประชาราษฎร์สาย 1 และถนนประชาราษฎร์สาย 2 โดยจะเป็นสถานีสุดท้ายของฝั่งพระนคร ก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีต่อไป

ที่ตั้ง

[แก้]
ทัศนียภาพแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างรถไฟฟ้าจากสถานีบางอ้อข้ามไปสถานีฯ จะสังเกตเห็นสัปปายะสภาสถาน

ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 บริเวณสี่แยกบางโพ (จุดตัดถนนประชาราษฎร์ สาย 2 และประชาราษฎร์ สาย 1) ไปจนถึงบริเวณด้านหน้าโรงเรียนทหารพลาธิการ กรมพลาธิการทหารบก ในพื้นที่แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี

[แก้]
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางเดินเชื่อมเกตเวย์ แอท บางซื่อ
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนประชาราษฎร์ สาย 1, ถนนประชาราษฎร์ สาย 2, เขตบางซื่อ, ท่าบางโพ

รายละเอียดของสถานี

[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี

[แก้]

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี, ประตูกั้นชานชาลา, ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่างๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีเทาเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีรายทาง

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นสถานีลอยฟ้า เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform) มีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง (Half Height Platform Screen Doors : HHPSDs)

ทางเข้า-ออกสถานี

[แก้]
ป้ายข้อมูลสถานี ทางออก 1
  • 1A ท่าเรือบางโพ (สถานีสูบน้ำ), คอนโดมิเนียม 333 ริเวอร์ไซด์ (ลิฟต์)
  • 1B โรงเรียนทหารพลาธิการ กรมพลาธิการทหารบก (ลิฟต์)
  • 1C ท่าเรือบางโพ (บันไดเลื่อน)
  • 2A วัดสร้อยทอง, วัดบางโพโอมาวาส
  • 2B โรงพยาบาลบางโพ, ตลาดบางโพ
  • 3A สถานีดับเพลิงบางโพ, ไปรษณีย์ไทย บางโพ, ที่ทำการด่านป่าไม้กรุงเทพ, คอนโดมิเนียม ชีวาทัย เรสซิเดนซ์ บางโพ
  • 3B ซอยประชาราษฎร์สาย 1 ซอย 7 (บันไดเลื่อน / เฉพาะทางเข้า)
  • ทางเดินลอยฟ้า เชื่อมศูนย์การค้าเกทเวย์ แอท บางซื่อ และ โรงพยาบาลบางโพ

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

[แก้]

แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย

  • 3 ชั้นชานชาลา (Platform level)
  • 2 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร, เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • 1 ชั้นระดับถนน (Ground level)

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:54 23:29
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:57 23:29
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง - 23:19
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ จันทร์ - ศุกร์ 05:58 00:09
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
06:01 00:09

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ถนนประชาราษฎร์สาย 1 (มุ่งหน้าสะพานพระราม 7)

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
5 (1) การขนส่งระบบราง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เรือข้ามฟาก สะพานพุทธ (จักรวรรดิ์) รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง ขสมก.
32 (2-5) (1) ปากเกร็ด วัดโพธิ์ รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
49 (2-43) (1) การขนส่งระบบราง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
117 (2-47) (2) ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เรือข้ามฟาก ท่าน้ำนนทบุรี รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
33 (2-6) Handicapped/disabled access ปทุมธานี เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กสีฟ้า
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
บจก.บัส 33
(เครือกิตติสุนทร)
90 (1-27) บีทีเอสหมอชิต รถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กสีฟ้า บจก.บัส 90
(เครือกิตติสุนทร)
มีรถให้บริการน้อย
2-17 Handicapped/disabled access เอ็มอาร์ทีบางซื่อ มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส 1.เส้นทาง วิ่งเป็นวงกลม
2.มีรถให้บริการน้อย
3-55 Handicapped/disabled access พระราม 7 ท่าเรือคลองเตย มีรถให้บริการน้อย

ถนนประชาราษฎร์สาย 2

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
5 (1) การขนส่งระบบราง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เรือข้ามฟาก สะพานพุทธ (จักรวรรดิ์) รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง ขสมก.
66 (2-12) (3) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2-2 (2) ปากเกร็ด เรือข้ามฟาก ท่าน้ำสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2-17 Handicapped/disabled access เอ็มอาร์ทีบางซื่อ มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส 1.เส้นทาง วิ่งเป็นวงกลม
2.มีรถให้บริการน้อย
  • ถนนประชาราษฎร์สาย 1 (มุ่งหน้าสะพานพระราม 7) : สาย 32 33(2-6) 49 117 90 2-17 3-55
  • ถนนประชาราษฎร์สาย 1 (มุ่งหน้าเกียกกาย) : สาย 16 32 33(2-6) 49 66 117 505 90 3-55
  • ถนนประชาราษฎร์สาย 2 : สาย 16 66 505 2-2 2-17

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]

สมุดภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sriyananda Selley, Dhipkawee. "MRT Blue Line extension through Chinatown to launch free test rides in July". BK. Asia City Online. สืบค้นเมื่อ 15 August 2019.
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]