สะพานแฟรนซิส สก็อต คีย์ (บอลทิมอร์)
สะพานแฟรนซิส สก็อต คีย์ | |
---|---|
สะพานแฟรนซิส สก็อต คีย์ ภาพถ่ายปี 2015 มองจากสวนฟอร์ตอาร์มิสเตด | |
พิกัด | 39°13′1″N 76°31′42″W / 39.21694°N 76.52833°W |
เส้นทาง | 4 เลน |
ข้าม | แม่น้ำพาแท็ปสโค |
ที่ตั้ง | บอลทิมอร์ รัฐแมริแลนด์ |
ผู้ดูแล | องค์การขนส่งรัฐแมริแลนด์ |
รหัส | 300000BCZ472010 |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานระบบโครงถักต่อเนื่องทรงโค้ง, เหล็กกล้า |
วัสดุ | เหล็กกล้า |
ความยาว | 8,636 ฟุต (2,632.3 เมตร; 1.6 ไมล์) |
ช่วงยาวที่สุด | 1,200 ฟุต (366 เมตร) |
เคลียร์ตอนบน | 185 ฟุต (56 เมตร)[ต้องการอ้างอิง] |
ประวัติ | |
วันเริ่มสร้าง | 1972[1] |
วันเปิด | 23 มีนาคม ค.ศ. 1977 |
ทำลาย | 26 มีนาคม ค.ศ. 2024 (บางส่วน) |
สถิติ | |
ค่าผ่าน | ใช่ |
ที่ตั้ง | |
สะพานแฟรนซิส สก็อต คีย์ (อังกฤษ: Francis Scott Key Bridge) เป็นสะพานระบบโครงถักต่อเนื่องทรงโค้ง โครงเหล็กกล้า ข้ามแม่น้ำพาแท็ปส์โคตอนล่าง ในอ่าวบอลทิมอร์ส่วนนอก บนสะพานเป็นเส้นทางของถนนสาย 695 รัฐแมริแลนด์ (Maryland Route 695) ซึ่งเชื่อมระหว่างบอลทิมอร์กับดันดัลก์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา ชื่อเดิมของสะพานคือ ทางข้ามอ่าวนอก (Outer Harbor Crossing) กระทั่งเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันในปี 1976 ชื่ออย่างง่ายของสะพานนี้ที่นิยมเรียกเช่น สะพานคีย์ (Key Bridge) และ สะพานเส้นวงแหวน (Beltway Bridge) ช่วงหลักของสะพานที่ความยาว 1,200 ฟุต (366 เมตร) ถือเป็นสะพานระบบโครงถักต่อเนื่องที่ยาวที่สุดในโลกเป็นอันดับสาม[2] และเป็นสะพานที่ความยาวเป็นอันดับสองของเขตมหานครบอลทิมอร์ รองจากสะพานอ่าวเชสซาพีค
สะพานนี้เปิดใช้งานในปี 1977 และตั้งชื่อตามกวีสมัครเล่น แฟรนซิส สก็อต คีย์ (1779–1843) ผู้ประพันธ์เพลงชาติสหรัฐ "เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" สะพานนี้เป็นชั้นนอกสุดจากทางข้ามสามทางในอ่าวของบอลติมอร์ เมื่อสร้างแล้วเสร็จ สะพานนี้เป็นส่วนสุดท้ายที่ทำให้เส้นทางของอินเตอร์สเตต 695 ครบวง หรือที่รู้จักในชื่อ "วงแหวนบอลทิมอร์" (Baltimore Beltway) นับเป็นการสิ้นสุดโครงการถนนที่กินระยะเวลานานสองทศวรรษ แม้ว่าสะพานจะใช้ป้าย I-695 แต่ทางการกำหนดให้สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงรัฐแมริแลนด์หมายเลข 695[3][4]
ในอดีต สะพานคีย์เป็นสะพานเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งบริหารงานโดยองค์การขนส่งรัฐแมริแลนด์ (MDTA) อัตราค่าผ่านทางอยู่ที่ 4.00 ดอลล่าร์สหรัฐ (ปี 2013) สะพานนี้อยู่ภายใต้ระบบอีซีพาส กระทั่งปี 2019 ซึ่ง MDTA ประกาศว่าสะพานจะปรับระบบค่าผ่านทางเป็นระบบไม่ใช้เงินสดภายในเดือนตุลาคม 2019[5] ระบบเก็บค่าผ่านทางโดยไม่ใช้เงินสดเริ่มต้นในปลายเดือนตุลาคม 2019 เป็นต้นมา[6]
ช่วงหลักของสะพานถล่มลงมาในวันที่ 26 มีนาคม 2024 เมื่อเรือขนส่งบรรทุก เอ็มวี ดาลี ชนเข้ากับเสารับน้ำหนักของสะพานทำให้โครงสร้างถล่ม[7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Francis Scott Key Bridge ที่ฐานข้อมูลโครงสร้าง (Structurae)
- ↑ Durkee, Jackson, World's Longest Bridge Spans, National Steel Bridge Alliance, May 24, 1999.
- ↑ Maryland State Highway Administration (2007). "Highway Location Reference: Baltimore County" (PDF). สืบค้นเมื่อ April 15, 2009. [ลิงก์เสีย]
- ↑ Maryland State Highway Administration (2005). "Highway Location Reference: Baltimore City" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 20, 2009. สืบค้นเมื่อ April 15, 2009.
- ↑ Fulginiti, Jenny (April 12, 2019). "Cashless tolls coming to Key, Hatem bridges in October". WBAL (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 13, 2019.
- ↑ "Drivers Going Through Tolls At Hatem And Key Bridges Won't Be Able To Use Cash By Late October". Baltimore, MD: WJZ-TV. September 26, 2019. สืบค้นเมื่อ October 17, 2019.
- ↑ "Live updates: Rescuers search for people in the water after Baltimore's Key Bridge collapses". Washington Post. 2024-03-26. สืบค้นเมื่อ 2024-03-26.
- ↑ "Ship strikes major Baltimore bridge causing partial collapse". ABC News. สืบค้นเมื่อ 2024-03-26.