เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | ยงยุทธ ติยะไพรัช |
ถัดไป | อนงค์วรรณ เทพสุทิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2481 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
คู่สมรส | คุณหญิงจามรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ประวัติ
[แก้]นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2481กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ กับท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และ Geeling Grammar School Victoria ประเทศออสเตรเลีย ในระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกซ์และคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2506 และระดับปริญญาโท สาขาพัฒนาการเศรษฐกิจ จากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2509
ที่ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับคุณหญิงจามรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตอาจารย์โรงเรียนจิตรลดา บุตรสาวของหม่อมหลวงจวง เสนีวงศ์ กับนางเฉลยพร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวดาลิน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และนายจักรษมา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
นอกจากนี้แล้ว งานอดิเรกส่วนตัวที่ชื่นชอบ คือ การถ่ายภาพสัตว์ป่า โดยเริ่มถ่ายมาตั้งแต่ยังเด็ก และเคยเดินทางไปถ่ายในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกมาแล้วทั้งอเมริกากลาง, กัมพูชา หรือญี่ปุ่น[1]
การทำงาน
[แก้]นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เริ่มต้นรับราชการในตำแหน่ง วิทยากรโท ประจำหน่วยวางแผนกำลังคน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2506 ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2520 ตำแหน่งรองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2528 ตำแหน่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นตำแหน่งสุดท้าย
นายเกษม ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2539[2] ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวหลังการรัฐประหาร ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้มีการแต่งตั้งให้นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม [3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เตรียมโชว์สุดยอดภาพถ่ายสัตว์ป่าผีมืออดีต รมว.ทส. 21 ม.ค. นี้[ลิงก์เสีย]จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖๒, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2481
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชสกุลสนิทวงศ์
- ณ อยุธยา
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- นักถ่ายภาพชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไทย
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- นักเปียโนชาวไทย
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