หัสตินาปุระ
หน้าตา
หัสตินาปุระ Hastinapur | |
---|---|
เมือง | |
วัดในหัสตินาปุระ | |
ที่ตั้งเมืองหัสตินาปุระใน รัฐอุตตรประเทศ | |
พิกัด: 29°10′N 79°01′E / 29.17°N 79.02°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | อุตตรประเทศ |
ภาษาราชการ | ฮินดี |
ความสูง | 202 เมตร (663 ฟุต) |
ประชากร (2544) | |
• ทั้งหมด | 21,248 คน |
กรุงหัสตินาปุระ (เทวนาครี: हस्तिनापुर) เป็นเมืองหนึ่งในเรื่องมหาภารตะ ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
พระมหากษัตริย์
[แก้]ในอดีตมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ อันประกอบไปด้วย
- ท้าวปุรูรพ โอรสของนางอิลา (ท้าวอิลราชที่ต้องคำสาปพระศิวะเมื่อล่วงเข้าไปในสวนต้องห้ามกลายเป็นสตรีไป) กับพระพุธ ปฐมกษัตริย์แห่งจันทรวงศ์ ครองกรุงประดิษฐาน ได้นางอัปสรอุรวศีเป็นมเหสี มีโอรสองค์โตชื่อ ท้าวอายุ และบุตรองค์อื่น ๆ อีก 5 องค์ คือ ท้าวอมาวสุ ท้าววิศวายุ ท้าวศรุตายุ ท้าวศตายุ ท้าวทฤธายุ
- ท้าวอายุ เป็นกษัตริย์องค์ที่สอง เป็นโอรสของท้าวปุรุรพ กับนางอัปสรอุรวศี มีบุตรนามว่า ท้าวนหุษะ เกิดจากพรของพระทัตตาเตรยะมหามุนี
- ท้าวนหุษะ เป็นกษัตริย์องค์ที่สาม เป็นโอรสของท้าวอายุ กับนางอินทุมดี มีมเหสีนามว่า นางอโศกสุนทรี (ธิดาพระศิวะกับพระแม่อุมาเทวี เกิดจากการขอธิดาจากต้นกัลปพฤกษ์) มีโอรสชื่อ ยาติ ยยาติ สัมยาติ อยาติ วิยาติ กฤติ ต่อมาเกิดเรื่องบนสวรรค์จนพระอินทร์ต้องหนีไปบำเพ็ญตบะ หายไปจากสวรรค์ชั่วคราว เหล่าเทพจึงเชิญราชานหุษะขึ้นไปครองสวรรค์ แต่ต่อมาราชานหุษะอยากได้พระนางอินทราณีศจีมเหสีพระอินทร์เป็นชายา จึงหาทางหว่านล้อม สุดท้ายอินทราณีออกอุบายให้ราชานหุษะนั่งคานหามที่ให้สัปตฤๅษีเป็นคนแบกมาในพิธีวิวาห์ แต่เหล่าฤๅษีนั้นชรามาก จึงไปได้ช้า ราชานหุษะหน้ามืดตามัว ถีบฤๅษีวศิษฐ์ล้มลง และกล่าวบริพาทฤๅษีอคัสตยะ ผู้มีรูปร่างเตี้ย เหล่าสัปตฤๅษีจึงสาปให้ราชานหุษะกลายเป็นงูหล่นลงมาจากสวรรค์ และยุธิษฐิระมาแก้คำสาปให้ในมหาภารตะนั่นเอง
- ท้าวยยาติ เป็นกษัตริย์องค์ที่สี่ โอรสของท้าวนหุษะ กับพระนางอโศกสุนทรี ได้เป็นถึงพระจักรพรรดิ มีมเหสีสององค์คือ นางศรมิษฐา (ธิดาท้าววฤษบรรพ์ ราชาแห่งพวกทานพ) มีลูกชื่อ ท้าวทรุห์ยุ (ผู้ก่อตั้งราชอาณาจักรตวิประ) ท้าวอนุ (ผู้ก่อตั้งราชอาณาจักรมเลจฉะและราชอาณาจักรไกเกยะ) ท้าวปุรุ (ผู้ก่อตั้งราชอาณาจักรเปารวะ) และนางเทวยานี(ธิดาพระศุกร์) มีลูกชื่อ ท้าวยทุ (ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ยาทพ) ท้าวตุรวสุ (ผู้ก่อตั้งราชอาณาจักรยาวนะ) และนางมาธวี แต่ต่อมาราชายยาติให้ความรักแก่เทวยานีน้อยกว่าศรมิษฐา พระศุกร์ซึ่งเป็นบิดาจึงสาปให้ราชายยาติแก่เร็วกว่ากำหนด ทางแก้คำสาปคือให้โอรสรับคำสาปแทน ท้าวปุรุรับคำสาปแทนบิดา จึงได้ครองกรุงประดิษฐาน ส่วนท้าวยทุโดนขับไล่ออกจากเมือง จึงแยกออกไปเป็นราชวงศ์ยาทพ (ต้นวงศ์ของพระกฤษณะกับพระพลรามนั่นเอง)
- ท้าวปุรุ เป็นกษัตริย์องค์ที่ห้า โอรสของท้าวยยาติ กับนางศรมิษฐา มีบุตรนามว่า ท้าวมนัสยุ
