ข้ามไปเนื้อหา

อธิรัฐ รัตนเศรษฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อธิรัฐ รัตนเศรษฐ
อธิรัฐ ใน พ.ศ. 2563
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
รักษาการ
ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม พ.ศ. 2566 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 182 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าศักดิ์สยาม ชิดชอบ
(รัฐมนตรีว่าการ)
ถัดไปสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
(รัฐมนตรีว่าการ)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการศักดิ์สยาม ชิดชอบ
ก่อนหน้าไพรินทร์ ชูโชติถาวร
ถัดไปมนพร เจริญศรี
สุรพงษ์ ปิยะโชติ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครราชสีมา
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(11 ปี 260 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 เมษายน พ.ศ. 2527 (40 ปี)
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–2561)
พลังประชารัฐ (2561–2567)
คู่สมรสอรัชมน รัตนวราหะ
ศิษย์เก่าวชิราวุธวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

อธิรัฐ รัตนเศรษฐ (เกิด 18 เมษายน พ.ศ. 2527) ชื่อเล่น แบงค์[1] เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ

[แก้]

อธิรัฐ เกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2527 เป็นบุตรนายวิรัช รัตนเศรษฐ นางทัศนียา รัตนเศรษฐ (สกุลเดิม: แซ่ตั้ง) ด้านครอบครัวสมรสกับอรัชมน รัตนวราหะ มีบุตร 1 คน

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง 54), Master of Arts สาขา International Business จาก London Metropolitan University (Sir John Cass College of Art) ประเทศอังกฤษ และ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

การทำงาน

[แก้]

เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ ณ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดนครราชสีมา ตามลำดับ[2]

งานการเมือง

[แก้]

อธิรัฐลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย เอาชนะนายพีรพร สุวรรณฉวี บุตรชายว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี (เสียชีวิต) และร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จากพรรคชาติพัฒนา

ในปี พ.ศ. 2562 เขาย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐพร้อมลงเลือกตั้งในจังหวัดเดิม และชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง ส่วนในอีกสี่ปีต่อมา เขายังสังกัดพรรคเดิม แต่ย้ายไปสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 4[3]

ในวันที่ 13 มิถุนายน ​2566 คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ตติรัฐ รัตนเศรษฐ น้องชายของเขาเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

อธิรัฐ รัตนเศรษฐ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เปิดประวัติ "อธิรัฐ รัตนเศรษฐ" รัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดใน ครม.ประยุทธ์ 2/1
  2. อธิรัฐเคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ
  3. "เช็ค 85 รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เรียงตามลำดับ". prachatai.com.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]