อำเภอศรีบุญเรือง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อำเภอศรีบุญเรือง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Si Bun Rueang |
คำขวัญ: ศรีบุญเรืองเมืองคนดี ประเพณีบุญบั้งไฟ ก่องข้าวใหญ่ชาวอีสาน เด่นตระการถ้ำผาสวรรค์ อัศจรรย์เขาสามยอด | |
แผนที่จังหวัดหนองบัวลำภู เน้นอำเภอศรีบุญเรือง | |
พิกัด: 16°57′57″N 102°16′48″E / 16.96583°N 102.28000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | หนองบัวลำภู |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 830.643 ตร.กม. (320.713 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 109,323 คน |
• ความหนาแน่น | 132 คน/ตร.กม. (340 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 39180 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3904 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอศรีบุญเรือง หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 39180 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ศรีบุญเรือง (อักษรไทน้อย: , อักษรธรรมอีสาน: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภู
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอศรีบุญเรืองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาวัง อำเภอนากลาง และอำเภอเมืองหนองบัวลำภู
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองหนองบัวลำภูและอำเภอโนนสัง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองนาคำ และอำเภอสีชมพู (จังหวัดขอนแก่น)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอภูกระดึง อำเภอผาขาว และอำเภอเอราวัณ (จังหวัดเลย)
ประวัติ
[แก้]อำเภอศรีบุญเรืองเดิมมีฐานะเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อว่า บ้านโนนสูงเปลือย ขึ้นกับตำบลยางหล่อ อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2494 ข้าหลวงประจำจังหวัดอุดรธานีได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเขตตำบลยางหล่อโดยแยกบางส่วนออกมาตั้งขึ้นเป็นตำบลใหม่ คือ ตำบลศรีบุญเรือง และตำบลนากอก อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ได้แบ่งท้องที่อำเภอหนองบัวลำภู ตั้งเป็น กิ่งอำเภอศรีบุญเรือง มีเขตการปกครองรวม 3 ตำบล คือ ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลยางหล่อ และตำบลนากอก ให้ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองอำเภอหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2512 ได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอศรีบุญเรือง เป็น อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี ต่อมาได้มีการแยกอำเภอหนองบัวลำภู อำเภอนากลาง อำเภอโนนสัง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอสุวรรณคูหา ออกจากการปกครองของจังหวัดอุดรธานี รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู ดังนั้น อำเภอศรีบุญเรืองจึงได้ถูกโอนอยู่ภายใต้เขตการปกครองของจังหวัดหนองบัวลำภูจนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอศรีบุญเรืองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 158 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[1] |
---|---|---|---|---|
1. | เมืองใหม่ | Mueang Mai | 15 | 10,596 |
2. | ศรีบุญเรือง | Si Bun Rueang | 16 | 10,866 |
3. | หนองบัวใต้ | Nong Bua Tai | 10 | 7,172 |
4 | กุดสะเทียน | Kut Sathian | 8 | 5,525 |
5. | นากอก | Na Kok | 23 | 15,691 |
6. | โนนสะอาด | Non Sa-at | 17 | 12,423 |
7. | ยางหล่อ | Yang Lo | 15 | 9,288 |
8. | โนนม่วง | Non Muang | 12 | 8,732 |
9. | หนองกุงแก้ว | Nong Kung Kaeo | 13 | 7,217 |
10. | หนองแก | Nong Kae | 11 | 8,418 |
11. | ทรายทอง | Sai Thong | 10 | 8,565 |
12. | หันนางาม | Han Na Ngam | 8 | 4,830 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอศรีบุญเรืองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลจอมทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศรีบุญเรือง
- เทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเมืองใหม่
- เทศบาลตำบลโนนสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสะอาดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลยางหล่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางหล่อทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีบุญเรือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีบุญเรือง (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวใต้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดสะเทียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดสะเทียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนากอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนากอกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนม่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทรายทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรายทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหันนางาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหันนางามทั้งตำบล
ประเพณี
[แก้]
โครงการพัฒนา คนและชุมชน ภายใต้โมเดล ศรีบุญเรือง เมือง 4 ดี[แก้](The 4 Good Concept)[แก้] |
||
---|---|---|
โดย นายเพทาย จรกระโทก นายอำเภอศรีบุญเรือง | ||
1.จิตใจดี (Good Mind) คือการพัฒนาที่มุ่งเน้นในด้านจิตใจ ให้คนศรีบุญเรืองทุกช่วงวัยมีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักเสียสละ แบ่งปัน สามัคคีปรองดอง รักและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน | ||
2.สุขภาพดี (Good Health) คือการพัฒนาที่เน้นให้คนศรีบุญเรือง เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยการส่งเสริมให้ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ รวมไปถึงการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ปลอดภัย ปลอดโรค ปลอดสารเคมีตกค้าง | ||
3.สังคมและสิ่งแวดล้อมดี (Good Surrounding) การพัฒนาที่มุ่งเน้นในการปรับสภาพแวดล้อมทางสังคม ให้เป็นสังคมที่น่าอยู่ มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปลอดแหล่งอบายมุข การพนัน และยาอเสพติด คนในสังคมมีความเสียสละมีจิดอาสา สามัคคีปรองดอง ใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | ||
4.เศรษฐกิจดี (Good Economy) คือการนำเศรษฐกิจมมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยพัฒนาให้ทุกครัวเรือน มีพร้อมซึ่งปัจจัย4 ที่จำเป็นขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำรงชีวิต |
ประเพณีบุญบั้งไฟ ถือเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงของอำเภอศรีบุญเรือง ซึ่งจะถูกจัดขึ้นทุกสัปดาห์ที่สองของเดือนมิถุนายน จะมีการประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงามของแต่ละหมู่บ้าน
แหล่งท่องเที่ยว
[แก้]- บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดจันทรประสิทธิ์
- ถ้ำผาสวรรค์
- ถ้ำผาเสด็จ
- แก่งตาดฟ้า
- สิมไม้วัดเจริญทรงธรรม
- เจดีย์ วัดป่าโชติการาม
- วัดป่าวุฑฒาราม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.