- ท้าวมนัสยุ เป็นกษัตริย์องค์ที่หก โอรสของท้าวปุรุ กับนางเกาศัลยา มีบุตรนามว่า ท้าวอิลีนะ
- ท้าวอิลีนะ เป็นกษัตริย์องค์ที่เจ็ด โอรสของท้าวมนัสยุ มีบุตรนามว่า ท้าวทุษยันต์
- ท้าวทุษยันต์ เป็นกษัตริย์องค์ที่แปด โอรสของท้าวอิลีนะ กับนางรฐันตรา มีมเหสีชื่อศกุนตลา (ธิดาของฤๅษีวิศวามิตรกับนางอัปสรเมนกา) มีบุตรนามว่า ท้าวภรตะ
- ท้าวภรตะ เป็นกษัตริย์องค์ที่เก้า ได้เป็นถึงพระจักรพรรดิ ครองทั่วทั้งแคว้น อินเดียจึงถูกขนานนามว่า ดินแดนภารตะ เป็นโอรสของท้าวทุษยันต์ กับนางศกุนตลา มีบุตรนามว่า ท้าวภูมันยุ
- ท้าวภูมันยุ เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบ โอรสของท้าวภรตะ กับนางสุนันทา มีบุตรนามว่า ท้าวสุโหตระ
- ท้าวสุโหตระ เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบเอ็ด โอรสของท้าวภูมันยุ กับนางสุวรรณา มีบุตรนามว่า ท้าวหัสติน
- ท้าวหัสติน เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบสอง เป็นผู้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงประดิษฐาน มาก่อตั้งกรุงหัสตินาปุระ โอรสของท้าวสุโหตระ กับนางชยันตี มีบุตรนามว่า ท้าววิกัณชะ
- ท้าววิกัณชะ เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบสาม โอรสของท้าวหัสติน กับนางยโสธรา มีบุตรนามว่า ท้าวอัชมีธะ
- ท้าวอัชมีธะ เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบสี่ โอรสของท้าววิกัณชะ กับนางสุนันทา มีบุตรนามว่า ท้าวอิรุศะ
- ท้าวอิรุศะ เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบห้า โอรสของท้าวอัชมีธะ มีน้องชายสองพันคน และมีบุตรนามว่า ท้าวสังวรณ์
- ท้าวสังวรณ์ เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบหก โอรสของท้าวอิรุศะ มีมเหสีชื่อ พระนางตัปตี มีบุตรนามว่า ท้าวกุรุ
- ท้าวกุรุ เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบเจ็ด โอรสของท้าวสังวรณ์ กับนางตัปตี เป็นปฐมกษัตริย์ของกุรุราชวงศ์ มีบุตรนามว่า ท้าววิธูรถะ
- ท้าววิธูรถะ เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบแปด โอรสของท้าวกุรุ กับนางศุพังคี มีบุตรนามว่า ท้าวประตีปะ
- ท้าวประตีปะ เป็นกษัตริย์องค์ที่สิบเก้า โอรสของท้าววิธูรถะ กับนางอมฤตา เป็นผู้มีวาจาสิทธิ์ ไม่เคยพูดเท็จ มีบุตรนามว่า ท้าวศานตนุ
- ท้าวศานตนุ เป็นกษัตริย์องค์ที่ยี่สิบ โอรสของท้าวประติปะ กับนางสุนันทา มีพี่ชายชื่อ เทวาปิ มีน้องชายชื่อ ท้าวพาหลีกะ มีมเหสีสององค์ คือ พระแม่คงคา มีโอรสนามว่า ภีษมะ หรือเทวพรต หรือศานตนพ และพระนางสัตยวดีมีโอรสสององค์ คือ จิตรางคทะ และวิจิตรวีรยะ
- ท้าวจิตรางคทะ เป็นกษัตริย์องค์ที่ยี่สิบเอ็ด โอรสของท้าวศานตนุ กับพระนางสัตยวดี ต่อมาสู้กับคนธรรพ์ชื่อ จิตรางคทะ เหมือนกัน จนสิ้นชีพลง
- ท้าววิจิตรวีรยะ เป็นกษัตริย์องค์ที่ยี่สิบสอง น้องชายของจิตรางคทะ มีสุขภาพไม่ดี ต่อมาแต่งงานกับนางอัมพา นางอัมพิกา และนางอัมพาลิกา ธิดากษัตริย์แคว้นกาศี ได้เพียง 1 คืนก็สิ้นชีพลง
