ข้ามไปเนื้อหา

เขตมิสซังเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตมิสซังเชียงใหม่

Dioecesis Chiangmaiensis
อาสนวิหารพระหฤทัย
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
มหานครเขตมิสซังกรุงเทพฯ
สถิติ
พื้นที่50,342.30 ตารางกิโลเมตร (19,437.27 ตารางไมล์)
ประชากร
- รวม
- คาทอลิก
(2023)
3,142,878
50,913 (1.7%)
แพริช31
คณะ32
โรงเรียน9
ข้อมูล
นิกายคาทอลิก
Sui iuris churchคริสตจักรละติน
จารีตพิธีกรรมโรมัน
อาสนวิหารอาสนวิหารพระหฤทัย
บาทหลวง47
ผู้นำปัจจุบัน
สันตะปาปาสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
มุขนายกฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์
มุขนายกมหานครเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช
แผนที่

เขตมิสซังเชียงใหม่[1] หรือสังฆมณฑลเชียงใหม่ เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง (เว้นอำเภองาว) จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน[2] และมีสถานะเป็นปริมุขมณฑลของเขตมิสซังกรุงเทพฯ

สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 5/3 ถ.เจริญประเทศ 12 ต.ช้างคลาน อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50100

ประวัติ

[แก้]

เขตมิสซังเชียงใหม่มีจุดเริ่มต้นมาจากการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในภาคเหนือ โดยสมัยมุขนายกฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว ดำรงตำแหน่งประมุขมิสซังสยาม ได้ส่งบาทหลวง 2 องค์ คือบาทหลวงกร็องฌ็อง และบาทหลวงวากาล มาเป็นมิชชันนารีเผยแพร่ศาสนาที่เชียงใหม่ ถึงเมื่อวันที่ถึงเชียงใหม่ในบ่ายวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1844 เริ่มแรกได้รับการต้อนรับจากเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เป็นอย่างดี แต่ภายหลังมีท่าทีเปลี่ยนไปทำให้งานแพร่ธรรมต้องหยุดลง ต่อมาสมัยมุขนายกเรอเน แปร์รอส ได้รื้อฟื้นงานแพร่ธรรมขึ้นอีกครั้ง โดยส่งบาทหลวง 2 องค์ คือบาทหลวงฟูยัง (Fouillat) และบาทหลวงบรัวซา (Broizat) มาทำหน้าที่ และได้ตั้งศูนย์แพร่ธรรมที่เชียงใหม่ได้เป็นผลสำเร็จ แต่จากนั้นไม่นานก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บาทหลวงทั้งสองถูกเรียกตัวกลับ งานประกาศศาสนาจึงต้องชะงักลงอีกครั้ง ต่อมา ค.ศ. 1926 มิสซังกรุงเทพฯ จึงส่งบาทหลวงขึ้นมาอีกรอบ ประกอบด้วยบาทหลวงยอร์ช มีราแบล (Mirabel) จากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส พร้อมกับบาทหลวงพื้นเมืองชาวไทยคือบาทหลวงนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ทั้งสองได้ตั้งต้นที่พิษณุโลกก่อน เพราะมีชาวจีนอาศัยอยู่มาก[3]

ต่อมาวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1931 ทั้งสองจึงมาถึงเชียงใหม่แล้วเริ่มประกาศศาสนาอีกครั้ง และได้เชิญคณะนักบวชคาทอลิกหลายคณะมาช่วยงานการศึกษาด้วย เช่น คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมันมาเปิดโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย คณะภราดาเซนต์คาเบรียลมาเปิดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย การเผยแพร่ได้ขยายตัวไปทั่วจังหวัด แล้วจึงขยายไปจังหวัดอื่น ๆ ในเขตภาคเหนือตามลำดับ[4]

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 จึงทรงยกสถานะภาคเหนือจึงเป็นเขตหัวหน้าจากสันตะสำนัก (Prefecture Apostolic) แล้วได้เป็นมุขมณฑลในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1965[5] แต่ราชการไทยยังคงเรียกว่าเขตมิสซังเชียงใหม่ ต่อมาวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2018 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงแยกจังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน พะเยา และอำเภองาว จังหวัดลำปาง ออกจากเขตมิสซังเชียงใหม่มาสถาปนาเป็นเขตมิสซังเชียงราย[6]

ลำดับมุขนายก

[แก้]

