อำเภอกุยบุรี
อำเภอกุยบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kui Buri |
ทัศนียภาพมุมสูงในอำเภอกุยบุรี | |
คำขวัญ: พระธาตุเจดีย์คู่บ้าน นมัสการหลวงพ่อในกุฎิ สวยสุดถ้ำลำน้ำใส ชมอุทยานน้ำตกดงมะไฟ ช้างไพร ทะเลงาม | |
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอกุยบุรี | |
พิกัด: 12°4′58″N 99°51′15″E / 12.08278°N 99.85417°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ประจวบคีรีขันธ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 935.4 ตร.กม. (361.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 45,024 คน |
• ความหนาแน่น | 48.13 คน/ตร.กม. (124.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 77150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7702 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอกุยบุรี หมู่ที่ 7 ถนนเพชรเกษม ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
กุยบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแยกออกมาจากอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้รับจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
ประวัติ
[แก้]ท้องที่อำเภอกุยบุรีเดิมเป็นเขตปกครองของอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งภายหลังได้แยกออกมาเป็นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมา วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธุ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นเมืองปราณบุรี (จังหวัดปราณบุรี) ตั้งที่ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์จึงได้แยกจากเมืองเพชรบุรีมาอยูในการปกครองของเมืองปราณบุรี เป็น "อำเภอประจวบคีรีขันธ์"[1] ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็น "เมืองประจวบคีรีขันธ์"
ต่อมาได้รับการแบ่งแยกพื้นที่เป็น กิ่งอำเภอกุยบุรี ขึ้นตรงกับอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้รับจัดตั้งเป็น อำเภอกุยบุรี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 [2]
ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ได้มีการโอนย้ายตำบลไร่ใหม่ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอสามร้อยยอด[3]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอกุยบุรีตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสามร้อยยอด
- ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอกุยบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[4] |
---|---|---|---|---|
1. | กุยบุรี | Kui Buri | 8
|
10,246
|
2. | กุยเหนือ | Kui Nuea | 11
|
6,862
|
3. | เขาแดง | Khao Daeng | 3
|
2,179
|
4. | ดอนยายหนู | Don Yai Nu | 4
|
3,263
|
5. | สามกระทาย | Sam Krathai | 10
|
11,151
|
6. | หาดขาม | Hat Kham | 11
|
11,178
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอกุยบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกุยบุรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกุยบุรีและตำบลกุยเหนือ
- เทศบาลตำบลไร่ใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสามกระทาย (รวมทั้งบางส่วนของตำบลไร่ใหม่ในเขตอำเภอสามร้อยยอดด้วย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุยบุรี (นอกเขตเทศบาลตำบลกุยบุรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุยเหนือ (นอกเขตเทศบาลตำบลกุยบุรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหนู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนยายหนูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสามกระทาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามกระทาย (นอกเขตเทศบาลตำบลไร่ใหม่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหาดขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดขามทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
- ↑ พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๘๐ เล่มที่ ๗๒ ก เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ หน้าที่ ๓๖๒
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search_result.jsp?SID=4072F5E24FED71A796264B0759D6FCBF พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนเขตอำเภอกุยบุรีกับกิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ตอนที่ ๑๑๒ ภาคที่ ๕๘ ก ประกาศ ณ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ หน้าที่ ๒๘
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.