- ท้าวปาณฑุ เป็นกษัตริย์องค์ที่ยี่สิบสาม เกิดจากการนิโยคจากฤๅษีวยาส กับ เจ้าหญิงอัมพาลิกา มีผิวซีดขาว มีมเหสีสองคน คือ พระนางกุนตี และ พระนางมาทรี และมีโอรส 5 คน คือ ห้าพี่น้องปาณฑพ
- ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ยี่สิบสี่ เกิดจากการนิโยคจาก ฤๅษีวยาส กับ เจ้าหญิงอัมพิกา มีนัยน์ตาบอดสนิทแต่กำเนิด มีมเหสี คือ พระนางคานธารี โดยมีโอรสองค์โต คือ ทุรโยธน์ กับอนุชาอีก 99 คน รวมเป็น พี่น้องเการพ และธิดาองค์สุดท้อง ชื่อ ทุหศาลา
- ท้าวยุธิษฐิระ (ยุ-ทิด-สะ-ถิ-ระ) เป็นกษัตริย์องค์ที่ยี่สิบห้า เป็นพี่ชายคนโตของเหล่าพี่น้องปาณฑพ บุตรของท้าวปาณฑุ และยังเป็นผู้ก่อตั้งกรุงอินทรปรัสถ์ หลังจากได้ชัยชนะในสงครามมหาภารตะที่ทุ่งกุรุเกษตรแล้ว ก็ได้ปกครองกรุงหัสตินาปุระและกรุงอินทรปรัสถ์ต่อมา จนกระทั่งสละบัลลังก์ให้ปรีกษิต หลานของอรชุนขึ้นครองแทน และออกเดินทางกลับสวรรค์พร้อมกับพระเทราปตี และเหล่าพี่น้องปาณฑพในที่สุด
- ท้าวปรีกษิต (ปะ-ริก-สิด) เป็นกษัตริย์องค์ที่ยี่สิบหก เป็นโอรสของ อภิมันยุ (โอรสของอรชุนกับเจ้าหญิงสุภัทรา น้องสาวพระกฤษณะ) และ นางอุตตรา (มหาภารตะ) บุตรีของท้าววิราฎ มีโอรสนามว่าชนเมชัย สิ้นชีพจากคำสาปของบุตรมหาฤๅษีองค์หนึ่ง เพราะโดนปีศาจกลี (ปีศาจแห่งกลียุค บางตำราว่าปีศาจกลี อดีตชาติก็คือ ทุรโยธน์) เข้าสิงในมงกุฎ และยุยงให้ท้าวปรีกษิต ลบหลู่มหาฤๅษีโดยการเอาซากงูไปคล้องคอ บุตรของมหาฤๅษีเห็นเข้าจึงโกรธ และสาปให้ต้องตายด้วยน้ำมือของพญาตักษกนาคราช (นาคตัวเดียวกับเมื่อคราวที่พระกฤษณะและอรชุนเผาป่าขาณฑวะปรัสถ์) ในอีก 7 วัน ราชาปรีกษิตจึงรับคำสาปแต่โดยดี และตายด้วยไฟกรดของพญานาคตักษกะนั้นเอง
- ท้าวชนเมชัย เป็นกษัตริย์องค์ที่ยี่สิบเจ็ด โอรสของท้าวปรีกษิต กับนางอิรวดี มีน้องชายสามคนคือ ศรุตเสน อุครเสน ภีมเสน เขามีความแค้นเคืองนาคตักษกะมาก ถึงกับตั้งพิธีสรรปะสัตระยัชนา เรียกนาคทั้งสามพิภพมาบูชายัญในกองไฟ ตักษกะหนีไปยังสวรรค์หลบใต้บัลลังก์ของพระอินทร์ แต่อำนาจของพิธีจึงดึงตักษกะมาพร้อมกับบัลลังก์และพระอินทร์ จนกระทั่งเหล่านาคไปขอความช่วยเหลือจากฤๅษีอัสติกะ (บุตรพระแม่มนสาเทวี) และ ฤๅษีศุกะเทพ (บุตรของมหาฤๅษีวยาส) จึงมาให้ความช่วยเหลือ และเล่าเรื่องศรีมัท ภาควัตปุราณะ จนราชาชนเมชัยสงบลง และได้ครองราชย์สืบต่อมา
- ท้าวอัศวเมธทัตต์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ยี่สิบแปด พระองค์สุดท้ายแห่งจันทรวงศ์ เป็นโอรสของท้าวชนเมชัย กับนางศตานีกา เขาเกิดจากการกระทำพิธีอัศวเมธ แต่ไร้ผู้สืบบัลลังก์ ราชวงศ์ของกรุงหัสตินาปุระก็สิ้นสุดลง เชื้อพระวงศ์ที่เหลืออยู่ย้ายไปพำนักที่กรุงเกาศัมพี หรือ โกสัมพี แคว้นวัตสะ (ปัจจุบัน คือ เมืองอัลลาฮาบัด) กรุงหัสตินาปุระต่อมาก็จมลงสู่แม่น้ำคงคา เป็นอันหมดสิ้นซึ่งราชอาณาจักรกุรุ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]29°10′N 78°01′E / 29.17°N 78.02°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ หัสตินาปุระ
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. ภารตนิยาย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แม่คำฝาง, 2547.