ข้ามไปเนื้อหา

สิงโตบาร์บารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิงโตบาร์บารี
ภาพถ่ายสิงโตบาร์บารีเพศผู้จากแอลจีเรียราว ค.ศ. 1893 โดย Alfred Edward Pease[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  leo
สปีชีส์ย่อย: P.  l. leo

สิงโตบาร์บารี มีอีกชื่อว่า สิงโตแอฟริกาเหนือ,[1] สิงโตเบอร์เบอร์, สิงโตแอตลาส[2] และ สิงโตอียิปต์[3] เป็นประชากร Panthera leo leo ที่สูญพันธุ์ในป่า อาศัยอยู่ในภูเขาและทะเลทรายแถบชายฝั่งบาร์บารีของแอฟริกาเหนือ จากโมร็อกโกถึงอียิปต์[4] จากการทบทวนบันทึกการล่าสัตว์และการสังเกตอย่างครอบคลุมเปิดเผยว่ามีกลุ่มสิงโตขนาดเล็กอาจอยู่รอดในแอลจีเรียจนกระทั่งต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 และในโมร็อกโกจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960[4] ปัจจุบัน สิงโตชนิดนี้สูญพันธุ์จากภูมิภาคนี้แล้ว[5] สิงโตบาร์บารีเคยถือเป็นชนิดย่อยต่างหากจนถึง ค.ศ. 2017[6][7][8]

ลักษณะ

[แก้]
สิงโตที่สันนิษฐานว่าเป็นสิงโตบาร์บารีที่สวนสัตว์ราบัต ประเทศโมร็อกโก
สิงโตบาร์บารีที่สวนสัตว์บร็องซ์, ค.ศ. 1897

สิงโตบาร์บารีเป็นสิงโตที่มีขนาดใหญ่ มีจุดเด่นคือ ตัวผู้มีแผงขนคอที่มีสีดำมากกว่าสิงโตสายพันธุ์อื่น ๆ และมีน้ำหนักตัวมากที่สุดในบรรดาสิงโตด้วยกัน โดยเพศผู้มีน้ำหนักตัว 200- 295 กิโลกรัม เพศเมียมีน้ำหนักตัว 120- 180 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านกล่าวว่าการคาดคะเนน้ำหนักดูเกินความจริงไปมาก เดิมสิงโตชนิดย่อยนี้พบแพร่กระจายตามแนวเทือกเขาแอตลาสในแอฟริกาเหนือ ไปจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลางในทวีปเอเชีย

ประวัติ

[แก้]

ในอดีตได้มีการจับสิงโตชนิดนี้เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในการต่อสู้ในยุคโรมัน

สิงโตบาร์บารีในธรรมชาติตัวสุดท้ายถูกล่าเมื่อปี ค.ศ. 1922 ในบริเวณเทือกเขาแอตลาส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการเลี้ยงสิงโตสายพันธุ์นี้อยู่โรงแรม หรือคณะละครสัตว์หลายแห่งในทวีปยุโรป ในช่วงยุคกลางมีการเลี้ยงสิงโตบาร์บารี่ในบริเวณหอคอยลอนดอน ในปี ค.ศ. 1835 ได้มีการย้ายสิงโตออกจากหอคอยลอนดอนไปยังสวนสัตว์ลอนดอน โดยสิงโตบาร์บารี่ตัวที่มีชื่อเสียงที่สุด ชื่อ สุลต่าน ซึ่งอาศัยอยู่ในสวนสัตว์ลอนดอนในปี ค.ศ. 1896

ปัจจุบัน สิงโตกลุ่มที่คาดว่าน่าจะสืบเชื้อสายมาจากสิงโตบาร์บารี่มากที่สุดคือกลุ่มของสิงโตที่สวนสัตว์ในโมร็อคโค แอฟริกาเหนือ ซึ่งระบุว่าได้มาจากเทือกเขาแอตลาส และมีการทำประวัติไว้ทุกตัว ตลอดระยะเวลาหลายปี แต่จากผลตรวจดีเอ็นเอ โดย ดร.โนะบุยุกิ ยะมะกุชิ แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซึ่งนำตัวอย่างซากของสิงโตที่คาดว่าจะเป็นสิงโตบาร์บารี่จากหลายพิพิธภัณฑ์มาตรวจสอบ เทียบกับสิงโตที่คาดว่าจะเป็นสิงโตบาร์บารี่ ในสวนสัตว์หลายแห่งในทวีปยุโรป รวมทั้งสิงโตในสวนสัตว์โมรอคโคบางตัว พบว่าไม่ได้มีสิงโตตัวใดเป็น สิงโตบาร์บารี่ อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ศึกษาถึงกลุ่มประชากรของสิงโตที่มีที่มาจากหอคอยลอนดอนในสวนสัตว์ลอนดอน[9]

ในปี ค.ศ. 2008 มีการศึกษาพบว่าสิงโตในโมร็อคโค มี mitochondrial haplotypes (H5 และ H6) เหมือนกับสิงโตในแอฟริกากลาง และยังพบว่า mitochondrial haplotypes (H7 และ H8) พบได้ในสิงโตอินเดีย อาจกล่าวได้ว่าสิงโตเริ่มแพร่กระจายจากแอฟริกาตะวันออกสู่พื้นที่อื่น ๆ และเข้าสู่ทวีปเอเชียในภายหลัง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Pease, A. E. (1913). "The Distribution of Lions". The Book of the Lion. London: John Murray. pp. 109−147.
  2. Burger, J.; Hemmer, H. (2006). "Urgent call for further breeding of the relic zoo population of the critically endangered Barbary lion (Panthera leo leo Linnaeus 1758)" (PDF). European Journal of Wildlife Research. 52 (1): 54–58. doi:10.1007/s10344-005-0009-z. S2CID 30407194. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-03. สืบค้นเมื่อ 2007-04-04.
  3. Heptner, V. G.; Sludskij, A. A. (1992) [1972]. "Lion". Mlekopitajuščie Sovetskogo Soiuza. Moskva: Vysšaia Škola [Mammals of the Soviet Union. Volume II, Part 2. Carnivora (Hyaenas and Cats)]. Washington DC: Smithsonian Institution and the National Science Foundation. pp. 83–95. ISBN 978-90-04-08876-4.
  4. 4.0 4.1 Black, S. A.; Fellous, A.; Yamaguchi, N.; Roberts, D. L. (2013). "Examining the Extinction of the Barbary Lion and Its Implications for Felid Conservation". PLOS ONE. 8 (4): e60174. Bibcode:2013PLoSO...860174B. doi:10.1371/journal.pone.0060174. PMC 3616087. PMID 23573239.
  5. Bauer, H.; Packer, C.; Funston, P. F.; Henschel, P. & Nowell, K. (2017) [errata version of 2016 assessment]. "Panthera leo". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15951A115130419.
  6. Nowell, K. & Jackson, P. (1996). "African lion, Panthera leo (Linnaeus, 1758)" (PDF). Wild Cats: Status Survey and Conservation Action Plan. Gland, Switzerland: IUCN/SSC Cat Specialist Group. pp. 17–21. ISBN 978-2-8317-0045-8.
  7. Wozencraft, W. C. (2005). "Panthera leo". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 546. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  8. Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O’Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z. & Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News (Special Issue 11): 71–73.
  9. "Barbary Lion News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2011-01-03.