นับแต่ได้รับสถานะเป็นมุขมณฑล มิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่มีมุขนายกเป็นประมุขมาแล้ว 4 องค์ โดยหัวหน้าจากสันตะสำนักประจำมิสซังเชียงใหม่คือพระคุณเจ้าลูว์เซียง ลากอสต์ได้เป็นมุขนายกผู้ดูแลของสันตะสำนักประจำมิสซังเชียงใหม่องค์แรก มุขนายกทั้ง 4 ได้แก่

ลำดับที่ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ หมดวาระ
1 ลูว์เซียง แบร์นาร์ ลากอสต์ ผู้ดูแลของสันตะสำนัก ค.ศ. 1959 ค.ศ. 1975
2 โรเบิร์ต รัตน์ บำรุงตระกูล มุขนายกประจำมุขมณฑล ค.ศ. 1975 ค.ศ. 1987
3 ยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ มุขนายกประจำมุขมณฑล ค.ศ. 1987 ค.ศ. 2009
4 ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ มุขนายกประจำมุขมณฑล ค.ศ. 2009 ปัจจุบัน

สถิติ

[แก้]

สถิติมิสซังเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555–2559 มีดังนี้

ข้อมูล พ.ศ. 2555[7] พ.ศ. 2556[8] พ.ศ. 2556[9] พ.ศ. 2557[10] พ.ศ. 2558[11] พ.ศ. 2559[12] พ.ศ. 2561[13]
ชาวคาทอลิก 61,847 63,273 63,273 71,694 71,694 67,396 53,572
บาทหลวงมิสซังเชียงใหม่ 28 29 29 30 33 35 36
บาทหลวงมิสซังกรุงเทพฯ 3 4 4 4 4 4 2
บาทหลวงคณะธรรมทูตไทย 3 5 5 5 5 5
บาทหลวงคณะธรรมทูตอิตาลี 6 6 6 6 4 4 4
บาทหลวงคณะยารูมาล 2 2 2 2 4 3 2
บาทหลวงจากเมียนมาร์ 2 2 2 1 1 1 1
นักบวชคณะเบธาราม 14 19 19 23 23 23 18
นักบวชคณะปีเม 7 7 7 6 7 6 2
นักบวชคณะเยสุอิต 5 5 5 5 5 5 4
นักบวชคณะพระมหาไถ่ 9 8 8 8 8 7 4
นักบวชคณะซาเลเซียน 4 5 5 4 5 3 3
นักบวชคณะคามิลเลียน 3 4 4 4 4 3
นักบวชคณะอิเดนเตส 2 1 1 1 2 3 3
นักบวชคณะเบเนดิกติน 1 2 1 2 2 2 1
ภราดาเซนต์คาเบรียล 9 9 9 9 9 9 11
ภคินี 151 159 159 163 163 163 107
โบสถ์ 45 46 46 50 49 50 34
  • หมายเหตุ : ในปลายปี พ.ศ. 2557 มิสซังเชียงใหม่รายงานสถิติเก่าของปี พ.ศ. 2556 ทำให้มีข้อมูลซ้ำกันสองปี

โรงเรียนคาทอลิกในเขตมิสซังเชียงใหม่

[แก้]
ชื่อสถาบัน จังหวัด ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.
1. โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่ 2475
2. โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย เชียงใหม่ 2475
3. โรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่ เชียงใหม่ 2475
4. โรงเรียนอรุโณทัย ลำปาง 2498
5. โรงเรียนศีลรวี เชียงใหม่ 2500
6. โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ลำปาง 2501
7. โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ เชียงใหม่ 2537
8. โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่ เชียงใหม่ 2551
9. โรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่แจ่ม เชียงใหม่ 2552

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและองค์การศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย" (PDF). กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. p. 161. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2011.
  2. "สังฆมณฑลเชียงใหม่". สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2011.
  3. "ประวัติสังฆมณฑลเชียงใหม่". สังฆมณฑลเชียงใหม่. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012.
  4. อนุสรณ์พระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่ ค.ศ. 1987–2009. pp. 87–99.
  5. David M. Cheney. "Diocese of Chiang Mai". The Hierarchy of the Catholic Church (ภาษาอังกฤษ).
  6. "ประกาศตั้งสังฆมณฑลเชียงราย". สังฆมณฑลเชียงใหม่. 25 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2018.
  7. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2556/2013. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
  8. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2557/2014. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
  9. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2558/2015. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
  10. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2559/2016. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
  11. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2560/2017. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
  12. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2561/2018. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
  13. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2562/2019. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]