สังสการ
สังสการ (saṃskāra) เป็นพิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน (rites of passage) ในชีวิตของมนุษย์ ที่มีการบันทึกระบุไว้ในคัมภีร์สันสกฤตโบราณ หรือในอีกนัยหนึ่งอาจหมายถึง แนวคิดของกรรมในปรัชญาแบบอินเดีย[1][2][3] คำว่า "สังสการ" นั้นแปลตรงตัวว่า "การนำมารวมกัน, การทำให้สมบูรณ์, การเตรียมพร้อม, การเตรียมตัว" หรือ "พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือ" ในทั้งภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตโบราณ[4]
ในบริบทของทฤษฎีเรื่องกรรม, สังสการ คือ นิสัย, บุคลิก หรือ พฤติกรรมที่แสดงออกมาตั้งแต่เกิด ปรุงแต่งจนสมบูรณ์เป็นตัวตนหนึ่งตลอดช่วงชีวิต, จนกลายเป็น "รอยประทับ" ในจิตใต้สำนึก ตามแนวคิดหลายสำนักของปรัชญาฮินดู เช่น ปรัชญาโยคะ[3][5] รอยประทับของกรรมในตัวตนหนึ่งไม่ว่าจะสมบูรณ์แล้วหรือไม่ก็ตาม มีอิทธิพลต่อความเป็นธรรมชาติ, ความรู้สึกตอบรับ และสภาวะจิตใจของตัวตนนั้น.[3]
ส่วนสังสการในอีกความหมายหนึ่งคือ พิธีกรรมเปลี่ยนผ่านต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในศาสนาฮินดู, ศาสนาไชนะ ศาสนาสิกข์ และ ศาสนาพุทธ[2][6][7] ในศาสนาฮินดูแล้ว สังสการมีอยู่มากมายทั้งจำนวนพิธีและรายละเอียดซึ่งแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความเชื่อท้องถิ่น ในโคตมธรรมสูตรอันเก่าแก่กว่าสหัสวรรษ ได้ระบุสังสการไว้ทั้งหมด 40 พิธี[8] ส่วนครหยสูตรซึ่งใหม่กว่าราวศตวรรษ ระบุจำนวนไว้ที่ 16 พิธี[1][9] สังสการมีตั้งแต่พิธีจากลักษณะภายนอก เช่น พิธีที่กระทำเมื่อแรกเกิด ไปจนถึงพิธีกรรมภายในจิตใจ เช่น การเห็นอกเห็นใจสิ่งมีชีวิตทั้งปวง[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Carl Olson (2007), The Many Colors of Hinduism: A Thematic-historical Introduction, Rutgers University Press, ISBN 978-0813540689, pages 93-94
- ↑ 2.0 2.1 David Knipe (2015), Vedic Voices: Intimate Narratives of a Living Andhra Tradition, Oxford University Press, ISBN 978-0199397693, page 52
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Stephen H. Phillips (2009), Yoga, Karma, and Rebirth: A Brief History and Philosophy, Columbia University Press, ISBN 978-0231144858, Chapter 3
- ↑ saMskAra Monier-Williams' Sanskrit-English Dictionary, Cologne Digital Sanskrit Lexicon, Germany
- ↑ Ian Whicher (1999), The Integrity of the Yoga Darsana: A Reconsideration of Classical Yoga, SUNY Press, ISBN 978-0791438152, pages 100-102
- ↑ KE Nayar (2004), The Sikh Diaspora in Vancouver, University of Toronto Press, ISBN 978-0802086310, page 88
- ↑ Dagmar Benner (2008), in Mathematics and Medicine in Sanskrit (Editor: Dominik Wujastyk), Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120832466, pages 122-123
- ↑ 8.0 8.1 Patrick Olivelle (2009), Dharmasutras - The Law Codes of Ancient India, Oxford University Press, ISBN 978-0199555376, pages 90-91
- ↑ Rajbali Pandey (1969, reprint 2003). The Hindu Sacraments (Saṁskāra) in S. Radhakrishnan (ed.) The Cultural Heritage of India, 2nd Edition, Motilal Banarsidass, ISBN 81-85843-03-1, page 23